
หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
พระกรุวัดชนะสงคราม ซุ้มเถาวัลย์เลื้อย


ชื่อร้านค้า | นมัสเต - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระกรุวัดชนะสงคราม ซุ้มเถาวัลย์เลื้อย |
อายุพระเครื่อง | 207 ปี |
หมวดพระ | พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | pitchayuit@gmail.com |
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อา. - 16 ต.ค. 2554 - 15:10.31 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 10 ธ.ค. 2554 - 18:31.29 |
รายละเอียด | |
---|---|
เหตุที่พบพระกรุนี้ ท่านเจ้าคุณพระวิมลกิจจารักษ์ (ศิริ อตฺตาราโม) ได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า เมื่อปี พ.ศ.2496 ท่านเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามในขณะนั้น คือท่านเจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส) ได้สั่งให้ไปดูสถานที่บริเวณหมู่เจดีย์น้อยใหญ่ ใกล้ศาลาชี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง ร.ร.วัดชนะสงคราม) เพราะมีผู้มาแจ้งว่า มีคนร้ายลักขุดและพังทำลายพระเจดีย์ ท่านเจ้าอาวาสสั่งว่า หากพบว่ามีรอยชุดค้นจำพระเจดีย์เสียหาย พอที่จะขุดเอาได้ ก็ให้จัดการไปตามที่เห็นสมควร ท่านเจ้าคุณพระวิมลกิจจารักษ์ ซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระครูพิศิษฐ์วิหารการ จึงพร้อมด้วยพระสงฆ์สามเณรได้ไปตรวจดูสถานที่ พบว่าพระเจดีย์ถูกทุบขุดคุ้ยพังทำลายหลายแห่ง พวกมิจฉาชีพลักล้วงเอาของมีค่าที่บรรจุไว้ไปเกือบหมดสิ้น พระที่พวกเหล่าร้ายทิ้งหลงเหลืออยู่บ้าง มีพระกรุแบบวัดตะไกรหน้าครุฑ พระโคนสมอแบบอยุธยา พระทรงเทริด (พระงั่ง)ฯลฯ และยังมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นเจดีย์ประธานในที่นั้น ยังไม่ถูกคนร้ายขุดคุ้ยทำลาย แต่เจดีย์องค์นี้ยอดหักแตกร้าวตลอดจากยอดลงมาถึงคอระฆัง บริเวณฐานก็ผุกร่อนหลายแห่ง พิจารณาแล้วหากปล่อยไว้คนร้ายคงขุดทำลายเสียหายได้โดยง่าย และของมีค่าหากบรรจุไว้ อาจถูกคนร้ายเอาไปเป็นสมบัติของมัน จึงพร้อมใจกันขุด โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจชนะสงคราม ซึ่งได้รับแจ้งให้มาดูสถานที่คอยอำนวยความสะดวก กันไม่ให้คนภายนอกมาวุ่นวายกับการขุดพระเจดีย์ ผลปรากฏว่าขุดโดยไม่ต้องออกแรงมากมายนัก องค์พระเจดีย์ผุ ปูนหมดอายุร่วนหมดแล้ว ภายในองค์เจดีย์สร้างเป็นโพรงกลางองค์ถึงคอระฆัง ในนั้นบรรจุพระเครื่องเป็นจำนวนมาก เก็บลงใส่ปี๊บประมาณ 8 ปี๊บ พบหลักฐานการสร้างและการบรรจุพระเครื่องชุดนี้คือ ไม้แกะสลักเป็นรูปพระสงฆ์ห่มดองคาดประคตอก นั่งสมาธิ ลงรัก ปิดทอง ใต้ฐานรูปแกะสลักนี้บรรจุพระธาตุพระอัครสาวกโมคคัลลานะ ใบลานจารึกอักษรขอมเลอะเลือนผุกร่อนอ่านได้ไม่ชัดเจน พระทองคำแบบพระวัดตะไกรหน้าครุฑบ้างเล็กน้อย เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรผู้ถูกเชิญมาดู ว่าเป็นพระที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 หนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นลงข่าวเกรียวกราวติดต่อกันอยู่หลายวัน และสันนิษฐานว่ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โปรดให้สร้างแล้วบรรจุไว้ ผู้เขียนได้พยายามสืบเสาะถามจากพระเถระ และท่านผู้รู้อีกหลายท่าน ประกอบกับรูปทรงองค์พระเจดีย์ ตลอดกระทั่งหมู่เจดีย์ในบริเวณนั้น เห็นว่าเจดีย์ต่างๆ เป็นทรงแบบสมัยอยุธยา ความเก่าแก่ของวัสดุที่ใช้ก่อสร้างก็อยู่ในยุคเดียวกัน ทั้งวัดนี้เดิมก็เป็นวัดเล็กๆ ซึ่งเรียกกันว่า วัดกลางนา สร้างมาก่อนการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ฉะนั้นพระกรุวัดชนะสงครามชุดนี้ ต้องสร้างและบรรจุไว้ในสมัยรัชกาลที่ 1 อย่างแน่นอน อีกประการหนึ่ง วัดชนะสงครามมีประวัติว่า เคยเป็นวัดที่มีการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานมาโดยตลอด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) จนถึงรัชกาลที่ 2 มีพระมหาเถระรูปหนึ่งซึ่งพอเอ่ยนามท่านขึ้นมา ก็เป็นอันรู้กันโดยทั่วไปในวงการของนักนิยมสะสมพระเครื่องเป็นอย่างดี เพราะพระมหาเถระรูปนี้เจริญด้วยวิทยาคุณ อิทธิวัตถุของท่านแต่ละอย่างที่สร้างในสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ เป็นสิ่งที่มีค่ามาก ผู้มีไว้ในครอบครองต่างหวงแหนยิ่งนัก พระมหาเถระรูปนี้คือ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร ท่านเกิดในปลายรัชกาลที่ 1 (16 ก.ย.2353) และมีอายุยืนถึง 111 ปี จึงมรณภาพ (20 ก.ย.2462) ปรากฏว่าหลวงพ่อได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดชนะสงคราม เล่าเรียนพระกัมมัฏฐานจนกระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านก็กลับไปอุปสมบทยังภูมิลำเนาเดิม แล้วกลับมาเรียนกัมมัฏฐานต่อ ที่นำประวัติของท่านมากล่าวไว้ในที่นี้ก็เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า วัดชนะสงครามนี้ เป็นสำนักปฏิบัติที่รุ่งเรืองในอดีต มีพระเณรปฏิบัติสมถะวิปัสนาปรากฏชื่อโด่งดังมาดั่งหลวงพ่อเงินนี้ เป็นต้น เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า พระอาจารย์ที่สร้างพระบรรจุไว้ต้องมีลูกศิษย์ มีบริวารและมีคนนับถือนิยมยกย่อยมากในสมัยนั้น จึงสามารถสร้างพระซึ่งถือกันว่าสร้างเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และไม่ง่ายนักที่สร้างได้มากมายขนาดนี้ ทั้งการสร้างก็ประณีตสวยงาม หากไม่มีวาสนาบารมี มีคนยกย่องบูชาเป็นอย่างสูงเป็นผู้อุปถัมภ์ย่อมมิอาจสร้างได้สำเร็จ ที่มา : ประวัติวัดชนะสงคราม โดย พระมหาเฉลิมชัย วัดชนะสงคราม |
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments