
หมวด พระสมเด็จทั่วไป
พระสมเด็จ กรุวัดกุฎีทอง จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อร้านค้า | โกมล-พระสยาม - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระสมเด็จ กรุวัดกุฎีทอง จ.พระนครศรีอยุธยา |
อายุพระเครื่อง | 218 ปี |
หมวดพระ | พระสมเด็จทั่วไป |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | komolchananan@gmail.com |
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 21 ก.พ. 2565 - 23:52.29 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อ. - 01 พ.ย. 2565 - 20:30.40 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระสมเด็จ บรรจุกรุวัดกุฎีทอง(กรุเก่า) จ.พระนครศรีอยุธยา จัดสร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) และ พระอาจารย์แสง พระสมเด็จ กรุวัดกุฎีทองมีบันทึกระบุว่าพบพระสมเด็จวัดระฆังและสมเด็จบางขุนพรหมในกรุนี้ด้วยหลายองค์ และพระส่วนใหญ่ที่พบในกรุนี้มีมากกว่า ๕๐ แบบพิมพ์ ขนาดเท่ากับพระสมเด็จทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์สมเด็จเส้นด้าย มีพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์เล็บมือก็มี และมีอีกมากหลายแบบพิมพ์... ฝีมือช่างชาวบ้านและมวลสารท้องถิ่นหนักไปทางก้านธูป ปูนขาวและเปลือกหอย เนื้อพระจะเป็นเนื้อปูนผสมผง เนื้อแห้งแกร่ง มีคราบกรุทั้งฟองเต้าหู้ และคราบดินทรายติดอยู่ มีทั้งสีขาว เหลืองอ่อน ครีม น้ำตาลอ่อน ดำ แดงอ่อนๆ เขียวอ่อนแบบธูปเขียว ถ้าเป็นสีเขียวหินลับมีดจะมีราคาสูงกว่าเพราะมีน้อย เอกลักษณ์สำคัญอันหนึ่งของพระกรุนี้ คือ จะมีชิ้นทองคำฝังอยู่ที่เนื้อขององค์พระที่ด้านหน้ามองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำนวนชิ้นทองคำนี้ไม่แน่นอน เริ่มตั้งแต่ไม่ฝังไว้เลยก็มี หรือฝังไว้ ๓,๕,๗ ถึง ๙ แผ่นเลยก็มี ซึ่งหายากนัก และสูงค่าที่สุด แผ่นทองคำนี้ เป็นเอกลักษณ์ประจำพระกรุนี้ เพราะสันนิษฐานกันว่า ได้นำทองคำที่พระเจ้าปราสาททองหุ้มกุฏิพระอาจารย์ดี หลังจากได้ทรงขึ้นครองราชย์ตามคำทำนาย ภายหลังเมื่อกุฏิหลังดังกล่าวได้ชำรุดผุพังลงตามกาลเวลา แต่แผ่นทองทำยังมิได้ผุพังลงไปด้วย บุรพาจารย์ทั้งสองท่านจึงได้ดำรินำมาฝังไว้บนองค์พระเพื่อให้ผู้คนได้จดจำกราบไหว้ ประวัติ วัดกุฎีทอง จ.พระนครศรีอยุธยา วัดกุฎีทอง ตำบลท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดเก่าโบราณครั้งสมัยเมืองละโว้ พงศาวดาร เหนือกับพงศาวดารชาติไทย กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า พรเจ้าสินทบอมรินทร์ ทรงสร้าง วัดกุฎีทอง พระนางกัญญาเทวี อัครมเหษีทรงสร้าง วัดคงคาวิหารประมาณพุทธศักราช 1600 ซึ่งอิฐและปูนที่ใช้ก่อกำแพงแก้วใกล้พระอุโบสถในวัดกุฎีทองเป็นอิฐและปูนรุ่นเดียวกันกับพระเจดีย์ในวัดพระศรีมหาธาตุ เมืองละโว้ หรือ จังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน เพระฉะนั้น จากหลักฐานอิฐและปูนที่ก่อสร้างกำแพงแก้วใก้พระอุโบสถ ซึ่งเป็นอิฐและปูนก่อนสมัยสร้างกรุงศรีอยุธยา วัดกุฎีทองจึงเป็นวัดก่อนสมัยสร้างกรุงศรีอยุธยา เช่นเดียวกับวัดธรรมิกราช วัดพนัญเชิง อย่างแน่นอน ครั้นต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ พ.