ผ้ายันต์ประเจียด อาจารย์เอียด วัดชลธาราวาส จ.สงขลา ปี ๒๕๒๗-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เครื่องรางของขลัง

ผ้ายันต์ประเจียด อาจารย์เอียด วัดชลธาราวาส จ.สงขลา ปี ๒๕๒๗

ผ้ายันต์ประเจียด อาจารย์เอียด วัดชลธาราวาส จ.สงขลา ปี ๒๕๒๗ - 1ผ้ายันต์ประเจียด อาจารย์เอียด วัดชลธาราวาส จ.สงขลา ปี ๒๕๒๗ - 2ผ้ายันต์ประเจียด อาจารย์เอียด วัดชลธาราวาส จ.สงขลา ปี ๒๕๒๗ - 3
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง ผ้ายันต์ประเจียด อาจารย์เอียด วัดชลธาราวาส จ.สงขลา ปี ๒๕๒๗
อายุพระเครื่อง 40 ปี
หมวดพระ เครื่องรางของขลัง
ราคาเช่า 550 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระมาใหม่
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 03 มี.ค. 2567 - 21:16.44
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 03 มี.ค. 2567 - 21:16.44
รายละเอียด
ผ้ายันต์ประเจียด อาจารย์เอียด วัดชลธาราวาส อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ปี ๒๕๒๗

