พระผงรูปเหมือนนั่งรุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ 2514 หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน *-ศิลป์เจริญพร - webpra
VIP
"ร้านนี้พระเครื่องยุคเก่า สร้างโดยพระสุปฏิปันโน เจตนาการสร้างบริสุทธิ์ ที่นับถือบูชาได้อย่างสนิทใจ"

หมวด ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง - ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี - ครูบาชัยวงศ์ วัดพระพทธบาทห้วยต้ม

พระผงรูปเหมือนนั่งรุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ 2514 หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน *

พระผงรูปเหมือนนั่งรุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ 2514 หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน   * - 1พระผงรูปเหมือนนั่งรุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ 2514 หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน   * - 2พระผงรูปเหมือนนั่งรุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ 2514 หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน   * - 3พระผงรูปเหมือนนั่งรุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ 2514 หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน   * - 4พระผงรูปเหมือนนั่งรุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ 2514 หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน   * - 5
ชื่อร้านค้า ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระผงรูปเหมือนนั่งรุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ 2514 หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน *
อายุพระเครื่อง 51 ปี
หมวดพระ ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง - ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี - ครูบาชัยวงศ์ วัดพระพทธบาทห้วยต้ม
ราคาเช่า 1,500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.)
อีเมล์ติดต่อ เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อขอเช่าพระมาจำนวนมากต่อวัน ดังนั้นเช่าผ่านLINE จะติดต่อง่ายและสะดวกสุดครับ
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ จองแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 18 ม.ค. 2560 - 20:46.01
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 19 ก.พ. 2561 - 21:36.24
รายละเอียด
**รหัส ศ.ร.๗๓๓๙
พระผงรูปเหมือนนั่งรุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ 2514 หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน

**รูปเหมือนรุ่นนี้หลวงปู่ยังแนะนำให้ลูกศิษย์หาบูชาไว้ติดตัว


เกร็ดประวัติ อภินิหาร ครูบาวงศ์ (๔) โดย อ.เล็ก พลูโต
Font Size:


เรื่องที่ ๒๒ พระรอดเนื้อดิน ครูบาวงศ์ คือ ว่าพระรอดรุ่นนี้ หลวงปู่ครูบาชัยวงศ์ท่านสร้างขึ้น เป็นพระรอดที่ดังมาก จนกระทั่งเป็นเบญจภาคีในจำนวนพระเครื่องสุดยอด ๕ องค์ ก็จะมีสมเด็จวัดระฆัง พระรอดลำพูน พระซุ้มกอกำแพงเพชร พระนางพญาพิษณุโลก แล้วก็ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นพระผงสุพรรณ ใช่มั้ย ๕ องค์?พระรอดลำพูน สร้างขึ้นโดยฤๅษีวาสุเทพ ผู้เป็นอาจารย์ของพระนางเจ้าจามเทวี ปรากฏว่าหลวงปู่ครูบาชัยวงศ์ ท่านหลับๆ ตื่น นึกขึ้นมาได้ว่า ท่านเคยเกิดเป็นฤๅษีวาสุเทพ ท่านก็เลยสร้างพระใหม่ซะอีกยกหนึ่ง อย่าลืมว่าดินลำพูนแพงที่สุดนะ แค่นิ้วมือแค่นี้ตั้งหลายล้าน นั่นแหละดินที่สร้างพระรอด ตอนนี้พระรอดองค์หนึ่งหลายล้าน สมัยโน้นอาจจะไม่เก่งพอ สมัยนี้สะสมบารมีต่อมาเก่งกว่าเดิม สร้างของใหม่ก็คงจะดีกว่าเดิม

เรื่องที่ ๒๓ ครูบาแจกพระรอด มีเรื่องเล่าเพิ่มเติมอีกหนึ่งเรื่องครับ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๓๖ เป็นวันเสาร์ ๕ ผมได้นั่งรถตู้จากวัดพระบาทห้วยต้ม ไปวัดมหาวันกับหลวงปู่ด้วย หลวงปู่ไปปลุกเสกพระรอด กับพระนางจามเทวี ในวันนั้นเมื่อหลวงปู่ปลุกเสกเสร็จ หลวงปู่ก็เดินออกจากโบสถ์ไปที่รถตู้ โดยหลวงปู่ถือไม้เท้าโดยใช้มือทั้งสองจับไม้เท้าทั้งสองข้าง ตามแบบฉบับของหลวงปู่ ดังที่เราเห็นกันจนชินตา โดยมีลูกศิษย์ติดตามมาส่งหลวงปู่ถึงรถกันจำนวนหนึ่ง เมื่อหลวงปู่เข้าไปนั่งในรถ ก็ปล่อยมือที่ถือไม้เท้าทั้งสองข้างออก โดยเอาไม้เท้าวางไว้ข้างๆ ขณะนั้นลูกศิษย์ต่างก็กราบหลวงปู่กัน

มีคนหนึ่งเอ่ยปากขอพระรอดกับหลวงปู่ หลวงปู่ก็ยื่นมาให้องค์หนึ่ง ทำให้ทุกคนที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างก็ขอพระรอดกับหลวงปู่บ้าง หลวงปู่ซึ่งขณะนั้นอารมณ์ดีเป็นพิเศษ ก็ใช้มือไปเอาพระรอดที่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายท่าน ตรงโน้นบ้างตรงนี้บ้าง ซึ่งก็ไม่ทราบว่าหลวงปู่ไปนำพระรอดมาได้อย่างไร เพราะที่ๆ หลวงปู่เอามือไปแตะไม่น่าจะเก็บพระรอดได้ และหลวงปู่ก็ไม่ได้กำพระมาจากไหนแน่นอน เพราะหลวงปู่ท่านกำไม้เท้ามา บริเวณส่วนของร่างกายที่ท่านเอามือไปแตะ ก็ไม่มีที่ใส่ของ เพื่อไม่ให้เสียโอกาส ผมก็เอากับเขาด้วยเหมือนกัน จำภาพได้ติดตาว่า เห็นมือหลวงปู่อยู่ตรงหน้า ผมมองหน้าหลวงปู่ หลวงปู่ก็ยิ้มแล้วแบมือออก ปรากฏว่ามีพระรอดหล่นมาจากมือหลวงปู่หนึ่งองค์ วันนั้นหลวงปู่คงต้องเรียกพระรอดมาหลายองค์เลยครับ เรื่องแบบนี้ศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่ทราบกันดีครับ

ตอนที่ไปวัดบ้านปาง เพื่อไปหารอยเท้าท่านบนหิน ว่าจะยกกลับมาวัดห้วยต้ม เพราะไม่มีคนสนใจ ครูบาให้ไปแจ้งเจ้าอาวาสก่อน ตอนนั้นหลวงพ่อมหาจรูญ เป็นเจ้าอาวาส นั่งคุยกันเรื่องพระรอดครูบา มหาจรูญบอก...มีนายธนาคารคนนึง มาขอพระรอดจากครูบา แต่ท่านก็ไม่ได้ให้ไว้...

อย่างที่ทราบ บางคนท่านก็ให้ บางคนท่านก็ไม่ได้ให้

มีลูกศิษย์อีกคน มาเล่าเรื่องให้ฟัง ตอนประมาณปี ๒๕๒...กว่า เค้าบอกว่า ครูบารับนิมนต์ไปวัดที่ชลบุรี ถ้าจำไม่ผิด วัดนอก?? ไปงานพุทธาภิเษก เค้าบอกว่า หลังงานเสร็จ มีคนมาขอวัตถุมงคลจากท่าน ครูบาล้วงเอาพระเนื้อผงในย่ามแจก มีอยู่คนนึงมาขอ แต่พระของครูบาหมด ท่านหยิบส้มให้แทน เค้าเล่าว่า ครูบาบอก ลองดูซิ พระอาจจะอยู่ในส้ม โยมคนนั้นแกะส้มออกมา เจอพระรอดข้างในจริงๆ

