เหรียญธรรมสภา หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน ปี2538 เนื้อทองแดง (3)-โภคทรัพย์ - webpra
  • ขอบคุณผู้มีอุปการะคุณทุกท่าน
    ติดต่อ โทร : 065-980-4659, Line-ID. : wisanu-phirom
    e-mail : wisanu.amulet@gmail.com
รับประกันพระแท้ 100% ซื่อสัตย์ จริงใจ เก๊คืนเงินเต็มจำนวนตามกฎของ web-pra จัดส่งฟรี! รวดเร็ว

หมวด หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก - หลวงปู่ดู่ วัดสะแก – หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน

เหรียญธรรมสภา หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน ปี2538 เนื้อทองแดง (3)

เหรียญธรรมสภา หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน ปี2538 เนื้อทองแดง (3) - 1เหรียญธรรมสภา หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน ปี2538 เนื้อทองแดง (3) - 2
ชื่อร้านค้า โภคทรัพย์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
nulee (24)
ชื่อพระเครื่อง เหรียญธรรมสภา หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน ปี2538 เนื้อทองแดง (3)
อายุพระเครื่อง 28 ปี
หมวดพระ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก - หลวงปู่ดู่ วัดสะแก – หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ wisanu.amulet@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 30 ก.ค. 2560 - 10:11.42
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 07 ก.ค. 2564 - 19:54.19
รายละเอียด
เหรียญธรรมสภา หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน ปี2538 เนื้อทองแดง (3)

เหรียญธรรมสภา เป็นเหรียญยอดนิยมในหมู่ลูกศิษย์ที่ต่างต้องการมีไว้ครอบครองและบูชา เนื่องจากมีประสบการณ์มาก

หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน อยุธยา ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ลูกศิษย์ลูกหามากมาย เมื่อท่านละสังขาร ร่างกายจึงไม่เน่าเปื่อย เป็นที่เคารพเสื่อมใสของชาวบ้าน และประชาชนทั่วไป และที่สำคัญคือ หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร เคยจับพลังงานเหรียญรุ่นนี้ ถึงกับบอกศิษย์ว่า สมัยนี้ยังมีพระที่เสกของได้แรงขนาดนี้อยู่มีอีกหรือ และยังได้ให้ศิษย์ที่เป็น ฤาษีชื่อสมชาย มาเก็บเหรียญรุ่นนี้ไปเป็นจำนวนมาก และเป็นเหรียญที่ออกแบบได้สวยงามมาก (ช่างแกะเหรียญคนเดียวกันกับเหรียญเปิดโลก ลป.ดู่ วัดสะแก ครับ) อนาคตดีแน่นอน
อีกครั้ง ที่ หลวงปู่ดู่ วัดสะแกได้ปรารภกับศิษย์ใกล้ชิดไว้แต่สมัยที่ยังทรงสังขารอยู่ทีเดียวว่า
"ในอยุธยานี้ ยังมีพระอรหันต์อยู่อีกองค์หนึ่ง แต่ท่านปิดตัวเองน๊ะ..!!?!"
"ใครกันขอรับ หลวงพ่อ..??"ศิษย์ผู้นั้นกราบเรียนถาม
"ก็หลวงพี่ชื้น วัดญาณเสนนะซิ......."
หมายเหตุ , เกี่ยวกับกรณีนี้ คุณสุธันย์ สุนทรเสวี นักสร้างพระมือทองแห่งสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเคยสร้างพระถวายให้หลวงปู่ดู่เสกหลายรุ่นก็ได้เคยเล่าให้"พุทธวงศ์"ฟังว่า ในสมัยก่อน(ราวปี 20 กว่าๆ) แม้พระเถรานุเถระในอยุธยายุคนั้นจะมีมากมายเพียงไร แต่หลวงปู่ดู่จะกล่าวถึงแต่หลวงปู่ชื้นให้ได้ยินบ่อยที่สุด โดยหลวงปู่ดู่จะย้ำยกย่องหลวงปู่ชื้นอยู่หลายวาระทีเดียวว่า
"ท่านเป็นพระดีน๊ะฯ"
หลวงปู่ผู้สำเร็จวิชารัตนจักร...
“หลวงปู่ชื้น พุทธสโร” พระผู้กล้าแห่งกรุงศรีอยุธยา อดีตเจ้าอาวาสวัดญาณเสน เจ้าตำรับเคล็ดวิชา “รัตนจักร”อันลือลั่น ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านไสยศาสตร์ วิชาอาคม แพทย์แผนโบราณ โดยนำความรู้ทุกแขนงมาช่วยปัดเป่าทุกข์ให้ชาวเมืองกรุงเก่า จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสในความมีเมตตาธรรมอันสูงส่ง นอกจากนี้ ยังมีวัตถุมงคลขลังที่มากด้วยประสบการณ์ ด้านเมตตา แคล้วคลาด
พื้นเพของท่านเป็นชาวหมู่บ้านไผ่ต่ำ อ.หนองแค จ.สระบุรี มีนามเดิมว่า “ชื้น” เกิดเมื่อวันพุธ เดือน 4 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 18 มี.ค. 2450 ในตระกูลของนายจัน กับนางหงิม สกุล “ยอดฉิม” ซึ่งประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร เบื้องต้นได้ศึกษาเล่าเรียนที่ วัดเกาะลอย ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน จากนั้นเมื่ออายุได้ 15 ปีก็บรรพชาเป็นสามเณร จนถึงอายุ 18 ปีก็ลาสิกขาออกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนาอยู่ประมาณ 3 ปี
ก่อนจะเข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเกาะลอย ในวันที่ 14 พ.ค. 2470 โดยมีหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ จ.สระบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการมาด วัดหนองแคเก่า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทองดี วัดเกะลอย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทธสโร”
ท่านขยันหมั่นเพียรในการเรียนพระปริยัติธรรม จนกระทั่งพรรษาที่ 3 จึงสอบได้นักธรรมตรี ก่อนที่จะตัดสินใจเลิกเรียนทางด้านนี้ เบนเข็มไปหาความรู้ทางด้านไสยเวทย์วิทยาคมจากครูบาอาจารย์ที่วัดเกาะลอย ซึ่งมีทั้งไสยเวทย์ และแพทย์แผนโบราณ เมื่อมีความรู้พอรักษาตนเองได้ จึงออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรเสาะหาพระเกจิอาจารย์เพื่อร่ำเรียนวิชาอาคมอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มออกเดินทางจากสระบุรี เรื่อยมาจนถึงพระนครศรีอยุธยา และมาหยุดอยู่ที่วัดญาณเสน
ณ อารามแห่งนี้ ท่านได้ศึกษาไสยศาสตร์ วิชาแพทย์แผนโบราณ โหราศาสตร์ และเล่นแร่แปรธาตุกับพระอาจารย์สาย หรือขุนโจรย่ามแดงในอดีต และอยู่จำพรรษาตั้งแต่นั้นมา โดยพึงพอใจกับการใช้วิชาความรู้สงเคราะห์ญาติโยมที่มาให้ท่านปัดเป่า บรรเทาความเดือดร้อนอยู่หลายปีด้วยกัน ต่อมา พระอาจารย์สายได้ลาสิกขาออกไป ทำให้หลวงปู่ชื้นต้องอยู่ลำพังต้อนรับญาติโยมที่นับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น กระทั่งเริ่มเบื่อหน่ายในวิชาไสยศาสตร์และคาถาอาคม
ช่วงนั้นร่างกายและจิตใจของท่านเกิดความร้อนรุ่ม ประกอบกับมีข่าวเกี่ยวกับพระภิกษุรูปหนึ่งมาปักกลดอยู่หน้าวัดกุฏิทอง และมีญาติโยมไปขึ้นเยอะ ปฏิปทาของพระอาจารย์รูปนั้น เป็นที่โจษขานกันมาก โดยวันพระท่านจะไม่พูดกับใครเลย และไม่ฉันด้วย ส่วนวันธรรมดาก็จะพูดน้อยมาก อัฐบริขารมีเพียงกลด จีวร และรองเท้าเก่าๆ ส่วนในย่ามก็มีเพียงกะลาสำหรับเป็นภาชนะใส่ข้าวและช้อนกะลาเท่านั้น
พระอาจารย์รูปนั้นคือ พระอาจารย์เสน เตชะธัมโม ธุดงค์มาจาก อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา หลวงปู่ชื้นจึงไม่รีรอที่จะเข้าไปใกล้ชิด เพื่อสัมผัสพิสูจน์ตามคำโจษขานนั้น และได้รับคำทักท้วงว่า “ท่านเดินผิดทางแล้ว”
พระอาจารย์เสนย้ำอยู่อย่างนี้หลายครั้งหลายหน จนท่านต้องนำคำพูดนั้นมาทบทวน และค่อยใช้สติ สมาธิพิจารณาความหมาย กระทั่งพบข้อเท็จจริงแห่งสัจธรรม ต่อมาทั้งสองท่าน ก็ปวารณาตนเป็นศิษย์-อาจารย์ ทบทวนศีลและพระธรรมวินัยต่างๆ โดยหลวงปู่ชื้นได้นำตำราด้านไสยศาสตร์ วิชาอาคมต่างๆที่ได้เล่าเรียนมาแต่ต้นเผาทิ้งจนหมดสิ้น และได้ร่วมปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดกับพระอาจารย์เสน พร้อมกับนิมนต์มาอยู่จำพรรษาด้วยกันที่วัดญาณเสน
จากปฏิปทาที่เปลี่ยนแปลงไปของท่าน จึงมีเสียงครหาไปในทางไม่สู้ดี แต่ท่านก็ไม่สนใจ ยังคงมุ่งปฏิบัติต่อไปจนถึงขั้นอุกฤษณ์ใต้ต้นโพธิ์ข้างโบสถ์เป็นเวลา 1 เดือน ด้วยการนั่งสมาธิตลอดเวลา ยกเว้นเวลาฉัน ปัสสาวะ อุจจาระเท่านั้น เพียง 24 วันจากการเริ่มต้นปฏิบัติ ท่านก็สำเร็จสุดยอดวิชา “รัตนจักร”
พร้อมกันนั้น ก็ถูกร้องเรียนให้คณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพิจารณาปฏิปทาเพี้ยนๆ เป็นต้นว่า ชอบอยู่อย่างสมถะ สันโดษ ข้าวของที่ญาติโยมนำมาถวาย ใครจะหยิบฉวยเอาไป ก็ไม่ว่ากล่าวห้ามปราม หมู หมา ไก่ นก ฯลฯ จะมาอยู่ภายในวัดและสร้างความสกปรกอย่างไร ท่านก็วางเฉยไม่ดำเนินการใดๆ จึงมีคำสั่งปลดท่านออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส
หลวงปู่ชื้นมิได้อนาทรร้อนใจแต่อย่างใด เพียงแต่ขอทางคณะสงฆ์ว่า การแต่งตั้งเจ้าอาวาสแทนท่านนั้น ขอให้พิจารณาและแต่งตั้งพระจากวัดญาณเสนเท่านั้น ทว่า ในความรู้สึกของชาวบ้านและญาติโยมที่เข้าใจและรู้ซึ้ง ก็ยังคงเคารพนับถือในหลวงปู่ชื้น และศรัทธาในความเข้มขลังจากวัตถุมงคลที่ท่านได้อธิษฐานจิตด้วยการอัญเชิญพระรัตนจักรสู่วัตถุมงคลนั้นๆ จนกระทั่งวาระสุดท้ายในชีวิตท่าน เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 46 สิริอายุได้ 97 ปี

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top