เครดิต

ชมรมศิษย์พ่อท่านต้ม-เอียด-วัดบางกล่ำ
29 เมษายน 2017 · Ban Tha Chang ·
ประวัติพ่อท่านต้ม (เอียด) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 3 วัดบางกล่ำ
สวัสดีครับทุกๆท่านครับ...วันนี้มาตามสัญญากันนะครับ หลายๆท่านอาจติดตามประวัติอดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 3 พ่อท่านต้ม (เอียด) หรือ พระครูพิพัฒน์ชลธาร เกจิดังสายใต้แห่งลุ่มน้ำคลองบางกล่ำ วัดบางกล่ำ กันอยู่นะครับ ลองอ่านศึกษาประวัติของท่านดูกันนะครับ
นามเดิมของท่านชื่อเอียด เป็นบุตรคนที่ ๔ ของครอบครัว โดยมีพี่น้องรวม ๗ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๔ คน มีพี่ชายเป็นคนโตและน้องชายเป็นคนที่ ๕ ส่วนที่เหลือเป็นพี่สาว ๒ คน น้องสาวอีก ๒ คน เป็นบุตรของนายตุ้ม นางแป้น ร่วมสุข อาศัยอยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ของตำบลบางกล่ำ อำเภอหาดใหญ่ (ในสมัยนั้น) ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ตรงกับวันอังคาร แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๑ (ไทย) ปีมะเมีย เมื่อยังเยาว์ได้ศึกษาเล่าเรียนกับวัดจนกระทั่งอ่านออกเขียนได้ตามประสาบ้านในระแวกชนบท แล้วออกมาช่วยเหลือทางบ้านในการประกอบอาชีพทำสวนไร่นา จนกระทั่งอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้เข้าอุปสมบท ณ วัดชลธาราวาส (บางกล่ำ) แห่งนี้เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๐ ตรงกับวันเสาร์ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ โดยมีพระครูรัตนโมลี วัดดอนแย้ อ.เมือง จ.สงขลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการขวัญ เกสสโร วัดชลธาราวาส (บางกล่ำ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระคลิ้ง วัดชลธาราวาส (บางกล่ำ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทเป็นพระเอียด สุวรรณโณ ก็เริ่มศึกษาเล่าเรียนอย่างตั้งอกตั้งใจในบทพระธรรม และยังเล่าเรียนในด้านไสยศาสตร์ควบคู่ไปด้วยพร้อมกัน
วินัยบทสวดพระพุทธมนต์ต่างๆ ที่นิยมใช้กันอยู่เป็นประจำตลอดจนบทสวดพระภิกขุปาฏิโมกข์ท่านก็สามารถท่องบ่นได้จนจบตั้งแต่ย่างเข้าพรรษาที่ ๔ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๖ ท่านก็ได้เข้าสอบนักธรรมในสนามหลวงและสอบได้นักธรรมชั้นตรีในครั้งนั้น ปีต่อมาท่านจึงได้เข้าเป็นครูฝึกสอนนักธรรมเพื่อช่วย ท่านอธิการขวัญ เกสสโร อีกแรงหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๐ ท่านก็ได้เข้าร่วมสอบนักธรรมชั้นโทอีกและท่านก็สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้อีกในปีนั้น จึงได้รับตำแหน่งเป็นครูสอนนักธรรมโดยสมบูรณ์ เมื่อท่านพระอธิการจันทร์ กุสุโม (อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๒) ได้ลาสิกขา ตำแหน่งเจ้าอาวาสก็ว่างลง คณะกรรมการวัดจึงเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะให้พระเอียด สุวรรณโณ รักษาการณ์แทนเจ้าอาวาสที่ว่างลงอยู่ ขณะนั้น ท่านจึงได้ทำหน้าที่รักษาการณ์เจ้าอาวาสองค์เดิม ต่อมาจนกระทั่งทางคณะสงฆ์ได้ส่งหนังสือตราตั้งเจ้าอาวาสมาแต่งตั้ง ให้พระเอียด สุวรรณโณ รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสต่อจาก พระอธิการจันทร์ กุสุโม ต่อไปตราตั้งเจ้าอาวาสลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๙๕ พร้อมกันนั้นท่านก็ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าคณะตำบลบางกล่ำ และตราตั้งให้เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง ในครั้งนี้อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
ต่อมาภายหลังได้รับตราตั้งให้เป็น พระอุปปัชฌาย์ ในเขตตำบลบางกล่ำอีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๙๘ ท่านก็ได้ทำหน้าที่ตามตำแหน่งที่ทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งมาอย่างเต็มความสามารถตลอดมา และต่อมาภายหลังทางคณะสงฆ์ได้มีตราตั้งให้เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๔ พระครูสัญญาบัตรชั้นโท เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ตามลำดับ
ภารกิจที่ท่านมีต่อวัดชลธาราวาส (บางกล่ำ)
