
หมวด เครื่องรางของขลัง
ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา หลวงปู่ใจวัดเสด็จ





ชื่อร้านค้า | หมอเมืองขอน - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา หลวงปู่ใจวัดเสด็จ |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | เครื่องรางของขลัง |
ราคาเช่า | 9 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0909857494 |
อีเมล์ติดต่อ | more_maung_khon@hotmail.co.th |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อ. - 04 ส.ค. 2563 - 19:05.17 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อ. - 04 ส.ค. 2563 - 19:05.17 |
รายละเอียด | |
---|---|
สนใจกดลิงค์ทักไลน์http://line.me/ti/p/~more-2212 โทร0909857494 ๙ ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา เนื้อตะกั่ว ดอกนี้ยาวประมาณ 7 นิ้ว (ขนาดตะกรุดตรงตามตำราขนาดตารางยันต์มหาระงับและอักขระยันต์ที่ลงล้อมรอบ) ถักเชือกเส้นเล็ก ผอกด้วยว่านยา ลงรักปิดทองเก่า สภาพผ่านการใช้บูชา หัวเรียวท้ายเรียว ป่องกลาง ถูกต้องตรงตามตำรา ๙ ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จัดเป็น 1 ในชุดเบญจภาคีตะกรุดยอดนิยมของไทย ปัจจุบันนี้แทบจะเป็นตํานานไปแล้ว สันนิษฐานว่าท่านเริ่มสร้างตะกรุดประเภทต่างๆเพื่อมอบให้กับลูกศิษย์ หลังจากหลวงปู่ยิ้ม(พระอาจารย์ของท่าน) มรณะภาพแล้วปี พ.ศ.2453 และสร้างเรื่อยมาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2505 (ปีที่หลวงปู่ใจ มรณะภาพ) จวบจนปัจจุบันปี พ.ศ. 2562 ตะกรุดยุคปลายสุดของท่านก็ประมาณ 57 ปี และยุคต้นสุดของท่านจะประมาณ 109 ปี โดยความเก่าและวัสดุก็จะต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย โดยมีเอกลักษณ์ที่นิยมใช้แยกแท้-เก๊ อยู่หลายประการ สําหรับตะกรุดมหาระงับปราบหงสาของท่าน มีอานุภาพชัดเจนในด้านระงับดับภัย โชคร้ายกลายเป็นดี ,ทางคงกะพัน มหาอุด ,ระงับดับทุกข์โศก หรือเรื่องร้ายๆ ท่านสร้างไว้น้อยมาก หาได้ยากมากๆ ล.ป.ใจ ท่านเป็นพระที่มีสมาธิจิตสูงยิ่ง ในคราวพิธี 25 พุทธศตวรรษ แผ่นจารตะกรุดของท่านหลอมไม่ละลายไม่ว่าจะหลอมนานแค่ไหน จนเจ้าหน้าที่ต้องตักขึ้นมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นที่โจษขานเลื่องลือมาถึงทุกวันนี้ ๙ /// กล่าวสำหรับตะกรุดปราบทาษามหาระงับของหลวงปู่ใจ ตะกรุดนี้ ถือเป็นของวิเศษเกินกว่าการเป็นตะกรุดดอกหนึ่ง ถือเป็นไข่ลูกยอดของท่าน หายากจนท้อ แบบว่า มีเงินเก็บเงินจนปลวกขึ้น ยังอาจหาไม่ได้ตะกรุดนี้ส่วนใหญ่ทำจากแผ่นเงิน ตะกั่ว ทองแดง ปิ๊บน้ำตาล ขนาดกว้าง 6 นิ้วฟุตยาว 7 นิ้วฟุต ต้องขนาดนี้อย่างเดียว ถ้าใหญ่หรือเล็กกว่านี้ ท่านบอกว่า ทำไม่ได้ “มันผิดครูจะ”การลงยันต์จะลงจนเต็มแผ่นโลหะตามฤกษ์ยามของอักขระแต่ละตัว แต่จะเว้นช่องว่างตรกลางไว้สำหรับลงอักขระตัวสุดท้าย คือ“นะ คงคา” ซึ่งเป็นอักขระตัวสำคัญที่จะต้องจารใต้น้ำการจารอักขระ "นะ คงคา" ใต้น้ำ เป็นการเอาเคล็ดที่จะเอาความเย็นฉ่ำของพระแม่คงคามาเก็บไว้ในตัวตะกรุด เพื่อให้ดินปืนเปียกชื้น จะได้ยิงไม่ออก และเพื่อดับความเร่าร้อนในจิตใจของมวลมนุษยชาติยามเกิดเหตุทะเลาะวิวาท จะได้สามารถไกล่เกลี่ย ระงับเหตุได้ด้วยดี เป็นตะกรุดที่ดีทั้งทางบู้และทางบุ๋นในดอกเดียวกัน ถ้านำไปแขวนไว้ที่หัวเสาบ้านใด คนในบ้านจะหลับทั้งหลังแผ่นยันต์นี้ เมื่อม้วนเป็นตะกรุดแล้ว จะพันด้วยด้ายดิบ จากนั้นจะพอกด้วยผงยา 7 ชนิดเรียกว่า “สัตตโพชฌงค์” นำไปผึ่งแดดให้แห้ง จากนั้นท่านจะปลุกเสกกำกับอีกครั้งหนึ่ง จึงจะมอบให้ลูกศิษย์ที่ขอท่านไว้ตอนมอบตะกรุด ท่านจะบอกว่า “เป็นของดีนะจ๊ะ" เก็บให้ดีนะจ้ะทำยากนะจ๊ะ” และจะบอกให้นำไปถักเชือก “ลงรักปิดทอง” เพื่อเป็นการฉลองตะกรุด ทั้งยังจะต้องรับศีลจากท่านก่อนว่าจะไม่นำไปประกอบกรรมชั่วตะกรุดนี้ เคร่งครัดสูงส่งเป็นตะกรุดที่ท่านจะสร้างให้เฉพาะบุคคลที่ท่านเห็นสมควรได้ไว้เท่านั้นคือเป็นคนดีมีศีลธรรม หรือผู้ที่ปกครองคนหมู่มาก ซึ่งท่านจะทราบด้วยญาณของท่านเองว่า ท่านควรจะให้ใครหรือไม่ กล่าวกันว่ามีนายทหารชั้นผู้ใหญ่บางคนไปหาท่านที่วัดหลายครั้ง เอ่ยปากขอท่าน ก็ไม่ได้ โดยท่านจะกล่าวแต่เพียงสั้น ๆ ว่า “รู้สึกจะไม่ดีจ้ะ”///น.นที/// ... ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา มีประวัติเกิดขึ้นชัดเจนที่สุดในสมัยสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว อยุธยา เพราะเป็นเครื่องรางของขลังประจำพระวรกายขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในการออกทำศึกรบกับพม่าโดยทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา (มังสามเกียด) จึงทำให้ทหารพม่าแพ้พ่ายแตกทัพไป ซึ่งด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้คนส่วนใหญ่เรียกว่าตะกรุดมหาระงับปราบหงสา หรือตะกรุดนเรศวรปราบหงสา สืบต่อมาจนทุกวันนี้ ตะกรุดมหาระงับปราบหงสามีวิธีการสร้างอย่างละะเอียดอ่อน และจะต้องเป็นขั้นเป็นตอน โดยเริ่มจากการจารอักขระเลขยันต์หรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าการเดินยันต์นั่นเอง การเดินยันต์นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะการเดินยันต์หนึ่งตัวก็ต้องบริกรรมคาถาไปด้วยหนึ่งจบ โดยบทบริกรรมคาถา ส่วนใหญ่จะเป็นบทสรรเสริญพุทธคุณ สำหรับตัวยันต์มหาระงับนั้น จะมีเอกลักษณ์เฉพาะโดยเป็นเหมือนแผนผังกั้นเป็นห้องๆ ซ้อนกันล้อมด้วยพระคาถามหาระงับ พระคาถาบารมี 30 ทัศ และอิติปิโส 8 ทิศ เป็นต้น เมื่อลงอักขระเลขยันต์ เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะม้วนให้เป็นแท่งกลม โดยมีช่องว่างตรงกลางไว้สำหรับร้อยเชือกเมื่อม้วนเสร็จแล้วก็ต้องพอกด้วยว่านยาคือ ใบไม่รู้นอน 7 ชนิด ประกอบด้วย ใบระงับ ,ใบผักกะเฉด ,ใบกระทืบยอด ,ใบชุมเห็ดเทศ ,ใบหญ้าใต้ใบ ,ใบแคขาว ,ใบสมี เมื่อได้ครบทั้ง 7 อย่าง อย่างละเท่าๆ กัน นำไปสุมไฟให้ใหม้แต่อย่าให้เป็นขี้เถ้า หรือนำไปตากให้แห้ง จากนั้นนำมาบดให้ระเอียดจึงนำไปกวนกับน้ำรัก หรือชันยางเรือ ทำเป็นสมุกพอกตะกรุด หลังจากพอกยาเสร็จแล้วก็เอาไปตากให้แห้ง จากนั้นใช้เชือกหรือด้ายดิบถักทับแล้วจึงลงรักปิดทองเพื่อรักษาตะกรุดไว้อีกชั้นหนึ่ง ในการปลุกเสกนั้นก็ต้องปลุกเสกให้จนมั่นใจว่าเป็นมหาระงับ มหาปราบ โดยชนิดที่ว่าจะต้องปลุกเสกจนสามารถสะกดและระงับให้บริเวณนั้นเงียบสงบแบบไม่มีเสียงใดๆ ให้ได้ยินเลยนั่นแหละถึงจะเป็นการปลุกเสกที่สมบูรณ์ที่สุด มีหนังสือเล่มหนึ่งเคยลงเรื่องตะกรุดมหาระงับปราบหงสา ว่ามีชายคนหนึ่งมีอาชีพจับงูขายทั้งงูเห่า...จงอาง ทุกคนอาจจะเห็นว่าเป็นธรรดาไม่มีอะไรพิเศษ แต่มันแปลกตรงที่ว่าวิธีจับงูของแกนั้นแปลกมากคือแกใช้มือจับแบบดื้อๆไม่ต้องรีรอ จังหวะอะไรทั้งนั้น บางที่แกก็จับจากส่วนหาง ซึ่งปกติทําอย่างนั้นไม่ได้เพราะงูมันจะแว้งกัด มีอยู่ครั้งหนึ่งแกจับงูเห่าที่กําลังว่ายหนีแกว่ายตามไปจับมาจนได้ จนเป็นที่สงสัยของของคนทั่วไปว่าแกมีของดีอะไร จนมีผู้ใหญ่มาถามว่ามีของดีอะไรชายคนนั้นได้จึงได้หยิบตะกรุดดอกหนึ่งยาว7นิ้ว เมื่อถอดออกดูจึ่งรู้ว่าเป็นตะกรุดมหาระงับปราบหงสาของ ล.ป.ใจ วิธีใช้ตะกรุดมะหาระงับ ถ้าเปนความกันกะเขา เอาตะกรุดแช่น้ำเสกด้วยคาถานี้ อิติปาระมิต์ตาติงสา อิติสัพ์พันญูมาคะตา สัพ์พะสัตตรูวินาดสันติ นะ ละลวย โม ละลาย พุ เสื่อมคลาย ทา สูนย์หายไปบัดนี้ ยะมิได้กลับมา ทุกขัง อนิจ์จัง อะนัต์ตา เสก 17 ที แล้วเอามาอาบบ้างกินบ้างความนั้นหายแล ฯ ถ้าปวดหัวตัวร้อนจะเป็นไข้ไม่สบาย เอาตะกรุดแช่น้ำ เสกด้วยคาถาข้างบนกินบ้างรดบ้างไข้นั้นบรรเทาแล ฯ ถ้าไปบกหรือไปเรือ พบจอระเฆ่ร้ายเสือร้ายช้างร้าย โจรผู้ร้ายเอาตะกรุดไส่คอไปเถิดทำภัยมิได้เลย กันสารพัดงูร้ายสิ้นทั้งปวง ถึงจะเยียบไปก็ทำร้ายมิได้ตัวแขงอยู่แล แคล้วคลาดสารพัดทั้งปวงเปนจังงังแล ฯ ... คาถาบูชาหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ นะโม 3 จบ อิติอะระหัง สุคโต อินทสุวัณโณ หลวงปู่ใจ นามะเต อาจาริโยเม อายัสมา อาจาริโยเม ภันเตโหหิ ... |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...









