ตะกรุดหนังเสือ หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี-ตลับเงินตลับทอง - webpra
VIP
สิ้นลม สมบัติ ไม่ติดกาย ของดีมากมาย จะคู่กาย ผู้มีบารมีสืบต่อไป nongbluestar**081-6391688**

หมวด พระเกจิภาคตะวันตก

ตะกรุดหนังเสือ หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี

ตะกรุดหนังเสือ หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี - 1ตะกรุดหนังเสือ หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี - 2
ชื่อร้านค้า ตลับเงินตลับทอง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง ตะกรุดหนังเสือ หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเกจิภาคตะวันตก
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ nongbluestar@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 04 ก.ค. 2564 - 12:41.34
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 04 ก.ค. 2564 - 12:41.34
รายละเอียด
หลวงพ่อเที่ยงท่านเป็นศิษย์ และเป็นหลานหลวงปู่เปลี่ยน (พระวิสุทธิรังษี) วัดใต้ (วัดไชยชุมพลชนะสงคราม) สหธรรมิกที่โด่งดังในยุคท่านคือ หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง ส่วนที่สนิทชิดเชื้ออย่างมากคือ หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จ.นครปฐม ว่ากันว่าท่านเรียนวิชาทำตะกรุดหนังเสือมาจากสำนักเดียวกัน สหธรรมิกอีกหลายท่านที่พบปะสนิทสนมกันในงานพุทธาภิเษก อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก, หลวงปู่เพิ่ม วัด กลางบางแก้ว เป็นต้น

ท่านเกิดในตระกูล "ท่านกเอี้ยง" ตรงกับวันพฤหัสบดี ปีชวด ที่บ้านม่วงชุม ต.ม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เมื่อปีพ.ศ.2431 เป็นบุตรของนายเขียว และนางทองแคล้ว มีพี่น้องรวม 8 คน หญิง 5 คน ชาย 3 คน วัยเด็กมีอุปนิสัยชอบทางด้านชกมวย และรักความยุติธรรม เป็นคนพูดแบบตรงไปตรงมาไม่เกรงกลัวใคร จึงเป็นที่รักของเด็กวัยเดียวกันยกให้เป็นพี่ใหญ่

เมื่ออายุ 21 ปีบริบูรณ์ ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารรับใช้ชาติอยู่ 2 ปี หลังปลดประจำการได้กลับมาอยู่บ้านประกอบอาชีพทำนา กระทั่งอายุ 24 ปี จึงเข้าอุปสมบท ณ วัดบ้านถ้ำ แล้วอยู่ศึกษาเล่าเรียนกับอุปัชฌาย์ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดม่วงชุม ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้าน โดยได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสืออย่างจริงจังและเต็มที่ เนื่องจากในวัยเด็กมีโอกาสเล่าเรียนไม่มาก เพราะขาดแคลนครูและห้องเรียน ยิ่งเรียนท่านก็มีความสุขกับการเรียน ทำให้มีความแตกฉานเรื่องหนังสืออย่างมาก

หลังจากได้ศึกษาธรรมวินัย และพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาจนเชี่ยวชาญ ท่านจึงเริ่มหันมาศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาไสยเวทกับหลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ (วัดไชยชุมพลชนะสงคราม) ในฐานะที่หลวงพ่อเที่ยงมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงปู่เปลี่ยน จึงได้รับความเมตตาจากหลวงปู่เปลี่ยนเป็นพิเศษ ในการถ่ายทอดสรรพวิชาด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านพุทธาคมแขนงต่างๆ จนมีความเชี่ยวชาญอย่างมาก

ถึงกับมีเรื่องเล่ากันว่า เวลาหลวงพ่อเที่ยงได้รับนิมนต์ไปร่วมพุทธาภิเษกในงานพิธีใดก็ตาม ท่านมักจะมีอาการร้อนวิชาเสมอ จะเห็นท่านชอบสัพยอกให้พระเกจิที่ร่วมในพิธีแสดงอิทธิฤทธิ์ด้านคงกระพันชาตรี โดยท้าให้เอามีดเฉือนแขนว่าคมมีดจะบาดเข้าเนื้อหนังหรือไม่ แสดงให้เห็นว่าวัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกเต็มเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณ อย่างที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปมักพูดว่าใครแขวนวัตถุมงคลของท่านแมลงวันไม่ได้กินเลือดนั้น หมายความว่าคนๆ นั้นหนังเหนียว แทงไม่เข้า ยิงไม่ออก แม้กระทั่ง หลวงปู่แย้ม เกจิอาจารย์ดังแห่งวัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ยังกล่าวยกย่องหลวงปู่เที่ยงว่าท่านเก่งมาก โดยท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเต๋ คงทอง (อาจารย์หลวงพ่อแย้ม) ซึ่งทั้ง 2 ท่านต่างมีชื่อเสียงอย่างมากในการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ
วันที่ 09 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7680 ข่าวสดรายวัน

"พระครูจันทสโรภาส" หรือ "หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร" อดีตเจ้าคณะตำบลม่วงชุม และอดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงชุม จ.กาญจนบุรี ท่านเป็นพระของชาวบ้านชนบทโดยแท้ พูดตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตา

จากการบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวว่า ท่านเป็นพระโบราณลูกทุ่งชนบท ชอบฉันหมากไม่เคยขาดปากเลย จึงเป็นที่มาของการสร้างพระเครื่องเนื้อชานหมากที่โด่งดังเข้มขลังด้วยประสบการณ์

หลวงพ่อเที่ยงเริ่มลงมือสร้างอุโบสถเมื่อปีพ.ศ.2484 ท่านค่อยๆ สร้างโดยไม่มีการเรี่ยไรเพราะไม่ต้องการเป็นภาระของชาวบ้าน ในช่วงนั้นประเทศไทยยังตกอยู่ในระหว่างช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองกาญจนบุรีได้รับผลกระทบจากภัยสงครามอย่างมากเพราะทหารญี่ปุ่นมาตั้งฐานทัพหลายแห่ง ทำให้ทหารพันธมิตรนำเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเพื่อทำลายฐานทัพของญี่ปุ่น เป็นเหตุให้สภาพเศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง แต่ชาวบ้านก็ช่วยบริจาคทุนทรัพย์สร้างอุโบสถจนสำเร็จ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 3 ก.พ.2494

ท่านมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2523 เวลา 09.00 น. เศษ ณ วัดม่วงชุม ทางวัดได้เก็บสรีระของท่านไว้ถึง 10 ปี ปรากฏว่าสังขารของท่านไม่เน่าไม่เปื่อย ชาวม่วงชุมจึงพร้อมใจกันสร้างมณฑปพร้อมทั้งโลงแก้วบรรจุร่างที่เป็นอมตะไว้ให้ผู้คนกราบไหว้ เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2534

หลวงพ่อเที่ยงท่านจะขึ้นชื่อสุดๆ ในเรื่องเหนียว ทั้งมีดทั้งปืน เล่ากันว่าวัตถุมงคลของๆ ท่านเวลานำออกมาจากพิธีก็ลองกันตรงนั้นเลย วัตถุมงคลของท่านจึงโด่งดังเป็นที่เล่าขานกันมาก เคยมีทหารใส่เหรียญของท่านไปขับเฮลิคอปเตอร์ แล้วเฮลิคอปเตอร์ตกทหารคนนั้นรอดตายมาได้ราวกับปาฏิหาริย์

วัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงโด่งดังและผู้คนนิยมเล่นหามากที่สุดของท่านก็คือตะกรุดหนังเสือเพราะมีประสบการณ์ในด้านคงกระพันชาตรีและเหนียวสุดๆ ตะกรุดของหลวงพ่อเที่ยงแท้ๆ นั้นหายากมาก เพราะตามตำราของท่านต้องทำมาจากหนังเสือ ตะกรุดของท่านจึงมีน้อย วัตถุมงคลของหลวงพ่อเที่ยงนั้นเป็นที่นิยมกันในหมู่นักสะสม เพราะมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วไป โดยเฉพาะวัตถุมงคลที่เกี่ยวกับเสือ ทั้งตะกรุดหนังเสือ เหรียญรุ่นเสือเผ่น

การทำตะกรุดของหลวงพ่อนั้นเริ่มจากท่านออกธุดงค์เป็นเวลานานหลายสิบปี มีกะเหรี่ยงที่นับถือท่านเอาหนังหน้าผากเสือไฟและเสือโคร่งมาถวายกับท่านหลายผืน เมื่อท่านกลับมาอยู่วัดจึงตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดมัดตะกรุดได้ โดยให้แยกหนังหน้าผากเสือไว้ส่วนหนึ่ง ส่วน หนังทั้งตัวเสือหลวงพ่อลงอักขระคาถาแผ่นตะกรุดแล้วม้วนใช้เชือกมัดหัวท้ายตะกรุดจากนั้นทารักเป็นตัวจับยึดให้แน่นแล้วนำไปปลุกเสกเฉพาะวันอังคารกับวันเสาร์จนครบไตรมาส จึงนำไปแจกจ่ายญาติโยมที่ศรัทธาต่อไป

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top