ศ. 1991 ได้ซ่อมแซมพระอุโบสถวัดกุฎีทองที่ชำรุดให้ดีขึ้น จากหลักฐานและผู้ใหญ่เล่าสืบต่อๆ กันมามีตำนานในสมัยแผ่นดิน สมเด็จพระเอกาทศรถ พ.ศ. 2148 พระองค์ไล (ราชโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งเกิดกับพระสนมชาวบ้านบางปะอิน) ได้ถวายตัวเป็นทหารมหาดเล็กของพระเอกาทศรถ วันหนึ่งพระองค์ไลมีความประสงค์อยากรู้ดวงชะตาราศีของท่าน จึงได้มาที่วัดกุฎีทองเพื่อให้อาจารย์ดี (หลวงพ่อดี) เจ้าอาวาสช่วยตรวจดูดวงชะตาของพระองค์ พระองค์ได้เดินทางข้ามฝากที่ท่าสิบเบี้ย เวลา 10.00 น. ถึงวัดเป็นเวลาที่ขณะนั้น อาจารย์ดีกำลังนั่งวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในกุฏิ พระองค์ไลจึงออกไปนั่งรออยู่ที่ศาลาท่าน้ำ เมื่อถูกลมพัดเย็นๆ ก็ลืมองค์เอนกายลงนอนหลับไป จนกระทั่งได้ยินเสียงเด็กวัดตีกลองเพล ตื่นขึ้น เมื่อท่านอาจารย์ดีฉันเพลแล้วพระองค์ไล ได้ยินท่านอาจารย์ดีพูดกับเด็กวัดว่า "วันนี้มีผู้มีบุญมาที่วัดเรา" เด็กวัดจึงถามว่า "ผมไม่เห็นมีคนขี่ม้าขาวแต่งเครื่องเต็มยศหรือ คนขึ้นคานหามที่มีขบวนแห่ที่ไหนมาในวัดเราเลยหลวงพ่อ" ท่านอาจารย์ดีจึงตอบว่า "คนที่นั่งรออยู่ที่ศาลาท่าน้ำนั่นแหละคนมีบุญ ไปตามมาหาหลวงพ่อหน่อย" เมื่อเด็กวัดไปตามพระองค์ไลมาพบแล้ว ท่านก็ถามพระองค์ไลถึงความประสงค์ที่มาวัด พระองค์ไลก็กราบเรียนอาจารย์ดี ว่า "ต้องการมาให้ตรวจดวงชะตาราศี และที่อาจารย์พูดกับเด็กวัดว่าคนที่มีบุญมาวัดนั้นเป็นใครที่ไหนหลวงพ่อ" หลวงพ่อตอบว่า "พ่อหนุ่มนี่แหละ" พระองค์ไลถามต่อไปอีกว่า "หลวงพ่อยังไม่ได้ตรวจดูดวงเลยทราบได้อย่างไร" อาจารย์ดีตอบว่า "ได้ยินเสียงกรนเมื่อนอนหลับอยู่ที่ศาลาท่าน้ำ เสียงดังเหมือนฆ้องไชยดังหึ่มๆ นั่นแหละตามตำราว่า เสียงคนมีบุญ" ต่อจากนั้นพระองค์ไลก็กราบเรียนแจ้ง วัน เดือน ปีเกิด ให้อาจารย์ทราบ เมื่ออาจารย์ผูกดวงแล้วถึงกับสะดุ้ง แลนั่งนิ่งไปพักใหญ่ พระองค์ไลกราบเรียนถามว่า "หลวงพ่อนิ่งด้วยเหตุอันใด" (ในสมัยก่อนนี้ ถ้าใครพูดว่าคนนั้น คนนี้จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินในอนาคตดีไม่ดีก็ถูกหาว่าจะเป็นกบฎ ทำให้พูดยาก) เมื่อพระองค์ไลกราบเรียนซักถามบ่อยครั้งขึ้น อาจารย์ดีก็ค่อยๆ กระซิบพูดขณะที่ไม่มีผู้อื่น "อย่าไปพูด เมื่อถึงปี พ.ศ. 2173 พ่อหนุ่มจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน" พระองค์ไลพูดค้านขึ้นว่า "เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะสมเด็จพระเอกาทศรถ มีราชโอรสคือ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ และเจ้าพระพิมลธรรม วัดระฆัง ก็เป็นราชโอรส" ท่านอาจารย์ก็ยืนยันว่า "ตามดวงชะตาราศีของพระองค์ไล ดังกล่าวจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินแน่ ถึงจะมีองค์รัชทายาทอยู่ก็ตาม " พระองค์ไลจึงพูดเป็นคำสัญญาโดยไม่ใคร่จะเชื่อเพราะไม่แน่พระทัยว่า "ถ้าเกิดได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินแน่จริงๆ จะสนองพระคุณหลวงพ่อ โดยปิดทองกุฏิให้ทั้งหลัง เป็นความสัจ" กาลเวลาต่อจากนั้นมาจนถึงปี พุทธศักราช 2173 พระองค์ไลได้ขึ้นครองราชย์สมบัติให้พระนามว่าพระเจ้าปราสาททอง สมจริงคำทำนายของพระอาจารย์ดี พระเจ้าประสาททอง จึงสั่งให้ช่างหลวงมาปิดทองที่กุฏิท่านอาจารย์ดี เป็นทองทั้งหลัง ในส่วนของอาราม พระเจ้าประสาททองได้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่บางส่วน โดยก่อกำแพงแก้วรอบนอกชั้นล่างห่างออกมาอีก มีขนาดกว้างประมาณ 60 เมตร ยาวประมาณ 80 เมตร โคกกำแพงแก้วด้านพระอุโบสถร่วมในสูง 3 วาเศษ เป็นของเก่า ส่วนร่วมหน้าพระอุโบสถนั้น กว้าง 12 เมตร ยาว 24 เมตร ประตูด้านหน้า 2 ช่อง ด้านหลัง 2 ช่อง หน้าต่างด้านตะวันออก และตะวันตก อีกด้านละ 3 ช่อง ................................... ต่อมาก่อนปีพุทธศักราช ๒๓๙๕ จากหนังสือเกี่ยวกับประวัติสมเด็จพุฒาจารย์ (โต ) พรหมรังษี ผู้เขียนหลายท่านได้เขียนตรงกันว่า "...ต่อมาในภายหลัง ได้เข้าศึกษามายาศาสตร์ต่อที่สำนักพระอาจารย์แสง จังหวัดลพบุรีอีกองค์หนึ่ง...ขรัวแสง คนทั้งปวงนับถือกันว่าเป็นผู้มีวิชา เดิมตั้งแต่เมืองลพบุรีเข้าลงไปเพลที่กรุงเทพฯ ได้ เป็นคนกว้างขวาง เจ้านายขุนนางรู้จักหมด ได้สร้างพระเจดีย์สูงไว้องค์หนึ่งที่วัดมณีชลขันธ์ คือวัดเกาะ ซึ่งเจ้าพระยายมราช (เฉย) ต้นสกุล ยมาภัย สร้าง) ตัวไม่ได้อยู่ที่วัดนี้ หน้าเข้าพรรษาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอื่น ถ้าถึงออกพรรษาแล้วมาปลูกโรงอยู่ริมพระเจดีย์ ๒ องค์นี้ ซึ่งก่อเองคนเดียวไม่ยอมให้คนอื่นช่วย ราษฎรที่นับถือพากันช่วยเรี่ยไรอิฐปูน และพระเจดีย์องค์นี้เจ้าของจะทำแล้วเสร็จตลอดไป หรือจะทิ้งผู้อื่นช่วย เมื่อตายแล้ว ไม้ได้ถามดู ของเธอก็สูงดีอยู่....." จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้หนีการแต่งตั้งสมณศักดิ์ ธุดงค์มาพักอยู่ที่อยุธยา กับพระอาจารย์แสง (พระอาจารย์แสงเป็นพระอาจารย์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ตั้งแต่ครั้งยังบรรพชาเป็นสามเณร พระอาจารย์แสงนี้ อยู่ที่วัดมณีชลขันธ์ (วัดเกาะ) จังหวัดลพบุรี หน้าเข้าพรรษาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอื่น ถ้าออกพรรษาแล้วมาปลูกโรงอยู่ริมเจดีย์ 2 องค์ในบริเวณวัด จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นนี้ เพราะทางวัดกุฎีทองได้พบ กรุพระเครื่องจำนวนหนึ่งเป็นพระผงพิมพ์สมเด็จ และพระเนื้อผงศิลปะขอม ซึ่งน่าจะเป็นพระอาจารย์แสงนำเอามาจากลพบุรี ฉะนั้น วัดที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาพักกับพระอาจารย์แสงที่จังหวัดอยุธยานี้ เห็นว่าควรจะเป็นที่วัดกุฎีทองนี้ สมเด็จโตและอาจารย์แสงได้มาบูรณะวัด และซ่อมแซมพระประธาน และพระอุโบสถ ให้ดีขึ้นเสร็จแล้ว ได้นำพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จและพิมพ์อื่นๆ ร่วมกับพระอาจารย์แสงทำการบรรจุเข้าไว้ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments