เหรียญคุ้มเกล้าในหลวง เนื้อเงิน ปี 2522 ( หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปลุกเสก )-พุทธธรรม - webpra
การมีกัลยาณมิตรก็เหมือนมีดวงอาทิตย์ประจำตัว

หมวด วัตถุมงคล ร.5-ร.9

เหรียญคุ้มเกล้าในหลวง เนื้อเงิน ปี 2522 ( หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปลุกเสก )

เหรียญคุ้มเกล้าในหลวง เนื้อเงิน ปี 2522 ( หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปลุกเสก ) - 1เหรียญคุ้มเกล้าในหลวง เนื้อเงิน ปี 2522 ( หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปลุกเสก ) - 2
ชื่อร้านค้า พุทธธรรม - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญคุ้มเกล้าในหลวง เนื้อเงิน ปี 2522 ( หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปลุกเสก )
อายุพระเครื่อง 44 ปี
หมวดพระ วัตถุมงคล ร.5-ร.9
ราคาเช่า 7,500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0922714420
อีเมล์ติดต่อ Thianchai.dh@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 01 มิ.ย. 2560 - 17:02.10
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 09 มิ.ย. 2560 - 08:24.28
รายละเอียด
เหรียญคุ้มเกล้าในหลวง เนื้อเงิน ปี 2522 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปลุกเสก สภาพสวย

เหรียญคุ้มเกล้า โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พิมพ์ใหญ่ เนื้อนวโลหะ ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปีพ.ศ.2522 โดยมูลนิธิมูลนิธิคุ้มเกล้าฯในพระบรมราชูปถัมภ์

วัตถุประสงค์ :
เนื่องในวาระครบรอบ 30 ปีของการให้บริการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เมื่อ 27 มีนาคม 2522 กองทัพอากาศได้ดำริสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินขนาดใหญ่สูง 12 ชั้นที่ทันสมัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและเสริมสร้างบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมบรรดาผู้ป่วยทั้งหลายไปชั่วกาลนาน โดยสิ้นค่าใช้จ่ายกว่า 600 ล้านบาท จากเงินที่ประชาชนทั่วประเทศร่วมใจกันบริจาค

พุทธลักษณะ
ด้านหน้า : เป็นพระบรมฉายาลักษณ์
ด้านหลัง : มีพระปรมาภิไธยย่อ “ภ.ป.ร.”

พิธีลงอักขระแผ่นยันต์อักขระที่ใช้สร้าง ′เหรียญคุ้มเกล้า′
แผ่นแรกเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2526 โดยมี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยพระเถระอีก 60รูป ที่ได้มาร่วมสวดเจริญพระพุทธมนต์ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ภายในพระอุโบสถของวัดราชบพิธ

หลังจากนั้นได้นำแผ่น ทอง นาก เงิน ไปให้พระเถราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศ จารึกอักขระจนครบ 1,250 รูป อาทิ
- พระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดุลย์)วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ ลงอักขระวันที่ 16 กันยายน 2526
- พระคุณเจ้าหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ลงอักขระแผ่นทอง นาก เงิน ณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ 19 สิงหาคม 2526
- พระสุพรหมยานเถร (หลวงปู่พรหมจักร)วักพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน ลงอักขระ 21 สิงหาคม 2526
- พระอุดมสังวรเถร(หลวงพ่ออุตตมะ)วัดวังวิเวการาม จ.กาญจนบุรี ลงอักขระ 5 ตุลาคม 2526
- พระสุนทรธรรมภาณี(หลวงพ่อแพ)วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี ลงอักขระวันที่ 3 ตุลาคม 2526
- พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์) วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ลงอักขระ 5 สิงหาคม 2526
- หลวงพ่อเกษม เขมโก วัดป่าช้าไตรรัตนาราม อ.เมือง จ.ลำปาง ลงอักขระ 22สิงหาคม 2526
- พระครูสุวรรณประดิษฐการ(หลวงพ่อจ้อย)วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ อ.ดอนสัก จ.สุราษฏร์ธานี ลงอักขระ 11 ตุลาคม 2526
- สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. เป็นต้น

พิธีเททองหล่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเททองหล่อพระพุทธรูปคุ้มเกล้าฯ ณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ซึ่งตรงกับวันที่ ′หลวงปู่แหวน สุจิณโณ′ มีอายุครบ 97 ปี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2527 โดยมีสมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยพระเถระผู้ใหญ่ผู้ทรงคุณอีก 9 รูป เจริญชัยมงคลคาถา ในโอกาสนี้ได้ทรงทำพิธีหลอมแผ่นทอง นาก เงิน ที่ได้ทำพิธีลงอักขระแล้ว เป็นชนวนนำไปสร้างวัตถุมงคลคุ้มเกล้าต่อไป

