พระผงรูปเหมือน หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา เนื้อผง หลังตรายาง สภาพเก่าสวย -ศิลป์เจริญพร - webpra
VIP
"ร้านนี้พระเครื่องยุคเก่า สร้างโดยพระสุปฏิปันโน เจตนาการสร้างบริสุทธิ์ ที่นับถือบูชาได้อย่างสนิทใจ"

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระผงรูปเหมือน หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา เนื้อผง หลังตรายาง สภาพเก่าสวย

พระผงรูปเหมือน หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา เนื้อผง  หลังตรายาง สภาพเก่าสวย   - 1พระผงรูปเหมือน หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา เนื้อผง  หลังตรายาง สภาพเก่าสวย   - 2พระผงรูปเหมือน หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา เนื้อผง  หลังตรายาง สภาพเก่าสวย   - 3
ชื่อร้านค้า ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระผงรูปเหมือน หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา เนื้อผง หลังตรายาง สภาพเก่าสวย
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า 500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.)
อีเมล์ติดต่อ เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อขอเช่าพระมาจำนวนมากต่อวัน ดังนั้นเช่าผ่านLINE จะติดต่อง่ายและสะดวกสุดครับ
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ จองแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 24 มี.ค. 2563 - 20:56.21
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 17 ก.ย. 2564 - 15:17.32
รายละเอียด
**รหัส ศ.ร.๑๓๘๑๔
พระผงรูปเหมือน หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา เนื้อผง หลังตรายาง สภาพเก่าสวย
พระวิสุทธาจารเถร นามเดิมชื่อ เทียม หาเรือนศรี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2447 ขึ้น 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ณ ตำบลบ้านป้อม หมู่ 7 อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายสุ่น และนางเลียบ อาชีพทำนา เริ่มต้นการศึกษาภาษาไทยกับพระภิกษุมอญและอาจารย์ปิ่นที่วัดกษัตรานี่เอง ควบคู่ไปกับการเรียนวิชาช่างทั้งการเขียนและการแกะสลัก ต่อมาได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์อาจารย์จันทร์เพื่อเรียนภาษาขอม อายุ 15 จึงได้ลาไปช่วยบิดาทำนา แต่ด้วยเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้จึงได้เรียนวิชาต่างๆ มากมาย โดยเริ่มเรียนวิชาไสยศาสตร์แบบลงผงลงยันต์กับลุงชื่ออาจารย์ทรัพย์ เรียนวิชาธาตุกสิณกับนายเงิน วิชาประดับตกแต่ง ก่อสร้าง กับนายชมและนายเชย วิชากระบี่กระบองกับบิดา การเป่าปี่ชวากับพี่ชาย จนสามารถออกแสดง ตามงานพิธีต่างๆ ควบคู่กับการรับจ้างเป็นช่างไม้ นอกจากนั้นได้หัดแกะ หนังใหญ่และแสดงได้ ต่อมาเมื่ออายุครบอุปสมบท พระครูวินยานุวัติคุณ เจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ ไปศึกษาปฏิบัติธรรม ณ สำนักเรียนวัดประดู่ทรงธรรม และวิชาที่สำนักอื่นจนถึงพรรษาที่ 9 จึงได้กลับมาอยู่ที่วัดกษัตราธิราช จนเมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลงในช่วงปี พ.ศ. 2487 ในขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระใบฎิกา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสแกครองสงฆ์และสร้างความเจริญแก่วัดจวบจนสิ้นอายุขัย เมื่อ วันที่ 20 เดือนธันวาคม 2522 อายุ 75 ปี 55 พรรษา “หลวงปู่เทียม” นับเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณที่รู้จักกันดีของชาวพระนครศรีอยุธยามาช้านานแล้วและยอมรับว่าท่านเป็นผู้สำเร็จ “ตำราพิชัยสงคราม” ของ “สมเด็จพระพนรัตน์” แห่งวัดป่าแก้วซึ่งเป็นพระอาจารย์ของ “พระมหากษัตริย์ยอดนักรบไทย” ซึ่งก็คือ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ผู้ทรงคุณอันประเสริฐและยิ่งใหญ่ในแผ่นดินไทยและเหตุที่บอกว่า “หลวงปู่เทียม” สำเร็จ “ตำราพิชัยสงคราม” ก็เพราะท่านนับเป็นผู้ที่มีความเพียรพยายามศึกษา“ตำราพิชัยสงคราม” ซึ่งสืบทอดมาจาก “สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว” ที่ตกทอดมาถึง “วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” เพราะเป็นวัดที่มีสำนักเรียนตำราพิชัยสงครามสืบทอดมาแต่ครั้งกรุงเก่าซึ่งมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ สำเร็จการศึกษาพระเวทวิทยาคมอันเป็นส่วนหนึ่งของตำราพิชัยสงคราม (ตำราพิชัยสงครามก็คือตำราที่ว่าด้วยความมีชัยชนะในการต่อสู้ และการต่อสู้ในที่นี้หมายถึงการต่อสู้ในราชการสงคราม) มากมายหลายท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็คือ “พระพุทธพิถีนายก (บุญ ขันธโชติ)” หรือที่นักสะสมทั่วไปเรียกท่านว่า “หลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว” อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม รวมทั้ง “หลวงพ่อน้อยวัดธรรมศาลา” อ.