๑. หลังจากที่ท่านได้รับหน้าที่ดูแลรักษาการแทนจนกระทั่งได้รับตราตั้งเป็นเจ้าอาวาสต่อจากองค์ก่อน ท่านก็ได้บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ของวัดไว้มากมาย เช่น พระอุโบสถ ที่ท่านได้ตระเตรียมการสร้างไว้กับเจ้าอาวาสรูปก่อนเป็นแผนผังแบบถาวร ท่านได้ทำหน้าที่ในการก่อสร้างจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ซึ่งในสมัยนั้ยค่าวัสดุในการก่อสร้างยังไม่แพงเหมือนปัจจุบัน การก่อสร้างในครั้งนั้นใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ ๓๕,๐๐๐ บาทเศษ (สามหมื่นห้าพันบาท)
๒. หลังจากการก่อสร้างองค์พระอุโบสถเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย ท่านก็ได้สร้างโรงธรรม (ศาลาการเปรียญ) เพื่อใช้ในกิจต่างๆ ขึ้นหนึ่งหลัง สิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างครั้งนี้ ๑๑๓,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นสามพันบาท) ในการก่อสร้างครั้งนี้ได้รับเงินช่วยเหลือจากกรมการศาสนามาช่วยเหลือเป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาท)
๓. สะพานลวดเหล็กข้ามคลองบางกล่ำ ใช้ข้ามไปมาสองฝั่งคลองให้ได้รับความสะดวกในการเดินไปมาหาสู่ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างครั้งนี้เป็นจำนวนเงิน ๕,๒๐๐ บาท (ห้าพันสองร้อยบาท)
๔. กุฏิสงฆ์ ซึ่งในสมัยนั้นยังมีไม่พอต่อความต้องการ ในการพักอาศัยของหมู่คณะสงฆ์ที่อุปสมบทเข้ามาในบวรพุทธศาสนาของวัดแห่งนี้ นับวันก็มีผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาเข้ามาอุปสมบทเพิ่มขึ้นจนไม่พอต่อความต้องการในการอยู่อาศัยทั้งในพรรษาและนอกพรรษา ท่านจึงได้สร้าง "กุฏิสงฆ์" เพิ่มขึ้นด้วยกันทั้งสิ้น ๒ ครั้ง
๕. การสร้างสะพานคอนกรีตถาวร นับได้ว่าเป็นผลงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งที่ชาวบ้านได้พึ่งพาอาศัยในการสัญจรไปมาอย่างสะดวกสบายจนตราบเท่าทุกวันนี้ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างในครั้งนี้เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๕๘๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนแปดหมื่นบาท) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รื้อและสร้างใหม่โดยกรมโยธา
๖. สร้างถนน ระหว่างหน้าวัดไปยังถนนของทางหลวงซึ่งอยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ติดต่อเส้นทางหลวงหมู่ที่ ๖ สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง ๒๓,๐๐๐ บาท ในปี พ.ศ.๒๕๒๕
๗. กำแพงถาวรรอบวัด/ซุ้มประตู ซึ่งทำให้วัดมีรั้วรอบขอบชิดและสวยงาม สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๖๕๐,๐๐๐ บาท (หกแสนห้าหมื่นบาท) สร้างในปี พ.ศ.๒๔๒๔
๘. กำแพงแก้วรอบอุโบสถ สิ้นเงินในการก่อสร้างจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท)
๙. เมรุเผาศพและศาลาเก็บศพ สร้างในปี พ.ศ.๒๕๓๑ เป็นเงิน ๙๕๐,๐๐๐ (เก้าแสนห้าหมื่นบาท)
๑๐.มณฑปที่ประดิษฐานรูปเหมือนของท่านอาจารย์ขวัญ เกสสโรเจ้าอาวาสรูปแรก และรูปเหมือนของท่านอาจารย์ต้ม (เอียด) เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ เพื่อให้ลูกศิษย์และผู้ที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาได้กราบไหว้ในโอกาสต่อไป สิ้นเงินในการก่อสร้าง จำนวน ๘๕๐,๐๐๐ บาท (แปดแสนห้าหมื่นบาท)
๑๑.หอระฆัง สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท)
๑๒.หอสมุด ซึ่งท่านอาจารย์ได้ดำเนินการสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๗ เพื่อใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ของผู้คนโดยทั่วไป สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๔๕๒,๕๐๐ บาท (สี่แสนห้าหมื่นสองพันห้าร้อย)
ซึ่งนอกจากถาวรวัตถุที่กล่าวแล้ว ยังมีสิ่งอื่นอีกหลายประการที่ท่านอาจารย์คิดริเริ่มและชักนำให้สร้างขึ้นอีกนานับประการ และที่สำคัญท่านอาจารย์ให้ความสำคัญคือการสร้างคน ซึ่งจะนำเห็นได้จากการที่ท่านได้สนับสนุนการศึกษาของโรงเรียนประชาบาลในสมัยนั้น และให้การสนับสนุน ศิษย์วัดคนใดที่มีผลการเรียนดี ท่านจะช่วยเหลือให้การส่งเสริมให้ได้เล่าเรียนที่สูงขึ้น แม้ว่าศิษย์คนนั้นจะมิใช่ลูกหลานหรือญาติก็ตาม แสดงถึงความเมตตาที่เต็มเปี่ยมอยู่ในจิตใจของท่านอาจารย์เสมอจวบจนวาระสุดท้ายที่ละสังขารไป.
ที่มา: ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ
ภาพ: อติศร แดงสุวรรณ์
ด้วยความเคารพ
อติศร แดงสุวรรณ์
๒๙ เมษายน ๒๕๖๐

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top