เหรียญหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา รุ่นแรก ประคำ 7 เม็ด เนื้อทองแดง-สกุลจันทร์ - webpra
VIP
ขอเดชะบารมี เป็นที่พึ่งที่ระลึก จงอย่าอด อย่าอยาก อย่ายาก อย่าจน อย่าต่ำกว่าคน อย่าจนกว่าเขา สาธุๆๆ

หมวด พระเกจิภาคอีสานใต้

เหรียญหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา รุ่นแรก ประคำ 7 เม็ด เนื้อทองแดง

เหรียญหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา รุ่นแรก ประคำ 7 เม็ด เนื้อทองแดง - 1เหรียญหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา รุ่นแรก ประคำ 7 เม็ด เนื้อทองแดง - 2
ชื่อร้านค้า สกุลจันทร์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา รุ่นแรก ประคำ 7 เม็ด เนื้อทองแดง
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเกจิภาคอีสานใต้
ราคาเช่า 850 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 086-7539983(มงคล)
อีเมล์ติดต่อ labboy_hgr@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 17 พ.ค. 2560 - 19:52.54
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 17 มิ.ย. 2560 - 08:07.28
รายละเอียด
เหรียญหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา รุ่นแรก ประคำ 7 เม็ด เนื้อทองแดง เหรียญรุ่นแรกพิมพ์นี้มีด้วยกัน 2 บล็อก บล็อกนี้เขาเรียกว่าบล็อก ประคำ 7 เม็ด เนื่องจากนับลูกประคำได้ข้างละ 7 เม็ด ส่วนอีกบล็อกหนึ่งหรือบล็อกนิยมสุด เรียกบล็อก ประคำ 6 เม็ด เนื่องจากนับลูกประคำได้ข้างละ 6 เม็ด
หลวงปู่โทน กันตสีโล (พระครูพิศาลสังฆกิจ) ศิษย์เอกสำเร็จลุน เทพเจ้าแห่งสองฟากฝั่งแม่น้ำโขง วัดบูรพา ต.สะพือ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
ภายหลังจากที่ หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี แห่งสำนักสงฆ์ถ้ำคูหาสวรรค์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ได้มรณภาพลงไปแล้ว เสมือนขาดร่มโพธิ์ร่มไทรที่มีใบหนาปกคลุมให้ร่มเย็นไปอีกต้นหนึ่ง
ดังนั้น ศิษยานุศิษย์และประชาชนพุทธบริษัทต่างก็แสวงหาร่มโพธิ์ร่มไทรต้นใหม่ เพื่อที่จะได้เข้าไปอาศัยร่มเงาให้มีความสุขกายสบายใจเหมือนเช่นที่เคยได้รับมาก่อน
จนกระทั่งได้มีชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น หันไปกราบนมัสการพระอาจารย์ผู้เฒ่าท่านหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อนหน้านั้นไม่มีใครให้ความสนใจมากนัก
เพราะเข้าใจกันเองว่าท่านคงจะเป็นหลวงพ่อหลวงตาธรรมดา เนื่องจากท่านอยู่อย่างสมถะที่วัดบูรพา บ้านสะพือ อย่างเงียบๆ
แต่ในที่สุดข้อเท็จจริงก็ได้ปรากฏให้เห็น เมื่อชาวบ้านต่างก็พูดถึงท่านอยู่บ่อยๆ ในการปฏิบัติธรรมของท่าน และมีผู้ไปกราบนมัสการท่านมากขึ้นผิดปกติ
ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงได้ดั้นด้นไปสืบเสาะและแสวงหาข้อเท็จจริงว่า พระอาจารย์ที่ชาวบ้านเล่าลือและกล่าวขานถึงอยู่เสมอนั้น ท่านเป็นใคร? และมีปฏิปทาสมดังที่ชาวบ้านเขาเล่าลือจริงหรือไม่
ในที่สุดผู้เขียนก็ได้พบกับพระอาจารย์ผู้เฒ่าผู้มีปฏิปทาสูงล้น และเป็นพระอาจารย์ที่มีวิทยาคมสูง เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมจริงๆ ท่านคือ
หลวงปู่โทน กนฺตสีโล
ชาติกำเนิด
หลวงปู่โทน นามเดิมชื่อ โทน นามสกุล หิมคุณ เกิดเมื่อเดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ วันจันทร์ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐
ท่านมีพี่น้องด้วยกันเพียง ๒ คนเท่านั้น ท่านเป็นคนโต เกิดที่บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ถึงแม้อายุของท่านจะมากถึง ๘๙ ปีแล้วก็ตาม แต่ความจำต่างๆ ท่านยังจำได้แม่นยำ ซึ่งหาได้ยากยิ่งที่สุดที่ผู้มีอายุมากถึงเพียงนี้จะมีความจำเป็นเลิศเช่นนี้
ภูมิหลังครั้งเด็ก
หลวงปู่โทน ท่านมีเมตตาเล่าให้ฟังถึงในสมัยเป็นเด็กของท่านว่า
“อาตมาเป็นคนโต บิดาจึงตั้งชื่อให้ว่า โทน ซึ่งที่แรกท่านคงคิดว่าจะมีลูกคนเดียว แต่ต่อมาก็ได้น้องเกิดขึ้นมาอีกคน”
“สมัยหลวงปู่เป็นเด็ก ได้เรียนหนังสือที่ไหนครับ”
“ในสมัยนั้นไม่ได้เข้าโรงเรียนหรอก เพราะอยู่บ้านนอกที่ห่างไกลความเจริญมาก วันๆ ก็เลี้ยงควาย ทำนา และหาปูหาปลามารับประทานกันตามมีตามเกิด เพราะย่านนั้นมีแต่ความแห้งแล้งเป็นประจำ มีแต่ป่าแต่เขา
ถ้าจะเรียนรู้ การอ่าน การเขียนหนังสือ ก็ต้องอาศัยพระเณรที่วัดใกล้บ้านนั่นแหละเป็นผู้สอนให้”
“หลวงปู่บวชมาตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ”
“บวชมาตั้งแต่อายุได้ ๑๕ ปีโน่นแล้วบวชเป็นเณรที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง ไม่ได้ไปบวชที่ไหนหรอก บวชตามประสาบ้านนอก ผ้าสบงจีวรก็ขอเอากับพระในวัด ไม่ได้ซื้อ และท่านก็ให้มาชุดเดียวเท่านั้น” หลวงปู่ท่านกล่าวตอบอย่างซื่อๆ
ได้เรียนรู้เมื่อบวช
หลวงปู่โทน ท่านเปิดเผยให้ฟังต่อไปอีกว่า
“ในสมัยนั้น พ่อแม่มักจะให้ลูกหลานของตนได้เข้าบวชเรียนเขียนอ่านกันในวัด เพราะจะได้ร่ำเรียนมีวิชาความรู้ ซึ่งเมื่อสึกออกมาก็จะเป็นผู้ครองเรือนที่ประกอบด้วยศีลธรรม
แต่ถ้าไม่สึกหาลาเพศก็จะยิ่งดีใหญ่ เพราะพ่อแม่จะได้ชื่นชมว่าลูกตนมีบุญมีวาสนาได้ห่มผ้าเหลือง เป็นศิษย์ตถาคต พลอยให้พ่อแม่ได้พ้นจากนรกไปด้วย เพราะลูกฉุดดึงขึ้นไปตามความเชื่อถือกันมาแต่โบราณ”
“หลวงปู่บวชที่วัดไหนครับ”
“บวชอยู่ที่วัดบูรพา บ้านสะพือนี่แหละ บวชเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ อายุได้ ๑๕ ปีพอดี”
“หลวงปู่ได้ศึกษากับใครครับ”
“บวชแล้วก็ศึกษากับพระอุปัชฌาย์ในเบื้องต้น คือท่านสอนหนังสือที่จารอยู่ในใบลาน ซึ่งเป็นตัวธรรมทั้งนั้น เริ่มเรียนเป็นคำๆ ไป จนท่องขึ้นใจ
บางที่ใช้ความจำด้วยตาว่าตัวไหนเป็นตัวอะไร มันหงิกๆ งอๆ อย่างไร ก็จำกันเอาไว้ให้ดี แต่จำได้เพียงตัวที่ท่านสอนนะ ตัวอื่นถ้าไม่สอน ก็ยังอ่านไม่ออกเหมือนกัน” หลวงปู่โทนท่านกล่าวอย่างอารมณ์ดี
จากวันเป็นเดือน การเรียนหนังสือธรรมที่อยู่ตามใบลานก็ค่อยๆ ผ่านสายตาของหลวงปู่โทนเป็นลำดับ เพราะท่านกล่าวว่าท่านเรียนเอาความรู้ให้ได้จริงๆ มิได้หวังเอายศถาบรรดาศักดิ์ หรือหวังเอาชั้นอะไรทั้งนั้น
ในสมัยบวชเป็นสามเณร หลวงปู่โทนท่านมีความขยันขันแข็ง ในการศึกษาหาความรู้ในด้านต่างๆ มาก เพราะที่วัดมีตู้หนังสือเก่าอยู่หลายตู้ ในแต่ละตู้ก็ล้วนแต่เป็นพระคัมภีร์และชาดกต่างๆ ซึ่งบางผูกบางกัณฑ์ก็กล่าวถึงพระเวสสันดร พระสุวรรณสาม พระเจ้าสิบชาติเป็นต้น
“การเรียนรู้ทำให้หูตาสว่าง มีปัญญาทันคน ไม่หลงงมงาย” หลวงปู่โทนท่านกล่าว
จากสามเณรเป็นภิกษุ
หลวงปู่โทน หรือ ท่านพระครูพิศาลสังฆกิจ ได้เล่าให้ฟังถึงอดีตที่ผ่านมาของท่านต่อไปว่า
เมื่อเห็นว่าการบวช คือการชำระจิตใจให้หมดจดในกองกิเลสทั้งปวง ทำให้มีจิตใจใฝ่ฝันที่จะไขว่คว้าหาวิชาความรู้ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก
อาตมาจึงได้บวชพระกับหลวงปู่สีดา หรือ ท่านพระครูพุทธธรรมวงศาในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง
หลวงปู่สีดา ที่หลวงปู่โทนกล่าวถึงนี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น เป็นพระนักปฏิบัติที่มีลูกศิษย์ลูกหาอย่างมากมายทั้งฝั่งลาวและฝั่งไทย
ชื่อเสียงของหลวงปู่สีดาเป็นที่เลื่องลือไปว่า ท่านมีความสามารถทุกอย่าง ไม่ว่าในทางปฏิบัติและในทางไสยเวท ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ที่ใครๆ ก็นำบุตรหลานมาบวชกับท่านมิได้ขาด
สำหรับหลวงปู่โทนนั้น ท่านบวชตั้งแต่เป็นสามเณรจนกระทั่งอายุครบบวช ท่านก็อุปสมบทต่อไปเลย โดยไม่ได้สึกออกมาผจญกับทางโลกแม้แต่น้อย
กับ ๒ พระอาจาย์
“เมื่อบวชพระแล้ว หลวงปู่ไปที่ไหนบ้างครับ”
“อาตมาบวชได้หนึ่งพรรษา ก็ได้ไปศึกษาอยู่กับ หลวงปู่แพง ที่วัดสิงหาญ อำเภอตระการพืชผล ศึกษาอยู่กับท่านระยะหนึ่ง จึงได้ไปศึกษากับ อาจารย์ตู๋ วัดขุลุ ซึ่งทั้งสองพระอาจารย์นี้ท่านมีวิชาแก่กล้ามาก เป็นพระนักปฏิบัติเคร่ง”
หลวงปู่โทน ท่านกล่าวถึงในสมัยที่ไปศึกษาวิชาต่างๆ กับสองพระอาจารย์ว่า
ไม่ว่า หลวงปู่แพง หรือ อาจารย์ตู๋ ล้วนแล้วแต่เป็นพระผู้ใหญ่ที่มีคุณวุฒิและวัยวุฒิพร้อมสรรพ
ท่านทั้งสองมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันกับ หลวงปู่สีดา ผู้เป็นพระอุปัชฌย์ของหลวงปู่โทน แต่ละท่านก็ได้ไปศึกษาหาความรู้กันจากฝั่งลาวมาก่อนทั้งนั้น
สมัยนั้นการข้ามไปข้ามมายังฝั่งลาวมีความสะดวกสบายอย่างยิ่ง เพียงนั่งเรือข้ามแม่น้ำโขงก็ถึงกันแล้ว
ใครที่อยากจะไปยังฝั่งเขมรเพื่อศึกษากับพระอาจารย์ทางฝั่งเขมรก็ไปกันได้เช่นกัน ไม่มีใครมาห้าม แต่ส่วนมากพระอาจารย์ทางเขมรก็ชอบออกเดินธุดงค์มายังฝั่งไทยเสมอ จึงได้เจอกันอยู่บ่อยๆ
เมื่อเจอกันแล้วก็ได้ขอศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะทางด้านปฏิบัติ ใครติดขัดอะไรก็สอบถามกันไป
ท่านคือตัวแทน...
หลวงปู่โทน กนฺตสีโล พระอาจารย์ผู้เพิ่งจะค้นพบนี้ ท่านเล่าว่า เมื่อก่อนนี้ท่านอยู่อย่างสงบ ไม่มีใครมารบกวน เพราะอยู่วัดบ้านนอก ไม่มีความเจริญเท่าใดนัก
แต่ในปัจจุบันนี้ผิดไปมากทีเดียว เนื่องจากเมื่อสิ้นหลวงปู่คำคะนิง แล้ว ญาติโยมได้หันมาหาท่าน
ศิษย์สำเร็จลุน
ผู้เขียนได้กราบเรียนถามท่านถึงเรื่อง หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และสำเร็จลุน พระอาจารย์ผู้ล่องหนย่นระยะทางได้ว่า ท่านได้เคยพบปะ หรือศึกษาธรรมอะไรกับท่านทั้งสองมาบ้าง ซึ่งหลวงปู่โทนก็ได้มีเมตตาเล่าให้ฟังว่า
“หลวงปู่สำเร็จลุนนั้น เป็นพระอาจารย์ของอาตมาเอง เคยได้ไปอยู่ปรนนิบัติและศึกษาธรรมกับท่านมาแล้วที่วัดบ้านเวินไซ ในนครจำปาศักดิ์ฝั่งประเทศลาว
ท่านสำเร็จลุนเป็นพระผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรมสูง มีเมตตตาจิต โอบอ้อมอารีต่อพระเณรผู้เป็นลูกศิษย์เสมือนพ่อปกครองลูก
ท่านมีวิชาแก่กล้ามาก ไม่ว่าจะไปไหนมาไหนจะย่อแผ่นดิน (ย่นระยะทาง) อยู่เสมอ”
หลวงปู่โทน ท่านเปิดเผยต่อไปว่า ความจริงแล้วท่านได้มีโอกาสไปปรนนิบัติหลวงปู่สำเร็จลุนตั้งแต่สมัยยังเป็นสามเณรโน่นแล้ว
เมื่อท่านสำเร็จลุนว่างจากการปฏิบัติ ท่านก็จะเรียกไปบีบแข้งบีบขาให้ท่านอยู่เสมอ พร้อมกันนั้น ท่านก็จะกล่าวอบรมสั่งสอนธรรมะและข้อปฏิบัติให้นำไปปฏิบัติเป็นกิจวัตร
“สำเร็จลุนท่านสอนทางด้านวิชาอาคมอะไรให้หลวงปู่บ้างครับ” ผู้เขียนเรียนถามท่าน ซึ่งท่านก็กล่าวตอบว่า
“ก็มีอยู่บ้าง เพราะท่านเก่งทางวิทยาคมเป็นเลิศอยู่แล้ว ไม่ว่าวิชาไหนท่านรู้หมด จะเรียนวิชาอะไร ก็เรียนได้ ถ้ามีความขยันในการเรียน โดยท่านจะสอนให้กับทุกคน ไม่ปิดบังอย่างใดทั้งสิ้น”
“หลวงปู่ได้วิชาอะไรจากสำเร็จลุนบ้างครับ”
“วิชาหรือ ก็ได้ในแนวทางปฏิบัตินี่แหละ ถ้าเราปฏิบัติดี มีศีลธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรมความดี อย่าให้บกพร่อง ของดีก็อยู่กับเรา” หลวงปู่ท่านกล่าว
เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม
ความจริงแล้ว หลวงปู่โทน ท่านได้ศึกษาวิชาต่างๆ จากสำเร็จลุนมามาก แต่ท่านไม่ยอมเปิดเผยให้ฟังโดยละเอียด เพราะท่านกล่าวว่า จะเป็นการอวดอุตริมนุสสธรรม จะทำให้ครูบาอาจารย์ท่านเสีย เพราะท่านไม่เคยโอ้อวดใคร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระนักปฏิบัติอย่างท่านนั้น เมื่อมีใครไต่ถามอย่างไร ท่านก็จะตอบอย่างนั้น ตอบอย่างสั้นๆ ไม่นอกเรื่องและไม่พูดมาก ซึ่งผู้ที่ไม่รู้ความจริงก็อาจจะเข้าใจผิด คิดว่าท่านถือตัวหรือหยิ่ง พบยาก อะไรทำนองนี้
แต่ความจริงแล้ว พระนักปฏิบัติอย่างหลวงปู่โทน ท่านมีเมตตาธรรมและคุณธรรมสูงมาก เป็นผู้ให้ตลอด ไม่เคยเรียกร้องเอาอะไรจากใคร
เมื่อถามถึงเรื่องสำคัญในการศึกษาเล่าเรียนของท่าน ท่านมักจะกล่าวว่า
“อย่าไปพูดถึงเลย เพราะจะทำให้ครูบาอาจารย์ท่านตำหนิเอา”
คำพูดของหลวงปู่ทุกคำ ท่านจะกล่าวยกย่องครูบาอาจารย์ของท่านอยู่ตลอดเวลา และท่านมีความเคารพในครูบาอาจารย์อยู่เสมอ
พบหลวงปู่มั่น
หลวงปู่โทน ท่านเล่าว่า สำหรับ หลวงปู่มั่นนั้น ท่านได้พบกันในระหว่างออกเดินธุดงค์ป่าแห่งหนึ่ง เขตตระการพืชผล
“หลวงปู่มั่นท่านสอนธรรมะอะไรให้หลวงปู่บ้างครับ”
“ไม่ได้สอนอะไรให้ เพราะต่างคนก็ต่างออกไปหาความสงบกันในป่า และไปคนละสาย คือไปคนละทางกัน แต่ก็ได้อยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับท่านมาร่วมเดือนในป่าแห่งหนึ่ง”
หลวงปู่โทน ท่านเล่าถึงเมื่อคราวที่ท่านได้พบกับหลวงปู่มั่น ท่านก็มีความเคารพเลื่อมใสในตัวหลวงปู่มั่นเช่นกัน โดยท่านกล่าวว่า
“ถึงแม้อาตมาไม่ได้ติดสอยห้อยตามหลวงปู่มั่นมาตั้งแต่แรก แต่เมื่อได้มาพบกับท่านก็มีความนับถือท่าน เพราะท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่ถือเคร่งมาก”
หลวงปู่โทนเล่าว่า หลวงปู่มั่นเคยสอบถามท่านถึงเรื่องการปฏิบัติอยู่เสมอ และบางครั้งท่านก็ได้ชี้แนะแนวทางให้ด้วย
แต่เมื่อติดขัดจริงๆ ก็ให้ไปเรียนถามสำเร็จลุน ซึ่งหลวงปู่มั่นมีความเคารพนับถือท่านอยู่มาก
ล้วนเป็นศิษย์อาจารย์ดัง
หลวงปู่โทนเล่าว่า ความจริงแล้วก่อนที่ท่านจะเข้ามาบวชเป็นสามเณรนั้น ท่านได้เรียนวิชามูลกัจจายน์กับ พระอาจารย์หนู ที่วัดบ้านเกิดของท่านมาก่อนจนกระทั่งเรียนจบ เพาะในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียน ใครอยากจะเรียนก็ไปเรียนกับพระที่วัด
“อาตมาเป็นเด็กวัดไปด้วย เรียนไปด้วย จนได้วิชามูล แต่ไม่มีชั้นอย่างเช่นทุกวันนี้ ที่มี ป.๑ ป.๒ ป.๓ อะไรทำนองนี้”
ส่วนครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่โทนได้ไปศึกษาอยู่ด้วยนั้น ท่านเล่าว่ามีอยู่มากมาย เช่นอาจารย์ตู๋ วัดบ้านขุลุ อาจารย์แพง วัดสิงหาญ สำเร็จตัน และหลวงปู่สีดา เป็นต้น
ธุดงค์ไปภูโล้น (ที่ถูกคือ ภูหล่น)
หลวงปู่โทนเล่าว่า ในสมัยนั้นท่านจะออกเดินธุดงค์อยู่ตลอดเวลาไม่อยู่เป็นที่ เพราะครูบาอาจารย์ท่านอบรมสั่งสอยมาอย่างนั้น ก็ต้องปฏิบัติตามท่านสอน ต่อมาท่านได้ธุดงค์ไปถึงภูโล้น ได้พบกับหลวงปู่มั่นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้อยู่ปฏิบัติธรรมได้นานถึงหนึ่งเดือน
ภูโล้นอยู่ในเขตอำเภอศรีเชียงใหม่ (ที่ถูกคือ อ.ศรีเมืองใหม่) เป็นภูเขาที่มีสัตว์ป่ามากเป็นพิเศษ เช่น ช้าง เสือ หมี งูเห่า และกระต่าย เ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top