พระสมเด็จดิน 9 ประเทศ สำนักปู่สวรรค์ พ.ศ.2516-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระสมเด็จดิน 9 ประเทศ สำนักปู่สวรรค์ พ.ศ.2516

พระสมเด็จดิน 9 ประเทศ สำนักปู่สวรรค์ พ.ศ.2516 - 1พระสมเด็จดิน 9 ประเทศ สำนักปู่สวรรค์ พ.ศ.2516 - 2พระสมเด็จดิน 9 ประเทศ สำนักปู่สวรรค์ พ.ศ.2516 - 3
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จดิน 9 ประเทศ สำนักปู่สวรรค์ พ.ศ.2516
อายุพระเครื่อง 52 ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 07 พ.ค. 2568 - 21:22.56
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 09 พ.ค. 2568 - 11:20.38
รายละเอียด
พระสมเด็จดิน 9 ประเทศ สำนักปู่สวรรค์ พ.ศ.2516

สวยเดิม


รายละเอียด มวลสาร พิธีการ ต่าง ๆ มากมาย แบบเต็ม ๆ เวอร์ชั่นครับ

http://poosawan.org/index.php/2013-07-29-08-39-22/126-2013-11-20-11-21-40

พิธีนั่งปรกลงพลังจิตในแต่ละวันนั้นจะมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณเข้านั่งปรกครั้งละ ๙ รูปเจริญสมาธิ แผ่พลังจิตพุทธาภิเษกไปจนรุ่งสาง เป็นเช่นนี้ตลอด ๙ วัน ๙ คืน ในวันสุดท้ายของพิธี พระอมฤตนันทะมหาเถโร ประธานสงฆ์ประเทศเนปาล ซึ่งมีเชื้อสาย ศากยวงศ์เป็นประธานดับเทียนชัย ตามบันทึกกล่าวไว้ว่า เมื่อทางสำนักเปิดให้ผู้ที่สั่งจองมารับพระได้ ก็ได้มีสาธุชนเข้ามารับพระกันอย่างเนืองแน่นเป็นประวัติการณ์
๙ มวลสาร มงคล ในพระสมเด็จดิน ๙ ประเทศ

๑.มวลสารปฐมบทอันใช้คุลีการพระสมเด็จดิน ๙ ประเทศคือ ดินศักดิ์สิทธิ์จากปูชนียสถาน ๙ ประเทศที่อัญเชิญมาจาก ไทย ลาว เขมร พม่า เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย และเนปาล ผืนแผ่นดินในประเทศดังกล่าว เชื่อว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เคยเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์เมื่อครั้งพระพุทธกาลมาแล้วทั้งสิ้น ทำให้เนื้อดินจากสถานที่เหล่านั้นล้วนเปี่ยมไปด้วยพุทธบารมี แห่ง พระปัญญาคุณ พระกรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ พระสมเด็จดินเก้าประเทศจึงเป็นพระพุทธปฏิมากรรมที่ทรงด้วย บุญญฤทธิ์ อิทธิฤทธิ์ ด้วยกระแสแห่งพุทธานุภาพโดยตรงจากองค์พระบรมศาสนดาเอกของโลก

๒.มวลสารทุติยบท คือว่านมงคล ๑๐๘ ประการ อันเป็นเนื้อหาที่เป็นมงคลยิ่งอาธิเช่น

๑.ว่านเศรษฐี มีคุณภาพทางกระทำให้เกิดความมั่งคั่งสมบูรณ์นาฐานะกิจการอาชีพ(สัมมาชีพ) ก่อให้เกิดความมั่นคงในฐานะทางครอบครัวอีกส่วนหนึ่งด้วย

๒.ว่านชัยมงคล มีคุณในทางก่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตแก่เคหสถานและอาณาบริเวณอันเป็นที่อยู่อาศัย

๓.ว่านมหาอุตม์ ขึ้นชื่อลือมาแต่ครั้งโบราณว่าใครมีว่านมหาอุตม์แล้วอาวุธปืนไม่ระคายผิวหนังซ้ำสามารถกระทำให้ดินระเบิดหมดอำนาจลงได้ด้วย

