เหรียญรูปอาร์มในหลวงทรงผนวช กองทัพภาคที่ 3 ปี 2517-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญรูปอาร์มในหลวงทรงผนวช กองทัพภาคที่ 3 ปี 2517

เหรียญรูปอาร์มในหลวงทรงผนวช กองทัพภาคที่ 3  ปี 2517 - 1เหรียญรูปอาร์มในหลวงทรงผนวช กองทัพภาคที่ 3  ปี 2517 - 2เหรียญรูปอาร์มในหลวงทรงผนวช กองทัพภาคที่ 3  ปี 2517 - 3เหรียญรูปอาร์มในหลวงทรงผนวช กองทัพภาคที่ 3  ปี 2517 - 4เหรียญรูปอาร์มในหลวงทรงผนวช กองทัพภาคที่ 3  ปี 2517 - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญรูปอาร์มในหลวงทรงผนวช กองทัพภาคที่ 3 ปี 2517
อายุพระเครื่อง 50 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 21 เม.ย. 2567 - 21:05.04
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 07 พ.ค. 2567 - 09:56.45
รายละเอียด
เหรียญรูปอาร์มในหลวงทรงผนวช กองทัพภาคที่ 3 ปี 2517

เนื้อทองแดง

ทรงคุณค่า


นับเนื่องจากการจัดสร้างเหรียญพระบรมรูปในหลวงทรงผนวชในรูปแบบเหรียญทรงกลมเป็นปฐมบทในครั้งแรกโดยวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี 2508 นั้นได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยหลังจากนั้นเมื่อ ปี 2517 ทางกองทัพภาคที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก ได้ขอพระบรมราชานุญาตในการจัดสร้างเหรียญทรงผนวชขึ้นมาอีกคำรบหนึ่ง ในรูปลักษณ์ที่เป็นแบบรูปอาร์ม

ด้านหน้าประดิษฐานพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงทรงผนวชศิลปะการแกะแม่พิมพ์แบบนูนต่ำ มีความสวยงาม คลาสสิคในตัวเอง

ด้านหลังประดับตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี

โดย "นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดสร้างในรูปลักษณ์แบบนี้" แต่เป็นครั้งที่ 2 ที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้มีการจัดสร้างในรูปแบบทรงผนวช และมาจัดสร้างอีกครั้งในปี 2550 จากวัดบวรนิเวศน์ในรูปแบบเหรียญทรงกลมเหมือนครั้งแรก ที่วงการเรียกว่าเหรียญทรงผนวชรุ่น 2

ถ้าพิจารณาจากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าเหรียญทรงอาร์มที่จัดสร้างโดยกองทัพภาค 3 เป็นเหรียญที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น มีรูปแบบ และรูปทรงที่สวยงาม อีกทั้งจัดสร้างโดยหน่วยงานของกองทัพบก มีความสวยงามปราณีต อีกทั้งมีจำนวนสร้างที่จำกัด โดยเฉพาะเนื้อโลหะสำคัญ เช่น ทองคำ และ เงิน (มีการสลักหมายเลขประจำเหรียญไว้ด้านล่าง) พบเห็น หรือหมุนเวียนในวงการฯน้อยมาก

เหรียญรุ่นนี้ปลอดของเสริม ของทำซ้ำ จะมีก็แต่ของเก๊ หรือของทำเทียมเลียนแบบเต็มสนามพระ

จัดเป็นเหรียญทรงคุณค่า มิ่งมหามงคล ที่ควรค่าแก่การสักการะบูชา ในภายภาคหน้าจักเป็นเหรียญสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งทั้งในฝ่ายอาณาจักร และ ศาสนจักร แห่งสยามประเทศ


▪︎ประวัติการสร้างเหรียญในหลวงทรงผนวช เหรียญชินราช และเหรียญสมเด็จพระนเรศวรหลังสมเด็จพระเอกาทศรถ รวมถึงพระบูชา และพระกริ่งชินราช ภปร.แม่ทัพภาค 3 ปี 2517

ในคราวนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ "พล.ท.สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่ 3" จัดสร้างวัตถุมงคลพระบูชาพระพุทธชินราช ภปร.(พระบูชาชินราชกองทัพภาค 3) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อหารายได้ในการจัดตั้งมูลนิธิ "บารมีปกเกล้า" เพื่อช่วยเหลือทหาร , ตำรวจ , อส. และครอบครัวผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ รวมถึงพระบรมราชานุสาวรีย์ในค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

โดยเสด็จพระราชดำเนินพร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเททองชนวนเพื่อจัดสร้างพระพุทธชินราช ภปร. และวัตถุมงคลชนิดอื่นๆในรุ่นนี้ ณ มณฑลพิธีวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2516 เวลา 19.49 น. โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ป๋า) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นประธานสงฆ์

ในขณะนั้นอากาศก็เย็นสบาย ยังความผ่องใสแก่ผู้ร่วมพิธีและพสกนิกรที่ไปเข้าเฝ้าครั้งนั้นไปโดยทั่วกัน แต่ขณะเดียวกันกลับปรากฎเหตุ "ท้องฟ้าทางภาคเหนือ" (ตรงจุดที่ตั้งกองทัพภาคที่ 3) เกิดมี "ฟ้าแลบฟ้าร้อง" ดังสนั่นหวั่นไหวอยู่ตลอดเวลา กระทั่งพิธีเททองเสร็จสิ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯกลับแล้ว "ฟ้าแลบฟ้าร้อง" จึงสงบลง ครั้นพอถึงเวลา 17.55 น. "พระวิสุทธิวงศาจารย์" (เสงี่ยม จันทสิริมหาเถระ) เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ฯในขณะนั้น (ภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์) ดับเทียนชัยพิธีพุทธาภิเษก ทั้งยังได้มอบเงิน "5,000 บาท" เพื่อสมทบทุนมูลนิธิ "เย็นศิริเพราะพระบริบาล" อีกด้วย พร้อมกับ "สายฝน" ได้โปรยปรายมาอย่างหนัก จนน้ำนองรอบๆระเบียงพระอุโบสถ ทั้งๆที่บริเวณอื่นที่อยู่ใกล้เคียงวัดกลับมีฝนตกเพียงประปรายเท่านั้น นับเป็นปรากฎการณ์ที่ "ประหลาดอัศจรรย์" แก่ผู้ไปร่วมพิธีโดยทั่วหน้ากัน

จากนั้นนำมาประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกอีกครั้ง ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เมืองพิษณุโลก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517 พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณแห่งยุคนั้นจำนวน 45 รูป นั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคล

วัตถุมงคลในครั้งนั้นประกอบด้วย

1) พระบูชาพระพุทธชินราช ภปร. ขนาดบูชา 5.9 นิ้ว และ 9 นิ้ว ลงรักปิดทอง ฐานด้านหน้ากลางผ้าทิพย์ประดับตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ส่วนด้านหลังประดับตราสัญลักษณ์กองทัพภาคที่ 3 โดยมี จ.ส.อ.ทวี บูรณะเขต์ เป็นผู้ปั้นแบบพระ

2) พระกริ่งพระพุทธชินราช ภปร. เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะ (หมายเลขประจำองค์ใช้การแกะสลัก)

3) เหรียญพระพุทธชินราช หลังอักษรพระปรมาภิไธย ภปร. (เหรียญอาร์ม) เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และ เนื้อทองแดง (สลักหมายเลขเฉพาะเนื้อทองคำ และเนื้อเงิน)

4) เหรียญในหลวงทรงพระผนวชหลังอักษรพระปรมาภิไธย ภปร. (เหรียญอาร์ม) เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และ เนื้อทองแดง (สลักหมายเลขเฉพาะเนื้อทองคำ และเนื้อเงิน)

☆ เหรียญเนื้อทองคำเป็นเหรียญอาร์มพิมพ์เล็ก เหรียญเนื้อเงิน เป็นพิมพ์กลาง ส่วนเหรียญทองแดง และอัลปาก้า เป็นเหรียญพิมพ์ใหญ่

5) เหรียญพระพุทธชินราช ด้านหลังพระบรมรูปในหลวงทรงพระผนวชเนื้อนวโลหะ (หมายเลขประจำองค์พระแกะสลักด้วยมือ) เป็นเหรียญที่แจกสมนาคุณแก่กรรมการที่มีส่วนร่วมในการจัดสร้าง)

พิธีมหาพุทธาภิเษกได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์เลื่องชื่อมาอย่างมากมาย อาทิเช่น หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อเนื่อง หลวงพ่อนอ หลวงพ่อเทียม หลวงพ่อพริ้ง หลวงพ่อกี๋ เป็นต้น

ชนวนมวลสารที่นำมาหล่อหลอมเป็นทองชนวนเพื่อนำมาใช้ในการหล่อและปั๊มเหรียญนั้น ได้รับความเมตตาจากพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมในการจารอักขระยันต์ลงบนแผ่นโลหะเป็นจำนวนมาก

จัดเป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งของวัดศรีรัตนมหาธาตุฯ จังหวัดพิษณุโลก อีกทั้งเป็นรุ่นที่มีพิธีมหาพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ถึง 2 ครั้ง

ครั้งแรกที่...วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร

ครั้งที่สองที่...พระวิหารหลวงพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517

โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงประกอบพิธีจุดเทียนชัยมหาพุทธาภิเษก และมี "พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ" ร่วมพิธีพุทธาภิเษกจำนวน 45 รูป อาทิเช่น
1.พระภาวนาโกศลเถระ วัดปากน้ำภาษีเจริญ 2.พระโพธิวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิต
3.พระราชมุนี (มหาบุญโฮม) วัดปทุมวนาราม 4.พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
5.พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช
6.พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์
7.พระครูญาณวิจักษ์ (พระอาจารย์ผ่องจินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส
8.พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ
9.พระครูกิตตินนทคุณ (หลวงพ่อกี๋) วัดหูช้าง
10.พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี
11.พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง เป็นต้น

วัตถุมงคลทั้งหมดได้ทำการตกแต่งเพื่อความสวยงามร่วม 1 ปีจึงแล้วเสร็จ ก่อนออกนำให้พุทธศาสนิกชน และประชาชนทั่วไปได้เช่าบูชา

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top