มีดหมอนาคราช หล่อโบราณ หลวงปู่ชวน วัดเขาแก้ว จ.อ่างทอง-โอมพัฒน์ - webpra
VIP
เงินของท่านแท้ ต้องได้ พระแท้ สนใจพระองค์ไหน โทรมาคุยกันได้ครับ ถ้าไหวแบ่งปันกันไปครับ

หมวด เครื่องรางของขลัง

มีดหมอนาคราช หล่อโบราณ หลวงปู่ชวน วัดเขาแก้ว จ.อ่างทอง

มีดหมอนาคราช  หล่อโบราณ หลวงปู่ชวน วัดเขาแก้ว จ.อ่างทอง - 1มีดหมอนาคราช  หล่อโบราณ หลวงปู่ชวน วัดเขาแก้ว จ.อ่างทอง - 2มีดหมอนาคราช  หล่อโบราณ หลวงปู่ชวน วัดเขาแก้ว จ.อ่างทอง - 3มีดหมอนาคราช  หล่อโบราณ หลวงปู่ชวน วัดเขาแก้ว จ.อ่างทอง - 4มีดหมอนาคราช  หล่อโบราณ หลวงปู่ชวน วัดเขาแก้ว จ.อ่างทอง - 5
ชื่อร้านค้า โอมพัฒน์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง มีดหมอนาคราช หล่อโบราณ หลวงปู่ชวน วัดเขาแก้ว จ.อ่างทอง
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ เครื่องรางของขลัง
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ atitad.ac@gmail.com
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 16 ก.ย. 2564 - 18:37.49
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 04 ก.พ. 2566 - 12:08.27
รายละเอียด
มีดหมอนาคราช (มีดครู) เนื้อสำริดโบราณ ด้ามเศียรนาคราชสำริดโบราณ ใบสำริดโบราณ รุ่น ไหว้ครู ๕๖ หลวงปู่ชวน กตปุญโญ วัดเขาแก้ว จ.อ่างทอง

"หลวงปู่ชวน กตปุญโญ" เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่อีกรูปหนึ่งของเมืองอ่างทอง ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระที่เคร่งครัดระเบียบวินัย ใส่ใจด้านการปฏิบัติกัมมัฏฐาน มีความเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ เป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าแห่งภาคกลาง ในวัยหนุ่มได้เคยฝากตัวเป็นศิษย์พระเกจิรูปสำคัญหลายรูป เช่น หลวงพ่อแช่ม อินทโชโต วัดตาก้อง, หลวงพ่อเต๋ คังคสุวัณโณ วัดสามง่าม, หลวงพ่อน้อย คันธโชโต วัดศีรษะทอง เป็นต้น

ปัจจุบัน สิริอายุ 86 พรรษา 59 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว ต.เขาแก้ว อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง

อัตโนประวัติ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม 2470 ปีมะโรง เป็นชาวเมืองนคร ปฐม ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา หลังจบการศึกษาจากโรงเรียนในหมู่ บ้านแล้วออกมาช่วยงานครอบครัวหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันขันแข็ง ยามว่างจากงานที่บ้านท่านจะเข้าวัดคอยทำงานต่างๆ ช่วยกิจการวัดมิได้ขาด อีกทั้งท่านมีศักดิ์เป็นหลานแท้ๆ ของหลวงพ่อแช่ม อินทโชโต วัดตาก้อง จ.นคร ปฐม พระเกจิอาจารย์แห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี จ.นครปฐม ยามมีเวลาว่างจะคอยเข้าไปรับใช้อุปัฏฐาก ด้วยความเมตตาจึงได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อแช่มพอสมควร

หลวงพ่อแช่มยังสอนวิปัสสนาและหลักธรรมที่สำคัญให้ รวมทั้งวิชาทำเครื่อง รางของขลังตุ๊กตาทอง กุมารทอง และตะกรุดคงกระพันมหาเมตตา ครั้นอายุ 27 ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ อุโบสถวัดสามง่าม จ.นครปฐม มีหลวงพ่อเต๋ คังคสุวัณโณ วัดสามง่าม เป็นพระอุปัชฌาย์กล่าวได้ว่า ในยุคนั้นหลวงพ่อเต๋เป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีความเชี่ยวชาญพุทธาคม ทั้งด้านเมตตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพันชาตรี ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดสามง่าม คอยถวายรับใช้อุปัฏฐากหลวงพ่อเต๋ ซึ่งได้รับความเมตตาถ่ายทอดสรรพวิชาให้ ด้วยวิสัยเดิมของท่านเป็นพระที่ขยันเล่าเรียน ท่านได้เรียนพระปริยัติธรรม และขยันสวดมนต์พิธีจนคล่องได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความที่ท่านมีความรู้ทางด้านกัมมัฏฐานเดิมอยู่แล้ว รวมทั้งศึกษาวิทยาคมมาตั้งแต่สมัยที่ยังไม่ได้บวช ทำให้ท่านสามารถศึกษาวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ของท่านได้อย่างรวดเร็ว บางครั้งท่านก็เอาสมุดข่อยเก่าโบราณมาศึกษาวิชาเพิ่มเติมอีก




