พระบูชา ภปร.วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ปี๒๕๐๘ ขนาด ๙ นิ้ว ยุคต้น-ตลับเงินตลับทอง - webpra
VIP
สิ้นลม สมบัติ ไม่ติดกาย ของดีมากมาย จะคู่กาย ผู้มีบารมีสืบต่อไป nongbluestar**081-6391688**

หมวด พระบูชา

พระบูชา ภปร.วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ปี๒๕๐๘ ขนาด ๙ นิ้ว ยุคต้น

พระบูชา ภปร.วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ปี๒๕๐๘ ขนาด ๙ นิ้ว ยุคต้น - 1พระบูชา ภปร.วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ปี๒๕๐๘ ขนาด ๙ นิ้ว ยุคต้น - 2พระบูชา ภปร.วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ปี๒๕๐๘ ขนาด ๙ นิ้ว ยุคต้น - 3พระบูชา ภปร.วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ปี๒๕๐๘ ขนาด ๙ นิ้ว ยุคต้น - 4พระบูชา ภปร.วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ปี๒๕๐๘ ขนาด ๙ นิ้ว ยุคต้น - 5
ชื่อร้านค้า ตลับเงินตลับทอง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระบูชา ภปร.วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ปี๒๕๐๘ ขนาด ๙ นิ้ว ยุคต้น
อายุพระเครื่อง 59 ปี
หมวดพระ พระบูชา
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ nongbluestar@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 08 ต.ค. 2562 - 18:42.40
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 27 ก.ค. 2563 - 19:16.30
รายละเอียด
พระบูชา ภปร.วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ปี๒๕๐๘ ขนาด ๙ นิ้ว
พระบูชาในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เถลิงราชสมบัติ รัชกาลที่ ๑๐

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯทรงประกอบพระราชพิธี เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๐๘ ได้มีพิธีพุทธาภิเษก โดยคณาจารย์ได้ทำการปลุกเสกโลหะต่างๆ เริ่มพิธีตั้งแต่เวลา ๑๔๐๐ น. พลตำรวจตรี เนื่อง อายุบุตร ได้จุดธูปเทียนบูชาที่เครื่องสังเวยบวรสรวง แล้วพระราชครูวามเทพมุนี ประธานคณะพราหมณ์ทำพิธีบวงสรวงสังเวยเทพพิธี ประกาศพิธีพุทธาภิเษกที่หน้าบริเวณพระอุโบสถ และในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อถึงเวลา ๑๖.๒๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพระราชดำเนินเข้าพระอุโบสถทรงประเคนผ้าไตร ๖๕ ไตร แด่สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ และพระสงฆ์ที่มาในพิธีพุทธาภิเษกวันนั้นทั้งหมด จากนั้นได้เจริญพระพุทธมนต์ และลงคาถาในแผ่นโลหะที่จะผสมหล่อพระพุทธรูปปางประทานพร ภปร. จนพิธีการดำเนินไปตามขั้นตอนของพิธีพุทธาภิเษกอย่าง ละเอียด พระราชาคณะขึ้นนั่งอาสนะหน้าตู้เทียนชัย และพระสงฆ์ที่จะสวดภาณวารขึ้นนั่งยังแท่นมณฑลพร้อมแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียน เครื่องบูชาธรรมที่มณฑลพระสวดภาณวาร พระสงฆ์นั่งปรกกระทำการปลุกเสกโลหะต่อไปตลอดคืน พระราชครูวามเทพมุนีประกอบพิธีบูชากุมภ์ ประพรมน้ำเทพมนต์ปลุกเสกโลหะต่างๆ ที่นำมาทำพิธีพุทธาภิเษก

เช้าวันเสาร์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๐๘ เวลา ๐๗.๐๐ น. ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานการสร้างพระพุทธรูปปางประทานพร ภปร. และท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร เป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ ๑๐ รูป รวมทั้งพระคณาจารย์ทั้งหมดเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพร ในวันนี้ได้มีการถ่ายรูปพระสงฆ์ทั้งหมดที่มาทำพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ด้วย

