พระบูชาไม้แกะ พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน ลองเข้ามาชมกันได้จ้า -jorawis - webpra
VIP
  • มีพระกรุยอดนิยมหลากหลายสภาพ ให้เลือกชม
    เน้นพระแท้ ดูง่าย รับประกันความแท้ตามสากลนิยม มีให้เลือกชมทั้งพระเนื้อดิน ชิน ผง
    แทบทุกองค์ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชียวชาญ โดยมีรางวัลจากการผ่านงานประกวดมาตรฐาน
    หรือ

    ผ่านการออกใบรับรองพระแท้ จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
    ที่สามารถยืนยันถึงความแท้และความถูกต้องของข้อมูล
    ที่เกี่ยวกับองค์พระได้เป็นอย่างดี
  • ส่วนใหญ่เป็นพระกรุพระเก่ายอดนิยม
    หลายองค์เป็นพระในตำนาน หาชมได้ยากในปัจจุบัน
    บางองค์ไม่มีแม้แต่รูปให้ผ่านสายตา

    ส่วนบางองค์มีให้เห็นแค่เฉพาะภาพในหนังสือพระเครื่องมาตรฐานสูงบางเล่มเท่านั้น

    สนใจเชิญติดต่อกันเข้ามาได้
    ยินดีต้อนรับด้วยความเป็นกันเองทุกท่านทุกสายเลยจ้า
  • Page 1
  • Page 2
มีพระยอดนิยมมากมายให้เลือกชม เน้นพระแท้ดูง่ายโดยเฉพาะพระกรุ พระเก่า ประกันความแท้ตามมาตรฐานสากลนิยม

หมวด พระบูชา

พระบูชาไม้แกะ พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน ลองเข้ามาชมกันได้จ้า

พระบูชาไม้แกะ   พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน  ลองเข้ามาชมกันได้จ้า  - 1พระบูชาไม้แกะ   พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน  ลองเข้ามาชมกันได้จ้า  - 2พระบูชาไม้แกะ   พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน  ลองเข้ามาชมกันได้จ้า  - 3พระบูชาไม้แกะ   พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน  ลองเข้ามาชมกันได้จ้า  - 4พระบูชาไม้แกะ   พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน  ลองเข้ามาชมกันได้จ้า  - 5
ชื่อร้านค้า jorawis - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระบูชาไม้แกะ พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน ลองเข้ามาชมกันได้จ้า
อายุพระเครื่อง 406 ปี
หมวดพระ พระบูชา
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ Jorawis@gmail.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 06 มี.ค. 2556 - 18:17.24
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 06 ม.ค. 2567 - 13:54.50
รายละเอียด
พระเจ้าไม้ หรือ พระบูชาไม้แกะ

พระเจ้าไม้ หรือ พระบูชาไม้แกะ ตามคติความเชื่อเกี่ยวกับไม้ที่นำมาสร้างเป็นรูปเคารพแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ อาจเนื่องมาจากความเชื่อตามเรื่องในพุทธประวัติที่มีไม้โพธิ์พฤกษ์ ซึ่งเป็นคำใช้ใช้เรียกแทนต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ประทับใต้ร่มไม้นั้นๆ เพื่อตรัสรู้ ร่มไม้ที่ใช้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ในอดีตเหล่านั้น มีอยู่หลากหลายชนิด ซึ่งไม้เหล่านั้นล้วนเชื่อกันว่าเป็นไม้มงคลทั้งสิ้น ไม้ที่นำสลักเสลาสร้างพระจึงไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ทั้งไม้ที่มีนามเป็นมงคล หรือไม้อะไรก็ได้ที่มีความคงทน แลขอให้มีเนื้อและขนาดใหญ่พอให้แกะสลักได้ง่าย ก็พอนับได้ว่าเป็นไม้มงคล เนื่องจากสามารถนำมาสร้างพุทธปฏิมาได้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งพระพุทธรูปประเภทนี้มีหลากหลายพุทธลักษณะและหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กประมาณ ๑ นิ้ว ถึงขนาดใหญ่หลายๆศอกก็มี แต่ส่วนมากมีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๒-๕ นิ้ว บ้างก็แกะสลักจากไม้ท่อนเดียว และบ้างก็ประกอบขึ้นด้วยไม้หลายชิ้น นิยมสร้างให้มีฐานสูงเพื่อให้มีเนื้อที่จารึกข้อความได้บางองค์ฐานกับองค์ พระเป็นคนละชิ้นกัน และบางองค์เจาะรูที่ฐาน ซึ่งบางท่านก็ว่าใช้บรรจุพระธาตุบ้าง บางท่านก็เข้าใจว่าบรรจุกระดูกของผู้ที่เสียชีวิต แล้บ้างก็ว่าเจาะเพื่อใช้เหล็กเสียบเพื่อให้สะดวกในตอนแกะสลัก

พระบางองค์เมื่อกาลเวลาล่วงไปนานจึงไม่สามารถระบุให้ชัดเจนได้ว่าสร้างจากไม้อะไร เนื่องจากช่างผู้บรรจงสลักสร้างสรรพุทธปฏิมาเหล่านั้นล้วนมีถิ่นฐานอยู่ทั่วทุกทิศในราชอาณาจักรสนามประเทศ ไม้ต่าง ๆ ที่ใช้ ล้วนหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งหาได้ง่ายมีจำนวนมากในท้องถิ่นนั้น ซึ่งไม้ที่ใช้มีทั้ง ไม้กวาว (ทองกวาว) ไม้แคฝอย ไม้ไร ( ทางเหนือเรียก“ไฮ” คือ ต้นไทรนั่นเอง ) ไม้สาลกัลยาณะ ไม้นาวกาน ไม้บุนนาค ไม้ชะล่อ ไม้หมากเกลือหรือไม้มะเกลือ ไม้เดื่อกา ไม้จวง ไม้สะเลียม ไม้ซางคำ ไม้ประเหียง ไม้จัมปา ไม้นิโครธ ไม้ฝาง ไม้กัณณิการ์ ไม้ดู่ลาย หรือประดู่ลาย ไปจนไม้มะขามป้อม ไม้ม่วงก็มีเช่นกัน

แม้ตำราพิชัยสงคราม มาแต่ครั้งโบราณกาล ยังปรากฏว่ามีการกล่าวถึงการสร้างพระไม้แกะจากไม้โพธิ์ให้เป็น “พระไม้โพธิ์ห้ามสมุท” หรือ “พระพิชัยสงคราม” ไว้บูชาตามตำรับพิชัยสงครามมาแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชว่า

“ผู้ใดได้สร้างขึ้นตามตำรับ จะเกื้อหนุนดวงชะตา เพิ่มบุญวาสนาให้เป็นถึงท่านท้าวพระยามหากษัตริย์”

แต่การสร้าง“พระไม้โพธิ์ห้ามสมุท” หรือ “พระพิชัยสงคราม” ให้ถูกต้องตามตำรานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย หาใช่ว่าใครก็สร้างได้ ท่านให้หา “กิ่งไม้โพธิ์ตายพราย” (ตายเอง) ที่ชี้ไปทางทิศตะวันออก จำเพาะด้วยว่ากิ่งที่หักตกลงมาเองเท่านั้น ตัดมาพอประมาณสำหรับแกะ เป็นองค์พระยืน สูงจากพระบาทถึงพระเมาฬีได้ 11 หรือ 13 นิ้วหัวแม่มือเท่านั้น (การวัดใช้ส่วนกว้างของนิ้วโป้งของผู้สร้าง ) ส่วนกลางพระเมาฬีให้ทำกลวง แล้วหา ”ไม้ชุมแสง “หรือ “ไม้กาหลง” แกะเป็นเปลวรัศมีมา เสียบไว้ได้โดยแน่นหนา ฐานรองพระบาทท่านให้ทำจาก “ไม้นนทรี” ฐานรองพระให้ใช้”ไม้ขนุน” แกะภายในฐานนั้นให้ทำกลวงไว้เพื่อ บรรจุสิ่งของเครื่องมงคลสำคัญลงไป และต้องทำลิ้นปิดสำหรับรองไม้นนทรีที่ใช้รองพระบาทด้วย เมื่อจะแกะต้องหาฤกษ์งามยามดีที่แน่นอน ผู้แกะต้องสมาทานศีล 5 ศีล 8 หรือหากอยู่ในสมณเพศเป็นพระภิกษุ ต้องแสดงอาบัติเสียก่อน

สำหรับ ฤกษ์ยามในการสร้างพระไม้ พิมพ์อื่นนอกเหนือจาก “พระห้ามสมุท”ที่ปรากฏในตำราพิชัยสงคราม ยังไม่พบว่ามีการกำหนดฤกษ์ยาม วันเวลาแรกที่สร้าง เท่าที่พบจะมีจำเพาะแต่การสร้างพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานหรือพระพุทธรูปโลหะสำคัญๆ ที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น ในส่วนของพระไม้นั้น ถ้าเป็นองค์หน้าตักขนาดใหญ่ก็น่าจะใช้ตามวิธีการดังกล่าว แต่ถ้าเป็นพระเจ้าไม้ขนาดเล็กก็แค่เพียงอาศัยความสะดวกและความชำนาญของนายช่างผู้แกะสลัก กล่าวคือ แกะได้เลย โดยมิต้องคำนวณฤกษ์ยามหรือตามมาตราที่เป็นมงคลส่วนให้ยุ่งยากแต่อย่างใด

การลงรักปิดทองล่องชาดนั้น พระไม้ไม่ว่าจะมีพุทธลักษณะประทับยืนหรือนั่ง ส่วนใหญ่นิยมลงรักปิดทอง บางองค์ล่องชาด บางองค์ลงรักเพียงอย่างเดียว หรือลงรักแล้วก็ปิดทองคำเปลว ที่สร้างในยุคหลังมีบ้างที่ใช้ทองสีบรอนซ์ หรือ สีน้ำมันใช้สีทาโบสถ์วิหารก็มี การลงรักปิดทองล่องชาดนั้น แต่เดิมจะมีขั้นตอนอย่างไรไม่ปรากฏเป็นหลักฐาน แต่ผู้รู้บางท่านบอกขั้นตอนการทำคร่าว ๆ ไว้ดังนี้ว่า

เมื่อตกแต่งองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ใช้รักผสมน้ำมันสนทาให้ทั่ว ปล่อยให้แห้ง จากนั้นลงรักอีกชั้นหนึ่งพอแห้งสนิทแล้วจึงใช้รักผสมกับชาด (คนล้านนาเรียกชาดว่า หาง) หรือใช้ชาดเพียงอย่างเดียว พอเกือบจะแห้งสนิทจึงปิดทองหรือทำได้โดยการผสมรักกับสมุก (สมุกคือเถ้าที่ได้จากการเผาใบลาน ใบตอง หญ้าคาหรืออื่นๆ) ทาให้ทั่วทั้งองค์แล้ว ปล่อยไว้ให้แห้งแล้วขัดให้เรียบ เอารักผสมกับชาดลงอีกครั้งหนึ่งแล้วค่อยลงรักน้ำใส (ได้จากการลงรักแล้วกรองด้วยกระดาษสา) ทาทิ้งไว้จนเกือบแห้ง จึงค่อยปิดทองคำเปลว ความงามความประณีตจึงอยู่ในส่วนของการลงรักปิดทองล่องชาด คือนอกจากจะทำให้องค์พระสวยงามแล้ว ยังช่วยรักษาเนื้อไม้ให้ทนทานอีกด้วย

อานิสงส์การสร้างพระเจ้าไม้

อานิสงส์ หมายถึงผลของกุศลกรรม หรือประโยชน์อันจะได้รับจากการได้ทำบุญหรือได้สร้างประโยชน์ไว้ คนโบราณนั้นมีความเชื่อว่าการทำบุญทำกุศลอันมีเจตนาอันบริสุทธิ์ ย่อมจะได้รับผลของบุญนั้นตอบแทน แม้สิ่งที่ทำจะมีมูลค่าเล็กน้อยก็ตาม เกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องอานิสงส์ต่างๆนั้นจะเห็นได้ว่าสิ่งใดก็ตามที่ ถวายเป็นพุทธบูชาหรือถวายไว้แก่พระศาสนาแล้วย่อมได้รักอานิสงส์ต่างๆเป็นอันมาก ดังนั้นจึงข้อความที่เกี่ยวกับอานิสงส์ในพระคัมภีร์ ต่างๆมากมาย เช่น อานิสงส์การทานทุง อานิสงส์ประทีป เป็นต้น

สำหรับอานิสงส์การสร้างพระพุทธรูปไม้ มิได้แยกแยะตามชนิดของไม้อย่างละเอียดมีเพียงแต่กล่าวว่า

“สร้างด้วยไม้จะได้เสวยอานิสงส์ ๒๐ กัปป์ สร้างด้วยไม้จันทน์และไม้มหาโพธิ์ จะได้เสวยผละอานิสงส์ ๗๐ กัปป์ และอาจจะได้เสวยผละอานิสงส์ อันหาที่สุดมิได้”

พระบูชาแกะจากไม้นั้นแต่เดิมมักพบประดิษฐานอยู่ตามฐานชุกชีในพระวิหารในวัดต่าง ๆ ถือเป็นของสูงที่ผู้คนให้ความเคารพนบไหว้ หากแต่ในปัจจุบัน จัดอยู่ในประเภทงานไม้แกะสลัก ที่สามารถเลียนแบบวัตถุโบราณเพื่อนำออกนอกประเทศได้ จึงมีการลักลอบนำพระบูชาไม้แกะถูกลักลอบนำออกนอกประเทศเด้วยการสำแดงข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นจำนวนมาก ทำให้พระบูชาไม้แกะนี้ค่อย ๆ สูญหายไปตามกาลเวลาและพบเห็นได้ค่อนข้างยากกว่าสมัยก่อนมาก

พระองค์นี้ขนาดกะทัดรัด องค์น้อยกำลังงาม แกะสลักจาก “ไม้โพธิ์นิพพาน” เก่าจัดจนเนื้อไม้แตกลั่นตามกาลเวลาอย่างที่เห็น พุทธลักษณะตลอดจนพุทธศิลป์เป็นงานฝีมือช่างศิลป์สมัย “อยุธยา” ชัดเจน มีทั้งลงรักน้ำเกลี้ยง ปิดทอง ล่องชาดมาแต่เดิม ให้ศึกษาถึงความเก่าของอายุรักทอง สนใจใคร่ศึกษาลองติดต่อถามไถ่กันเข้ามได้จ้า JORAWISยินดีให้คำตอบกันทุกสายเลยจ้า

หากรายการนี้ยังไม่ถูกใจลองดูที่นี่

http://www.web-pra.com/Shop/jorawis

อาจมีบางองค์ที่ท่านกำลังมองหาอยู่ก็ได้จ้า

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top