พระกริ่งพุทธวิชิมาร วัดท่าเกวียน ปี 2514 นวะ-มรดกพุทธะ - webpra
มอบมรดกจากพุทธะ มีความหมายยิ่งกว่าบอกว่ารักนะ

หมวด พระกริ่ง พระชัยวัฒน์

พระกริ่งพุทธวิชิมาร วัดท่าเกวียน ปี 2514 นวะ

พระกริ่งพุทธวิชิมาร วัดท่าเกวียน ปี 2514 นวะ - 1พระกริ่งพุทธวิชิมาร วัดท่าเกวียน ปี 2514 นวะ - 2พระกริ่งพุทธวิชิมาร วัดท่าเกวียน ปี 2514 นวะ - 3
ชื่อร้านค้า มรดกพุทธะ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระกริ่งพุทธวิชิมาร วัดท่าเกวียน ปี 2514 นวะ
อายุพระเครื่อง 48 ปี
หมวดพระ พระกริ่ง พระชัยวัฒน์
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ luckypop999@hotmail.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 05 มี.ค. 2556 - 11:28.41
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 02 ส.ค. 2560 - 15:16.33
รายละเอียด
โปรดอ่านรายชื่อครูบาอาจารย์ผู้มาปลุกเศกแล้วจะรู้สึกว่า พระกริ่งรุ่นนี้อนาคตคงเป็นตำนานอีกรุ่นนึงเป็นแน่แท้ครับ

สุดยอด ยุคนี้จะหาพิธีที่รวบครูบาอาจารย์ระดับตำนานอย่างนี้ได้ที่ไหนอีก ไม่มีแล้วครับ ไม่มีทางเลย

พระกริ่งพุทธวิชิตมาร วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา ปี 2514 เนื้อนวะโลหะ จำนวนสร้าง 5,000 องค์

จัดสร้างโดยท่านเจ้าคุณอดุลสารมุนี(หลวงปู่จันทร์) วัดท่าเกวียน เจ้าคณะอำเภอพนมสารคาม ฉะเชิงเทรา
วัตถุประสงค์ เพื่อหารายได้เข้าทุนมูลนิธิท่านเจ้าคุณพระอดุลสารมุนี เพื่อช่วยเหลือพระภิกษุและสามเณรที่ยากไร้
พิธีมหาพุทธาภิเษก นี้ได้ให้ฤกษ์ยามโดยท่านเจ้าคุณไสว แห่งวัดราชนัดดาราม ฯ ในวันที่ 18 มีนาคม พุทธศักราช 2514 ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน จุลศักราช 1332 เวลา 18.05 น.อันเป็นฤกษ์จุดเทียนชัย
โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราชวัดมกุฎกษัตริยาราม (จวน อุฏฐายี) สังฆราชองค์ที่ 16 .....ทรงจุดเทียนชัย
และได้มอบแผ่นชนวนจากวัดมกุฎกษัตริยาราม และวัดสุทัศน์จากสมเด็จพุฒาจารย์(เสงี่ยม) วัดสุทัศน์ฯ ผู้มอบและได้รับแผ่นทอง เงิน นาก จากท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์เป็นผู้ลงแผ่นและอธิษฐานจิตมาด้วย
พ.ศ.2513โดยการออกแบบสร้างของนายช่างเกษม มงคลเจริญ เป็นพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ที่สวยงามที่สุดในประเทศ
สร้างจำนวนอย่างละ 5,000 องค์และเนื้อทองคำ ....สร้างจำนวน 29 องค์เท่านั้น นอกนั้นเป็นเนื้อนวะทั้งหมด เนื้อเงินไม่มี

จัดพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2514 โดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 108 รูป เริ่มพิธีตั้งแต่ 6โมงเย็นตลอดคืนถึง 6 โมงเช้า โดยหลวงปู่นาค วัดระฆังเป็นองค์ดับเทียนชัย
คณาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกพอจำได้ และที่จำไม่ได้ก็มีหลายรูป ทางผู้สร้างได้ขอพระราชทานนามจากพระอริยวงศาตตญาณ พระสังหราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดมงกุฎกษัตริยาราม ได้มีพระมหากรุณาทรงพระประทานนาม อันเป็นมหามิ่งมงคล แด่พระกริ่งนี้ว่า “พระพุทธวิชิตมาร ประทานสันติสุข สวัสดี ชินสีห์ ธรรมบพิต”
ลักษณะพระกริ่ง เป็นพุทธลักษณ์ ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายทรงน้ำเต้าพระพุทธมนต์ ศิลปโบราณ อันละเอียดอ่อน ชัดเจนงดงามยิ่งนัก ฐานรองรับองค์เป็นรูปบัวตูมอันอ่อนช้อย ใต้ฐานตอกโค๊ต ดอกจันทร์ และ อุดกริ่งเป็นรูปธรรมจักร พระที่น่าศรัทธาเลื่อมใส นับเป็นการออกแบบที่ยอดเยี่ยม ...
โปรดอ่านรายชื่อพระที่ร่วมพุทธาภิเษก อย่างละเอียดครับ
รายนามพระคณาจารย์นั่งปรกวัตถุมงคล 108 รูป
(ต่อจากหนังสือแนะนำ)
รายนามพระคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก ที่เห็นรายชื่ออยู่ในใบบอกบุญใบนี้ พึ่งจะมีรายชื่อพระคณาจารย์อยู่เพียง 36 รูป จะเห็นได้ว่า ในรายชื่อที่ 37 ระบุไว้ว่า "ยังมีพระอาจารย์ต่างๆที่ยังมิได้ลงรายชื่ิอ คณะกรรมการกำลังนิมนต์อยู่อีกมาก" นั่นเพราะว่าในใบบอกบุญใบนี้ ทางวัดได้ทำออกมาในช่วงแรกๆของการจัดสร้างวัตถุมงคล ซึ่งคงจะเป็นปลายปี 2513 ตามที่กล่าวไปแล้ว และได้นิมนต์พระคณาจารย์ไปแล้วบางส่วน(36รูป) ในขณะที่ออกใบบอกบุญใบนี้ พระกับกรรมการวัดที่รับหน้าที่ไปนิมนต์พระคณาจารย์มาปลุกเสกวัตถุมงคลชุดนี้ ก็ยังอยู่ในระหว่างเดินทางออกนิมนต์พระคณาจารย์ โดยเดินทางไปในจังหวัดต่างๆทั่วทุกภาคของประเทศไทย เรียกว่ามีพระดังๆอยู่ตรงไหน ที่ไหน ไปหมด และนำรายนามพระคณาจารย์ที่รับนิมนต์กลับมาบอกทางวัดเป็นระยะๆ เพื่อให้ฝ่ายเตรียมการต้อนรับ จัดเตรียมการต้อนรับได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และเป็นเสมือนข่าวดีที่ทางวัดรอรับฟังข่าวอยู่ ตรงนี้ได้รับฟังจากคนเฒ่าคนแก่ ที่อยู่ร่วมในพิธีเล่าสู่ให้ฟังครับ (ลองไปสืบถามจากคนเฒ่าคนแก่ในท้องที่ตลาดพนมสารคามดูครับ จะพูดตรงกันแบบนี้จริงๆ) ส่วนหลวงพ่อนรรัตน์(รายนามที่2) หรือเจ้าคุณนรฯ ตามที่เราเรียกกันในสมัยนี้ ท่านได้มรณภาพไปก่อนพิธี แต่ทางวัดได้เตรียมอาสนะที่นั่งไว้ให้ท่าน และกล่าวกันว่าท่านมาจริงๆ โดยผู้ที่ชงน้ำชาถวายพระนับจำนวนพระที่นั่งอยู่ในแต่ละแถวแล้วชงน้ำชามาถวายตามที่นับ ผลปรากฎว่าเหลือน้ำชา 1 ที่ ทำให้ผู้ที่ชงน้ำชาแปลกใจ และเมื่อสอบถามกันจนได้ความแล้วจึงเกิดความศรัทธาเจ้าคุณนรฯเป็นอย่างมาก ถึงกับเช่าวัตถุมงคลทุกชนิดของท่านเจ้านรฯเก็บไว้มากมาย

37. หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
38. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง
39. หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์
40. หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์
41. หลวงปู่ศรี วัดสะแก อยุธยา
42. หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
43. หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร
44. หลวงปู่เม้า วัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์
45. หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง
46. หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
47. หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี
48. หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์
49. พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา นครศรีธรรมราช
50. หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง บุรีรัมย์
51. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
52. หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอเหนือ ร้อยเอ็ด
53. หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม สมุทรสาคร
54. หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
55. พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร
56. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
57. หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
58. หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
59 หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
60. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
61. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม
62. หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม
63. หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
64. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร
65. หลวงปู่ธูป วัดแค กทม.
66. หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
67. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
68. หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา
69. หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ นครศรีธรรมราช
70. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่(อธิษฐานจิตมา)
71. หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
72. หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม ราชบุรี
73. หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี
74. หลวงพ่อมี วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา
75. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
76. ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่
77. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา
78. ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่ 7
9. หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์
80. หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
81. หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
82. หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา ปทุมธานี
83. หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงห์หาร อุดรธานี
84. หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี
85. หลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี
86. พระวิบูลเมธาจารย์(เก็บ) วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
87. หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี
88. หลวงพ่อสาย วัดจันทร์เจริญสุข สมุทรสงคราม
89. พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง นครปฐม
90. หลวงพ่อสีหมอก วัดเขาวังตะโก ชลบุรี
91. พระครูศรีสัตตคุณ วัดสัตหีบ ชลบุรี
92. หลวงปู่บุญทัน วัดประดู่ศรี ปราจีนบุรี
93. พระวิสุทธาจารคุณ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
94. พระอาจารย์สุบิน วัดถ้ำไก่แก้ว นครราชสีมา
95. หลวงพ่อแดง วัดดอนยอ นครปฐม
96. พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู กทม.
97. หลวงพ่อเพชร วัดดงยาง ฉะเชิงเทรา
98. พระครูพิทักษ์เขมากร วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา
99. หลวงพ่อเม็ด วัดบึงกระจับ ฉะเชิงเทรา
100.หลวงพ่อผิว วัดหนองบัว ฉะเชิงเทรา
101.หลวงพ่อเฮง วัดอ่าวสีเสียด ฉะเชิงเทรา
102.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร
103.หลวงปู่จันทร์ โฆสโก อุตรดิตถ์
104.หลวงพ่ออินเทวดา วัดลาดท่าใหม่ จันทบุรี
105.หลวงพ่อกลั่น วัดอินทาราม อ่างทอง
106. ...................................................................
107. .........................................................
108. ..................................................................

จากคำบอกกล่าวของกรรมการวัด ตอนแรกเมื่อปี 2513คณะกรรมการจัดสร้างได้ไปนิมนต์ท่านเจ้าคุณนรฯที่วัดเทพฯ(เพราะท่านได้ จารแผ่นยันต์ตามที่เขียนข้างต้น)ซึ่งท่านก็รับนิมนต์ ติดแต่ว่าท่านไม่เคยรับนิมนต์ไปนอกวัด ท่านจึงบอกว่าวันไหนที่ทำพิธีให้จัดอาสนะให้ท่านและแจ้งท่านด้วย ท่านจะไป แต่ท่านมรณะภาพก่อน ทางคณะกรรมการก็คิดว่าในเมื่อท่านรับปากท่านก็ต้องมาแม้ว่าท่านจะอยู่ที่ใด ในวันปลุกเสกก็ได้จัดอาสนะและติดป้ายชื่อท่าน แต่น่าแปลกว่า พระเกจิอาจารย์ที่มาในงานนั้นไม่มีท่านใดมานั่งที่ๆของท่านเจ้าคุณนรฯเลย ทั้งๆที่พระเกจิแต่ละท่านก็อายุมากหูตาเริ่มไม่ดีแล้ว....
น่าสะสมพระกริ่งดี****พิธีใหญ่ ****สร้างถูกต้องตามแบบฉบับโบราณ....

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top