หลวงพ่อกล้าย วัดหงษ์-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ
หลวงพ่อกล้าย  วัดหงษ์ - 1หลวงพ่อกล้าย  วัดหงษ์ - 2หลวงพ่อกล้าย  วัดหงษ์ - 3หลวงพ่อกล้าย  วัดหงษ์ - 4
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อกล้าย วัดหงษ์
อายุพระเครื่อง 100 ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 08 ก.ค. 2567 - 21:11.54
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 09 ก.ค. 2567 - 12:06.51
รายละเอียด
หลวงพ่อกล้าย วัดหงษ์ ศิษย์ หลวงปู่เนียม วัดน้อย

องค์นี้ สวย และสมบูรณ์มากที่สุด เท่าที่เคยได้

ท่านเริ่ม สร้างพระตั้งแต่ ปี 2468 เป็นต้นมา

ประวัติรายละเอียด/การสร้างพระ

http://thonburitalisman2.blogspot.com/2012/11/blog-post_30.html




เครดิตเพจ พระเครื่อง พระบูชา เกจิเมืองไทย
31 สิงหาคม 2020 ·
หลวงพ่อกล้าย วัดหงษ์
#หลวงปู่เนียมวัดน้อย กับ #หลวงพ่อกล้ายวัดหงส์
#หลวงพ่อพระครูพรหมยานวินิต (กล้าย สุวัณณหังโส) ได้เล่าเหตุการณ์ที่องค์ท่านไปฝากตัวเพื่อขึ้นสมถะกรรมฐาน กับ หลวงปู่เนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ให้ครูฟังว่า
#ท่านอาจารย์เป็นคนสั่งให้ไปกราบท่าน ท่านอาจารย์หมายถึง หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ภักตร์ วัดโบสถ์ ผู้มีฐานะเป็นอาจารย์และพี่ชายบุญธรรมของท่าน เพราะ โยมมารดาของหลวงพ่อภักตร์ ได้ขอหลวงพ่อกล้าย มาเลี้ยงตั้งแต่ยังเยาว์วัย ท่านจึงอยู่ในความอุปการะของหลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ มาตั้งแต่เป็นสามเณร จนกระทั่งบวชเป็นพระภิกษุ ได้มาศึกษาเล่าเรียนที่วัดหงส์รัตนาราม ภายใต้การปกครองของท่านเจ้าคุณพระรัตนมุนี (บาง) พี่ชายของหลวงพ่อภักต์ จนได้เป็น #พระสมุห์กล้าย หลวงพ่อกล้ายเดินทางไปมาระหว่างพระนครและอ่างทอง อยู่เสมอเพื่อไปดูแลและเล่าเรียนวิชากับหลวงพ่อภักตร์
#ถ้าเอ็งอยากจะเจริญในพระพุทธศาสนาและวิทยาคมเอ็งต้องเรียนสมถะภาวนา ที่ข้าสอนเอ็งไปอย่าทิ้ง ให้หมั่นทำ เพียรทำ หลวงพ่อภักตร์ ท่านย้ำเสมอกับหลวงพ่อกล้ายผู้เป็นศิษย์ “ที่ข้าสอนเอ็งไปก็พอเอาตัวรอดได้ แต่ถ้าอยากเรียนจริง รู้จริง ก็ไปหาอาจารย์ข้า หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ที่สุพรรณ ไปขอขึ้นสมถะกับท่าน” หลวงพ่อกล้ายรับคำจึงเดินทางไปวัดน้อย เมื่อท่านไปถึง ท่านขึ้นกุฏิไปกราบหลวงพ่อเนียม ซึ่งขณะนั้นชรามากแล้ว หลวงพ่อกล้ายเล่าว่า หลวงพ่อเนียมที่ท่านเห็น เป็นพระชรา ผิวกระดำกระด่าง ครองผ้าจีวรเก่า ๆ สกปรก ท่าทางไม่น่าเลื่อมใส พอหลวงพ่อเนียม เงยหน้าเห็นท่าน ที่กำลังก้มกราบ ก็ร้องทักว่า “มึงมาหาใคร มาทำไมใครใช้ให้มึงมา” หลวงพ่อกล้ายกราบเรียนท่านว่า “มาหาหลวงพ่อครับ กระผมตั้งใจมาขอขึ้นสมถะ ท่านอาจารย์ภักตร์ ใช้ให้กระผมมา” “อ๋อ ลูกศิษย์ของไอ้บ้าอ่างทอง กูไม่เป็นหรอกสมถะอะไรที่มึงว่า มึงมาทางไหนกลับไปทางนั้น #ลูกศิษย์ไอ้ภักตร์บ้าทั้งอาจารย์บ้าทั้งลูกศิษย์” แล้วท่านก็ไม่ยอมพูดอะไรอีก หลวงพ่อกล้ายจึงกราบลาลงจากกุฏิไปขอพักกับพระในวัด พอถึงเวลาลงโบสถ์ท่านก็ไปลงโบสถ์พร้อมกับพระในวัด เมื่อหลวงพ่อเนียมเหลือบมาเห็นท่าน ก็ด่าลั่นโบสถ์ว่า “ไอ้พระอ่างทองนี่หน้าด้าน กูไล่ไปแล้วยังเสือกอยู่อีก ไปไปให้พ้น” หลวงพ่อกล้ายบอกครูของผมว่า “อันที่จริง เราก็โกรธท่าน ท่านไล่เรายังกะหมูกะหมา ด่าพ่อล่อแม่ แต่คิดถึงคำพูดท่านอาจารย์ท่านบอกมาก่อนมาว่า #หากเอ็งรักที่จะดีต้องอดทนอย่าใจน้อยท่านจะไล่ยังไงอดทนเอา หลวงพ่อเนียมท่านไล่หลวงพ่อกล้ายทุกวัน จนกระทั่งผ่านไปหลายวัน ท่านเห็นหลวงพ่อกล้ายยังอยู่ ท่านพูดว่า “อ้ายนี่มึงยังอยู่อีกหรือ มึงนี่มันหน้าด้านเสียจริง #เชื้อไม่ทิ้งแถวมึงมันบ้าเหมือนอาจารย์มึง คืนนี้มึงอาบน้ำอาบท่า เตรียมพานขึ้นไปพบกูบนกุฏิ” แล้วท่านก็เดินจากไป หลวงพ่อกล้าย ดีใจมากที่ความอดทนท่านประสพผลสำเร็จ ท่านจึงเตรียมของขึ้นไปพบหลวงพ่อเนียมบนกุฏิในค่ำนั้น ท่านเล่าว่า “ขึ้นไปในค่ำนั้น หลวงพ่อเนียมท่านครองจีวรเรียบร้อย สะอาดสะอ้าน ผิวพรรณวรรณะท่านก็ผ่องใส มีสง่าราศรี ไอ้ที่เคยกระดำกระด่างเป็นมลทินเหมือนที่เคยเห็นไม่มีเลย เหมือนเป็นคนละคน พูดจาปราศัยดี มีเมตตา ไม่เหมือนเมื่อวันก่อนๆ” หลวงพ่อเนียม ท่านซักถามถึงสิ่งที่หลวงพ่อกล้าย เรียนมาจากหลวงพ่อภักตร์จนสิ้น แล้วบอกกับหลวงพ่อกล้ายว่า “ที่ท่านภักตร์ สอนมาก็ถูกต้อง เอาตัวรอดได้แล้ว แต่เห็นที่ท่านมีศรัทธา เดินทางมาไกล มีน้ำอดน้ำทนยอมให้ฉันด่า จะสอนให้ “ หลวงพ่อกล้ายจะส่งพานดอกไม้ถวายหลวงพ่อเนียม ท่านชิงพูดเสียว่า “เดี๋ยวก่อน ก่อนที่เธอจะฝากตัวเป็นศิษย์ฉัน #ฉันอยากให้เธอพิสูจน์เสียก่อนว่าสมถะที่ฉันจะสอนเธอต่อไปเป็นของจริง เธอลงจากุฏิฉันไปเดินไป ๒๐ ก้าว ถึงต้นไม้ใหญ่กลางนาหน้าวัดในหลุมใต้ต้นไม้มีแมงดาตัวใหญ่ นอนเฝ้าไข่มันอยู่ จริงหรือไม่ ถ้าไม่มีจริง ก็ไม่ต้องมาเรียนกับฉัน” หลวงพ่อกล้ายรับคำ เดินไปปรากฏว่า เป็นจริงทุกประการดังที่หลวงพ่อเนียมพูด #ท่านรู้จริงเหมือนตาเห็น หลวงพ่อกล้ายขึ้นไปกราบเรียนท่าน ท่านจึงยอมรับพานดอกไม้ขึ้นสมถะให้
หลวงพ่อกล้ายเล่าว่า ภายหลังท่านเคยถามหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ผู้เป็นสหธรรมิกว่า เคยขึ้นไปหาหลวงพ่อเนียมไหม หลวงปู่โต๊ะเล่าว่า “เคยขึ้นไปหาท่าน แต่ท่านชรามากแล้ว ท่านว่าสิ้นกำลังที่จะสอนเสียแล้ว ให้ไปอาจารย์โหน่ง วัดคลองมะดัน เขาเก่งไม่แพ้ฉัน”
#เรื่องเล่าจากปากครู
#ศิษย์บันทึกไว้กันสูญหาย