ครูบาวงศ์ ท่านได้สร้างพระรอดทั้งเนื้อดิน และเนื้อว่านไว้ ๒-๓ รุ่น ซึ่งผมก็พอจะแบ่งปันให้ได้ คือ รุ่นพิเศษ ปี ๒๕๔๐ (ดังภาพ) ซึ่งถอดพิมพ์มาจากพระรอดวัดมหาวันของเก่า อีกทั้งยังมีมวลสารที่เป็นพระรอดกรุมหาวันแตกหักมากมายผสมในเนื้อพระ โดยแบ่งปันให้บูชาองค์ละ ๙๙ เหรียญ และ พระรอดเนื้อดิน ปี ๒๕๔๓ (รุ่นสุดท้าย ปลุกเสกก่อนมรณภาพ) ด้านหลังฝังพระธาตุข้าวบิณฑ์ บูชาองค์ละ ๑๐๙ เหรียญ (มีน้อย เพราะหาสวยๆ ยาก) สนใจ โทร.ติดต่อผมด่วนที่เบอร์โทร. (909) 525-6041 ว่ายังมีอยู่ไหม? แล้วค่อยส่งเช็คสั่งจ่าย Boonsom Corhiran ตามที่อยู่หัวคอลัมน์ พระทุกองค์ใส่ตลับแสตนเลสแกะลายอย่างดี พร้อมอาราธนาขึ้นคอได้ทันที

เรื่องที่ ๒๔ ประทับรอยเท้าเป็นอนุสรณ์ ขณะที่ท่านช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ท่านได้ประทับรอยเท้า ลึกลงไปในหินประมาณ ๑ ซ.ม. ข้างน้ำตกห้วยแก้ว (ช่วงตอนกลางๆ ของทางขึ้นดอยสุเทพ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ท่านได้มาช่วย ครูบาศรีวิชัยสร้างทาง

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ หลวงพ่อขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ ขากลับท่านได้พาไปนมัสการวัดอนาคามี (ซึ่งเป็นวัดที่ครูบาศรีวิชัยได้มอบให้ท่านเป็นผู้ควบคุมการสร้าง ปัจจุบันทรุดโทรมหมดแล้ว) ระหว่างทาง ท่านได้พาพวกเราไปดูรอยเท้าที่ท่านประทับไว้ รอยเท้านั้นลึกลงไปในหินประมาณ ครึ่งเซนติเมตร มีรอยถูกน้ำกัดเซาะ พวกเราแปลกใจมากที่เห็นรอยเท้านั้น พอดีกับเท้าของท่านเมื่อท่านเหยียบลงไป (การประทับรอยเท้า เช่นนี้ ท่านเคยไปประทับรอยเท้า และรอยมือ ไว้บนแผ่นหิน ณ ประเทศศรีลังกา เพื่อเป็นอนุสรณ์ เช่นกัน เป็นที่ประจักษ์สายตาของคณะศิษย์ที่ร่วมเดินทางไปทุกครั้ง)

รอยเท้าที่น้ำตกห้วยแก้ว ดอยสุเทพ อยู่ข้างๆ รอยเท้า ของครูบาศรึวิชัย เหยียบไว้กลางลำห้วย จะเห็นชัดเวลาหน้าแล้ง (เคยมีลูกศิษย์ได้ทำที่ครอบไว้ แต่คนใจบาปได้ทุบทำลายไป) น้ำที่ผ่านลำห้วยนี้ ก็เป็นเสมือนน้ำมนต์ที่ผ่านรอยเท้าของพระอาจารย์ทั้ง ๒ องค์ ได้อธิษฐานไว้ ส่วนรอย อื่นๆ ของครูบา ผมรวบรวมจากลูกศิษย์ที่ใกล้ชิด และที่ผมทราบมีประมาณ ๙ แห่ง ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยชอบเล่า หรือเขียนเรื่องทำนองนี้ ไว้ในที่สาธารณะ แต่เห็นว่าไหนๆ ก็มีคนกล่าวกันมามากแล้ว ก็ เขียนไว้กับเค้าด้วย

หมายเหตุ. รอยเท้าของครูบาที่ท่านเหยียบไว้ บางแห่งก็อยู่ในที่ไปมาลำบาก ผมเข้าใจว่า เทวดาคงขอท่านไว้ ตอนท่านยังดำรงขันธ์อยู่ ผมแทบจะไม่เล่าเรื่องนี้ให้ใครฟังเลย เชื่อก็ดีไป ไม่เชื่อก็ลำบาก ครูบาท่านก็ไม่เคยอวดตัว แต่ละวันท่านก็สอนลูกศิษย์ทำบุญทำทาน นั่งกรรมฐาน และสวดมนต์ เท่านั้นเอง

เรื่องที่ ๒๕ ครูบา สอนลูกศิษย์ ลูกศิษย์คนไหนที่เคยได้รับใช้ท่าน คงจะคุ้นเคย ครูบาท่านจะเอาเงินที่ญาติโยมถวายมาจัดเรียงอย่างดี บางแบงค์ที่ยับๆ หรือไม่สะอาด ท่านจะเอามาใส่ขันน้ำเพื่อล้าง และตากให้แห้ง แล้วเอามารีดให้เรียบ พวกลูกศิษย์คงได้ช่วยท่านทำกันบ่อยๆ เคยถามท่านว่า...ทำไปทำไม ครูบาท่านว่า "คนไม่รู้จักค่าของเงิน คนไม่เคารพพระเจ้าอยู่หัว" ส่วนตัวผมก็จะติดนิสัยตามท่าน ต้องเอาธนบัตรที่ยับๆ มารีดให้เรียบเสมอ เดี๋ยวครูบาท่านจะตำหนิเราได้ว่า ไม่เคารพค่าของเงิน เดี๋ยวจะค้าขายไม่เจริญ

จำได้ว่าครั้งหนึ่ง เมื่อได้อยู่อุปฐากท่าน มีโยมส่งพัสดุไปรษณีย์มาถวาย ท่านบอกให้เปิดกล่อง เราเองด้วยความคุ้นเคย มักง่ายจึงหยิบกรรไกรจะตัดเชือกที่มัดพัสดุ ท่านห้ามไว้โดยบอกว่า "อย่าตัด ค่อยๆ แก้...ถ้าไม่ตัด พอแก้เสร็จก็ใช้มัดอย่างอื่นได้อีก...คนไม่รู้จักแก้เชือก..ก็จะไม่รู้จักแก้ปัญหา" และ เต่าสำลีที่ท่านพับ โดยบรรจุพระธาตุข้าว และเกศานั้น เป็นสำลีที่ท่านเช็ดตาเมื่อเปลี่ยนคอนแท็คเลนส์ หรือบางทีท่านนำมาฝั้นเป็นเชือกไว้มัดคัมภีร์ธรรมใบลาน ท่านจะสอนให้พวกเรามัธยัสถ์ ไม่ฟุ่มเฟือย

เรื่องที่ ๒๖ พระธาตุข้าวบิณฑ์ ความเป็นมา หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เล่าไว้ว่า..ท่านเห็นในนิมิตว่า มีถ้ำแห่งหนึ่งในเขตอำเภอดอยเต่า มีพระธาตุสำคัญเกิดขึ้น สืบเนื่องจากในอดีตที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เทข้าวที่เหลือจากการฉันไว้ ณ บริเวณนั้น ด้วยพุทธานุภาพ ข้าวดังกล่าว ได้กลายเป็น พระธาตุข้าวบิณฑ์ หลวงปู่ฯ จึงอธิบายถึงบริเวณ และลักษณะพระธาตุข้าวบิณฑ์ ให้ชาวเขาไปค้นหา และก็เป็นไปตามที่ท่านได้บอกกล่าวจริงๆ ท่านจึงอธิษฐานจิต และ แจกจ่ายให้แก่ลูกหลานเก็บไว้ สักการะ