๔.ว่านเสน่ห์จันทน์ มีคุณาธิคุณทางพืชอาถรรพณ์ก่อให้เกิดเสน่ห์เกิดความรักใคร่แก่ผู้ที่ได้ประสบพบปะสมาคมด้วย นี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาด้านว่านที่มีอยู่ในองค์พระสมเด็จดิน ๙ ประเทศ



๓.มวลสาร ตติยบท คือดอกไม้นานาพันธุ์ ๑๐๘ พันธุ์ อาธิเช่น เกสรดอกบุนนาค เป็นยาบำรุงหัวใจให้กระชุ่มกระชวย เบิกบาน เกสรสัตตบุศย์ เกสรโกมุท เกสรลินจง อันดอกไม้นานาพันธุ์พร้อมด้วยเกสร ๑๐๘ ชนิดทุกๆชนิดล้วนมีอารักขเทพประจำรักษาอยู่ด้วยกันทั้งหมดดังนั้นมวลสารตติยบทในพระสมเด็จดิน ๙ ประเทศ จึงเป็นที่สถิตแห่งเทพเจ้าประจำบุปผาชาติถึง ๑๐๘ องค์ พระสมเด็จดิน ๙ ประเทศจึงทรงด้วย เทวานุภาพ อีกประการหนึ่งด้วย

๔.มวลสารจตุตถบท คือผงสมเด็จอิทธิเจ (รวมด้วยผงพระพุทธคุณ ผงตรีนิสิงเห ผงมหาราช ผงปถมัง หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่าผงวิเศษ ๕ ประการ

ผงอิทธิเจ เป็นผงที่เกิดจากดินสอดินขาวปั้นเป็นแท่งๆ มีกรรมวิธีการทำดินสอผงนี้โดยเฉพาะ ผู้ที่จะทำดินสอนี้ชนิดนี้ใช้ได้จะต้องเป็นผู้สำเร็จในวาชาไสยเวทย์วิทยาคุณ ( สายขาว ) อันเป็นวิทยาการที่มีอาจารย์น้อยคนที่จะเรียนสำเร็จได้ แต่เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) พรหมรังสี ท่านเรียนวิชานี้สำเร็จตั้งแต่ยังเป็นสามเณร

เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านทำผงได้แล้ว ท่านก็เก็บผงนี้ไว้ในเต้าปูนแดง กาลต่อมาได้มีอุบาสกท่านหนึ่งได้เก็บรักษาไว้ ( กล่าวกันว่าอุบาสกผู้นี้เป็นคนวัดสังเวชวิศยาการ บางลำพูบน ได้ติดตามเจ้าประคุณสมเด็จ มาตั้งแต่ครั้งสมเด็จเป็นสามเณร )

ผงวิเศษห้าประการนี้ได้รับมรดกมาจากท่านผู้เฒ่าแห่งวัดสังเวชฯมอบให้นำมาคุลีการในการสร้างพระสมเด็จดินเก้าประเทศ และการสร้างพระสมเด็จดิน ๙ ประเทศในครั้งนี้มีคณาจารย์ได้นำผงวิเศษห้าประการของสมเด็จฯผสมลงทั้งหมด ( สำนักวัดสังเวชวิศยาราม มีพระอาจารย์คือ พระบวรวิริยเถร )

๕.มวลสารปัญจบท ผงพระคาถาชินปัญชร เป็นผงที่เกิดจากดินสอหินขาวบริสุทธิ์ ดินขาวชนิดนี้ในต่างประเทศเรียกว่า ดินกัวลีน เป็นของบริสุทธิ์โดยธรรมชาติมีค่าสูงมาก เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี ท่านเป็นผู้ค้นพบบ่อดินขาวนี้ คราวที่ท่านธุดงค์ไปเมืองกำแพงเพชร เป้นบ่อดินบริสุทธิ์ที่สมเด็จค้นพบได้อย่างอัศจรรย์ ( และจนกระทั่งปัจจุบัน [ ข้อมูลอ้างอิงเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ ] ยังไม่มีผู้ใดสามารถค้นพบบ่อดินชนิดนี้อีกเลย )

ท่านได้นำดินขาวมาทำเป็นดินสอมงคล และเขียนพระคาถาชินปัญชรด้วยอักขระขอมลงในกระดานชนวนไม้มะละกอ จากนั้นก็เก็บผงสีขาวนั้นไว้นำมาสร้างเป้นพระประติมากรรมองค์เล็กๆบังเกิดกิติคุณความศักดิ์สิทธิ์ จนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงตรัสถามสมเด็จฯ

๖.มวลสาร ฉมหามงคล ผงผ้ายันต์พิทักษ์เอกราช ผงนี้เกิดจากผ้ายันต์พิทักษ์เอกราชอันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่องค์พระพรหมและเทพยเจ้าชั้นสูงในพรหมโลกร่วมเป็น “ เทพสภา ” สร้างไว้ในสำนักปู่สวรรค์ มีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นเครื่องคุ้มครองปกป้องภัยแก่ทหารตำรวจและผู้มีส่วนในการพิทักษ์เอกราชของชาติไทยที่มีชีวิตอยู่ในแดนทุรกันดาร

ผงผ้ายันต์พิทักษ์เอกราช นับเป็นผงที่มีความพิสดารอัศจรรย์เพราะผงนี้จะรวมตัวกันเป็นรูปร่างต่างๆและจะปรากฏในองค์พระสมเด็จดิน ๙ ประเทศ เมื่อการสร้างพระได้ผ่านไปครบ ๙ ปีแล้ว รูปลายลักษณะเป็นภาพมงคลประจำแต่ละองค์ไม่เหมือนกันแล้วแต่ผู้เป็นเจ้าของพระสมเด็จดิน ๙ ประเทศ จะบูชาหนักไปทางด้านใดด้านหนึ่ง รูปลายลักษณ์มงคลอาจเกิดเป็นภาพ วัตถุทิพย์ ในสรวงสวรรค์อาจเกิดเป็นภาพเครื่องมงคล ๙ ประการอันได้แก่ คธา สังข์ จักร หม้อน้ำ ธงสามชาย กรอบหน้า โคอุคุภราช ขอช้าง อันงดงามในเมื่อถึงวาระปีที่เก้าแห่งการสร้างพระสมเด็จดิน ๙ ประเทศ

๗.มวลสารสัตตมงคล น้ำพระพุทธมนต์ในพิธีเสาร์ ๕ สามโลก ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ของไทยเราถือกันโดยเคร่งครัดว่าวันเสาร์ ๕ ( เดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ วันเสาร์ ) เป็นวันสำคัญในทางไสยศาตร์ ( ไสยฝ่ายขาวอันเป็นเวทวิทยาการที่ให้คุณแก่มนุษย์โดยฝ่ายเดียว

เทพพระเสาร์ อันเป็นดาวประจำดาวเสาร์ จะเสด็จมาประกอบพิธีบวงสรวงเทพยเจ้าพระผู้เป็นเจ้าและบำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนา ( ด้วยปัตตานุโมทนามัยคือ อนุโมทนาการบุญของมนุษย์ )ในวันเสาร์ห้านี้ น้ำพระพุทธมนต์ในวันเสาร์ ๕ นี้จึงเป็นน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์ และน้ำพรหมมนต์พร้อมกันในคราวเดียวกัน จึงเกิดความศักดิ์สิทธิ์สูงยิ่ง

น้ำพระพุทธมนต์พิธีเสาร์ห้า ๓ โลก ที่นำมาผสมสร้างพระคราวนี้สำเร็จโดยการอัญเชิญ พรหมโลก เทวโลก และมนุษยโลก ร่วมทำพระปริตร พร้อมกันไป น้ำพระพุทธมนต์ตำรับนี้จึงเรียกว่า น้ำทิพย์อันเกิดจาก พรหมฤทธานุภาพ และเทวานุภาพ ด้วยกันสองประการ

๘.มวลสารอัฏฐมงคล น้ำมันพระพุทธมนต์ครอบจักรวาล มวลสารชุดนี้เป็นตัวประสานให้ผงวิเศษและดินบริสุทธิ์รวมตัวกันเป็นรูปแบบที่นายช่างต้องการ ( เป็นรูปองค์พระ ) นอกจากนั้นยังช่วยให้เกิดความสะอาดแวววาวสะท้อนแสงในเนื้อผงอีกด้วย