ต่อมาวันรุ่งขึ้น คือวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๘ เวลา ๑๖.๓๐น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมายังปะรำพิธีมณฑลหน้าตึกมนุษย์นาควิทยาทานโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ทรงจุดธูปเทียนสักการบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว ประธานอ่านรายงานเรื่องการหล่อสร้างพระพุทธรูปปางประทานพร ภปร. และพระกริ่ง ภปร. เสร็จแล้วได้เวลาพระฤกษ์ ๑๖.๓๕ น. ไปจนถึงเวลา ๑๗.๑๓น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังเบ้า ทรงหย่อนทองสำหรับหล่อพระพุทธรูป ภปร. และพระกริ่ง ภปร. ในเตาตลอดจนครบ ๓๒ เตา พระสงฆ์รอบพิธีมณฑลทั้ง ๘ ทิศ และพระสงฆ์ในวิหารเจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์แตรดุริยางค์ พระราชครูวามเทพมุนีรดน้ำสังข์ที่เบ้าภายหลังที่ได้ทรงหย่อนแผ่นโลหะลงในเบ้า แล้วทุกๆ เบ้าตามลำดับ จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพิธีทางพระเจดีย์หลังพระอุโบสถพระพุทธชินสีห์ต่อไป

พระพุทธรูป ปางประทานพรนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ครบไตรรงค์ กล่าวคือ องค์พระพุทธรูป ซึ่งเป็นอุทเทสิกเจดีย์ แห่งพระพุทธเจ้า ย่อมหมายถึงพระพุทธศาสนารวมอยู่ด้วย พระปรมาภิไธย ภปร. เหนือผ้าทิพย์ ย่อมหมายถึงองค์พระมหากษัตริย์องค์พระประมุขแห่งชาติ และองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก (พระผู้ทรงอุปถัมภ์ศาสนา) พระราชภาษิตซึ่งจารึกอยู่ที่ฐานภายใต้ผ้าทิพย์ ย่อมหมายถึงชาติไทยพร้อมทั้งธรรมะที่รักษาความเป็นไทยให้คงอยู่
จึงมีคุณค่าทางศิลปะวัฒนธรรม, ประติมากรรม, ประวัติศาสตร์และทางคุณธรรมแห่งจิตใจทั้งปวงเป็นอย่างยิ่ง

วัตถุมงคลที่จัดสร้าง ครั้งนี้

1.พระพุทธรูป ภปร.ขนาด 9 นิ้วรมดำ

2.พระพุทธรูป ภปร.ขนาด 5 นิ้วรมดำ

3.พระกริ่ง ภปร.สัมฤทธิ์ รมดำ

ปรากฏว่ามีผู้สั่งจองกันอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์ กล่าวคือ

ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว มีผู้สั่งจองจำนวน 4,247 องค์

ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว มีผู้สั่งจองจำนวน 21,449 องค์

รวมแล้ว 25,696 องค์

ด้วยจำนวนพระที่มากเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับการดำเนินงาน เป็นไปอย่างล่าช้าไม่ทันใจผู้สั่งจอง เวลาผ่านไป 3-4ปี ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้รับพระพุทธรูปที่สั่งจอง ฉะนั้นจึงแก้ไขด้วยการ ทยอยสร้างกันออกมาเป็นรุ่นๆ แต่มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษกต่างกรรมต่างวาระกันไป เมื่อ สร้างได้ครบจำนวนของแต่ละรุ่น ๆ เบื้องต้น เป็นพิธีกรรมการสร้างครั้งแรก ซึ่งเป็นการเทหล่อ โบราณแบบดินไทย ต่อมาคณะกรรมมอบให้ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ สั่งซื้อเครื่องมือหล่อโลหะ ตามกรรมวิธีสมัยใหม่ เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก เพื่อหล่อสร้างให้เสร็จรวดเร็วทันกับ ความต้องการของผู้สั่งจอง

