พระประธานพร ภูทราวดี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 เพื่อแจกจ่ายให้ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนทั่วไป -ศิลป์เจริญพร - webpra
VIP
"ร้านนี้พระเครื่องยุคเก่า สร้างโดยพระสุปฏิปันโน เจตนาการสร้างบริสุทธิ์ ที่นับถือบูชาได้อย่างสนิทใจ"

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระประธานพร ภูทราวดี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 เพื่อแจกจ่ายให้ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนทั่วไป

พระประธานพร ภูทราวดี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 เพื่อแจกจ่ายให้ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนทั่วไป  - 1พระประธานพร ภูทราวดี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 เพื่อแจกจ่ายให้ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนทั่วไป  - 2พระประธานพร ภูทราวดี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 เพื่อแจกจ่ายให้ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนทั่วไป  - 3
ชื่อร้านค้า ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระประธานพร ภูทราวดี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 เพื่อแจกจ่ายให้ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนทั่วไป
อายุพระเครื่อง 61 ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า 500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.)
อีเมล์ติดต่อ เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อขอเช่าพระมาจำนวนมากต่อวัน ดังนั้นเช่าผ่านLINE จะติดต่อง่ายและสะดวกสุดครับ
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 13 ม.ค. 2564 - 20:25.45
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 13 ม.ค. 2564 - 20:25.45
รายละเอียด
**รหัส ศ.ร.๑๕๔๔๕
พระประธานพร ภูทราวดี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 เพื่อแจกจ่ายให้ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนทั่วไป เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการของ พล.ต.ท.ประชา บูรณธนิต และ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช

มวลสารที่ ใช้สร้างเป็น ดิน ผง และว่านศักดิ์สิทธิ์ที่รวบรวมกันมาจากทั่วประเทศ และทำพิธีปลุกเสกครั้งแรกที่ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช(วัดพระบรมธาตุ) โดยคณาจารย์สายใต้และเกจิสายเขาอ้อ เช่น อ.นำ วัดดอนศาลา, อ.ปาล วัดเขาอ้อ, อ.คง วัดบ้านสวน, อ.หมุน วัดเขาแดงตะวันออก

พิธีปลุกเสกครั้ง 2 ที่องค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 24 เม.ย.2506 โดยคณาจารย์สายภาคกลาง เช่น หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม, หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลาฯลฯ โดยหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และโยงสายสิญจน์มาจากองค์พระร่วงโรจนฤทธิ์ด้วย

พระเนื้อดินสีน้ำตาล ปางประทานพรยกพระหัตถ์ขวา มีขนาดประมาณ 1.2 X 3.5 ซม. ด้านหลังประทับยันต์อุณาโลม