ประวัติพระครูพรหมยานวินิต ( กล้าย ทิบภักดี )
อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2434 เวลา 6.50 น ณ บ้านกระดาษ หมู่ที่ 1 ตำบล มดแดง อำเภอ ศรีประจันต์ จังหวัด สุพรรณบุรี บิดาชื่อนายเฉย มารดาชื่อนางกล่ำ ทิบภักดี มีน้องสาวชื่อเพริ้ง ใยเพรช ม่านได้บรรพชาและอุปสมบท เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2453 ณ พัทธสีมาวัดโบสถ์ อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง เมื่อเวลา 13.30 น โดยพระอธิการเนตร วัดโบสถ์เป็นพระอุปัชฉายะ พระอาจารย์พลอย วัดโบสถ์เป็นพระกรรมวาจารย์และพระอาจารย์พักตร์ วัดโบสถ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายา "สุวณุณหุโส" เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์ เนื่องจากหลวงพ่อพักตร์ เป็นพระน้องชายของพระรัตนมุนี (บาง) อดีตเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม ซึ่งหลวงพ่อพักตร์เคยไปศึกษาวิชาอยู่ที่วัดหงส์รัตนารามมาก่อน นอกจากนี้หลวงพ่อกล้ายท่านยังได้ศึกษาวิชาจากอาจารย์ท่านอื่นอีกหลายองค์ ที่ทราบก็คือหลวงพ่อโหน่งวัดคลองมะดัน พระสังวรานุวงศ์ (ชุ่ม) วัดราชประสิทธารามและยังทันกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคอีกด้วย หลังจากที่ได้ร่ำเรียนวิชาต่างๆมาพอสมควรแล้วหลวงพ่อกล้าย ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีจันต์ ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านและได้เมตตาช่วยเหลือชาวบ้านที่ทุกข์ร้อน โดยใช้พรหมวิหาร 4 ไม่อวดตนข่มผู้อื่น ผู้ใดที่ทุกข์ร้อนมาหาท่านก็ได้รับการช่วยเหลือโดยไม่แบ่งชั้นวรรณะจึงเป็น ที่รักของชาวบ้านจำนวนมาก ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษาที่ วัดหงส์รัตนารามโดยท่านได้รับสมณศักดิ์ที่ "พระครูพรหมยานวินิจ" ชั้นโท และในปี 2500 จึงได้เลื่อนชั้นเอกในนามเดิม ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ส่วนการสร้างพระท่านได้สร้างพระเมื่อประมาณ ปี 2468 เป็นต้นมา โดยใช้ยันต์ "อุ" และ ยันต์น้ำเต้า "อิติอุนิ" เป็นยันต์ประจำตัวส่วนยันศรี และยัน นะ นั้นท่านไม่ค่อยได้ใช้มากนัก ( ยันศรี เคยใช้ลงถาดทองเหลือง งานสร้างวัตถุมงคลที่วัดราชโอรส ปี 2508 ) โดย ยันต์ "อุ" ย่อมาจาก "อุณาโลมาปะนะชายะเต อะสังวิสุโลปุสะพะภะ" และยันต์น้ำเต้า "อิติอุนิ"ย่อมาจาก อิ คือ อิสะระนัง โลเกเสฐฐัง ติ คือ ติสะสัพพะ สัพพา อุตตะยะนัง อุ คือ อุเบกขาอังคะสัมภะวัง นิ คือ นิพานัง ปรมังสุขขัง โดยใช้ยันต์ทั้ง 2 นี้ เป็นหัวใจพระคาถาที่หลวงพ่อกล้าย ได้ศึกษาและได้ภาวนาขณะปลุกเสกพระเครื่องของท่านให้มีความเข้มขลังพระที่ ท่านสร้างมีเนื้อผงและเนื้อดินเผา โดยมีผงของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ผงพระขุนแผน วัดบ้านกร่าง ผงหลวงพ่อเนียมวัดน้อย ผงจากกรุวัดตาล
( อาจารย์คงซึ่งเป็นอาจารย์ของขุนแผน ) ผงใต้ประธานวัดไก่เตี้ย ผงของหลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์ ซึ่งเป็นอจารย์ของท่าน ผงของหลวงพ่อแฉ่งวัดบางพัง ผงของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ผงของพระครูใบกีฎาเกลี้ยง วัดสุทัศน์ ผงที่ท่านลบเขียนเอง ดินจากที่ต่างๆเช่น ดินปิดรูหนู รูปู ดินรังหมาล่าที่ปิดหู ตา จมูก ปากของพระอิธิมงคลต่างๆ นอกจากนี้ยังมีผงของหลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร ผงของหลวงพ่อแซมวัดนวงนรดิศ ผงของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ผงของสมเด็จพระสังฆราช ( ป๋า วัดโพิ์ท่าเตียน ) ผงของพระวัดผลับ ดินหนองช้างตาย กิ่งอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ดิน 7 โป่ง 7 ท่าผงตะใบพระกรื่งของสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่พระครูปรุงมอบให้ ส่วนเนื้อชินได้จากพระของหลวงเนียมวัดน้อย และ ตะปูสังขวานร จากขุนโพที่นำมาถวาย สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ว่านยาและเกษรดอกไม้ 108 ดินขุยปูและดินปลาไหลเผือก ผสมปูนเปลือกหอย กล้วย และ น้ำตาล ตำสาวนผสมทั้งหมดจนละเอียดได้ที่ แล้วจึงกดเป็นพิมพ์พระ อนึ่งพระของท่านมักใช้ วิชาปลุกเสก เตโชกสิน(ไฟ) ปลุกเสก จึงมีสีขาวดำและแดง ท่านสร้างพระมาจนถึงปี 2505 จึงได้เลิกสร้างเนื้องจากท่านชราภาพ และท่านยังสร้างพระแจกแก่สาธุชนโดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใดพระเครื่องที่ท่าน สร้างแจกนั้น เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจให้สาธุชนยึดมั่นในพระพุทธศาสนา สร้างความดีละเว้นความชั่ว และต่อมาจนเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2510 ท่านก็ได้มรณะภาพอย่างสงบ สิริรวมอายุได้ 76 ปี แต่ยังคงเหลือคุณงามความดีให้สาธุชนทั้งหลายได้ระลึกถึงท่านไว้ส่วนพระ เครื่องที่ท่านสร้างแจกนั้น น่าเสียดายใครที่ได้รับแจกไว้เก็บไว้ต่างก็หวงแหน และัไม่ค่อยได้นำออกมาให้บูชากัน จึงไม่ค่อยมีใครรู้จักพระเครื่องของท่านมากนัก ทั้งที่มีมากมายหลายแบบ หลายพิมพ์ มีจำนวนทั้งหมดประมาณ 50000 องค์ และเนื้อชินไม่เกิน 1000 องค์ แม่พิมพ์ด้านหน้าของท่านได้ให้พระเกจิที่นับถือกันนำไปทำใหม่แต่เปลี่ยน ยันต์ที่ด้านหลัง ที่สืบมาได้คร่าวๆคือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ นอกจากนั้นท่านยังได้สอนวิชาต่างๆให้กับเกจิอาจารย์ที่ทราบคือ หลวงพ่อนิ่ม วัดพุทธมงคล หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top