หลักการพิจารณาของแต่ละรุ่น
ครั้งแรก จัดสร้างด้วยวิธีหล่อโบราณแบบดินไทย พลิกดูใต้ฐานจะปรากฏคราบดินไทย และทรายหุ่นพระ อัดแน่นอยู่ภายใน ….พระพุทธรูป ภปร.ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว เนื้อพระจะมีความหนา และปรากฏตะปูยึดพิมพ์ฝังอยู่ในเนื้อถายในใต้ฐานขององค์พระ ปรากฏคราบดินไทยและทราย ที่ขึ้นหุ่นพระ เมื่อลูบที่ตัวอักษร ที่จารึกจะสดุดมือ เกิดจากรอยเครื่องกรอฟัน นำมาใช้ เขียนตัวอักษรที่ฐาน แตกเป็นเสี้ยนเล็กๆ ที่ขอบตัวอักษร…….ที่พระเศียร จะมีลักษณะม้วนกลมมียอด เป็นลักษณะก้นหอย เด่นชัด (ของเก๊จะเป็นตุ่มกลมๆ แล้วแต้มจุดเล็กๆ บนตุ่มกลม เป็น สองชั้น)
จึงเป็นพระยุคแรกที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน หากแตกต่างไปจากนี้ถือเป็นรุ่นหลัง ซึ่งจะมีความนิยมน้อย

พระพุทธรูป ภปร.ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว การสร้างครั้งแรก เป็นการหล่อโบราณแบบดินไทย เช่นเดียวกับขนาด 9 นิ้ว ข้อสังเกตุเพิ่มเติม คือ จะมีชนวนที่ ฐานด้านล่างทั้ง ซ้าย-ขวา และฐานด้านล่าง มีเนื้อปูดออกมา ซึ่งคือร่องรอยชนวน สำหรับเทโลหะให้ ไหลไปตามแม่พิมพ์ นิยมเรียกกันว่า “สามขา” การตอกหมาย เลขประจำองค์พระ เป็นเลขอารบิค ตอกบริเวณผนังด้านใน บริเวณตรงกับพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.จำนวน สี่หลัก แต่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน ลักษณะพระพักตร์สั้น,พระกรรณยาว,ตัวหนังสือจารึก เรียบร้อยสวยงาม กว่ายุคหลัง ปัจจุบัน ที่มีขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว เป็นรุ่นที่หายากที่สุด ราคาสูงมาก หลายบาทอยู่นะ ขึ้นอยู่กับความสวยงามของผิวดั้ง เดิม ไม่มีตำหนิ หรือหล่อไม่เต็ม หรือแตกหัก บางส่วน ซ่อมมา

การสร้างพระพุทธรูปครั้งต่อมา รับผิดชอบโดยกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ซึ่งได้ใช้เครื่อง มือสร้างสมัยใหม่ใช้หุ่นดินฝรั่งหรือปูนขาว เมื่อล้างทำความสะอาดเอาคราบปูนขาว ออกผิวพรรณบริเวณใต้ฐานด้านในจะมีความเรียบร้อย สวยงามและมีลักษณะย่นคล้ายหนังไก่ จึงนิยมเรียกกันว่า “รุ่นหนังไก่”

การสร้างเพิ่มโดย กองกษาปณ์ ครั้งที่ 1 ถึง ครั้งที่ 3 มีเลขลำดับบอกครั้งที่สร้างนำหน้า ตามด้วยขีดและหมายเลขประจำองค์พระ เช่น การสร้างเสริมครั้งที่ 1หมายเลขประจำองค์พระ 9999 ก็จะตอกเลขเป็น 1- 9999 ครั้งที่ 2 – 9999 ครั้งที่ 3 – 9999 ตามลำดับอย่างไรก็ตาม การสร้างเสริมครั้งที่ 1ถึง3 ดังกล่าวนั้น หมายเลขประจำองค์พระในแต่ละครั้ง จะเป็นตัวเลขเพียง สี่หลักเท่านั้น ไม่เกินกว่านี้ และหลังจากการสร้างเสริมครั้งที่ 3 แล้วก็ไม่ได้ตอกเลข ลำดับครั้ง และเลขประจำองค์พระอีกเลย
สำหรับพระบูชาขนาด 5 นิ้วนั้น รุ่นแรก หรือรุ่นสามขา ได้รับความนิยมสูงสุด รองลงมาก็จะเป็นสร้างเพิ่ม ครั้งที่ 1,2,3, ตามลำดับ ส่วนที่ไม่ตอกหมายเลข ได้รับความนิยมน้อยสุด ข้อมูลนี้เป็นข้อมูล อย่างคร่าวๆ เท่านั้น สำหรับพระบูชาของพระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลที่ 9 ที่พระกรุณาทรง โปรดเกล้าให้จัดสร้างขึ้นหลังจากที่พระองค์ ท่านทรงผนวชแล้ว

องค์นี้ขนาด 9 นิ้ว ยุคต้น ใต้ฐานดินไทย

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top