พระเครื่องชุดภูธราวดี ปี 2506 พุทธลักษณะเป็นพระปางห้ามญาติซึ่งเลียนแบบพุทธลักษณะมาจากพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านหลังมียันต์ตัว "นะ"ขึ้นยอดเป็นอุนาโลมอยู่ในกรอบรูปสามเหลี่ยมลักษณะคล้ายพระเจดีย์มีขนาดกว้างประมาณ1 ซม. สูงประมาณ 2.3 ซม. มีทั้งสีน้ำตาลแบบเนื้อดินผสมว่านและสีดำแบบว่านผสมผงซึ่งส่วนผสม สำคัญ ๆ ของพระเครื่องเนื้อดินผสมผงชุดภูธราวดี ได้แก่ 1. ดินจากสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่งในประเทศอินเดีย, 2.ว่านสำคัญ ทั้งว่านยา ว่านไสยศาสตร์ ยาแก้ยากันต่าง ๆ และว่านหายากชนิดต่าง ๆ ประมาณ 400 ชนิด, 3.ดินจากหลักเมืองและจากภูเขา หรือสถานที่ชื่อเป็นมงคลทั่วราชอาณาจักร, 4.ตะไคร่จากพระเจดีย์องค์สำคัญ ๆ เช่นจากพระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐม , จากวัดบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ฯลฯ, 5.พระผงแตกหักจากพระสมเด็จฯ ผงแตกหักจากพระนางตรา , ผงจากพระ๕ณาจารย์ทั่งราชอาณาจักรที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น(พศ.2505-2506 ) ตลอดจนน้ำพระพุทธมนต์จากพิธีสำคัญ ต่าง ๆ ในการจัดสร้างพระพิมพ์พระร่วงโรจน์ฤทธิ์,จำนวนการสร้างทั้งหมดประมาณ 168,000 องค์ ทุก ๆ 100 องค์จะมีพระคะแนนที่เป็นพิมพ์พิเศษแตกต่างออกอีกไป 1 องค์ เช่น พระพิมพ์พระนางตรา , พระพิมพ์ทวารวดี, พระพิมพ์วัดประตูทอง เป็นต้น รวมจำนวนพระพิมพ์คะแนนพิมพ์ละประมาณไม่เกิน 1,680 องค์ นอกจากนี้ยังมีพิมพ์พิเศษที่มีจำนวนน้อยยิ่งกว่า พิมพ์คะแนน อันได้แก่ พิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งไม่ถูกระบุในประวัติการจัดสร้าง ตลอดจนพระกริ่ง และ พระบูชาภูธราวดี หน้าตัก 5 นิ้ว ที่ไม่สามารถระบุจำนวนการสร้างที่แน่ชัดได้ ส่วนผสมที่สำคัญสำหรับการหล่อพระกริ่งและพระบูชาธวารวดีซึ่งเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีเฉพาะเนื้อนวะโลหะได้แก่ 1.ทองคำ, 2. เงิน, 3. ทองแดง, 4.ดีบุก, 5.พลวง, 6.สังกะสี, 7.เจ้าน้ำเงิน, 8.เหล็กละลายตัว, 9.เหล็กธรรมดาและเหล็กไหล, ซึ่งก่อนการจัดสร้างพระเนื้อโลหะได้มีการจัดส่งทั้งแผ่นเงิน,ทอง,นาค,เงิน,ดีบุก ให้คณาจารย์ต่าง ๆ ทั้งที่มาเข้าร่วมในพิธีด้วยตนเอง และไม่ได้เข้าร่วมพิธีลงจารอักขระมาด้วย พิธีพุทธาภิเศกของพระชุดภูทราวดี มีทั้งสิ้น 3 ครั้งด้วยกันได้แก่ -ครั้งที่1 และครั้งที่2 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยทั้งการกดพิมพ์พระเนื้อดิน และหล่อพระเนื้อโลหะต้องเตรียมการและจัดทำกันอยู่เป็นเดือน ๆ โดยผู้ที่กดพิมพ์ มีทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือน ข้าราชการ ผู้ที่กดพิมพ์และช่วยหล่อพระจะต้องนุ่งห่มขาว รับศีลสมาทานทุกวัน หากผู้ใดออกนอกปะรำพิธี ก่อนกลับเข้าในพิธี ต้องประพรมน้ำพระพุทธมนต์ก่อน รวมถึงต้องรับศีลใหม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องถือพรมจรรย์ ห้ามรับของต่อจากมือผู้หญิงรวมถึงห้ามคนนอกและผู้หญิงเข้าใกล้ในเขตพิธีด้วย เมื่อเข้าที่เป็นที่เรียบร้อย จึงใช้ไม้ที่มีนามเป็นมงคลลงเลขอักขระเป็นเชื้อเพลิง เมื่อสุมไฟได้ที่ จะต้องมีพระสวดชัยมงคลคาถา 9 รูป เมื่อนำพระขึ้นมาจะต้องประพรมด้วยน้ำมันจันทร์หอมอย่างดีจึงจะนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเศกต่อไป( เป็นเรื่องแปลกที่ขณะที่จัดสร้างพระชุดนี้ได้เกิดมหาวาตภัยขึ้นที่แหลมตะลุมพุก วิหารทั่วไปในวัดล้วนได้รับความเสียหายแต่ภายในเขตพิธีอันได้แก่ วิหารหลวง ไม่มีสิ่งใดได้รับความเสียหายเลยแม้แต่กระเบื้องมุงหลังคาสักแผ่นเดียว ครั้งที่ 3 ทำพิธีพุทธาภิเศกที่จังหวัดนครปฐม มีทั้งพราหมณ์ พระไทย พระจีน พระญวน ในนิกายต่าง ๆ รายนามพระคณาจารย์ต่าง ๆ เท่าที่รวบรวมได้ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเศกของพระเครื่องชุดภูธราวดีได้แก่
1.สมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประธานพิธีที่หน้าองค์พระปฐม เมื่อ 24 เมษายน 2506,
2.พระมหาวีรวงศ์-พิธีเดียวกับสมเด็จพระสังฆราช,
3.พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ,
4.พระอาจารย์คง วัดบ้านสวน,
5.หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก,
6.อาจารย์นำ วัดดอนศาลา ( ขณะเข้าพิธียังเป็นฆราวาสอยู่และมีรูปถ่ายปรากฏเป็นหลักฐาน), 7.หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม,
8.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา,
9.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลาบางแก้ว,
10. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ฯลฯ
นอกจากนี้มีเกจิฯ อีกมากมายที่สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top