สมเด็จกรุต้นพิกุล พิมพ์ใหญ่(หายาก) หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม พิมพ์ต้อหูบายศรี เนื้อผง กรุแตกปี 2509 จ.-ศิลป์เจริญพร - webpra
VIP
"ร้านนี้พระเครื่องยุคเก่า สร้างโดยพระสุปฏิปันโน เจตนาการสร้างบริสุทธิ์ ที่นับถือบูชาได้อย่างสนิทใจ"

หมวด พระสมเด็จทั่วไป

สมเด็จกรุต้นพิกุล พิมพ์ใหญ่(หายาก) หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม พิมพ์ต้อหูบายศรี เนื้อผง กรุแตกปี 2509 จ.

สมเด็จกรุต้นพิกุล พิมพ์ใหญ่(หายาก) หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม พิมพ์ต้อหูบายศรี เนื้อผง กรุแตกปี 2509 จ. - 1สมเด็จกรุต้นพิกุล พิมพ์ใหญ่(หายาก) หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม พิมพ์ต้อหูบายศรี เนื้อผง กรุแตกปี 2509 จ. - 2สมเด็จกรุต้นพิกุล พิมพ์ใหญ่(หายาก) หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม พิมพ์ต้อหูบายศรี เนื้อผง กรุแตกปี 2509 จ. - 3สมเด็จกรุต้นพิกุล พิมพ์ใหญ่(หายาก) หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม พิมพ์ต้อหูบายศรี เนื้อผง กรุแตกปี 2509 จ. - 5
ชื่อร้านค้า ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง สมเด็จกรุต้นพิกุล พิมพ์ใหญ่(หายาก) หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม พิมพ์ต้อหูบายศรี เนื้อผง กรุแตกปี 2509 จ.
อายุพระเครื่อง 56 ปี
หมวดพระ พระสมเด็จทั่วไป
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อขอเช่าพระมาจำนวนมากต่อวัน ดังนั้นเช่าผ่านLINE จะติดต่อง่ายและสะดวกสุดครับ
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 05 มิ.ย. 2559 - 18:22.31
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 28 ก.ค. 2561 - 17:03.42
รายละเอียด
**รหัส ศ.ร.๖๓๐๒
สมเด็จกรุต้นพิกุล พิมพ์ใหญ่(หายาก) หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม หูบายศรี เนื้อผง กรุแตกปี 2509 จ.ชัยนาท พระสภาพสวย แบบนี้ หายากแล้วครับ

(องค์นี้ผมตัดใจซื้อ เจ้าของเปิดแพง ที่พระบ้านเดิมๆ ที่มาดี ฟอร์สวยเดิมๆครับ)

พระผงพิมพ์กรุต้นพิกุลนี้ หลวงพ่อกวย ได้สร้างและปลุกเสกเอาไว้ประมาณปี 2490 เป็นพระเนื้อผงพุทธคุณสีขาว และขาวหม่น เนื้อดินเผาก็มีแต่จะพบน้อยกว่าเนื้อผง ขนาดเท่ากับพระพิมพ์แหวกม่านมารวิชัยข้างเม็ด จำนวนการสร้างไม่น่าจะเกิน 300 องค์ พระพิมพ์ปรกโพธิ์เล็กนี้ หลวงพ่อกวยได้นำติดตัวไปเข้าพิธีปลุกเสกพระเครื่องครั้งใหญ่ที่วัด โพธิ์ลังกา จ.สิงห์บุรี เมื่อปี 2492 มีพระเครื่องและพระบูชาเข้าพิธีปลุกเสกมากมายหลายสิบพิมพ์ มีพระเกจิคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากใน จ.สิงห์บุรี ได้แก่
หลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่,
หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว,
หลวงพ่อช่วง วัดแหลมคาง,
หลวงพ่อเชน วัดสิงห์,
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง,
หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค,
หลวงพ่อกอ วัดโพธิ์ลังกา
พระเกจิ คณาจารย์ทุกรูปล้วนแต่เป็น ลูกศิษย์ของหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ ทั้งสิ้น ตั้งแต่ยุคแรกถึงยุคปลาย
หลวงพ่อกวยนำมาเข้าพิธีปลุกเสกครั้งใหญ่นี้แล้ว พอเสร็จงานแล้ว หลวงพ่อกวยได้มอบพระพิมพ์ปรกโพธิ์นี้ไว้ให้กับ หลวงพ่อกอ วัดโพธิ์ลังกาไว้บางส่วน เพื่อบรรจุกรุเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนารวมกับพระเครื่องกับพระบูชาพิมพ์ต่างๆของ วัดโพธิ์ลังกา ส่วนพระพิมพ์ปรกโพธิ์เล็กที่เหลือ หลวงพ่อกวย ก็นำกลับวัดบ้านแค (หลวงพ่อกอ ท่านนี้ก็เป็นศิษย์ หลวงพ่อกวยเหมือนกัน) บางส่วนของพระพิมพ์ปรกโพธิ์เล็กนี้ หลวงพ่อกวยก็นำมาแจกจ่ายให้กับศิษย์ใกล้ชิด ที่เหลือก็นำไปบรรจุภาชนะดินเผาบ้างใส่บาตรพระเก่าบ้างรวมกับพระพิมพ์อื่นๆของหลวงพ่อกวยยุคแรกๆหลายสิบพิมพ์ แล้วนำไปฝังไว้ใต้ต้นไม้ อยู่ในบริเวณใกล้ๆกับกุฎิหลวงพ่อกวย ต้นไม้ต้นนี้ก็คือต้นพิกุล หลายปีต่อมามีศิษย์หลวงพ่อไปพบต้นพิกุลโค่นลง แล้วไปพบพระเครื่องจำนวนหนึ่ง จึงนำมาให้หลวงพ่อดู หลวงพ่อบอกว่า “พระข้าเอง ข้าฝังไว้เอง” พระเครื่องที่พบเป็นพระเนื้อผงพุทธคุณ และพระเนื้อดินเผาหลากหลายพิมพ์ ที่พอรวบรวมได้ก็คือ
1. พิมพ์ขุนแผน
- ขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว
- ขุนแผนขี่โหงพราย
- ขุนแผนนั่งกุมารทอง
- ขุนแผนพลายเดี่ยว
2. พิมพ์ปรกโพธิ์เล็ก
3. พิมพ์ชินราช
4. พิมพ์นางพญา
5. พิมพ์สมเด็จฐานสามชั้นหูบายศรี(พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่)
6. พระพิมพ์ฐานสามชั้นหูบายศรี(ตัดสามเหลี่ยม)
7. พระพิมพ์พระพุทธเจ้าในวิหารฐานผ้าทิพย์
8. พระพิมพ์พระประธาน
9. พระพิมพ์อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายพระถอดพิมพ์งาแกะต่างๆ อีกหลายแบบบ
