พระคงลำพูน เนื้อสีแดง -พระที่บ้าน - webpra
รับจัดหา พระเกจิสายเหนือ ทุกสำนักด้วยราคามิตรภาพ ** เงินของท่าแท้พระที่ได้ก็ต้องแท้ **

หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระคงลำพูน เนื้อสีแดง

พระคงลำพูน  เนื้อสีแดง  - 1พระคงลำพูน  เนื้อสีแดง  - 2
ชื่อร้านค้า พระที่บ้าน - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระคงลำพูน เนื้อสีแดง
อายุพระเครื่อง 1306 ปี
หมวดพระ พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ราคาเช่า 9,000 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 081-2885930
อีเมล์ติดต่อ NOUI_tc004@hotmail.com
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 18 ส.ค. 2559 - 13:38.46
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พฤ. - 18 ส.ค. 2559 - 13:38.46
รายละเอียด
พระคง กรุวัดพระคงฤาษี ซึ่งเป็นวัดร้างมาแต่เดิมนั้น วงการยกให้พระเครื่องกรุนี้เป็น พระคงกรุเก่า คำว่ากรุ มิได้หมายความว่าจะได้พบซากกรุ แต่ก็อนุโลมให้เรียกเป็น พระกรุเก่า ทั้งนี้เพราะพบ ณ อุปจารวัตร ซึ่งเป็นไปได้ว่า เป็นตำแหน่งพระสถูปเจดีย์องค์เดิมโค่นล้มลงด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม ถ้าเป็นภัยธรรมชาติก็อาจจะเป็นเรื่องของการแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นเหตุปกติหรือภัยธรรมชาติปกติของเมืองลำพูนและเชียงใหม่ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าสองเมืองนี้และเมืองอื่นๆ อยู่ในรัศมีความสั่นสะเทือนของการเคลื่อนตัวของชั้นหินที่เกิดขึ้นมีมาแต่โบราณ ปัจจุบันก็ยังเป็นอยู่ในจารึกอักขระมอญเก่า ก็ยังบันทึกไว้แล้วว่า ปรากฏมีแผ่นดินไหวเมื่อประมาณระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-18 หรือแม้กระทั่งพระสถูปเจดีย์วัดมหาวัน ก็โค่นล้มลงเพราะแผ่นดินไหว เผยโฉมพระรอด และพระพิมพ์อื่นๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะพระพิมพ์อื่นๆ ที่ขึ้นมากับพระคง หรือพบที่อุปจารวัดพระคงฤาษีก็ยังมี พระสามลำพูน พระสิบ พระเลี่ยง พระลือ พระบาง พระป๋วย แต่ไม่มีพระรอด พระคงในกรุนี้เป็นพระคงพิมพ์เดียวกันกับพระคง กรุวัดดอนแก้ว ซึ่งพบมีมากเป็นจำนวนพันองค์ขึ้นไปใต้ฐานชุกชีขององค์พระประธานในวิหารเก่าแก่ เพราะเหตุว่าถูกเก็บรักษาไว้ในสถานที่มิดชิด ปลอดจากความชื้นสภาพพระจึงดูสวยงามมาก หรือเรียกได้ว่าสมบูรณ์มากที่สุด วงการพระเครื่องจึงจัดให้เป็น พระคง กรุใหม่ ซึ่งก็มิได้หมายความว่าเป็นพระสร้างใหม่ แต่ทั้งพระคง กรุเก่า และกรุใหม่ ต่างก็ปรากฏคราบกรุเกาะแน่นอยู่ตามซอกมุมต่างๆ ในพิมพ์พระ ข้อที่แตกต่างระหว่างพระคง กรุเก่า และกรุใหม่ ก็คือ พระคง กรุเก่า ผิวองค์พระชำรุดเสียหายเพราะผจญมารมามากกว่าก็แค่นั้นเอง ส่วนพระคง กรุใหม่ สภาพสมบูรณ์มาก จนดูเหมือนพระใหม่ แต่ไม่ใช่เนื่องจากเนื้อพระแห้งสนิท และส่วนมากแกร่งเกือบจะเป็นหินเช่นเดียวกับพระรอดโดยเฉพาะ พิมพ์ที่มีสีสันวรรณะออกสีเขียวมอย และสีดำ

แต่ด้วยเหตุที่พระคง เป็นพระที่ผาโดยบรรจุอยู่ในหม้อดินเผาจากข้างใต้เหมือนการหุงต้ม ซึ่งเป็นวิธีเผาพระแบบโบราณ เช่นเดียวกับพระรอดและพระพิมพ์เมืองลำพูนส่วนใหญ่ ประกอบกับเนื้อดินเหนียวเมืองละปูนมีแร่ธาตุพิเศษอยู่ในดินหลายอย่าง ซึ่งสันนิษฐานในหมู่ผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นว่า เป็นเหตุให้พระพิมพ์พระเครื่อง กรุเก่าเมืองนี้มีสีสันวรรณะหลากหลาย และโดยเฉพาะพระคงนั้น เท่าที่พบแล้วเป็นที่นิยมในวงการพระ 6 สี ได้แก่ สีขาว, สีพิกุล หรือสีเหลือง, สีเขียวคราบเหลือง, สีเขียวคราบแดง, สีเขียวหินครก, สีดำดังกล่าว และสีแดง ซึ่งเป็นสีที่พบน้อยที่สุด และอาจจะเป็นเพราะว่าได้รับการเผาแบบที่ทำให้มีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน แม้อยู่ในภาชนะเดียวกัน ประกอบกับการใช้แม่พิมพ์หลายตัวเนื่องจากสร้างพระไว้เป็นจำนวนหมื่นองค์ขึ้นไป ทำให้ขนาดองค์พระคงไม่เท่ากัน การได้รับความร้อนในการเผารุมก่อให้เกิดการหดตัวไม่เท่ากัน และการทำบล็อกใหม่ ก็ทำให้องค์พระจากบล็อกใหม่เล็กลงกว่าองค์เก่าที่ใช้เป็นแม่แบบ บางองค์จึงดูชะลูด บางองค์แลดูต้อกว่าปกติ โดยรวมแล้วก็ไม่แตกต่างกันมากนัก

