-
0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
หมวด เครื่องรางของขลัง
เบี้ยแก้ วัดตลาดใหม่ ปี 50





ชื่อร้านค้า | จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เบี้ยแก้ วัดตลาดใหม่ ปี 50 |
อายุพระเครื่อง | 18 ปี |
หมวดพระ | เครื่องรางของขลัง |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 08-6560-4037 |
อีเมล์ติดต่อ | Tayanrum@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ศ. - 29 ก.ย. 2566 - 21:11.49 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ศ. - 13 ต.ค. 2566 - 22:55.50 |
รายละเอียด | |
---|---|
เบี้ยแก้ วัดตลาดใหม่ ปี 50 สร้างตามตำราเบี้ยแก้หลวงพ่อซำ อินฺทสุวณฺโณ วัดตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง มาพร้อม กล่องเดิม และใบฝอยเดิม ๆครับ ‘เบี้ยแก้’ อีกสายตำรับหนึ่ง คือ สายจังหวัดอ่างทอง อันมีกรรมวิธีการทำเบี้ยแก้ที่แปลกต่างไปจากสายวัดกลางบางแก้ว และสายวัดนายโรง กล่าวคือ ใช้ตัวหอยเบี้ยขนาดเล็กกว่า ปรอทที่กรอกลงในตัวหอยเบี้ยไม่จำกัดน้ำหนัก ซึ่งโดยมากมักไม่ถึงบาท การกรอกปรอทนั้นจะใช้ตะกั่วล่อในตัวหอยเบี้ย ส่วนชันโรงที่ใช้ปิดเป็นชันโรงใต้ดินเหมือนกัน ซึ่งวิธีการทำของสายจังหวัดอ่างทอง จะนำเอาตะกั่วแผ่นบางๆ มาตัดเป็นฝอยเล็กๆ แล้วยัดเข้าไปในปากหอยเบี้ย ๒-๓ ชิ้น แล้วจึงเอาปรอทจากขวดกรอกใส่เข้าไปในตัวหอยเบี้ย ปรอทจะเข้าไปกินตะกั่ว จากนั้นจึงเอาชันโรงอุดปากหอยเบี้ยไว้ชั้นหนึ่ง ก่อนจะตัดแผ่นตะกั่วเล็กๆ ลงอักขระ ‘มะ อะ อุ’ แล้ววางทับตรงปากหอยเบี้ยบนชันโรงที่ปิดทับครั้งแรก จากนั้นจึงเอาชันโรงปิดทับอีกชั้นหนึ่ง ก่อนจะปลุกเสก 🌸พระเกจิอาจารย์สายจังหวัดอ่างทองที่สร้างเบี้ยแก้เลื่องชื่อ มีหลายรูปด้วยกัน หนึ่งในนั้นมีนามของหลวงพ่อซำ อินฺทสุวณฺโณ แห่งวัดตลาดใหม่ ตำบลตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง อยู่ด้วย วัดตลาดใหม่ เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปรากฏหลักฐานการก่อตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๑๐ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เดิมมีชื่อว่า ‘วัดโบสถ์บ้านกระเดื่อง’ ต่อมาได้ถูกปล่อยทิ้งร้าง ปรากฏแต่เนินอุโบสถและต้นมะขามใหญ่ ๔ ต้น อยู่ ๔ มุมของอุโบสถ จนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือน สร้างตลาดขึ้นใหม่ และร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ จึงเรียกชื่อใหม่ว่า ‘วัดตลาดใหม่’ เจ้าอาวาสวัดรูปแรกภายหลังการบูรณะวัดขึ้นใหม่ คือ หลวงพ่อคุ่ย เป็นพระเถระที่มีพลังอาคมเข้มขลังในด้านการแก้และล้างอาถรรพ์ต่างๆ มีชื่อเสียงโด่งดังร่วมสมัยกับหลวงพ่อเงิน แห่งวัดบางคลาน และหลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง หลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว เจ้าอาวาสรูปต่อมาของวัดตลาดใหม่ คือ หลวงพ่อซำ อินฺทสุวณฺโณ ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจากหลวงพ่อคุ่ยที่มรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๖ 🌸 พระอาจารย์ของหลวงพ่อซำ คือ หลวงพ่อคุ่ย ผู้เป็นอาจารย์ ได้ถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อซำจนหมดสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว วิชาการทำ ‘เบี้ยแก้’ เนื่องเพราะหลวงพ่อซำได้เคยรับรู้ถึงพลังพุทธาคมของเบี้ยแก้ประจักษ์แก่สายตาตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็ก จึงมีความสนใจเป็นพิเศษ 🌸 สำหรับวัตถุมงคลของหลวงพ่อซำ ท่านได้เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ เรื่อยมา วัตถุมงคลของหลวงพ่อซำได้ชื่อว่าเป็นของดีมีประสบการณ์มากมาย ทั้งเบี้ยแก้ ผ้ายันต์กันภัย ตะกรุดโทนคู่ใจ และเหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ 🌸 กล่าวสำหรับ ‘เบี้ยแก้’ อันโดดเด่นของหลวงพ่อซำ ท่านจะสร้างแต่เฉพาะในวันอาทิตย์ วันอังคาร และวันเสาร์ แต่หากวันใดตรงกับวันพระหลวงพ่อซำจะหยุดการสร้างเบี้ยแก้ในวันนั้น อีกทั้งในการสร้างหรือทำเบี้ยแก้ของหลวงพ่อซำ ยังกำหนดไว้ด้วยว่า ทำตามกำลังวัน นั้นหมายความว่า วันอาทิตย์มีกำลังเท่ากับ ๖ ก็จะทำขึ้นเพียง ๖ ตัวเท่านั้น วันอังคารมีกำลังเท่ากับ ๘ ทำขึ้นเพียง ๘ ตัว และวันเสาร์มีกำลังเท่ากับ ๑๐ ก็ทำขึ้นเพียง ๑๐ ตัว 🌸 พระสมุห์ประเมษฐ์ เจ้าอาวาสวัดตลาดใหม่รูปปัจจุบัน ได้ให้ข้อมูลถึงการทำเบี้ยแก้ของหลวงพ่อซำว่า ในการทำเบี้ยแก้นี้หลวงพ่อซำจะตั้งศาลเพียงตาบูชาบรมครูก่อนที่ท่านจะลงมือในการทำเบี้ยแก้ทุกครั้ง โดยหลวงพ่อซำจะนำตัวเบี้ยตามจำนวนวันที่สร้างมาใส่พานวางไว้พร้อมกับปรอท และชันโรง ตั้งในพิธีบวงสรวงอัญเชิญบรมครูให้มาสถิตประสิทธิ์ประสาทวิชา และเพื่อขออนุญาตในการประกอบพิธีสร้างเบี้ยแก้ให้เกิดพลังความศักดิ์สิทธิ์ 🌸 สำหรับชันโรงหลวงพ่อซำจะใช้ชันโรงที่มาทำรังอยู่ในต้นคูน เมื่อประกอบพิธีไหว้ครูเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อซำจะหยิบหอยเบี้ยขึ้นมาแล้วเทปรอทลงในอุ้งมือ จากนั้นหลวงพ่อซำจะบริกรรมคาถาเรียกแร่แปรธาตุ สักพักหนึ่งจึงเทปรอทลงในตัวเบี้ย จากนั้นนำชันโรงที่เตรียมไว้มาอุดปิดปากเบี้ยเพื่อป้องกันปรอทไหลออกจากตัวเบี้ย แล้วนำเอาแผ่นฟอยล์อะลูมิเนียมมาปิดทับชันโรงอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ และง่ายต่อการจดจำ 🌸 ซึ่งเบี้ยแก้ที่มีลักษณะเช่นนี้ เรียกได้ว่าเป็นเบี้ยแก้ที่หลวงพ่อซำสร้างขึ้นในยุคต้นๆ คือประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๔๘๕ เมื่อหลวงพ่อซำทำเบี้ยแก้ครบตามจำนวนวันแล้ว จากนั้นจะเป็นขั้นตอนของการปลุกเสก โดยหลวงพ่อซำจะนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกเพื่อประจุพลังอาคมเข้าไปในเบี้ยแก้สำทับอีกชั้นหนึ่ง นั่งปรกนานตลอดวันภายในอุโบสถตั้งแต่หลังฉันเพลไปแล้วจนถึงเวลาทำวัตรเย็น 🌸 คาถาที่หลวงพ่อซำใช้บริกรรมในการอุดชันโรง และปิดแผ่นฟอยล์นั้น หลวงพ่อซำใช้บทพระคาถามงคลนิมิต โดยบริกรรมคาถาว่า ‘อะวิชาปัจจะยะ ปิดจะยา ปัจจะยา อะวิชา ปิดจะยา ปัจจะยา ปิดจะยา อะวิชา ปัจจะยา อุอะมะตัง พุทธังอัดธะอุด’ หลวงพ่อซำ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวรูปหนึ่ง มีอายุยืนยาวถึง ๙๔ ปี ๗๑ พรรษา โดยมรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๙ 🌸 คุณตาหวลยังเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อซำไว้อีกเรื่องว่า “เหตุการณ์นี้เกิดเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม ท่านได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงพ่อซำ จึงมีความศรัทธาเลื่อมใส ท่านได้มอบหมายให้นายทหารคนสนิทมานิมนต์หลวงพ่อไปกรุงเทพฯ เพื่อถวายภัตตาหารเพลที่บ้านของท่าน สมัยก่อนการคมนาคมลำบากมากเพราะไม่มีถนน จึงต้องอาศัยไปทางเรือ วันนั้นหลวงพ่อเดินทางด้วยเรือสำปั้นพร้อมกับลูกศิษย์ แต่ด้วยขณะนั้นเป็นช่วงฤดูแล้งราวเดือนเมษายน น้ำจึงแห้งขอดคลอง จึงต้องใช้วิธีโยงเชือกกับหัวเรือทั้งสองข้างเพื่อจูงลากโยงเรือ หลวงพ่อได้เดินทางจากคลองวัดตลาดใหม่เพื่อจะออกไปสู่แม่น้ำน้อย ระยะทางประมาณ ๖ กม. เศษ ขณะที่เรืออยู่ระหว่างกลางทางบริเวณก่อนถึงวัดโพธิ์ปล้ำ หลวงพ่อได้แลไปเห็นคนกำลังจะยิงนกกระยาง ท่านนึกสงสารจึงอาราธนา ปรากฏว่าคนนั้นยิงนกไม่ออก” ปัจจุบันเบี้ยแก้สำนักวัดตลาดใหม่ ได้รับการสืบทอดต่อยังพระสมุห์ประเมษฐ ฐานิสฺสโร เจ้าอาวาสวัดตลาดใหม่รูปปัจจุบัน ได้สร้างเบี้ยแก้ขึ้นมาตามตำรับหลวงพ่อซำ ซึ่งได้สร้างขึ้นมาครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ปรากฏว่าประชาชนได้พากันบูชาไปจนหมดสิ้น |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...










อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments