พระซุ้มระฆัง กรุเตาทุเรียง องค์นี้เนื้อจัด สวยสมบูรณ์ ดูง่ายสุด ๆ เลยจ้า-jorawis - webpra
VIP
  • มีพระกรุยอดนิยมหลากหลายสภาพ ให้เลือกชม
    เน้นพระแท้ ดูง่าย รับประกันความแท้ตามสากลนิยม มีให้เลือกชมทั้งพระเนื้อดิน ชิน ผง
    แทบทุกองค์ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชียวชาญ โดยมีรางวัลจากการผ่านงานประกวดมาตรฐาน
    หรือ

    ผ่านการออกใบรับรองพระแท้ จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
    ที่สามารถยืนยันถึงความแท้และความถูกต้องของข้อมูล
    ที่เกี่ยวกับองค์พระได้เป็นอย่างดี
  • ส่วนใหญ่เป็นพระกรุพระเก่ายอดนิยม
    หลายองค์เป็นพระในตำนาน หาชมได้ยากในปัจจุบัน
    บางองค์ไม่มีแม้แต่รูปให้ผ่านสายตา

    ส่วนบางองค์มีให้เห็นแค่เฉพาะภาพในหนังสือพระเครื่องมาตรฐานสูงบางเล่มเท่านั้น

    สนใจเชิญติดต่อกันเข้ามาได้
    ยินดีต้อนรับด้วยความเป็นกันเองทุกท่านทุกสายเลยจ้า
  • Page 1
  • Page 2
มีพระยอดนิยมมากมายให้เลือกชม เน้นพระแท้ดูง่ายโดยเฉพาะพระกรุ พระเก่า ประกันความแท้ตามมาตรฐานสากลนิยม

หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระซุ้มระฆัง กรุเตาทุเรียง องค์นี้เนื้อจัด สวยสมบูรณ์ ดูง่ายสุด ๆ เลยจ้า

พระซุ้มระฆัง  กรุเตาทุเรียง องค์นี้เนื้อจัด สวยสมบูรณ์ ดูง่ายสุด ๆ เลยจ้า - 1พระซุ้มระฆัง  กรุเตาทุเรียง องค์นี้เนื้อจัด สวยสมบูรณ์ ดูง่ายสุด ๆ เลยจ้า - 2พระซุ้มระฆัง  กรุเตาทุเรียง องค์นี้เนื้อจัด สวยสมบูรณ์ ดูง่ายสุด ๆ เลยจ้า - 3
ชื่อร้านค้า jorawis - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระซุ้มระฆัง กรุเตาทุเรียง องค์นี้เนื้อจัด สวยสมบูรณ์ ดูง่ายสุด ๆ เลยจ้า
อายุพระเครื่อง 606 ปี
หมวดพระ พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ Jorawis@gmail.com
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 02 ก.พ. 2557 - 21:53.03
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 25 พ.ย. 2557 - 08:24.58
รายละเอียด
“เมืองศรีสัชนาลัย” และ "เมืองชะเลียง" นั้นเป็นกลุ่มเมืองเก่า ครอบคลุมพื้นที่ในเขตของตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ ตำบลท่าชัย ที่มีประวัติมายาวนาน ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่าบริเวณพื้นที่แถบนี้เป็นชุมชนที่มีผู้อาศัยอยู่มานานแล้ว

ตามประวัติศาสตร์ บริเวณพื้นที่ตั้งวัดพระปรางค์อันเป็นที่ตั้งของ “เมืองเชลียง หรือเมืองชะเลียง” นั้น แต่เดิมเป็นศูนย์กลางของชนชาวขอมโบราณที่ได้ขยายอาณาจักรมาจากเขตนครธม ลพบุรี สุโขทัย ไปจนจรดโยนกนาคนคร ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เขตจังหวัดเชียงราย บริเวณนี้จึงเป็นเมืองถาวรที่มีการตั้งรกรากอยู่อาศัยกันมายาวนานเก่าแก่ ก่อนสุโขทัยเป็นราชธานีนับเป็นร้อยปี ตัวเมืองเป็นแผ่นดินลุ่มน้ำ ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำยม มีความอุดมสมบูรณ์ ในทางยุทธศาสตร์มีชัยภูมิลักษณะแคบยาว มีแม่น้ำเป็นกำแพงเมืองธรรมชาติสองด้าน ทำให้การคมนาคม การเดินทางเพื่อค้าขายทำได้สะดวก แม้พ่อค้าวาณิชชาวจีนในยุคนั้นต่างก็รู้จักเมืองนี้ และเรียกขานชื่อเมืองตามสะดวกปากของตน ที่ออกเสียงใกล้เคียงกันมาก ว่า “เมิงเฉิงเหลียง” ซึ่งบริเวณที่ตั้งของเมืองชะเลียงเก่าดั้งเดิมนั้น นับได้ว่านอกจากเป็นศูนย์กลางการค้าขายแล้วชัยภูมิที่ตั้งของเมืองยังอยู่บนเส้นทางการค้า การคมนาคมระหว่างเมืองชียงแสน เชียงราย พะเยา งาว แพร่ และหลวงพระบาง ด้วยชัยภูมิที่เหมาะสมนี้เอง ต่อมาหลังพ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีนาวนำถม ในปี พ.ศ. 1800 หลังเหตุการณ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขับพวกขอมออกจากเมืองสุโขทัยแล้ว ในปีถัดมาพ่อขุนรามคำแหงซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษา ตามพระบิดาไปรบด้วยขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด เมื่อถึงการยุทธหัตถีจนได้รับชัยชนะ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงโปรดเกล้าให้พ่อขุนรามคำแหงไปครองเมืองเชลียง โดยมีฐานะเป็นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย กาลต่อมาเมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชขึ้นเสวยราชครองเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 1820-1860 เนื่องจากตัวเมืองเป็นที่ลุ่มมีน้ำล้อมรอบจนเกือบเป็นเกาะ ทำให้ถูกน้ำท่วมบ่อยครั้ง จึงโปรดให้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ เหนือลำน้ำขึ้นไปอีก โดยผนวกรวมพื้นที่ของเมืองเชลียงเก่าเข้าไปด้วย แล้วตั้งชื่อเสียใหม่ว่า “เมืองศรีสัชนาลัย”

“เมืองศรีสัชนาลัย” ที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ มีการกล่าวถึงเมืองนี้ครั้งแรกในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแห่งมหาราชในปี พ.ศ. 1835 ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม ตรงบริเวณที่เรียกว่าแก่งหลวง ซึ่งเป็นแก่งหินขนาดใหญ่ขวางลำน้ำอยู่ การที่มีชัยภูมิเช่นนี้ ทำให้เมืองนี้น้ำท่าข้าวปลามีความอุดมสมบูรณ์ เลี้ยงไพร่บ้านพลเมืองได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ชาวเมืองศรีสัชนาลัยในอดีตยังมีฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า"เครื่องสังคโลก" ได้ดี ทั้งยังเป็นแหล่งผลิตและส่งออกไปค้าขายทั้งในอาณาจักรสุโขทัยและดินแดนไกล ถึงแม้เมื่อเมืองถูกผนวกเข้าอยู่ในราชอาณาจักรสยามที่มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ อโยธยาศรีรามเทพนคร โดยมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นโทเมื่อคราราชวงศ์พระร่วงอ่อนแอลงก็ตาม เครื่องสังคโลกก็ยังคงผลิตอยู่ มีหลักฐานปรากฏชัด เมื่อที่เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรได้เข้าไปสำรวจ และมีการขุดปรับแต่งพื้นที่โบราณสถานต่าง ๆ ภายในเมืองศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2497 เพื่อเตรียมจะขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ทำให้พบแหล่งเตาและเศษซากเครื่องสังคโลกโบราณที่จมดินอยู่สองฟากริมแม่น้ำยมเป็นจำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 200 เตา ที่เขตบ้านป่ายาง บ้านเกาะน้อย บ้านหนองอ้อ และบริเวณวัดดอนลาน ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเนินดินคล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่ดินที่ทับถมสูงถึงประมาณ 24 เมตร บริเวณดังกล่าวเป็นเตาทุเรียงที่เผาเครืองสังคโลกที่สำรวจพบอย่างเป็นทางการและมีลักษณะเป็นเตาที่ค่อนข้างสมบูรณ์มีถึง 21 เตา ในบริเวณบ้านป่ายาง บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม เหนือแก่งหลวง อยู่ใกล้เมืองเก่าศรีสัชนาลัย ห่างจากกำแพงเมืองประมาณ 500 เมตร เตาที่พบนั้นแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ

- กลุ่มเตายักษ์ เป็นกลุ่มเตาที่อยู่ใกล้เมืองศรีสัชนาลัย มีเตาตั้งเรียงรายกันอยู่ 15 เตา เป็นเตาที่เผาเครื่องถ้วยชาม และประติมากรรมลอยตัวขนาดใหญ่ รวมทั้งเครื่องประดับสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เช่น ยักษ์ เทวดา มังกร ช่อฟ้า เตายักษ์เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกตาม รูปประติมากรรมยักษ์สังคโลก ที่พบบริเวณเตาเหล่านี้

