พระสมเด็จอุณาโลม ปี2519-ตลับเงินตลับทอง - webpra
VIP
สิ้นลม สมบัติ ไม่ติดกาย ของดีมากมาย จะคู่กาย ผู้มีบารมีสืบต่อไป nongbluestar**081-6391688**
พระสมเด็จอุณาโลม ปี2519 - 1พระสมเด็จอุณาโลม ปี2519 - 2
ชื่อร้านค้า ตลับเงินตลับทอง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จอุณาโลม ปี2519
อายุพระเครื่อง 46 ปี
หมวดพระ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร ยศเส - วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน - พระอาจารย์วิริยังค์ วัดธรรมมงคล
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ nongbluestar@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 10 ก.ย. 2559 - 21:28.13
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 01 พ.ค. 2561 - 21:12.53
รายละเอียด
พระสมเด็จอุณาโลม ปี2519 พิมพ์ใหญ่ หน้าสุโขทัย สีเข้มหายาก

ประวัติความเป็นมาของพระสมเด็จอุณาโลม และพระสมเด็จนางพญา ส.ก.

เมื่อ พ.ศ. 2518 วัดบวรนิเวศวิหารรื้อกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถทั้งของวัดบวรฯ เอง และของคณะรังษี (ซึ่งเดิมก็คือวัดบวรรังษี หากภายหลังได้ยุบรวมมาเป็นส่วนหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร) แล้วนำกระเบื้องลงมากองไว้

วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีที่วัดบวรฯ ทอดพระเนตรเห็นกระเบื้องเก่าอายุนับร้อยปี ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาเนิ่นนาน อบอวนด้วยกระแสพุทธมนต์ที่พระภิกษุทำวัตรเช้า-เย็น ซึมซับพิธีพุทธาภิเษกมาไม่รู้กี่ร้อยกี่พันพิธี ที่สำคัญ คือพระองค์ก็ทรงผนวชภายใต้ร่มเงาของกระเบื้องชุดนี้ก่อนที่จะถูกรื้อลงมา จึงมีพระราชดำรัสว่า
“กระเบื้องมุงหลังคาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้นน่าจะทำประโยชน์ได้บ้าง เนื่องจากเป็นของเก่า และสมเด็จพระสังฆราชเคยประทับอยู่วัดนี้ถึง 3 พระองค์ หากนำไปทำพระผงคงจะดีไม่น้อย”

ด้วยพระราชดำรัสนี้เอง ทำให้คณะพระภิกษุและกรรมการวัดบวรฯ จึงได้คิดสร้างพระผงสมเด็จนางพญาขึ้นรับสนองเสมือนหนึ่งเป็นพระบรมราชโองการ แล้วดำเนินการจัดสร้างทันที ด้วยการนำผงพระราชทานและผงศักดิ์สิทธิ์ 199 ชนิด มาผสมกับกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถดังกล่าว และยังได้ขอพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระปรมาภิไธย “ส.ก.” มาประดิษฐานไว้ด้านหลังของพระสมเด็จนางพญา ส.ก.

สำหรับวัตถุประสงค์ในการสร้างนั้นเพื่อนำรายได้จากการบูชาพระสมเด็จนางพญา ส.ก.ไปก่อตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อนำดอกผลมาใช้ในการศึกษาของพระและเณรที่วิทยาลัยสงฆ์ ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีความอัตคัต สืบเนื่องจากเมื่อปี 2516 ได้มีการก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์ ณ จังหวัดอยุธยามีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นทุ่งนา ปราศจากต้นไม้ น้ำท่วมทุกปี ทั้งยังมีปัญหาน้ำดื่มที่ขาดแคลน ปัญหาการบิณฑบาต เนื่องจากวิทยาลัยอยู่ห่างจากหมู่บ้าน รายได้จากศรัทธาของพุทธศาสนิกชนครั้งนี้ จะนำไปจัดตั้งเป็นทุนมูลนิธิเพื่อหารายได้ในการบำรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ต่อไป

