สมเด็จ วัดฉลอง (สมเด็จ ตังเก )-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

สมเด็จ วัดฉลอง (สมเด็จ ตังเก )

สมเด็จ วัดฉลอง  (สมเด็จ ตังเก ) - 1สมเด็จ วัดฉลอง  (สมเด็จ ตังเก ) - 2สมเด็จ วัดฉลอง  (สมเด็จ ตังเก ) - 3สมเด็จ วัดฉลอง  (สมเด็จ ตังเก ) - 4
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง สมเด็จ วัดฉลอง (สมเด็จ ตังเก )
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 07 ก.ค. 2566 - 21:10.36
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 08 ก.ค. 2566 - 20:41.06
รายละเอียด
สมเด็จ วัดฉลอง (สมเด็จ ตังเก )

พิมพ์มีหู (นิยม )

โด่งดัง ในเรื่องเหนียว จาก ชาวตังเก โดนแทง ด้วยเหล็กขูดชาร์ป..ไม่ระคายผิว

(พร้อมตลับเงินเก่า ไม่หนามาก )



หลวงพ่อแช่ม อดีตเจ้าอาวาสวัดฉลอง เป็นพระที่ชาวภูเก็ตและประชาชนทั่วไปทั้งไทยและต่างประเทศ ต่างให้ความเคารพนับถือศรัทธา ด้วยท่านเป็นพระที่มีปฏิปทางดงามจริยาวัตรที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เปี่ยมด้วยความเมตตา ท่านเป็นพระอาจารย์ที่หลวงพ่อปานวัดบางนมโค อยุธยาให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก

หลวงพ่อแช่ม มีชีวิตอยู่ในรัชสมัยของสมเด็จปิยะมหาราช รัชกาลที่ 5 ซึ่งท่านได้รับพระราชทานพัดยศในชั้นพระสมเด็จอีกด้วย ยามใดที่ชาวภูเก็ตเกิดเรื่องทุกข์ใจ หรืออุปสรรคจนหาทางออกไม่ได้มักจะบนบานให้หลวงพ่อแช่มช่วยเสมอ ทางวัดฉลองได้จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลใหญ่ทุกปี

เมื่อครั้งปี พ.ศ.2511 ดร.ไมตรี บุญสูง คหบดีชาวภูเก็ต (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ได้กล่าวว่า ในขณะที่พระครูกิจจานุการ (หลวงพ่อท่านเกลื้อม) ได้เชิญท่านไปเป็นประธานฝ่ายฆราวาสและประธานในพิธีพราหมณ์เป็นครั้งแรก ซึ่งในครั้งนั้นเป็นการจัดงานที่ใหญ่ที่สุดของการจัดงานทุกปีที่ผ่านมา ท่านจึงได้นิมนต์พระอาจารย์นำมาเป็นประธานในพิธีสงฆ์ และได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์จำนวนมากมาเข้าร่วมในพิธี
ดร.ไมตรีได้กล่าวว่า ขณะที่เริ่มพิธีกรรมระหว่างทำการนั่งปรก หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน จังหวัดลำปาง พระภิกษุสายวิปัสสนากรรมฐานได้นิมิตทางกระแสจิตเห็นหลวงพ่อแช่ม เข้ามาในพิธีและได้เอาไม้เท้าของท่านกวนน้ำมนต์ จึงได้ไปเรียนให้หลวงพ่อท่านเกลื้อมเจ้าพิธีทราบ ท่านจึงสั่งให้จัดอาสนะเพิ่มขึ้นอีก 1 ที่ พร้อมทั้งได้ทำพิธีอัญเชิญวิญญาณของหลวงพ่อแช่ม มานั่งเป็นประธานในพิธี

นับแต่นั้นเป็นต้นมาจึงเป็นประเพณีที่จะต้องอัญเชิญดวงวิญญาณของหลวงพ่อแช่มมาร่วมพุทธาภิเษกวัตถุมงคลประจำปีด้วยทุกครั้ง
เมื่อมาถึง ปีพ.ศ. 2512 ทางวัดได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นอีกครั้งโดยมีพระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา เป็นประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ และมี ดร.ไมตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาสและพิธีฝ่ายพราหมณ์อีกด้วย และในปีนั้นเอง ท่านได้นำ พระสมเด็จ จำนวน 10,000 องค์ เข้าร่วมในพิธี พุทธาภิเษกในครั้งนั้นด้วย ท่านกล่าวว่า ในปีนั้น หลังจากท่านได้รับมอบหมายจากพ่อท่านเกลื้อม เจ้าอาวาสวัดฉลอง ให้อาราธนาท่านอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา มาเป็นประธานในพิธีสงฆ์และในคราวนั้นยังนิมนต์อาจารย์ดังทางสายภาคใต้ และเขาอ้อมาหลายรูปแล้ว ในจำนวนนั้นมีพระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้