- กลุ่มเตาตุ๊กตา เป็นกลุ่มเตาเผาที่อยู่ห่างจากกลุ่มเตายักษ์ออกมาทางทิศเหนือ ประมาณ 600 เมตร พบซากเตา 6 เตา กลุ่มเตาบริเวณนี้ผลิตประติมากรรมลอยตัวขนาดเล็ก ทั้งรูปคน และสัตว์ ลักษณะโครงสร้างของเตาเป็นเตาประทุน มีรูปทรงรี ก่อหลังคาโค้ง บรรจบกันคล้ายประทุนเรือ ตั้งอยู่บนพื้นลาดเอียง 10 - 30 องศา ภายในเตาแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ช่องใส่ไฟ ห้องบรรจุภาชนะ และปล่องไฟ

สันนิษฐานกันว่าในครั้งที่มีการขุดแต่งปรับพื้นที่ เพื่อเตรียมจะขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานนี้เอง ทำให้มีผู้พบพระพิมพ์เนื้อดินเผา ซึ่งภายหลังถูกเรียกว่า "พระกรุเตาทุเรียง" พระพิมพ์ที่พบในครั้งนั้น ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินเผา มีหลากหลายพิมพ์จำนวนมากพอสมควร ทั้งพิมพฺ์ยอดขุนพล พระร่วงแสดงพุทธกิริยาเปิดโลก ลีลานางระเวง พระประทับนั่งปางมารวิชัย แบบเดียวกับที่พบในกรุวัดพญาดำ ที่เรียกกันทั่วไปว่า "พระยอดธงกรุวัดพญาดำ" พระพิมพ์ซุ้มระฆัง ไปจนพระพิมพ์อื่น ๆ มากมาย คาดว่าพระส่วนใหญ่ที่พบบริเวณนี้จะถูกเผาด้วยอุณหภูมิสูงจึงทำให้เนื้อมีลักษณะแกร่ง แต่เนื่องจากขนาดของเตาเผาจัดว่ามีขนาดค่อนข้างเล็ก หากเทียบกับปริมาณของพระที่พบ ทำให้สีของเนื้อพระที่เผา แตกต่างกันออกไปตามแต่ระยะของการวางใกล้-ไกลของจุดวางไฟในเตา บางองค์วางใกล้ระยะไฟทำให้ได้รับถูกความร้อนสูงมาก เนื้อพระก็จะกลายเป็นสีเขียว ทั้งยังมีการหลอมละลายของแร่ธาตุ จนกลายสีดำคล้ายยางมะตอยเป็นหยดๆเล็กๆ บนผิวพระที่เรียกกันว่า "หมัดไฟ" ถัดต่อจากสีเขียวก็จะออกดำ เนื้อสีผ่าน สีกะบิ สีแดง และเหลืองผิวไม้รวก ไปจนสีพิกุลเข้ม แต่ส่วนมากมักจะพบสีผ่านจนกลายเป็นอัตลักษณ์เฉพาะ ทำให้นักสะสมทั่วไปใช้เป็นจุดพิจารณาพระกรุนี้นอกเหนือจาก เนื้อหาของดินที่มีทั้งเนื้อละเอียดและกึ่งละเอียดกึ่งหยาบ

องค์นี้เป็นพระพิมพ์ซุ้มระฆัง ซึ่งพบเห็นค่อนข้างน้อยสำหรับพระกรุนี้ขนาดใกล้เคียงกับพระพิมพ์เดียวกันของกรุวัดราชบูรณะที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื้อหาแห้งจัด ค่อนข้างละเอียด มีฝ้ากรุบาง ๆ ปกคลุมตามผิว สีผ่านทั้งหน้าหลังตามแบบฉบับของพระกรุนี้ ไม่มีรอยบิ่นแตกหักเสียหายให้เสียอารมณ์ จัดว่าเป็นพระสวยสมบูรณ์ เล่นง่ายดูง่ายเป็นสากล เสียดายที่รายการประกวดพระแทบทุกงานไม่ค่อยมีรายการพระกรุเตาทุเรียงลงในรายการประกวด เลยไม่มีรางวัลรับรองจ้า

สนใจติดต่อสอบถามกันเข้ามาได้เลยจ้ารับรองว่าไม่แพงอย่างที่คิดแต่คงไม่ถูกอย่างที่หวัง พระแท้ราคาถูกคงไม่มี มีแต่พระแท้ราคาสมเหคุสมผลจ้า

หรือหากองค์นี้ยังไม่ถูกใจอาจมีพระรายการอื่น ๆ ที่ทำนกำลังค้นหาอยู่เชิญที่นี่เลยจ้า

http://www.web-pra.com/Shop/jorawis


พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top