หมวด หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง – หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
พระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ หลังยันต์มหาอุตม์ สร้างโดยหลวงพ่อแพ เขมังกโร วัดพิกุลทอง ปี พ.ศ. ๒๕๑๖




ชื่อร้านค้า | ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ หลังยันต์มหาอุตม์ สร้างโดยหลวงพ่อแพ เขมังกโร วัดพิกุลทอง ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ |
อายุพระเครื่อง | 48 ปี |
หมวดพระ | หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง – หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน |
ราคาเช่า | 1,500 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.) |
อีเมล์ติดต่อ | เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อเช่าพระจำนวนมาก ดังนั้นเช่าผ่านLINE ID : @870rqvth จะติดต่อง่ายสะดวกสุดครับ |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อ. - 09 ก.ย. 2557 - 20:37.41 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พฤ. - 11 ก.ย. 2557 - 20:02.02 |
รายละเอียด | |
---|---|
**รหัส ศ.ร.๒๘๔๗ พระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ หลังยันต์มหาอุตม์ สร้างโดยหลวงพ่อแพ เขมังกโร วัดพิกุลทอง ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ปิดทองเก่า ต้นแบบของพิมพ์ทรงนี้คือพิมพ์ไกเซอร์หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร" ประวัติของพิมพ์ไกเซอร์ น่าจะเป็นตำนานหรือเรื่องเล่า เพราะส่วนใหญ่เรื่องราวของสมเด็จโตมีผู้เขียนรุ่นแรก (Original Writer) เพียง ๒ ท่าน เมื่อ ๗๐-๘๐ ปีก่อน แล้วนักเขียนอื่น ๆ ก็ลอกตาม ๆ กันมาโดยไม่มีการสืบสาวถึงข้อเท็จจริง ตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ท่านมีพระสมเด็จพิมพ์นี้ติดพระองค์ไปด้วย และพระสมเด็จได้แสดงปาฏิหาริย์เปล่งประกายแสงรัศมีให้พระเจ้าไกเซอร์วิลเลียม กษัตริย์ประเทศเยอรมันได้ทอดพระเนตร จึงมีการเล่าขานต่อ ๆ กันมาและเรียกพระพิมพ์นี้ว่า พระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ ซึ่งเป็นพระพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟักที่มีขนาดใหญ่กว่าพระสมเด็จทั่วไป และฐานจะเป็นบัวคว่ำบัวหงาย ไม่เหมือนฐาน ๓ ชั้นโดยทั่วไป พิมพ์ไกเซอร์มีการสร้างต่อเนื่องที่วัดระฆังในยุคของหลวงปู่นาคและหลวงปู่หิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นต้นมา หลวงพ่อแพท่านคงได้ยินกิตติศัพท์ของพิมพ์นี้ และสร้างพระเนื้อผงเลียนพิมพ์ โดยรวมลักษณะของพิมพ์อกครุฑเศียรบาตรของบางขุนพรหม กับพิมพ์ไกเซอร์ที่สร้างในวัดระฆังยุคหลัง แต่ยังคงเอกลักษณ์ของท่านตั้งแต่ท่านเริ่มสร้างพิมพ์นี้เป็นครั้งแรกและให้ชื่อว่า แพพัน โดยด้านหลังเป็นรูปเหมือนของท่านในกรอบหลังแบบ จากนั้นท่านสร้างต่อเนื่องมาเรื่อย ๆ โดยใช้ชื่อ แพ ๒ พัน แพ ๓ พัน และ แพ ๔ พัน จากนั้นจึงเรียกชื่ออื่นและเปลี่ยนพิมพ์ด้านหลัง พระเนื้อผงหลวงพ่อแพมีเอกลักษณ์ของตนเอง เนื้อหาจะเป็นแบบที่เรียกว่า "เนื้อน้ำมัน" คือใช้สูตรผสมผงที่มีน้ำมันตังอิ้วเป็นสารช่วยเกาะยึดค่อนข้างมากแบบที่เรียกว่า "แก่น้ำมันตังอิ้ว" ขาวอมเหลืองแกมน้ำตาลอย่างที่เห็นอยู่ คราบแป้งบาง ๆ เกิดจากสภาพการใช้งานน้อยมาก ๆ แบบที่เรียกว่า "เก่าเก็บ" ได้เลยสำหรับพระอายุ ๓๖ ปี เช่นนี้ หลวงพ่อแพ ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ และมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ รวมอายุได้ ๙๔ ปี นับว่าท่านเป็นคนอายุยืนและอยู่ถึง ๕ แผ่นดิน สมณศักดิ์สุดท้ายของท่านคือ พระเทพสิงหบุราจารย์ท่านสอบได้เปรียญ ๔ ประโยค แล้วต้องหยุดเรียนเนื่องจากหมอห้ามใช้สายตา หลวงพ่อแพมีความสนิทสนมกับพระสายวัดสุทัศน์มาก ท่านจึงได้ตะไบกริ่งมาผสมในพระสมเด็จแพพันรุ่นแรก ๆ และพระพิมพ์พระพุทธชินราชตามตำรับที่ท่านได้จากอาจารย์ท่านคือพระครูใบฎีกาเกลี้ยง ซึ่งเป็นลูกศิษย์สังฆราชแพ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...








