หลวงพ่อฟ้อน วัดบ้านพาด-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ
หลวงพ่อฟ้อน วัดบ้านพาด - 1หลวงพ่อฟ้อน วัดบ้านพาด - 2หลวงพ่อฟ้อน วัดบ้านพาด - 3หลวงพ่อฟ้อน วัดบ้านพาด - 4หลวงพ่อฟ้อน วัดบ้านพาด - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อฟ้อน วัดบ้านพาด
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 02 พ.ย. 2556 - 11:25.09
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 25 ม.ค. 2557 - 07:25.17
รายละเอียด
หลวงพ่อฟ้อน วัดบ้านพาด

พระสมเด็จ ของท่าน องค์นี้ ได้มาพร้อมเลี่ยมเดิม ๆ ใต้ฐาน เจ้าของเดิม นำ (หนังเสือ..น่าจะเรียก ว่า ตะกรุด หนังเสือ เพราะโดยทั่วไป ถ้าเป็นแผ่นหนังเสือ ธรรมดา ก็จะปิด ทับ แบบ แบน ๆ แต่ชิ้นนี้..เป็นหนังเสือ ม้วน และ มีเชือกพันรอบ ๆ ... ใส่ฐานพระสมเด็จ เลี่ยม เดิม ๆ แบบโบราณ ปิดหลังมา )


ตามจีบ อยู่หลาย เพ-ลา...กว่า เจ้าของจะใจอ่อน..

....
....

หลวงพ่อฟ้อน หรือ พระครูไพศาลธรรมโฆสิต องค์นี้มีวิชาขลัง พลังเสือโคร่ง เป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านสร้างเหรียญรุ่นแรกด้านหลังเป็นอักขระคาถาพญาเสือโคร่ง สุสะเร คัสชะนิยะ ปลุกเสกแล้วมีอภินิหารมากมาย ผู้เอาไปแขวนคอมีประสบการณ์ทั้งทางเมตตา แคล้วคลาด คงกระพัน และมีอำนาจเหมือนพญาเสือโคร่ง บางคนเรียกว่า เหรียญเสือ แขวนแล้วมีความมั่นใจ ใครเห็นแล้วเมตตา เหมือนคนเห็นเสือแล้วทั้งรักทั้งกลัว บางทีก็มีเสน่ห์เมตตา

ความเป็นมาของ วัดบ้านพาด เป็นอย่างไร ท่าน พระครูสุเมธธรรมรักษ์ (รวม) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันเล่าว่า วัดนี้เดิมเป็นวัดของชาวมอญสร้างขึ้น เข้าใจว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ด้วยชาวมอญที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยสร้างขึ้น พระประธานในโบสถ์นั้นรูปพระพักตร์ใบหน้าเหมือนพระมอญมาก มีโคกอยู่เหนือวัดชาวบ้านเรียกว่า โคกมอญ ปัจจุบันเลือนหายไปหมดแล้ว สิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปจนหมดในสมัยของ หลวงพ่อฟ้อน คนมอญนั้นคงจะอพยพหลบหนี ไปอยู่ที่อื่นจนหมดในช่วงสงครามระหว่างไทยกับพม่า ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้น กรมศิลปากรเคยไปตรวจสอบบอกว่า วัดนี้เข้าใจว่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง แล้วคนมอญเข้ามาอยู่ในตอนหลังอีกครั้งหนึ่ง พอสงครามก็ย้ายหนีไป คนไทยเข้ามาอยู่แทนที่ประกอบอาชีพ ในที่สุดก็เป็นวัดไทยในที่สุด

สำหรับประวัติของ หลวงพ่อฟ้อน นั้น พ.บุญสนอง ได้บันทึกไว้ว่า หลวงพ่อฟ้อน ท่านเกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2442 คุณพ่อท่านชื่อ เหลี่ยม คุณแม่ของท่านชื่อ ศรีนวล นามสกุล จิตรีผ่อง มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน 5 คน เป็นหญิง 4 คน เป็นชายเพียงคนเดียวก็คือ หลวงพ่อฟ้อน ครอบครัวของท่านเป็นชาวนา

เมื่อโตขึ้นก็ได้เข้าเรียนหนังสือที่ วัดบ้านพาด เล่าเรียนเขียนอ่านตามสมัย ทั้งภาษาไทย ภาษาขอม จนท่านมีอายุครบ 14 ปี จึงได้เล่าเรียนจบ ช่วยเหลือพ่อ-แม่ประกอบอาชีพทำนา ท่านเป็นคนที่เปิดเผย ไม่ชอบคนมีเล่ห์เหลี่ยม พูดตรงไปตรงมา ไม่คบเพื่อนคนไหนเลย เพราะเพื่อนเคยสร้างปัญหาให้ท่าน ดีที่หนีทัน ไม่อย่างนั้นต้องเอาชีวิตไปทิ้งถิ่นอื่นอย่างแน่นอน เป็นคนชอบหาความรู้ งานทางช่างไม้ท่านก็พอทำเป็น ศึกษาด้วยตัวของท่านอาศัยการสังเกตและสอบถามผู้รู้

อุปสมบทเมื่อ พ.ศ.2461 พระอาจารย์เย อดีตเจ้าคณะแขวงและเจ้าคณะ จังหวัดอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่ออยู่ วัดบ้านพาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่ออ่อง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ภายหลังอุปสมบทได้รับฉายาว่า เตชธมฺโม เป็นพระสงฆ์อยู่สามพรรษา สอบได้นักธรรมเอก ท่านยังมีความสามารถในการเทศน์ได้อย่างไพเราะจับใจคน หลังจากนั้นท่านก็ลาสึกออกมาประกอบอาชีพทำนาด้วยความขยัน ต่อจากนั้นท่านก็เดินทางไปประกอบอาชีพ กับญาติของท่านที่พิษณุโลกและพิจิตร ไปประกอบอาชีพที่นั่นหลายปี ท่านได้พบอุปสรรคอย่างมากมาย และได้ศึกษาหาความรู้ทางวิชาอาคมขลัง จากพระอาจารย์ยุคเก่าสมัยนั้นหลายท่านด้วยกัน จนโด่งดัง ครั้งเป็นฆราวาสมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทั้งรักษาโรค ต่อมาเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตอย่างมาก จึงเดินทางกลับไปบ้านพาดตามเดิม หลังจากที่จัดการเรื่องทรัพย์สมบัติเรียบร้อยแล้ว ท่านก็หันหน้าเข้าสู่ร่มเงาพระพุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง



หลังจากนั้นท่านก็ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ต่างๆ ในย่านนั้นหลายรูปด้วยกัน ทั้ง หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค รวมทั้งอาจารย์ที่เก่งในด้านยาแผนโบราณ และด้านคาถาอาคมขลัง ท่านเรียนวิชา มาแล้วก็ใช้วิชานั้นช่วยเหลือผู้คนที่ป่วยไข้เดือดร้อน

สมัยที่ท่านยังไม่ดังนั้นผู้คนรู้จักมีน้อย ท่านเป็นพระที่ไม่ชอบรบกวนใคร บางครั้งท่านอยากฉันขนมหวาน ผลไม้ ท่านจะเรียกมรรคนายกวัดคนหนึ่งชื่อ เล็ก ท่านบอกว่า ข้าอยากกินขนมกับผลไม้ ท่านจะให้หวยใต้ดิน แต่มีข้อห้ามและสัจจะว่า คนที่รู้หรือคนที่ท่านใช้ให้ซื้อหวยใต้ดิน นั้นต้องซื้อเพียงไม่กี่บาท ห้ามซื้อเกินกว่าที่สั่ง นานๆ ครั้งหนึ่งท่านจะให้หวยนายเล็กไปซื้อสักครั้ง ตอนหลังมีคนมาถามนายเล็กว่า ใครให้หวย และชาวบ้านก็สงสัยมากว่า หลวงพ่อฟ้อน ให้หวยแน่นอน คราวนี้เองคนไปสอบถามจากท่านกันมากไม่เคยขาด แต่ท่านไม่เคยให้ใคร บางคนไม่มีโชคท่านพูดให้ฟัง ยกตัวอย่างต่างๆ แต่คนผู้นั้นก็ไม่อาจจะเอาหวยไปซื้อได้ พอหวยออกแล้วถึงได้รู้ว่าท่านบอกให้แล้ว

ต่อมาด้วยคุณงามความดีของท่าน ทั้งการพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง และเป็นที่พึ่งพาอาศัยของชาวบ้านใกล้เรือนไกล จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูไพศาลธรรมโฆสิต เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2515 ท่านปฏิบัติสมณธรรม มีศีลาจารวัตรงดงาม เป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของชาวบ้านตลอดมาจนถึง มรณกาล ด้วย หลวงพ่อฟ้อน เป็นพระที่เปี่ยมด้วยเมตตา ท่านจะต้อนรับญาติโยมตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น ยิ่งในช่วงที่ท่านมีชื่อเสียง บรรดาผู้คนจากที่ต่างๆ เดินทางไปหากันมาก ทั้งงานนิมนต์ไปยังสถานที่ต่างๆ ใครไปหามีเรื่องเดือดร้อนอะไรท่านทำให้ทั้งนั้น ในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านมีโรคภัยเบียดเบียนเสมอๆ แต่ท่านก็รักษาด้วยตัวของท่านเอง ทั้งใช้การปฏิบัติกรรมฐาน ภาวนา และก็ใช้ยาของท่านเองรักษาด้วย แต่ความชรานั้นเป็นไปตามธรรมชาติ ในที่สุดท่านก็จากไปด้วยความสงบ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2519 อายุ 77 ปี

ขอบพระคุณ ข้อมูล คุณ เบียเจ้าเจ็ด

http://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=10&qid=258378

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top