พระเครื่องที่พบใต้กรุพิกุลนี้ แตกกรุขึ้นมาประมาณปี 2509-2510 พระเครื่องทั้งหมดหลวงพ่อได้แจกจ่ายให้กับชาวบ้านในละแวกบ้านแคบางส่วนก็ให้ผู้ที่มาทำบุญกับวัด หลวงพ่อก็ให้พระเครื่องกรุต้นพิกุลนี้ไปจนหมด ส่วนพระพิมพ์ปรกโพธิ์เล็กนี้ที่พบในกรุต้นพิกุลพบน้อยเพราะเป็นพระพิมพ์เดียวที่เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์ ขึ้นจากกรุมาประมาณ200องค์ พระพิมพ์อื่นๆอีกรวม 1,000 กว่าองค์ ปัจจุบันนี้จึงพบพระพิมพ์ปรกโพธิ์เล็กนี้ มีคราบกรุ และไม่มีคราบกรุ เพราะว่าพระบางส่วนหลวงพ่อกวยได้แจกออกไปก่อนที่จะลงกรุพระที่พบจึงมีสีขาวสะอาด
ส่วนพระที่ลงกรุก็จะมีคราบกรุ ปรกคลุม อยู่คราบนี้จึงมีสีออกน้ำตาล ออกส้มๆคล้ายสนิมบางองค์ ที่พบก็มีไขสีขาวผุดขึ้นมาเป็นฟองปรกคลุมอยู่ บางองค์มีคราบดินเกาะอยู่ตามพื้นผิวขององค์พระก็มี
และพระพิมพ์ปรกโพธิ์นี้ก็มีความสำคัญกับหลวงพ่อกวยมาก เพราะว่าตอนรื้อกุฎิเก่าของหลวงพ่อกวย ได้พบพระพิมพ์นี้ติดไว้บนหน้าบรรณ์กุฏิด้วย 4องค์ หนึ่งในสี่องค์นี้หลวงพ่อกวยได้ให้ไว้กับพระอาจารย์ตั้ว วัดทับขี้เหล็ก แล้วได้ถูกตกทอดมายัง ศิษย์ใกล้ชิดของพระอาจารย์ตั้ว
ส่วนพระเกจิคณาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกพระเครื่องพระพิมพ์ปรกโพธิ์เล็กนี้และพระพิมพ์อื่นๆของวัดโพธิ์ลังกา หลวงพ่อกวยให้ความเคารพนับถือมากเพราะว่าเป็นศิษย์รุ่นพี่ ล้วนแต่เก่งกล้ากันทุกรูป แล้วก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ ทุกรูปเช่นกัน
ถ้าหลวงพ่อศรี ยังไม่มรณะภาพก็คงได้ปลุกเสกพระพิมพ์ปรกโพธิ์นี้ด้วยแน่นอน
ส่วนพระพิมพ์ปรกโพธิ์เล็ก ที่หลวงพ่อกวยได้ให้ไว้กับ หลวงพ่อกอ วัดโพธิ์ลังกาไว้บบรจุกรุทางวัดโพธิ์ลังกาได้ทำการเปิดกรุเมื่อประมาณปี 2520กว่าๆ พบพระพิมพ์ปรกโพธิ์ของหลวงพ่อกวยนี้ด้วยเหมือนกัน แต่ก็หาองค์ที่สภาพสมบรูณ์ได้ยากไม่น่าเกิน100องค์ เพราะว่า วัดโพธิ์ลังกานี้ อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา เลยถูกน้ำท่วมทุกปีพระที่พบจึงชำรุดเสียหายเพราะว่าเป็นพระเนื้อผงพุทธคุณถ้าโดนน้ำเป็นเวลานานก็จะละลายจับตัวกันเป็นก้อนรวมกับพระพิมพ์อื่นๆที่ปะปนกันอยู่ดูแทบไม่ออกว่าเป็นพิมพ์อะไรเลย หาองค์ที่สมบรูณ์ได้ยากมาก ส่วนพระที่ชำรุดเสียหายในกรุวัดโพธิ์ลังกานี้ หลวงพ่อกอ ได้นำมารวบรวมแล้วนำมาบดตำ แล้วทำพระเครื่องของท่านขึ้นมาใหม่ เป็น พิมพ์โมคคัลลาน์-พระสารีบุตร ด้านหลังเป็นใบโพธิ์ แล้วมีตัวหนังสือเขียนว่า วัดโพธิ์ลังกา เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
ชาวบ้านได้นำไปบูชาติดตัว ก็มีประสบการณ์ทางเมตตาสูงมาก หลวงพ่อกอ วัดโพธิ์ลังกานี้ได้ มรณะภาพเมื่อปี 2538
ลองคิดดูว่าขนาดชำรุดเสียหายแล้วนำผงมาทำพระพิมพ์ขึ้นมาใหม่ยังมีพุทธคุณดีขนาดนี้เลย

พระ กรุตามที่ต่างๆในวัดบ้านแค กับ ช่างสมาน
พระกรุต่างๆในวัดบ้านแค นอกจากพระกรุต้นพิกุลแล้วก็ยังมีอีกหลายกรุที่ยังถูกฝังอยู่ใต้ดิน มีศิษย์หลวงพ่อกวยอยู่คนหนึ่งที่รู้ว่าพระที่ถูกฝังไว้ตามที่ต่างในวัดบ้านแคก็คือ ช่างสมาน นิ่มปลื้ม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ช่างสมาน เป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดกับหลวงพ่อกวยอีกคนหนึ่ง บ้านเดิมของช่างสมานนี้อยู่แถววัดวังขรณ์ อ.บางระจัน แกเป็นช่างปลูกบ้านต่อเติมบ้านแถวเขตบางระจัน-สรรคบุรี เคยสร้างโบสถ์สร้างศาลาตามวัดต่างๆมาแล้วหลายวัด มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อกวยเคยให้ช่างสมานเข้าไปพบ เพื่อให้ช่างสมานนำพระไปฝัง พระที่นำไปฝังครั้งนี้ก็คือ รูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก (หรือที่ชาวบ้านเรียกว่ารูปหล่อหน้าลิง) สร้างขึ้นประมาณปี 08-09 แล้วนำมาแจกตอนปี 15 หลวงพ่อกวยบอกกับช่างสมานว่า รูปเหมือนรุ่นนี้ไม่เหมือนท่าน ท่านจึงไม่อยากแจกจ่ายออกไป บางส่วนหลวงพ่อก็แจกไปบ้างแล้ว หลวงพ่อจึงรวบรวมรูปเหมือนรุ่นแรกนี้ทั้งหมดใส่กระป๋อง แล้วให้ช่างสมานนำไปฝังไว้แถวๆหลังวัด แล้วหลวงพ่อกวยก็สั่งให้ช่างสมานปกปิดเป็นความลับห้ามบอกใครเด็ดขาด(เมื่อมีคนถามถึงว่า หลวงพ่อกวยให้เอาพระไปฝังไว้ตรงไหน ช่างสมานก็จะเงียบแล้วเดินหนีไป) หลวงพ่อกวยรักและไว้ใจช่างสมานมาก
ช่างสมานท่านนี้ เคยสร้างรูปหล่อบูชารุ่นแรกให้หลวงพ่อกวยปี18 และรุ่น2 ปี 21 อีกด้วย ตอนปี 2518 ช่างสมานอยากจะสร้างรูปหล่อบูชารุ่นแรกให้หลวงพ่อกวย เพราะว่าช่างสมานเคารพศรัทธาในตัวของหลวงพ่อกวยมาก จึงอยากจะสร้างรูปหล่อบูชาของหลวงพ่อกวยไว้ให้ลูกศิษย์ที่เคารพไว้กราบไหว้บูชาที่บ้านเรือน จึงนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับหลวงพ่อกวย ตอนแรกหลวงพ่อกวยไม่ยอมให้สร้าง ในที่สุดช่างสมานก็พูดจนหลวงพ่อยอมให้สร้าง ช่างสมานจึงไปหาทุนกับผู้มีจิตศรัทธาที่นับถือในตัวหลวงพ่อกวย ตามบ้านเรือนแถวเขตบางระจัน-สรรคบุรี-เดิมบางนางบวช ว่าจะสร้างรูปหล่อบูชาหลวงพ่อกวย ขนาดหน้าตัก 5นิ้ว จำนวน 500องค์ไว้บูชาตามบ้านเรือน โดยให้จององค์ละ 500บาท ตอนปี 2518 แล้วช่างสมาน ก็ออกใบเสร็จไว้ให้ ดำเนินงานประมาณ 3-4 เดือน ช่างสมานก็นำรูปหล่อบูชารุ่นแรกมาแจกจ่ายถึงบ้าน และช่างสมานเคยนำรูปหล่อรุ่นแรกนี้มาแจกจ่ายกับผู้ที่สั่งจอง แถวเขตบ้านทุ่งกลับ(บ้านคู) ต.พักทัน 3-4 กระบุง ประมาณ 20 กว่าองค์ เพราะว่าช่างสมานมีญาติพี่น้องแถวเขตบ้านทุ่งกลับหลายคนจึงให้ญาติพี่น้องจองรูปหล่อรุ่นแรกไว้เยอะ เกือบจะทุกบ้าน ช่างสมานเคยมาสร้างโรงเรียนบ้านทุ่งกลับ ประมาณปี 2500 ด้วย เป็นโรงเรียนที่ไม่มีวัด เคยสร้างโบสถ์และศาลา ให้กับวัดบ้านแค และวัดอื่นๆอีกมากมาย