เมื่อสร้างพระสมเด็จนางพญา ส.ก.สำเร็จทั้ง 2 พิมพ์คือพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีพุทธาภิเษก เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วมีพระราชดำริว่าควรจะมีพระเครื่องอีกพิมพ์หนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบพิมพ์พระสมเด็จอุณาโลมพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก ให้นำไปจัดสร้างเพิ่มเติม คณะกรรมการจึงได้นำมวลสารส่วนที่เหลืออยู่ผสมเข้ากับผงกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถทั้งสองของวัดบวรฯ สร้างเป็นพระสมเด็จอุณาโลมขึ้น

เมื่อพระสมเด็จนางพญา ส.ก. และพระสมเด็จอุณาโลมสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีก 7 วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 5 – 11 ก.ค. 2519 ในวันที่ 12 กค. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมสมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา 16.00 น. ณ พระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรฯ

พุทธลักษณะพระนางพญา ส.ก.
ได้จำลองแบบมาจากพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ของกรุตาเถรขึงหนังสุโขทัย ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งมารวิชัย ด้านล่างมีอักษรนูนเป็นอักขระขอมว่า “เอ ตัง สะ ติง” อันเป็นหัวใจของกรณียเมตตาสูตร ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยว่า ส.ก.อยู่ใต้พระมหามงกุฎ ขนาดพระมีสองพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ สูง 2.7 ซม. กว้าง 2.2 ซม. หนา 0.4 ซม. ส่วนพิมพ์เล็กสูง 2 ซม. กว้าง 1.6 ซม. หนา 0.4 ซม. พระเครื่องพิมพ์นี้เป็นพระเครื่องเนื้อผงพุทธคุณ สีจางออกเป็นแดงอมขาว

พุทธลักษณะพระสมเด็จอุณาโลม
ได้ถอดแบบมาจาก “พระสมเด็จจิตรลดา” ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่บนอาสนะบัวสองชั้นในทรงกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่วคล้ายพระสมเด็จจิตรลดาแต่เพิ่มรายละเอียดในองค์พระปฏิมากรให้ชัดเจนขึ้นและเพิ่มยันต์อุณาโลมที่ด้านหลังองค์พระ อักษรจมลงไปในเนื้อพระ ด้านหลัง ขนาดพระมีสองพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ สูง 3 ซม. กว้าง 2 ซม. หนา 0.5 ซม. ส่วนพิมพ์เล็กสูง 2.5 ซม. กว้าง 1.7 ซม. หนา 0.4 ซม. พระเครื่องพิมพ์นี้เป็นพระเครื่องเนื้อผงพุทธคุณ สีแบบอิฐเผา จำนวนสร้าง 100,000 องค์

พิธีพุทธาภิเษก 7 วัน 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 5 - 12 ก.ค. 2519 มีพระเกจิคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกดังนี้
1. พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
2. พระเทพวราลังการ วัดป่าสุทธาวาส จ.เลย
3. พระญาณสิทธาจารย์ หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
4. พระอาจารย์อ่อน วัดโพธาราม จ.อุดรธานี
5. พระสุทธสารโสภณ วัดศรีโพนแท่น จ.เลย
6. พระอาจารย์เปลื่อง วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง (อธิษฐาน 5 คืน )
7. พระสังวรวิมลเถร (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ (อธิษฐาน 5 คืน )
8. พระโพธิสังวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิต กรุงเทพฯ
9. พระครูสารธรรมนิเทศ (มา) วัดวิเวกอาศรม จ.ร้อยเอ็ด (อธิษฐาน 2 คืน)
10. พระอาจารย์สี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม (อธิษฐาน 2 คืน)
11. พระราชธรรมานุวัตร (อ่อน) วัดประชานิคม จ.กาฬสินธุ์
12. พระครูศีลขันธสังวร (อ่อนสี) วัดพระงาม จ.หนองคาย
13. พระครูทัศนปรีชา (ขม) วัดป่าบ้านบัวค่อม (อธิษฐาน 3 คืน)
14. พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดไตรวิเวการาม จ.สุรินทร์
15. พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดป่าอรัญญบรรพต จ.หนองคาย
16. หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี
17. พระอาจารย์หัวพา วัดป่าพระพนิต จ.หนองคาย
18. พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
19. พระครูวิบูลย์ธรรมภาณ (โชติ) วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี
20. พระครูวินิตวัฒนคุณ วัดบ้านนาเจริญ จ.อุบลราชธานี
21. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร (อธิษฐาน 2 คืน)
22. พระอาจารย์สมชาย วัดราษฎร์บุรณคุณาคาม (เขาสุกิม) จ.จันทบุรี
23. พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ฯ จ.สุพรรณบุรี
24. พระศีลขันธโสภณ (สนิท) วัดศีลขันธาราม
25. พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
26. พระญาณจักษุ (ผ่อง) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
27. พระครูโสภณกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
28. พระราชธรรมวิจารณ์ (ธูป) วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแคนางเลิ้ง) กรุงเทพฯ
29. พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (สา) วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ
30. หลวงพ่อซ่วน วัดพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา (อธิษฐาน 2 คืน)
31. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมมงคลคีรีเขต จ.ขอนแก่น (อธิษฐาน 2 คืน)
32. พระอาจารย์ไสว สุวโร วัดป่าสิริสาลวัน จ.อุดรธานี
33. หลวงปู่จันทร์ วัดป่ามะขาม