น้ำมันต์พุทธมนต์ครอบจักรวาลเป็นน้ำมันจากพืชบริสุทธิ์ เช่น น้ำมันสกัดจากผลนาฬิเกร์ (ผลมะพร้าวสีแสด เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งในบางแห่ง ) น้ำมันสกัดจากผลมะเค็ด ( คล้ายน้ำมันตังอิ๊ว ที่มาจากประเทศจีน ) น้ำมันสกัดจากผลพระเจ้า ๕ พระองค์ (มีลวดลายเป้นพระเจ้าห้าพระองค์ปรากฏอยู่ที่ผิว) น้ำมันสกัดจากผลไม้ที่ขึ้นในลังกาทวีป เป็นต้น

๙.มวลสาร นวมงคล โองการใบลานพิธีมงคลโบราณ ในตำรับไสยเวทวิทยาคม อันเป็นตำรับหนึ่งในไตรเพทางคศาสตร์ ท่านกำหนดให้อัญเชิญเทพเจ้าในเทวโลกเสด็จมาร่วมพิธีมงคลในมนุษยโลกเป็นการ อนุโมทนาการทำบุญเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ในพิธีนั้นๆด้วยทุกครั้งทุกคราวไป การพิธีนี้เป็นประเพณีของชาติไทยตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย การอัญเชิญเทพเจ้าก็คือพราหมณ์อ่านโองการอัญเชิญจากคัมภีร์ใบลาน และคัมภีร์ใบลานใบลานโบราณอันเป็นโองการศักดิ์สิทธิ์นี้ใช้ในการคุลีการพระสมเด็จดิน ๙ ประเทศ

รายนามของพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ในพิธีมหาพุทธาพิเศกพระสมเด็จดิน ๙ ประเทศ ณ อาณาจักรหุบผาสวรรค์เมืองศาสนา ต.ดอนทราย อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
๑.สมเด็จสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธ ประธานในพิธี
๒.สมเด็จพระธีรญาณมุณี วัดจักวรรดิ์
๓.พระสาสโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส
๔.พระพรหมมุนี วัดราชผาติการาม
๕.พระพุทธพจนวราภรณ์ วัดราชบพิธ
๖.พระเทพคุณาภรณ์ วัดเทพธิดาราม
๗.พระเทพเมธี วัดเศวตรฉัตร
๘.พระมหารัชมังคลาจารย์ วัดราชบพิธ
๙.พระเทพโสภณ วัดพระเชตุพนฯ
๑๐.พระเทพประสิทธิคุณ วัดประยุรวงศาวาท
๑๑.พระเทพวิสุทธิโมลี วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี
๑๒.พระราชธรรมกวี วัดเสน่หา จ.นครปฐม
๑๒.พระราชญาณดิลก วัดเขาเต่า จ.ประจวบคีรีขัณฑ์
๑๓.พระราชปัญญาภรณ์ วัดไร่ขิง จ.นครปฐม
๑๔.พระวินัยวาศาจารย์ วัดท่าตำหนัก จ.นครปฐม
๑๕.พระครูประสิทธิวรญาณ วัดอุดมรังษี กรุงเทพมหานคร
๑๖.พระครูพรหมโชติวัฒน์(หลวงพ่อบุญมี) วัดอ่างแก้ว
๑๗.พระครูประยงค์ ชาคโร วัดศรีสำราญ จ.นครปฐม
๑๘.พระครูวิจิตรนวการ วัดโคนอน
๑๙.หลวงพ่อสมศักดิ์ สันติจิตโต วัดธรรมศาลา
๒๐.พระราชญาณกวี วัดขันเงิน จ.ชุมพร
๒๑.พระอโนมคุณมุนี วัดโพธิการาม
๒๒.พระราชสารโสภณ วัดตันตริยสภิรมย์ จ.ตรัง
๒๓.พระราชญาณเวที วัดท่าโพธิ์ จ.นครศรีธรรมราช
๒๔.พระอาจารย์บุญคง วัดภัทยาราม จ.สงขลา
๒๕.พระเทพสารสุธี วัดภูผาภิมุข จ.พัทลุง
๒๖.พระราชพุทธิรังษี วัดมุจลินทวาปีวิหาร
๒๗.พระครูใบฎีกาขาว วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี
๒๘.พระพิศิษฐ์ธรรมภาณ วัดเจริญสมณกิจ จ.ภูเก็ต
๒๙.พระครูอุปถัมภ์บุรกร วัดจันทาราม จ.ระนอง
๓๐.พระธรรมาวุธวิศิษฐ์ วัดธรรมวาวุธฯ จ.กระบี่
๓๑.พระพุทธวิริยากร วัดสัตตานาถฯ จ.ราชบุรี
๓๒.พระครูอินทโชติวัฒน์ วัดปากท่อ จ.ราชบุรี
๓๓.พระครูวรกิจจาภิวัติ วัดป่าไก่
๓๔.พระครูภาวนานิเทศน์ก์ วัดเขาวัง
๓๕.พระครูสตาธิการุณ(หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง
๓๖.พระครูสถิตธรรมสาคร วัดนางสาว
๓๗.พระครูภาวนาวรคุณ วัดเกตุมดีสีวราราม
๓๘.พระครูพิศาลสุตาคม วัดหนังราชวรวิหาร
๓๙.พระราชโมลี วัดราชโอรส
๔๐.พระวิมลกิจจารักษ์ วัดชนะสงคราม
๔๑.พระปลัดพลายงาม วัดกำแพง
๔๒.พระมหาพิสูจน์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ
๔๓.พระครูกิตตินนทคุณ(หลวงพ่อกี๋) วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
๔๔.พระครูสังฆรักษ์ วัดนครชื่นชุ่ม
๔๕.พระอธิการพวง วัดตะโน
๔๖.พระครูถาวรวิทยาคม(หลวงปู่เพิ่ม) วัดสรรเพชร
๔๗.พระครูสมุห์ศรีวงศ์ วัดแก้วแจ่มฟ้า
๔๘.พระครูปลัดเยื้อน(พระมหาสิทธิการ) วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
๔๙.พระราชสังวรวิสุทธิ์ วัดป่าโมก จ.อ่างทอง
๕๐.พระครูภาวนารังสี วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา
๕๐.พระครูพิพิธวิหารการ(หลวงพ่อเทียม)วัดกษัตราธิราช
๕๑.พระโฑธาราคณวัฒน์ วัดเฉลิมอาสน์
๕๒.พระครูอาจารโสภณ วัดกลางวังเย็น
๕๓.พระครูวิจิตรธรรมรส วัดบ้านโปร่ง
๕๔.พระครูโสภณรัตภรณ์(เพิ่ม เขมกาโม) วัดดอนตูม
๕๕.พระครูสมุทรกิจโกศล วัดป้อมแก้ว
๕๖.พระครูสมุทรสารโสภณ วัดบางกะพ้อม
๕๗.พระครูสุวรรณสมุทรคุณวัดเทพประสิทธิคณาวาส
๕๘.พระครูสมุทรเมธี วัดอัมพวันเจติยาราม
๕๙.พระครูสมุห์ทองก้อน วัดเพชรสมุทรวิหาร
๖๐.พระครูอดุลวิหารกิจ วัดสระแก้ว
๖๑.พระอาจารย์วิโรจน์รัตนโนบล (หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี)
๖๒.พระเกษตรศีลาจารย์ วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม ศรีสะเกษ
๖๓.พระครูศรีไคลคณารักษ์ วัดกัลยาโฆสิตาราม
๖๔.หลวงพ่ออ่อน วัดเพียมาตร
๖๕.พระเมธีธรรมาราม วัดอสาณ
๖๖.พระปริยัติวรคุณ วัดกลาง
๖๗.หลวงพ่อสาม(หลวงปู่สาม อกิญฺจโน)วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์
๖๘.พระครูสุนทรธรรมโกวิท วัดบึง
๖๙.พระปทุมญาณมุนี วัดบึง
๗๐.พระอริยานุวัตร วัดนาควิชัย
๗๑.พระสุเมธีธรรมภาณ วัดประชาบำรุง
๗๒.พระศิริวุฒิเมธี วัดบูรพาภิรมย์
๗๓.พระราชสารธรรมมุนี วัดศรีนวล จ.ขอนแก่น
๗๔.พระวินัยสุนทรเมธี วัดศรีจันทร์
๗๕.พระครูโอภสสมณกิจ วัดป่าวิเวกธรรม
๗๖.พระราชธรรมานุวัตร์ วัดประชานิยม
๗๗.พระเทพรัตนโมลี วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม
๗๘.พระครูอรรถการโกวิท วัดศิลาอาสน์
ฯลฯ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top