เมือง จ.นครปฐม โดยเฉพาะ “หลวงพ่อน้อยวัดธรรมศาลา” รูปนี้ก็ได้เคยบอกต่อศิษย์เอกของท่านผู้หนึ่งที่มีตำแหน่งเป็น “ผู้พิพากษา” แต่สนใจในเรื่องของวิทยาคมและวัตถุมงคลที่เคยเรียนถามท่านว่า “เมื่อสิ้นหลวงพ่อน้อยแล้วจะมีพระคณาจารย์รูปใดอีกที่พอจะพึ่งพาด้านวิทยาคมบ้าง” หลวงพ่อน้อยก็ตอบว่าให้ไปหา “หลวงปู่เทียมวัดกษัตราธิราช” และต่อมาท่านผู้พิพากษาก็เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่เทียมตามคำแนะนำของ “หลวงพ่อน้อย” หลังจากที่ท่านสิ้นแล้ว ทางด้านกิตติคุณของ “หลวงปู่เทียมวัดกษัตราธิราช” เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีความสามารถหลายด้านทั้ง การก่อสร้าง, การต่อสู้ด้วยหมัดมวยกระบี่กระบอง, ช่างลงรักปิดทอง, ช่างฉลุหนัง” รวมทั้ง “ช่างดอกไม้เพลิง” ก็ชำนาญแม้กระทั่งงานช่างที่เรียกว่า “ช่างสิบหมู่” ก็ทำได้เช่นกันซึ่งท่าน “พระครูพิศาลกิจจาทร” แห่ง วัดเกาะแก้วอรุณคาม อ.วิหารแดง จ.สระบุรี ซึ่งเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเล่าว่า “มีอยู่ครั้งหนึ่งที่หลวงปู่เทียมทำการบูรณะพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่ชำรุดเอนเอียงแตกร้าวจะล้มมิล้มแหล่ด้วยวิธี “ขันชะเนาะ” โดยพระพุทธรูปดังกล่าวหากเป็นสมัยนี้ก็จะต้องทุบทำลายทิ้งแล้วสร้างขึ้นใหม่แต่ด้วยจิตวิญญาณความเป็นช่างของ “หลวงปู่เทียม” ท่านกลับเลือกวิธี “ขันชะเนาะ” ด้วยความอดทนวันละเล็กละน้อยในที่สุดก็ฉุดเอาพระพุทธรูปองค์นั้นตั้งตรงได้ แล้วบูรณะให้มีสภาพสมบูรณ์ดุจเดิมพร้อมทำการลงรักปิดทองสวยงามมากขึ้น” นอกจากนี้ยังทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและเสนาสนะของวัดกษัตราธิราชโดยเฉพาะ “พระอุโบสถมหาอุตม์” อันเป็นศิลปะสถาปัตยกรรมสมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลวงปู่เทียมก็ใช้ความรู้ความสามารถบูรณะรักษาพระอุโบสถหลังนี้ให้คงทนถาวรมาถึงปัจจุบันซึ่งมีอายุกว่า ๔๐๐ ปี จากความสามารถเชิงช่างโดยเฉพาะ “ช่างสิบหมู่” ของหลวงปู่เทียมความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง “โรงเรียนศูนย์ฝึกอาชีพการช่างสิบหมู่ของไทย” ไว้ในบริเวณวัดกษัตราธิราชและทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์พร้อมให้อยู่ในความดูแลของหลวงปู่เทียม แต่เป็นที่น่าเสียดายหลังจากหลวงปู่เทียมมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ อนึ่ง ชื่อเสียงของท่านเลื่องลือมาก โดยเฉพาะในปี 2506 ในพิธีหล่อพระที่ “วัดประสาทบุญญาวาส” จัดสร้างพร้อมนำ “แผ่นจารอักขระ” ของ “คณาจารย์จากทั่วประเทศ” มาหล่อหลอมด้วยไฟแรงสูงเพื่อเทหล่อสร้างพระของวัดประสาทฯ ปรากฏว่า “แผ่นจารอักขระ” ของคณาจารย์อื่น ๆ ล้วนหลอมละลายหมดยกเว้นของ “หลวงปู่เทียม” เท่านั้นที่ไม่ยอมหลอมละลายเลยจึงสร้างความ “อัศจรรย์ใจ” ให้ผู้อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นทั่วหน้า ***** // <<< ทูลเกล้าฯถวายตะกรุด >>> ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงบำเพ็ญพระราช กุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ วัดศีลขันธาราม ตำบลอ่างแก้ว อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2517 // ท่านจึงมอบให้พระสำรวย ฐิตปุญโญ รองเจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช นำรูปจำลองของท่านพร้อมด้วยตะกรุดมหาระงับแบบพิสดาร ลงตามตำรับเดิมของ วัดประดู่ทรงธรรม เป็นโลหะตะกั่วถักด้วยด้ายและลงรักปิดทอง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ยาม 12 นิ้ว ขึ้นทูลเกล้าถวายแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 //

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top