เมื่อแรกที่นำพระชุดนี้ออกจำหน่าย ไม่ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์ ทำให้พระตกค้างอยู่จำนวนหนึ่ง
จนกระทั่งปี พศ.2522 ที่วัดบวรฯ มีพิธีพุทธาภิเษกใหญ่
จึงได้นำพระชุดนี้เข้าพิธีอีกคำรบหนึ่ง ณ พระอุโบสถ คณะรังษีวัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 9 – 12 เมษายน พศ.2522 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน โดยมีรายนามพระอาจารย์ที่อาราธนามานั่งบริกรรมภาวนา ดังนี้
1. พระเทพวราสังการ (ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส เลย
2. พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
3. พระราชธรรมวิจารย์ (หลวงปู่ธูป) วัดสุนทรธรรมทาน
4. พระราชสังวรวิสุทธิ์ (บุญเลิศ) วัดราชสิทธาราม
5. พระภาวนาวิมลเถร (สิริ) วัดชนะสงคราม
6. พระวิสุทธิสารเถร (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
7. พระรัตนากรวิสุทธิ์ (หลวงปู่ดุลย์) วัดศรีบูรพาราม สุรินทร์
8. พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา) วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี
9. พระญาณโพธิ (หลวงพ่อเข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม
10. พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา
11. พระโพธิสังวรเถร (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิต ธนบุรี
12. พระอุดมวิสุทธิเถร (อาจารย์วัน) วัดถ้ำอภัยดำรง สกลนคร
13. พระสุนทรธรรมภาณี (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
14. พระครูเกษมธรรมานันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอมนครปฐม
15. พระครูสมุทรธรรมสุนทร (หลวงพ่อสุด) วัดกาหลง สมุทรสาคร
16. พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
17. พระครูธรรมกิจโกศล (นอง) วัดทรายขาว ปัตตานี
18. พระครูสุจิตตานุรักษ์ (จวน) วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี
19. พระครูสังวรธรรมานุวัตร (หลวงพ่อพล) วัดหนองคณที สระบุรี
20. พระครูถาวรวิทยาคม (เพิ่ม) วัดสรรเพชฌ์ นครปฐม
21. พระมหาวีระ (ฤๅษีลิงดำ) วัดจันทาราม อุทัยธานี
22. พระอาจารย์สี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด
23. พระอาจารย์เหรียญ มหาปัญโญ วัดมหาสมณกิจภาวนาสกลนคร
24 พระอาจารย์พัฒน์ สุขกาโม วัดทับซ้าย สกลนคร
25. พระอาจารย์แบน ธนากโร วัดธรรมเจดีย์ สกลนคร
26. พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ วัดเจติยาคีรี หนองคาย
27. พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม วัดเขาสามผาน จันทบุรี
28. พระอาจารย์สาม อภิญจโน วัดไตรวิเวก สุรินทร์
29. พระครูปลัดไพบูลย์ สุมังคโล วัดรัตนาราม พะเยา

สำหรับองค์นี้เป็น พระสมเด็จอุณาโลมพิมพ์ทรงจิตรลดา พิมพ์ใหญ่หน้าสุโขทัย สีเข้ม(สีนี้หายาก) คมชัดทั้งใบหน้าและดวงตา

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top