พระผง พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พ.ศ.2516-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระผง พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พ.ศ.2516

พระผง พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พ.ศ.2516 - 1พระผง พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พ.ศ.2516 - 2พระผง พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พ.ศ.2516 - 3พระผง พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พ.ศ.2516 - 4
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระผง พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พ.ศ.2516
อายุพระเครื่อง 51 ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 25 ม.ค. 2566 - 21:17.44
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 03 ก.ย. 2566 - 21:01.08
รายละเอียด
พระผง พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พ.ศ.2516

พระสวยมาก เลี่ยมพลาสติก ใส สวยเดิม

.....
.....


พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พ.ศ.2516
พระแก้วบุษราคัม - พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พ.ศ.2516
โดย...อำพล เจน


ผมติดค้าง ผู้อ่านไว้นานแล้วว่าจะเล่าเรื่องเหรียญพระแก้วบุษราคัมและพระเจ้าใหญ่ อินทร์แปลง ของเมืองอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพระเครื่องอีกรุ่นหนึ่งใน 4 รุ่น ที่เจ้าคุณพระโพธิญาณเถระ หรือหลวงพ่อชา สุภัทโท รับนิมนต์ไปนั่งปรกปลุกเสกร่วมกับคณาจารย์เก่งๆรูปอื่น ๆ
วันนี้จะใช้หนี้


พระเครื่อง 4 รุ่น ที่หลวงพ่อชารับนิมนต์ไปนั่งปรกปลุกเสกที่อยากจะทบทวนกันก่อนมีดังนี้ ครั้งแรกคือพิธีพุทธาภิเษกเหรียญเบ็ญจะมหามงคล (5 พระอาจารย์) ปี 2516 ซึ่งในเวลานี้ก็ยังมีเหรียญตกค้างอยู่ที่สมาคมศิษย์เก่าเบ็ญจมมหาราช (รายละเอียดลงไปแล้ว) ครั้งที่สองคือพิธีพุทธาภิเษกเหรียญพระแก้วบุษราคัมและพระเจ้าใหญ่อินทร์ แปลงที่กำลังจะเล่าถึง ครั้งที่สามคือเหรียญสมโภชหลักเมืองอุบลฯ ซึ่งก็จัดพิธีในปี 2516 เหมือนกัน ครั้งสุดท้ายคือเหรียญ ร.9 ปี 2518 ซึ่งจะได้เล่าต่อไป
ทั้ง 4 ครั้งนี้ หลวงพ่อชารับนิมนต์โดยเต็มใจ หลังจากนั้นแล้วไม่รับอีกเลย