สำหรับการจัดสร้างตุ๊กตาทอง-กุมารทอง หลวงปู่ชวนได้จัดหามวลสารด้วยตัวท่านเอง มวลสารแต่ละอย่างนั้นจะต้องเดินทางรอนแรมเข้าไปในป่าลึกเพื่อหาดิน 7 โป่ง และเข้าไปพลีดินในป่าช้าผีดุอีก 7 ป่าช้า รวมทั้งดิน 7 ท่า จะต้องใช้ท่าน้ำที่คนข้ามไป-มามากๆ จึงจะตรงตามตำรา เพื่อเอามาผสมกันปั้นเป็นตุ๊กตาและกุมารทอง ก่อนเสกด้วยคาถาเฉพาะในตำราเท่านั้น นอกจากสร้างตุ๊กตากุมารทอง หลวงปู่ชวนยังได้สร้างพระเครื่องอีกหลายพิมพ์ให้พระอาจารย์ของท่านแจก วัตถุมงคลต่างๆ หลวงปู่ชวนปลุกเสกเองทั้งหมดแต่ท่านไม่เคยบอกใคร

หลวงปู่ชวนได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสามง่ามเป็นเวลาหลายเพลา ตลอดเวลาที่อยู่วัดสามง่ามท่านได้เที่ยวเสาะแสวงหาวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์หลายรูป หลวงปู่ชวนเคยปรารภว่า "ความรู้ต่างๆ เรียนให้รู้ รู้ให้จริง เอาแต่วิชาดีๆ ปฏิบัติให้ได้ แล้วควรเก็บรักษาไว้เพื่อสืบทอดสิ่งดีต่อไป อย่าเพียงแต่ว่ารู้งูๆ ปลาๆ ไม่ได้ผล" เวลาล่วงเลยผ่านไป หลวงปู่ชวนเห็นสมควรที่จะต้องออกธุดงค์ แสวงหาสัจธรรมและความสงบ จึงตัดสินใจกราบลาหลวง พ่อเต๋ ท่านธุดงค์ไปหลายสถานที่หลายจังหวัด นำคำสอนของพระพุทธองค์สั่งสอนพุทธบริษัทที่ท่านได้ธุดงค์ผ่าน ให้อยู่ในหลักธรรมอันดีของพระพุทธศาสนา

ต่อมา ในปีพ.ศ.2519 หลวงปู่ชวนเดินทางถึงที่วัดเขาแก้ว ต.องครักษ์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง โดยชาวบ้านนิมนต์ให้มาอยู่จำพรรษา ขณะนั้นที่วัดเขาแก้วมีเพียงกุฏิไม้เก่าๆ เพียงไม่กี่หลัง อุโบสถฐานเตี้ยติดดิน ฝนตกน้ำไหลจนท่วมเข้าไปในอุโบสถที่มีหลังคาสังกะสีคลุม แต่ไม่สามารถกันแดดกันฝนได้ หลวงปู่ชวนได้เข้าไปจำพรรษาที่วัดเขาแก้วอยู่หนึ่งปี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2520 ต่อมาเริ่มพัฒนาปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยวัดนั้นอยู่ไกลจากหมู่บ้าน พุทธบริษัทก็มีน้อย อีกทั้งถนนหนทางก็ยากลำบากที่จะเข้ามายังวัด ท่านได้ริเริ่มจัดสร้างถนนหนทางเข้าวัดให้สะดวกขึ้น ต่อมาได้มีสาธุชนเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาของหลวงพ่อ ได้ทยอยกันมาทำบุญที่วัดเขาแก้วมากขึ้น นับจากวันที่หลวงปู่ชวนได้มาอยู่ที่วัดเขาแก้วตั้งแต่ปีพ.ศ.2519 จนถึงปัจจุบัน ได้ก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ พระอุโบสถ พระเมรุและวิหารหลวงปู่ขาวที่ย้ายมาจากวิหารหลังเก่า ปัจจุบัน วัดเขาแก้วเจริญขึ้นตามลำดับ

แม้หลวงปู่ท่านจะจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาแก้ว แต่ก็ยังคงปฏิบัติดังเช่นพระป่าเช่นเดิม ในเวลาเข้าพรรษาหลวงปู่ชวนจะไม่จำวัดในห้อง แต่จะปักกลดจำวัดอยู่ตลอดทั้งพรรษา ท่านยังคงปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานวันละหลายชั่วโมง ทำวัตรสวดมนต์ไม่เคยเว้นเลยสักวัน

หลวงปู่ชวนเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นคนที่พูดจาขวานผ่าซาก ตรงไปตรงมา เสียงดังฟังชัด แต่คำพูดของท่านล้วนแต่เป็นความจริง อีกทั้งไม่ยึดติดกับลาภยศสรรเสริญ ดังเช่นที่คณะสงฆ์มีมติแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าคณะตำบล แต่หลวงปู่ชวนท่านก็ไม่รับตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น

หลวงปู่ชวนให้นิยามของวิทยาคมไว้ว่า "อันวิชาต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้มีทั้งวิชาที่ดีและไม่ดี หากเราใช้วิชาที่ไม่ดีตัวเราก็เป็นคนไม่ดีด้วย หากเราใช้วิชาที่ดี เราก็จะดี คำว่าวิชา ไม่ใช่อวิชชา ต้องเข้าใจให้ถูก คำว่าวิชาต้องดีและต้องถูกต้อง ที่ปลุกเสกกันทุกวันนี้ มีจุดมุ่งหมายอะไร ปลุกเสกนี้คือการนำเอาพระรัตนตรัยเป็นใหญ่ ส่วนที่จะปลุกเสกอะไรนั้นก็ให้ปลุกเสกตามตำรา อันที่จริง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ก็ดีที่สุดกว่าสิ่งใดแล้ว" เป็นพระแท้ควรแก่การยกย่องรูปหนึ่ง

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top