ครั้งหนึ่งตอนสร้างโบสถ์วัดบ้านแค ตอนปี 2520 หลวงพ่อกวยได้นำพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ2-3 กระแป๋ง ให้ช่างสมานนำมาบรรจุไว้ในโบสถ์ ไม่ทราบว่าบรรจุอยู่ตรงไหน ช่างสมานเป็นคนควบคุมการก่อสร้างโบสถ์
มีอยู่วันหนึ่งตอนที่คนงานกำลังสร้างโบสถ์อยู่นั้น คนงานคนหนึ่งได้เห็นหลวงพ่อกวยกับศิษย์คนหนึ่งเดินมาที่สระน้ำ และเห็นหลวงพ่อกวยถือบาตรมาด้วย พอมาถึงสระน้ำหลวงพ่อกวยก็เอามือล้วงลงไปในบาตร แล้วหยิบอะไรบางอย่างทิ้งลงไปในสระน้ำหลายกำมือ ของที่อยู่ในบาตรหลวงพ่อไม่ใช่ข้าวสุกที่นำมาให้ปลากิน แต่เป็นพระเครื่องหลวงพ่อ ไม่ทราบเหมือนกันว่าเป็นพิมพ์อะไร สักพักหนึ่งศิษย์หลวงพ่อกวยที่เดินมาด้วย ก็ได้ลงไปในสระน้ำแล้วดำผุดดำว่าย คงหาอะไรบางอย่าง ที่แท้ก็รู้ว่าหลวงพ่อเอาพระมาทิ้งลงสระน้ำ แล้วให้ศิษย์คนนี้ลงไปงมในสระน้ำ เอาพระขึ้นมา แต่น่าแปลกที่ศิษย์คนนั้นไม่เจอพระหลวงพ่อเลยสักองค์ (โบสถ์ที่สร้างใหม่อยู่ติดกับสระน้ำหลวงพ่อกวย)
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ หน้าสระน้ำของหลวงพ่อกวย ตอนนั้นเป็นป่ารก มาก ทางวัดจึงจ้างรถมาไถถางป่าที่ปล่อยรกร้าง อยู่บริเวณหน้าสระน้ำ ตอนที่รถมาไถนั้นเห็นหลวงพ่อกวยมายืนอยู่ด้วย พอรถได้ไถหน้าดินไปสักพักหนึ่ง ก็พบบาตรพระลูกหนึ่งกลิ้งออกมา คนขับรถก็จอดรถแล้วเดินย้อนลงมาดู ปรากฏว่าขณะที่คนขับรถไถจอดรถแล้วจะเดินย้อนมาดูนั้น เห็นหลวงพ่อกวยเดินถือบาตรลูกนั้นเดินไปโน่นแล้ว เลยไม่รู้ว่าข้างในบาตรลูกนั้นบรรจุอะไรไว้ข้างในบ้าง
หลวงพ่อกวยคงรู้ว่ารถที่มาไถนั้น จะต้องไถของ ของท่านขึ้นมา จึงได้มายืนรอดู พอพบแล้วท่านก็เดินอุ้มบาตรลูกนั้นขึ้นกุฏิไป(พอตอนหลัง ก็รู้ว่าในบาตรลูกนั้นบรรจุพระเครื่องที่ท่านฝังเอาไว้) ก็ไม่รู้ว่าเป็นพิมพ์อะไรเหมือนกัน(ปัจจุบันที่ตรงนั้นก็คือบ่อจระเข้แถวข้างเมรุ)
ช่างสมานเคยบอกว่าหลวงพ่อกวยได้นำพระเครื่องพิมพ์ต่างๆไปฝังไว้หลายแห่งด้วยกันภายในวัดบ้านแค แต่ช่างสมานก็ไม่บอกใครว่าหลวงพ่อฝังไว้ตรงไหนบ้าง เพราะว่าหลวงพ่อกวยกำชับไว้ว่าไม่ให้บอกใครเด็ดขาด ช่างสมานตอนบั้นปลายชีวิตได้บวชเป็นพระอยู่ที่วัดหัวเด่นใกล้กับวัดบ้านแค ปัจจุบันมรณภาพไปแล้ว ถือเป็นศิษย์หลวงพ่อกวยรูปหนึ่งที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ


เครดิต ข้อมูลเผยแพร่นี้ โดย คุณ บอย บางระจัน

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top