อย่างเช่นเมื่อประมาณปี 2520 วัดป่าแสนสำราญ มีพิธีพุทธาภิเษกเหรียญรูปพระพุทธ (ด้านหน้า) กับรูปพระพุทธบาท (ด้านหลัง) ที่คนเมืองอุบลฯ เรียกว่าเหรียญตีนโต หลวงพ่อชาก็ไม่รับนิมนต์ ทางคณะกรรมการจัดพิธีต้องนิมนต์หลวงพ่อชามาสวดมนต์เย็นแทน ท่านจึงรับ และก็รับเพียงแค่มานั่งสวดมนต์เย็นเท่านั้น ใครที่ว่าเหรียญตีนโตรุ่นนี้หลวงพ่อชาปลุกเสกด้วย ก็ขอให้เข้าใจเสียใหม่
ความจริงพระเครื่องของหลวงพ่อชาแท้ๆที่เป็นของท่านผู้เดียวนั้นมีอยู่ แต่น้อยมาก ดูเหมือนจะมีอยู่แต่เพียงในหมู่ชาวเมืองอุลฯ เป็นส่วนใหญ่ที่ตกไปอยู่กับคนเมืองอื่นยิ่งน้อยจริงๆ และทราบว่าคนเมืองชลบุรีขึ้นมากวาดซื้อพระเครื่องของหลวงพ่อชาและสู้ราคา แพงๆถึงกับมีพวกผีทำของปลอมออกไปขายให้ทางส่วนกลางบ้างแล้ว จึงอยากจะเตือนผู้ไม่เคยรู้จักพระเครื่องของหลวงพ่อชาให้ระวังไว้ด้วย
เกี่ยวกับเรื่องพระเครื่องนี้ หลวงพ่อชาไม่ปรารถนาให้ผู้ใดใส่ใจมากนัก ท่านไม่เคยสร้าง แต่ก็มีลูกศิษย์ใกล้ชิดสร้างเหมือนกัน เสร็จแล้วถวายให้หลวงพ่อชาแจกเองกับมือ ไม่เคยมีการขาย ท่านแจกด้วยมือท่านเองทุกองค์ พระเครื่องของหลวงพ่อชามีอยู่หลายรุ่น ซึ่งผู้อ่านจะสามารถทราบได้ใน “จรัสแห่งบุญ พระโพธิญาณเถระ” ซึ่งจะกล่าวถึงในโอกาสข้างหน้า แม้ว่าพระเครื่องของหลวงพ่อชาจะมีหลายรุ่น แต่ว่าทุกรุ่นมีจำนวนน้อยมาก บางรุ่นมีแค่ 9 องค์ ปกติแล้วก็อยู่ในราวร้อยองค์ มากน้อยกว่านี้ไม่เท่าไหร่ ผู้ได้รับไปจึงมีแต่เพียงคนในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ คนเมืองอื่นแทบไม่รู้จักหน้าตาของพระเครื่องเหล่านี้ คงมีแต่ชาวเมืองอุบลฯ
พระเครื่องทั้ง 4 รุ่นนี้ แม้มีหลวงพ่อชาปลุกเสกด้วย แต่ก็เป็นพิธีปลุกเสกหมู่ จะนับว่าเป็นพระเครื่องของหลวงพ่อชาอย่างแท้จริงไม่ได้ หากแต่ว่าพระเครื่องทั้ง 4 รุ่นนี้สร้างขึ้นเป็นจำนวนมาก แจกจ่ายจำหน่ายได้ทั่วถึง ผู้ศรัทธาหลวงพ่อชาแต่หาพระเครื่องของท่านไม่ได้ก็ควรจะเลือกเอารุ่นใดรุ่น หนึ่งในจำนวน 4 รุ่นนี้ เพราะว่าเป็นพระเครื่องที่ดีและวิเศษอย่างแท้จริง พุทธคุณของครูบาอาจารย์ทุกองค์ที่อธิษฐานใส่ไว้ในนั้นล้วนแต่ควรค่าแก่การ เคารพเลื่อมใสจริง ๆ
พิธีพุทธาภิเษกพระแก้วบุษราคัม และพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงในปี 2516 ที่ผ่านมานั้น ถือว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริงของเมืองอุบลราชานี โดยพิธีได้จัดและกระทำขึ้นในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2516 ในการนี้ พล.ต.ต.วิเชียร สีมันตร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้นเป็นประธานกรรมการได้เป็นผู้ริเริ่มสร้างพร
ะเครื่องรุ่นนี้ขึ้น
เดิม พล.ต.ต.วิเชียร สีมันตร ได้เคยสร้างสมเด็จจอมสุรินทร์และพระกริ่งจอมสุรินทร์ ที่เลื่องชื่อในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ การสร้างพระเครื่องจอมสุรินทร์ครั้งนั้นได้รับความนิยมชมชอบจากพุทธศาสนิกชน ทั่วไปจนพระเครื่องไม่พอเพียงแก่ความต้องการ ถือได้ว่าเป็นการสร้างพระเครื่องที่ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม เมื่อย้ายมาเป็นผู้ว่าฯ เมืองอุบลฯ แล้วท่านก็คิดสร้างพระเครื่องขึ้นอีกโดยหวังจะเป็นเครื่องบำรุงขวัญและเป็น ของที่ระลึกแก่ชาวไทยผู้ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา

รายละเอียดในการสร้างพระแก้วบุษราคัม และพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงที่ปรากฏอยู่บนแผ่นพับซึ่งใช้สำหรับเป็นใบสั่งจองมีดังนี้


“พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง”
วัตถุประสงค์ในการสร้างพระพุทธศรีอุบลมงคลจักรวาฬ พระกริ่งศรีอุบล พระชัยวัฒน์ เหรียญ พระพิมพ์หลวงพ่ออินทร์แปลง เหรียญพระแก้วบุษราคัม พระพิมพ์พระแก้วบุษราคัม
เพื่อหาปัจจัยบูรณะพระอุโบสถพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงและวัดมหาวนาราม สมทบทุนสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดอุบลราชธานี และเป็นทุนมูลนิธิสำหรับช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ยากจนแต่เรียนดี

การตั้งชื่อ
ได้ไปปรึกษากับพระเทพโสภณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) ซึ่งเป็นเลขาสมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จฯ ป๋า) ถึงเรื่องการตั้งชื่อพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ และเหรียญ เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะตั้งชื่อว่า “พระ กริ่งศรีอุบล (พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง)” “พระชัยวัฒน์หลวงพ่ออินทร์แปลง” “เหรียญหลวงพ่ออินทร์แปลง” “พระพิมพ์หลวงพ่ออินทร์แปลง” “เหรียญและพระพิมพ์พระแก้วบุษราคัม”
สำหรับพระพุทธรูปบูชาได้ปรึกษากับพระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดาราม ถวายพระนามว่า “พระพุทธรูปศรีอุบลมงคลจักรวาฬ” เรื่องนี้พระเทพโสภณ จะได้นำทูลสมเด็จพระสังฆราชเพื่อให้พระองค์ถวายพระนามต่อไป
กำหนดวันทำพิธีพุทธาภิเษก
พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดาราม เป็นเจ้าพิธีทำพิธีพุทธาภิเษกวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2516
สถานที่ทำพิธีพุทธาภิเษก
ทำพิธี ณ อุโบสถวัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
ผู้ออกแบบและสร้าง
นายเกษม มงคลเจริญ และนายพิชัย มงคลเจริญ เป็นผู้ออกแบบและสร้างพระพุทธรูปบูชา หล่อสร้างโดย จ่าติ่ง
รายการวัตถุมงคลทั้งหมดที่สร้างครั้งนี้
1. พระพุทธรูปศรีอุบลมงคลจักรวาฬ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว และ 9 นิ้ว สร้างเท่าจำนวนผู้สั่งจอง
2. พระกริ่งหลวงพ่ออินทร์แปลง เนื้อทองคำ สร้าง 306 องค์ เนื้อเงิน สร้าง 459 องค์ และเนื้อนวโลหะ สร้าง 2,363 องค์
3. พระชัยวัฒน์หลวงพ่ออินทร์แปลง เนื้อทองคำ สร้าง 153 องค์ เนื้อเงิน สร้าง 153 องค์ และเนื้อนวโลหะ สร้าง 612 องค์
4. เหรียญหลวงพ่ออินทร์แปลง เนื้อทองคำ สร้าง 153 เหรียญ เนื้อเงิน สร้าง 150 เหรียญ และเนื้อนวโลหะ สร้าง 2516 เหรียญ
5. เหรียญพระแก้วบุษราคัม เนื้อทองคำ สร้าง 153 เหรียญ เนื้อเงิน สร้าง 153 เหรียญ เนื้อนวโลหะสร้าง 2516 เหรียญ และเนื้อทองแดงรมดำ สร้าง 23,630 เหรีญ
6. พระพิมพ์หลวงพ่ออินทร์แปลง เป็นพระพิมพ์เนื้อว่าน 108 ผสมด้วยมวลสารที่เป็นสิริมงคลจากพระอาจารย์ทั่วพระราชอาณาจักรเป็นพระพิมพ์ จำลองจากรูปพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง สร้างจำนวน 10,000 องค์
7. พระพิมพ์พระแก้วบุษราคัม เป็นพระพิมพ์เนื้อว่าน 108 ผสมด้วยมวลสารที่เป็นสิริมงคลจากพระอาจารย์ทั่วพระราชอาณาจักร เป็นพระพิมพ์จำลองรูปพระแก้วบุษราคัม สร้างจำนวน 10,000 องค์
รายนามพระคณาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มาร่วมนั่งปรกปลุกเสก
1. สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
2. พระเทพสิทธาจารย์ วัดศรีเทพประดิษฐ์ อ.เมือง จ.นครพนม
3. พระพุทธมนต์วราจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
4. พระครูสังฆรักษ์สมาน วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
5. พระครูสาธุกิจวิมล หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง อ.เมือง จ.นครปฐม
6. พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ
7. พระอาจารย์ใหญ่ วัดกู่คำ อ.เมืองน่าน จ.น่าน
8. พระครูจันทสโรภาส (หลวงพ่อเที่ยง) วัดม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
9. หลวงพ่อเทียม จ.อยุธยา
10. พระครูสมุห์อำพล วัดอัมพวา บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
11. พระวิบูลวชิรธรรมนันท์ (หลวงพ่อสว่าง) วัดคหบดีสงฆ์ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
12. พระครูเกษมธรรมนันท์ (หลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม
13. พระครูสังฆวิชัย (ปรีชา โชติโก) วัดอนงคาราม กรุงเทพฯ
14. พระรักขิตวันมนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
15. พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
16. พระครูประสาทขันธคุณ (หลวงพ่อมุม) วัดปราสาทเยอเหนือ จ.ศรีสะเกษ
17. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี
18. พระครูภาวนานุโยค (หลวงพ่อหอม) วัดซากหมาก จ.ระยอง
19. พระครูปัญญาโชติคุณ (หลวงพ่อเจริญ) วัดทองนพคุณ จ.ลพบุรี
20. พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลฯ
21. พระครูพิบูลธรรมภาณ (พระมหาโชติ) วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ
22. พระครูนวกรรมโกวิท (หลวงปู่นาค) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่ เมืองอุบลฯ)
23. พระครูสังฆรักษ์ (พัว) วัดบ้านนาเจริญ อ.เดชอุดม จ.อุบลฯ
24. พระครูพรหมวิหาร (พระอาจารย์สิงห์) วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบล
25. พระอาจารย์ประยูร จิตตสันโต วัดป่าธรรมรังสี อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลฯ
26. พระครูอุบลเดช (มหาด่วน) วัดศรีอุบลรัตนาราม จ.อุบลฯ
27. พระอาจารย์สาย วัดหนองยาว อ.เดชอุดม จ.อุบลฯ
28. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดอุดมสมพร จ.สกลนคร
29. พระอาจารย์ขาว (หลวงปู่ขาว) วัดถ้ำกลองเพล จ.สกลนคร
30. พระครูพิศาลสรกิจ (มหาธวัช) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
31. พระอารย์ขันธ์ วัดพระศรีอารีย์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
32. พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
33. พระอาจารย์บุญมา ต.โนนทัน จ.อุดรธานี
34. พระอาจารย์อ่อน ต.โนนทัน จ.อุดรธานี
35. พระอาจารย์ฝั้น (ฝั่น) วัดถ้ำเอราวัณ อ.วังสะพุง จ.เลย
36. พระอาจารย์ชอบ อ.วังสะพุง จ.เลย
37. พระครูประสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
38. พระอาจารย์เครื่อง วัดสระกำแพง อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
รายชื่อทั้งหมดนี้มีอยู่ในรายการพิธี ซึ่งเมื่อถึงเวลาประกอบพิธีจริงๆ แล้ว ต้องมีบางรูปไม่ได้มา ไม่สามารถจะมา และขณะเดียวกันก็อาจมีบางรูปที่ไม่มีรายชื่อมาแทนเป็นธรรมดา ผมไม่อยู่ในฐานะจะบอกได้ทั้งหมดว่าพระคณาจารย์รูปใดไม่ได้มา เนื่องจากว่าผมไม่ได้อยู่ร่วมในพิธีนี้ด้วย
แต่สำหรับพระเทพสิทธาจารย์ (เจ้าคุณปู่จันทร์ เขมิโย) วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม ไม่ได้มาแน่นอน เพราะว่าท่านมรณภาพก่อนพิธีนี้จะเริ่มขึ้น นั่นคือท่านได้สิ้นไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ทำให้พิธีนี้ขาดท่านไป แม้ว่าจะได้นิมนต์ไว้ล่วงหน้า และท่านก็รับนิมนต์แล้วก็ตาม
ส่วนหลวงปู่กินรี จันทิโย ซึ่งไม่มีรายชื่อปรากฏในบัญชีกลับได้มาร่วมพีนี้ด้วย
เรื่องขาดๆเกินๆ อย่างนี้ถือเป็นธรรมดา ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม
เกี่ยวกับเหรียญพระแก้วบุษราคัมนี้ผมได้กราบเรียนถามหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ที่ถ้ำผาปล่อง ว่า ท่านได้ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ด้วยหรือเปล่า ท่านว่าเปล่า แต่เขานิมนต์ท่านเหมือนกัน บังเอิญไม่ว่าง และท่านได้ขอดูว่าเป็นพระเครื่องหน้าตาอย่างไร เมื่อเห็นท่านก็บอกว่าเหรียญพระแก้วบุษราคัมนี้ท่านพบว่าชาวลาวในประเทศลาว แขวนคอกันอยู่หลายคน สมัยที่ธุดงค์ไปลาวท่านได้เห็นมาดังนี้
ปัจจุบัน เหรียญหลวงพ่ออินทร์แปลง เหรียญพระแก้วบุษราคัม เนื้อทองแดง และพระเนื้อผงว่าน 108 ทั้งของหลวงพ่ออินทร์แปลงและพระแก้วบุษราคัมยังมีตกค้างอยู่ในธนาคารกรุง ศรีอยุธยา อ.เมือง จ.อุบลฯ จำนวนหนึ่ง ไม่มากนัก แต่ว่าขยับราคาขึ้นมาเป็น 1 เท่า คือเหรียญละ 20 บาท ส่วนพระเนื้อผงว่านองค์ละ 50 บาท พระกริ่งกับพระชัยวัฒน์ไม่มีเหลือมานานแล้ว เดี๋ยวนี้ในเมืองอุบลฯ ซื้อหากันในราคาองค์ละไม่ต่ำกว่า 600 บาท ผู้อ่านศักดิ์สิทธ์ที่มีความปรารถนาจะได้ไว้บูชาต้องติดต่อไปที่ธนาคารดัง กล่าวด้วยตนเอง
เกือบจะลืมไปอีกรูปหนึ่งที่ไม่มีชื่อปรากฏในบัญชี แต่ว่าท่านได้มาในพิธีจริงก็คือ หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ วัดธาตุมหาชัย

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top