พุทธลักษณะพระคง เป็นพระนั่งปางมารวิชัยแบบขัดเพชร บนอาสนะฐานบัลลังก์ หรือฐานบัวเม็ดสองชั้น พระวรกายอ้วนล่ำเหมือนพระเชียงแสนแบบสิงห์หนึ่ง พิมพ์ทรงมีลักษณะคล้ายเส้นโครงรอบนอกของซุ้มคูหาพระสถูปเจดีย์ รอบองค์พระเป็นร่มโพธิพฤกษ์ที่ดูเหมือนธรรมชาติมากที่สุด และเพราะโพธิพฤกษ์แบบนี้แหละ ทำให้นักวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องพระเครื่องบางท่านเข้าใจว่า พระคง อาจจะมีอายุเก่าแก่กว่าพระรอด ที่มีโพธิพฤกษ์ประเภทที่วิวัฒน์แล้วจากธรรมชาติเดิมของใบโพธิ์ ที่น่าสังเกตก็คือ ลักษณะพระเศียรที่ดูเหมือนโล้น และก็เป็นไปได้เหมือนกันว่า อาจจะโล้นจริงๆ บางท่านก็ว่า มีต่อมพระเมาฬีเล็กๆ ความเห็นสองอย่างดังกล่าวนี้ยังไม่ลงตัว แต่พระคงมีพระกรรณยานยาวประบ่า

อย่างไรก็ตาม โพธิพฤกษ์ นับว่าเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของ พระพิมพ์พระเครื่องเนื้อดินเผา สกุลช่างหริภุญไชย ไม่ว่าจะเป็นพระคง พระบาง พระเปิม พระลือ พระสาม ซึ่งถือว่าเป็นพระพิมพ์นิยมในวงการนักพุทธศิลป์นิยมทุกระดับ อย่างไรก็ตามยังมีพระพิมพ์อื่นที่ไม่มีโพธิพฤกษ์ แต่พุทธลักษณะกลับเหมือนพระรอด และโดยรวมแล้ว ท่วงทีในศิลปะและเชิงช่างของพระสกุลลำพูนมักจะมีอัตลักษณ์บางอย่างที่ประณีต แม้กระทั่งเนื้อดินที่ใช้สร้างพระ ก็มักจะเป็นเนื้อละเอียด ซึ่งผู้รู้วินิจฉัยแล้วว่า เป็นเนื้อดินผสมว่านและเกสร อีกทั้งยังได้ผ่านการเตรียมดินเป็นอย่างดี เราจึงแทบไม่เคยเห็นเม็ดกรวดทรายปรากฏในเนื้อดินของพระพิมพ์เมืองลำพูนเลย ดังนั้น จึงนับได้ว่านอกจากโพธิพฤกษ์แล้ว เนื้อดินที่สร้างพระดังกล่าวก็เป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและโด่งดังอีกอย่างหนึ่งของพระพิมพ์สกุลช่างหริภุญไชย หรือพระพิมพ์เมืองลำพูน และยังมีข้อควรพินิจพิเคราะห์อีกอย่างหนึ่งก็คือ ทุกพิมพ์ที่ได้กล่าวถึง ล้วนแล้วแต่เป็น พระปางมารวิชัยทั้งสิ้น ปางสมาธินั้นน่าประหลาดที่เราไม่เคยเห็นพระเมืองนี้แสดงปางสมาธิเลย มีแต่ปางมารวิชัย และจะต้องประทับนั่งแบบขัดเพชรด้วย ส่วนมากก็จะมีฐานบัวเป็นหลัก น้อยที่สุดจึงจะพบว่าเป็นฐานเขียง เช่นอย่างฐานพระรอด นี่ก็คงเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะพระรอดกระมัง แต่ที่แน่ๆ เป็นพระพิมพ์ที่มีอายุความเก่าแก่ประมาณ 700-800 ปีขึ้นไป คือเก่าแก่กว่าอายุของเมืองเชียงใหม่และอยุธยา ทุกพิมพ์แม้จะไม่ทราบรายละเอียดวันเวลาในการสร้าง แต่ก็อาจจะประเมินคร่าวๆ ได้ว่า เก่าแก่กว่า โดยวินิจฉัยจากศิลปะสกุลต่างๆ ที่ผสมอยู่ในแต่ละพิมพ์พระ ดังนั้น ผู้เขียนหรือใครก็ตาม ไม่จำเป็นต้องบรรยายคุณค่าในการบูชาสะสม เพราะนอกจากจะไม่มีวุฒิความรู้และศักดิ์ศรีที่จะกล่าวถึงแล้ว แค่เพียงท่านผู้อ่านปรายตาดูภาพประกอบก็สามารถซึมซับสุนทรียภาพในองค์พระ หรือในพุทธศิลป์ขององค์พระได้เอง แทบไม่ต้องการคำบรรยายให้มากความ

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top