พิธีพุทธาภิเษก
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกหมู่อย่างยิ่งใหญ่มโหฬาร 4 วัน 4 คืน ตั้งแต่วันที่ 6-9 เมษายน พ.ศ.2527 โดยทำการโยงสายสิญจน์จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามมายังปะรำพิธี ณ ท้องสนามหลวง นิมนต์พระเถรานุเถระผู้ทรงคุณ เกจิอาจารย์ดัง 108 รูปจากทั่วประเทศผลัดเปลี่ยนกันนั่งปรกปลุกเสกตลอดรวม 4 คืน อาทิ
- สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ประธานฝ่ายสงฆ์จุดเทียนชัย
- สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธานดับเทียนชัย
- หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง
- หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง
- หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพา สุรินทร์
- หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก
- หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง
- หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
- หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
- หลวงพ่อหลุย วัดเจติยาวิหาร
- หลวงปู่ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
- หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
- หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
- หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
- หลวงพ่อพวง วัดศรีธรรมาราม
- หลวงพ่อพุฒ วัดมณีสถิตย์
- หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน
- หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้
- หลวงพ่อคำแสน วัดถ้ำผาเงา
- หลวงพ่อโอด วัดจันเสน
- หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสะต๋อย เป็นต้น

สำหรับวัตถุมงคลรุ่นคุ้มเกล้า ในวันแรกของพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงจุดไฟพระฤกษ์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มอบให้พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผบ.ทอ. อัญเชิญเข้าขบวนแห่มายังปะรำพิธี จากนั้นในเวลา 19.19 น. สมเด็จพระสังฆราช เสด็จมาจุดเทียนชัยจากไฟพระฤกษ์ เริ่มพิธีพุทธาภิเษกจนถึงรุ่งอรุณของวันที่ 4 สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธานดับเทียนชัย เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีพุทธาภิเษก
เหรียญคุ้มเกล้า เนื้อทองคำ พิมพ์ใหญ่ ปี 2522 พิธีใหญ่ "หลวงปู่แหวน"ร่วมปลุกเสก

วัตถุมงคลดี พิธีใหญ่ เหรียญคุ้มเกล้า สร้างเมื่อปี 2522 ที่หลายคนต่างหาเช่าเก็บไว้บูชา ด้วยเหตุที่เป็น ของดี ที่ในหลวงเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททอง
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า ′ทรงทำอุปการะก่อนแก่พสกนิกร เพราะทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจโดยธรรม อีกทั้งยังให้ความสุข ความเจริญแก่พสกนิกร ชื่อว่าทรงเป็นบุพการีของพสกนิกร ซึ่งเหล่าพสกนิกรชาวไทยจักถวายความจงรักภักดีเป็นล้นพ้นดุจบิดาของตน′

ดังนั้น เมื่อมีการสร้างวัตถุมงคลที่ระลึกต่างๆ จึงมีผู้ให้ความสนใจอย่างมาก เพราะคนไทยทั้งปวงต่างเชื่อมั่นว่า ผู้ใดมีพระบรมฉายาลักษณ์ไว้บูชาจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลสูงสุดและปลอดภัยจากภยันตรายทั้งมวล จึงทำให้วัตถุมงคลที่จัดสร้างเป็นที่ระลึก ซึ่งมีพระบรมรูปและพระปรมาภิไธยย่อ ′ภปร′ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหน แบบไหน ปีไหนล้วนเป็นที่ปรารถนาและทรงคุณค่าอย่างยิ่ง รวมทั้งมีมูลค่าในการสะสมเพิ่มขึ้นไปตามกาลเวลา

ตลอดปี 2554 ซึ่งตรงกับปีมหามงคลที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 7รอบ 84 พรรษา นอกจากจะมีการจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อเป็นที่ระลึกและร่วมเทิดพระเกียรติแล้ว ยังส่งผลให้พระเครื่องและของที่ระลึกรุ่นเก่าๆ ของรัชกาลที่ 9 กลับมาได้รับความนิยมและเป็นที่เสาะหากันอย่างคึกคักอีกครั้ง อย่างเช่น วัตถุมงคลดี พิธีใหญ่ ′เหรียญคุ้มเกล้า′ สร้างเมื่อปี 2522 ที่หลายคนต่างหาเช่าเก็บไว้บูชา ด้วยเหตุที่เป็น ′ของดี′ ที่เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททอง

สำหรับ ′เหรียญคุ้มเกล้า′ มีประวัติการสร้างดังนี้ เนื่องในวาระครบรอบ 30 ปีของการให้บริการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เมื่อ 27 มีนาคม 2522 กองทัพอากาศได้ดำริสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินขนาดใหญ่สูง 12 ชั้นที่ทันสมัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและเสริมสร้างบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมบรรดาผู้ป่วยทั้งหลายไปชั่วกาลนาน โดยสิ้นค่าใช้จ่ายกว่า 600 ล้านบาท จากเงินที่ประชาชนทั่วประเทศร่วมใจกันบริจาค

ในการรณรงค์หาทุนสร้าง ′อาคารคุ้มเกล้าฯ′ และจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยไว้ใช้ในอาคารคุ้มเกล้าฯ กองทัพอากาศได้จัดสร้าง ′วัตถุมงคลคุ้มเกล้า′ ขึ้นเพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธา ให้การสนับสนุน ประกอบด้วย พระพุทธรูปบูชา พระกริ่ง และเหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ′ภปร′ ประดิษฐานที่เหรียญ และทรงให้ช่างในพระองค์เป็นผู้ปั้นแบบเหรียญพระบรมรูปด้านหน้าเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ ′ภปร′ พิธีลงอักขระแผ่นทอง นาก เงิน แผ่นยันต์อักขระที่ใช้สร้าง ′เหรียญคุ้มเกล้า′ ได้จัดพิธีลงอักขระ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพ มหานคร โดยมี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานพร้อมด้วย สมเด็จพระราชาคณะและพระเถระผู้ใหญ่รวม 60 รูป ทำพิธีลงอักขระแผ่น ทอง นาก เงิน เป็นปฐมฤกษ์ หลังจากนั้นได้นำแผ่น ทอง นาก เงิน ไปให้พระเถราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศ จารึกอักขระจนครบ 1,250 รูป

พิธีเททองหล่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเททองหล่อพระพุทธรูปคุ้มเกล้าฯ ณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ซึ่งตรงกับวันที่′หลวงปู่แหวน สุจิณโณ′ มีอายุครบ 97 ปี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2527 โดยมีสมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยพระเถระผู้ใหญ่ผู้ทรงคุณอีก 9 รูป เจริญชัยมงคลคาถา ในโอกาสนี้ได้ทรงทำพิธีหลอมแผ่นทอง นาก เงิน ที่ได้ทำพิธีลงอักขระแล้ว เป็นชนวนนำไปสร้างวัตถุมงคลคุ้มเกล้าต่อไป

จากนั้น ประกอบพิธีพุทธาภิเษกหมู่อย่างใหญ่โตมโหฬาร 4 วัน 4 คืน 6-9 เมษายน2527 โยงสายสิญจน์จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามมายังปะรำพิธี ณ ท้องสนามหลวง นิมนต์พระเถรานุเถระผู้ทรงคุณ เกจิอาจารย์ดัง 108 รูปจากทั่วประเทศผลัดเปลี่ยนกันนั่งปรกปลุกเสกตลอดรวม 4 คืน อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ดูุลย์ วัดบูรพาราม, หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง, หลวงปู่ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง เป็นต้น โดยเฉพาะ ′หลวงปู่แหวน′ ที่มาร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต นับว่าเป็นวาระพิเศษส่งผลให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ไม่ธรรมดาในสายตาของนักสะสม มีผู้กล่าวถึงและว่าท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม และมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ วัตถุมงคลของท่านต่างร่ำลือในความเข้ม มีผู้นิยมแสวงหาไว้พกพาติดตัว เพื่อความเป็นสิริมงคล

เหรียญทุกรุ่นที่หลวงปู่แหวนอธิษฐานจิตปลุกเสก พุทธคุณโดดเด่นในเรื่องเมตตามหานิยม ค้าขายเจริญรุ่งเรือง การเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย สยบสิ่งชั่วร้ายต่างๆ นานา วัตถุมงคลที่นิยมมากคือ ′เหรียญหลวงปู่แหวนรุ่นแรก พิมพ์หน้าวัว′

สำหรับวัตถุมงคลรุ่นคุ้มเกล้า ในวันแรกของพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงจุดไฟพระฤกษ์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มอบให้พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผบ.ทอ. อัญเชิญเข้าขบวนแห่มายังปะรำพิธี จากนั้นในเวลา 19.19 น. สมเด็จพระสังฆราช เสด็จมาจุดเทียนชัยจากไฟพระฤกษ์

เริ่มพิธีพุทธาภิเษกจนถึงรุ่งอรุณของวันที่ 4 สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธานดับเทียนชัย เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีพุทธาภิเษก นับเป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ต้องจารึกเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ว่า พิธีนี้ใหญ่จริงๆ ยามนี้จึงมีประชาชนถวิลหาเช่าบูชา′เหรียญคุ้มเกล้า′ กันอย่างกว้างขวาง

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top