พระเครืองเนื้อดิน เจ้ามุ้ย (พระมงคลทิพยมุนี) เจ้าอาวาสรูปที่ 8 ของวัดจักรวรรดิฯ-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระเครืองเนื้อดิน เจ้ามุ้ย (พระมงคลทิพยมุนี) เจ้าอาวาสรูปที่ 8 ของวัดจักรวรรดิฯ

พระเครืองเนื้อดิน เจ้ามุ้ย (พระมงคลทิพยมุนี) เจ้าอาวาสรูปที่ 8 ของวัดจักรวรรดิฯ - 1พระเครืองเนื้อดิน เจ้ามุ้ย (พระมงคลทิพยมุนี) เจ้าอาวาสรูปที่ 8 ของวัดจักรวรรดิฯ - 2พระเครืองเนื้อดิน เจ้ามุ้ย (พระมงคลทิพยมุนี) เจ้าอาวาสรูปที่ 8 ของวัดจักรวรรดิฯ - 3พระเครืองเนื้อดิน เจ้ามุ้ย (พระมงคลทิพยมุนี) เจ้าอาวาสรูปที่ 8 ของวัดจักรวรรดิฯ - 4พระเครืองเนื้อดิน เจ้ามุ้ย (พระมงคลทิพยมุนี) เจ้าอาวาสรูปที่ 8 ของวัดจักรวรรดิฯ - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระเครืองเนื้อดิน เจ้ามุ้ย (พระมงคลทิพยมุนี) เจ้าอาวาสรูปที่ 8 ของวัดจักรวรรดิฯ
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า 650 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระมาใหม่
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 22 พ.ค. 2567 - 21:19.36
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 22 พ.ค. 2567 - 21:19.36
รายละเอียด
พระเครืองเนื้อดิน เจ้ามุ้ย (พระมงคลทิพยมุนี) เจ้าอาวาสรูปที่ 8 ของวัดจักรวรรดิฯ

พระพิมพ์ ทำด้วยดินเผาผสมผงใบลานกับผงวิปัสสนา

พระเก่า ครับ

องค์นี้ สภาพ สวยมาก หน้าติดชัด สวย สมบูรณ์


เครดิต เพจอนุรักษ์พระเครืองวัดจักรวรรดิราชาวาส-วัดสามปลื้ม
17 สิงหาคม 2020 ·
พระเครืองเนื้อดิน เจ้ามุ้ย มุ้ยนะครับไม่ใช่จุ้ย เอามาให้ศึกษากัน2พิมพ์ ใหญ่กับเล็ก
ประวัติ เจ้ามุ้ย หรือ พระมงคลทิพยมุนี
พระมงคลทิพยมุนี (มุ้ย) เจ้าอาวาสรูปที่8ของวัดจักรวรรดิฯ
พระมงคลพิพยมุนี นามฉายา ปณฑิโต นามเดิมมุ้ย นามสกุล พรหมจินดา
เป็นบุตรของ พระธรรมรักษา(พุก พรหมจินดา) เจ้ากรมสังฆการี และ นางธรรมรักษา (ใหญ่)
เป็นคนพื้นเพ บ้านตะนาว อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร
ท่านเกิดในรัชกาลที่4 เมือวันที่30กรกฎาคม พ.ศ.2440
พอถึงยุครัชกาลที่5 พ.ศ.2513ท่านมุ้ยอายุได้9ปี ได้ไปเรียนอักษร กับพระครูสุนทรสมาจาร(เลิศ หรือ เริ่ม) เจ้าอาวาสวัดเทพธิดาราม ตั้งแต่สมัยท่านเป็นพระธรรมไตรโลกาจารย อยู่ที่ วัดสุทัศเทพวราราม
และได้ศึกษาพระปริยติธรรมกับเจ้าคุณพระพิมลธรรม(อ้น) บ้างที่พระมหาพ่วง เปรียญ3ประโยคบ้าง เมื่อ พ.ศ. 2421ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าห้เจ้าคุณพระพิมลธรรม(อ้น) ที่สมัยยังเป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ ให้ไปครองวัดพระเชตุพลฯ ท่านเจ้ามุ้ยก็ได้ตามไปอยู่ด้วย
พอได้อายุ20ปีท่านมุ้ยก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุมีฉายาว่า ปณฑิโตที่วัดพระเชตุพลฯ
มีเจ้าคุณพระพิมลธรรมเป็นอุปัชณายะ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(แสง)วัดราชบุรณะ กับพระราชมุนี(แสง)วัดสุทัศน์ฯ เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ และได้ศึกษาต่อที่วัดพระเชตุพลฯต่อมาได้ไปเรียนต่อกับท่านเจ้าอธิการฤทธิ์ วัดครุฑ จนท่านมรณภาพ ต่อมาได้ย้ายไปเรียนต่อกับพระอาจารย์โต วัดบพิตรพิมุขฯ
พอถึง พ.ศ.2429ท่านเจ้ามุ้ยอายุ26ปี ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสรวิชัย (ฐานุกรมในเจ้าคุณพระพิมลธรรม อ้น)
พอถึง พ.ศ.3436ท่านเจ้ามุ้ยอายุ33ปี ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรเป็น พระครูวิสุทธิสมโพธิ ฐานานุกรมในพระอัฎฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ได้รับพัดยศพุดตานพื้นขาว
ต่อมา พ.ศ.2456โปรดอาราธนาไปคลองวัดจักรวรรดิฯ มีขบวนแห่จากวัดพระเชตุพลฯมีรถหลวงไปส่งเป้นเกียรยศ แต่ยังเป็นรองเจ้าอาวาสอยู่ เพราะในขณะนั้น เจ้าคุณพุฒาจารย์(มา) สมัยยังเป็น พระมงคลทิพยมุนี ยังครองวัดอยู่ และในปีเดียวกัน ท่านเจ้ามาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพุฒจารย์ ต่อมา พ.ศ.2457 ท่านเจ้ามาถึงมรณภาพ
วันที่30ธันวาคม พ.ศ.2457 ท่านมุ้ยก็ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลือนตำแหน่งขึ้นเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เป็น “พระมงคลทิพยมุนี ฯ” มีสมณศักดิ์เสมอชั้น ราช จน พ.ศ.2464 เลื่อนสมณศักดิ์เสมอชั้น เทพ
หน้าที่การทำงานของท่าน
พ.ศ. 2451ท่านเป็นเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา
พ.ศ.2457 ท่านเป็นผู้ดูแลพระพุทธบาทสระบุรี
ได้สร้างบำรุงวัดพรหมเทพาวาส จังหวัด สิงห์บุรี
เมือท่านมีพรรษาได้49 ได้จัดสร้างพระพิมพิ ทำด้วยดินเผาผสมผงใบลานกับผงทางวิปัสสนา เพื่อให้เป็นปูชนียวัตถุ สำหรับพุทธศาสนิดชนต่อไปภายหน้า แต่สร้างได้เพียง70,000องค์เศษ ยังไม่ครบ84,000 ตามพระธรรมขันธ์ เท่าที่ท่านตั้งใจไว้ ท่านก็เริ่มอาพาธเป็นโรคชรากระสาะกระแสะมา พอค่อยสายดีขึ้นก็ได้ๆไปจัดการยกช่อฟ้าวิหารพระนอนที่วัดพรหมเทพาวาส จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2474โรคกำเริบจึงได้กลับมาอยู๋ที่วัดจักรวรรดิฯวันที่9ธันวาคม อยู่ได้ 7 วัน ท่านก็ได้มรณภาพลง ตรงกับวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2475 ศิริอายุได้ 70ปี
ในการศพ ได้รับพระราชทานน้ำสรงและหีบทองเป็นเกรียรติยศ หลังจากพระราชทานเพลิงศพแล้ว ได้เก็บอัฎฐิไว้ในมณฑปพระพุทธบาท ที่วัดจักรวรรดิ และได้นำไปบรรจุไว้ ณ อุโบสถวัดพรหมเทพาวาส จังหวัดสิงห์บุรี พร้อมกับพระพิมพ์ดินเผาของท่าน ใน พ.ศ.2476
อ้างอิงแบบย่อจากหนังสือประวัติวัดจักรวรรดิ ปี2498

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top