และยังได้ไปนิมนต์เกจิอาจารย์ดังทั่วประเทศเข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย ส่วนที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลได้ไปนิมนต์หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จังหวัดนนทบุรี หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา และจึงได้ไปนิมนต์พระครูสมุห์อำพล เจ้าอาวาสวัดประสาทบุญญาวาส
แต่เนื่องจากท่านสุขภาพไม่ค่อยดี ทั้งที่อยากจะไปร่วมพิธีด้วย แต่ท่านได้มอบของให้เป็นการส่วนตัว ซึ่งท่านทำมาเกือบสิบปีแล้ว และไม่เคยมอบให้กับใครท่านจึงนำดร.ไมตรีไปที่พระอุโบสถ ตรงไปที่พระประธานแล้วลากกล่องมา 1 กล่อง ได้เปิดให้ดร.ไมตรีดู ถึงตกตะลึงเพราะในกล่องนั้นมีพระสมเด็จเต็มกล่อง จึงได้สนทนากับท่านพักใหญ่พร้อมกับถวายเงินส่วนตัวจำนวนหนึ่งให้ท่าน แล้วกราบนมัสการลาท่านกลับ พระครูสมุห์อำพล เล่าให้ฟังว่าพระที่มอบให้นั้นท่านสร้างเพียง 10,000 องค์ และได้มอบให้ดร.ไมตรี ทั้งหมด โดยท่านสร้างพระชุดนี้มานานแล้วโดยใช้มวลสารของพระสมเด็จบางขุนพรหม และผงอิทธิปถมังของพระอาจารย์ต่าง ๆ ที่มอบให้ท่าน อีกทั้งยังได้นำผงพระสมเด็จเก่า ๆ อื่น ๆ อีกจำนวนมาก แล้วนำมารวมทำเป็นพิมพ์พระสมเด็จ

เสร็จแล้วจึงได้นำมาใส่กล่องบรรจุไว้ใต้ฐานพระประธานภายในพระอุโบสถวัดประสาทบุญญาวาส และนำเข้าร่วมพิธีใหญ่ๆ (รวมทั้งพิธีพุทธาภิเษก หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ปี 2506 ด้วย)
อีกทั้งมีพระสวดให้ทุกวัน เพราะโบสถ์นี้เป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์ในวัดจะต้องทำพิธีทำวัตรเช้า และทำวัตรเย็น เมื่อกลับมาถึงภูเก็ต พ่อท่านเกลื้อมจึงให้นำพระสมเด็จชุดนี้เข้าพุทธาภิเษกด้วย แต่เนื่องจากพระสมเด็จชุดนี้เป็นที่ต้องการของประชาชนชาวภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียงจึงทำให้หมดจากวัดไปอย่างรวดเร็ว ประสบการณ์ของพระสมเด็จวัดฉลอง

จากประสบการณ์ของผู้ที่ใช้อาราธนาติดตัว เรียกว่าพุทธคุณดีครบเครื่อง ไม่ว่าจะทางเมตตามหานิยม ความเจริญก้าวหน้า และคงกระพันชาตรี จากคำบอกเล่าถึงปฐมเหตุแห่งความนิยมพระสมเด็จชุดนี้ และในครั้งนั้น มีชาวประมงที่คนทั่วไป เรียกว่าชาวตังเกในภูเก็ต และชาวตังเกต่างถิ่น เช่น สมุทรปราการ มหาชัย แม่กลอง ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา เช่าไปบูชามากที่สุด และได้ไปทะเลาะวิวาทถูกคู่อริ ใช้เหล็กขูดชาร์ปแทงบริเวณท้องน้อยเป็นรูบุ๋มเขียว แต่ไม่เข้า อีกทั้งผู้เข้าร่วมชุลมุนที่โดนลูกหลงและมีพระสมเด็จชุดนี้ไม่ได้รับอันตรายใดๆ เลย จึงทำให้ร่ำลือไปทั่วในหมู่ชาวประมง และมาเช่าเพิ่มกันอีกเป็นจำนวนมาก บางคนจึงเรียกสมเด็จชุดนี้ว่า "สมเด็จตังเก" สำหรับที่เรียกว่าสมเด็จวัดฉลอง เพราะได้มีการปลุกเสกที่วัดฉลอง และที่เรียกว่าสมเด็จไมตรีนั้น เพราะเป็นพระที่ดร.ไมตรี ได้มอบให้กับวัดฉลอง

ทุกครั้งที่มีการกล่าวถึงพระสมเด็จชุดนี้ ท่านมักจะยกย่องถึงพระครูสมุห์อำพล แห่งวัดประสาทบุญญาวาส ที่ได้กรุณาท่านเป็นอย่างสูง อีกทั้งทำให้คนต่างถิ่นได้รู้จักวัดฉลองดียิ่งขึ้น
พระสมเด็จวัดฉลองจึงเป็นพระเครื่องที่บูชาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งมวลสาร อายุในการจัดสร้าง (ร่วม 50 กว่าปี) พิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่นับครั้งไม่ถ้วน และด้วยเจตนาบริสุทธิ์


https://uauction2.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=204&qid=158817

https://uauction2.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=204&qid=158856

https://uauction2.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=204&qid=164500

https://uauction2.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=204&qid=163637

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top