อานุภาพพระธาตุข้าวบิณฑ์ ท่านบอกไว้ว่า สามารถอาราธนาใส่น้ำเป็นน้ำมนต์ รักษาโรคภัยที่ไม่เหนือวิสัยได้ ใครที่มีไว้บูชา จะมีความคล่องตัว ไม่อดอยาก พระธาตุข้าวบิณฑ์ มีผลต่อผู้ที่เป็น สัมมาทิฐิบุคคล จะเสด็จมาเพิ่มเติม และลดจำนวนลงได้ รวมทั้งจะแตกหักเสียได้ เช่นกัน

เรื่องที่ ๒๗ ทิฆัจฉา ปรมะโรคา โรคหิวเป็นโรคอย่างยอด ในแต่ละวัน โรคหิว ปรากฏแก่เราอย่างน้อยๆ ก็ ๓ ครั้ง ๓ ครา อาหาร ช่วยประทังความหิว ไม่ให้ขันธ์ ๕ คือ ร่างกายสลาย.. ตายไป..การตั้งมั่น ตรงต่อพระนิพพาน ก็เช่นกัน จะหยุดยั้งในเรื่องทาน ศีล ภาวนา เพื่อให้เกิดปัญญา นั้น เราคงยังไม่สามารถก้าวเข้าถึงซึ่งพระนิพพานเป็นแน่ หากคิดว่าเราสร้างบุญใหญ่ยิ่งไว้แล้ว สร้างไว้มากแล้ว พอแล้ว อย่างนั้น ก็อาจจะเป็นการประมาทเกินไป กินข้าวมื้อหนึ่งอิ่มไปได้แค่ไหน บุญในทานศีลภาวนาก็เช่นกัน ต้องเติมพลังบุญ พลังอานิสงส์ตลอดเวลา หากเราคิดได้ดังนี้ ก็ได้ชื่อว่า ไม่ประมาท ใช่ไหมครับ

บุญบารมีแต่ละคนมีเพียงใดก็จะเข้าถึงได้ตามเกณฑ์นั้นๆ บารมีต้น บารมีกลาง (อุปปะ) ปรมัตถบารมี ย่อมแตกต่างกันไป บารมีต้น.. ก็ "ต้องเข็น" ก็นาน ยากหน่อย บารมีกลาง.. ก็เข้าเขตง่าย เพียงแค่บอกก็เกิดศรัทธา ปรมัตถ์.. ก็ยิ่งง่ายใหญ่ แค่ได้ข่าว มองเห็น ก็ทำเอง

หลวงปู่วงศ์ฯ ท่านเปรียบเทียบให้ฟัง ว่า....บารมีกลาง นี่.. มี บาท.. อยากทำ ๓ บาทคล้ายกันกับองค์หลวงพ่อฤาษีฯ ท่านก็กล่าว ไว้ว่า...."บารมี" มัน เร่งรัด กันได้.. ไม่ใช่มา นั่งรอ ตามบุญบารมีเดิมๆ หากเดินทางเท้าจาก กทม. ไป เชียงใหม่ มันก็นานเป็นเดือน หากหาทางเร่งบารมี "ซื้อ" (เร่งทำบุญ ทาน ศีล ภาวนา) ซื้อรถจักรยาน มอเตอร์ไซค์ รถเก๋ง หรือนั่งเครื่องบินไป อย่างนี้ก็เร็วกว่า ตรงกับ หลวงปู่วงศ์ฯ ที่ท่านกล่าว ว่า.. "บุญ" ต้องใช้ "เงิน" ซื้อ (ใช้กำลังใจ ตัด ความโลภ ของตนเอง)

คำตรัสสอนสุดท้าย ของ องค์สมเด็จพระประทีปแก้ว พระพุทธองค์ ก็ทรงตรัสสอนให้พวกเรา "ไม่ประมาท" นั่นเอง เมื่อใดที่ "พวกเรา" ยังไม่ถึง "พระนิพพาน" เพียงใดก็ตาม ขอคำว่า "ประมาท" อย่าได้บังเกิดแก่ "พวกเรา" ด้วยเทอญ.

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top