สมเด็จหลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส กรุงเทพฯ พิมพ์ใหญ่ หลังยันต์แดง พระชุดนี้ประวัติว่าเป็นพระปี 2502 -ศิลป์เจริญพร - webpra
VIP
"ร้านนี้พระเครื่องยุคเก่า น้อมบูชาคุณ พระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พุทธคุณ ล้ำค่ายิ่งทางใจ"

หมวด พระสมเด็จทั่วไป

สมเด็จหลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส กรุงเทพฯ พิมพ์ใหญ่ หลังยันต์แดง พระชุดนี้ประวัติว่าเป็นพระปี 2502

สมเด็จหลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส  กรุงเทพฯ พิมพ์ใหญ่ หลังยันต์แดง  พระชุดนี้ประวัติว่าเป็นพระปี 2502   - 1สมเด็จหลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส  กรุงเทพฯ พิมพ์ใหญ่ หลังยันต์แดง  พระชุดนี้ประวัติว่าเป็นพระปี 2502   - 2สมเด็จหลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส  กรุงเทพฯ พิมพ์ใหญ่ หลังยันต์แดง  พระชุดนี้ประวัติว่าเป็นพระปี 2502   - 3สมเด็จหลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส  กรุงเทพฯ พิมพ์ใหญ่ หลังยันต์แดง  พระชุดนี้ประวัติว่าเป็นพระปี 2502   - 4สมเด็จหลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส  กรุงเทพฯ พิมพ์ใหญ่ หลังยันต์แดง  พระชุดนี้ประวัติว่าเป็นพระปี 2502   - 5
ชื่อร้านค้า ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง สมเด็จหลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส กรุงเทพฯ พิมพ์ใหญ่ หลังยันต์แดง พระชุดนี้ประวัติว่าเป็นพระปี 2502
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระสมเด็จทั่วไป
ราคาเช่า 2,500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.)
อีเมล์ติดต่อ เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อเช่าพระจำนวนมาก ดังนั้นเช่าผ่านLINE ID : @870rqvth จะติดต่อง่ายสะดวกสุดครับ
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 06 ก.ค. 2566 - 20:39.12
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 09 ก.ค. 2566 - 20:53.10
รายละเอียด
**รหัส ศ.ร.๒๐๒๒๒
สมเด็จหลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส กรุงเทพฯ พิมพ์ใหญ่ หลังยันต์แดง พระชุดนี้ประวัติว่าเป็นพระปี 2502 แต่เปิดกรุนำมาแจกในปี 2519 โดยปั๊มยันต์แดงไว้ด้านหลัง แต่ที่เคยเห็นสายตรงโพสไว้ พระที่เปิดกรุมีจำนวนหนึ่ง ซึ่งจำนวนน้อยมากๆ(ยังไงก็ไม่พอให้บูชาอย่างทั่วถึงตามต้องการ) ในพิธี ก็จึงมีการนำสมเด็จที่สร้างในปี อื่นๆ มาปั๊มให้บูชารวมไปด้วย องค์นี้ ตามเนื้อหาเป็นสมเด็จ ปี 2512

ประวัติการสร้างพระสมเด็จ หลวงพ่อลำภู คงคฺปัญโญ
สำหรับประวัติการสร้างพระสมเด็จของหลวงปู่ลำภู มีดังนี้
นับจากอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2500 ทางวัดใหม่อมตรส(บางขุนพรหม) ได้ทำพิธีเปิดกรุเจดีย์ภายในวัดอย่างเป็นทางการ ซึ่งภายในเจดีย์บรรจุพระเครื่องที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ในช่วงก่อนหน้าจะเปิดกรุนั้นเจดีย์เกิดชำรุดผุพัง สาเหตุเพราะมีคนแอบมาตกพระสมเด็จออกจากเจดีย์ จนทางวัดต้องเปิดเจดีย์นำพระออกมาให้บูชา ซึ่งพระในเจดีย์ก็มีทั้งสภาพที่ดีและชำรุดแตกหัก แต่ทางคณะกรรมการวัดได้คัดเอาพระสภาพที่ดีออกให้บูชา ส่วนพระที่หักหรือชำรุด ทางวัดไม่ได้ให้ห้ความสำคัญนัก หลวงปู่ลำภูท่านจึงได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่กุฏิของท่าน ในสมัยนั้น หลวงปู่ลำภู ดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส ท่านเป็นหนึ่งในกรรมการในการเปิดกรุสมเด็จบางขุนพรหม พอผู้คนและบรรดาลูกศิษย์ทราบก็มาขอท่านอยู่บ่อยๆ จนท่านได้ตัดสินใจ นำพระสมเด็จบางขุนพรหมที่หักมาบด แล้วนำมาผสมผงมวลสารผงวิเศษต่างๆที่ท่านมีและจัดเตรียมไว้ นำมาผสมสร้างเป็นพระสมเด็จปี 2502 ทุกพิมพ์จะหลังเรียบทั้งหมด จึงเป็นปฐมบทของการสร้างพระสมเด็จของท่าน ที่วัดบางขุนพรหม(ใหม่อมตรส)

แบบพิมพ์พระสมเด็จของพระสมเด็จ หลวงปู่ลำภู
จากคำบอกเล่าของ พระครูสุทธิธรรมากร หรือ หลวงตาประยูร ปัญญาภรโณ เจ้าอาวาสวัดไก่จ้น ท่านเป็นบุตรลูกบุญธรรมของหลวงปู่ลำภู) กล่าวว่า ช่างที่แกะพิมพ์พระสมเด็จให้ หลวงปู่ลำภู คือ "นายเสน่ห์" ลูกศิษย์หลวงปู่ลำภู ที่เคยบวชอยู่กับท่านได้แกะพิมพ์พระสมเด็จถวายไว้ โดยล้อแบบพิมพ์เค้าโครงจากพระสมเด็จบางขุพหมกรุเก่า มีre-buildพิมพ์ใหม่ ทั้งหมดมี 11 พิมพ์คือ
1.พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม 2.พิมพ์ใหญ่ 3.พิมพ์ใหญ่ต้อ 4.พิมพ์อกครุฑ 5.พิมพ์ฐานคู่ 6.พิมพ์ฐานแซม 7.พิมพ์เส้นด้าย 8.พิมพ์ปรกโพธิ์ 9.พิมพ์คะแนน 10.พิมพ์จันลอย 11.พิมพ์ไสยาสน์
ส่วนพิมพ์ไสยาสน์ หลวงปู่ลำภู ท่านสร้างไว้น้อยมากๆ ท่านแจกลูกศิษย์ไปไม่กี่องค์ และพระที่เหลือท่านได้นำลงฝังกรุที่วัดบางขุนพรหม
แบบพิมพ์11 พิมพ์ที่แจ้งไว้นี้ บล็อคแม่พิมพ์เป็นแบบกดมือตัดด้วยมือ
รอยจารที่ปรากฎที่หลังองค์พระสมเด็จ
เท่าที่สังเกตพระที่หลวงปู่ลำภูจารให้นั้น ท่านจะจารแค่เลข ๙ เท่านั้น และต้องเป็นเลข ๙ ไทยเท่านั้นด้วย(อันนี้หลวงตาประยูร confirm)
มวลสาร,เนื้อและลักษณะ ของพระสมเด็จ หลวงปู่ลำภู
มวลสาร: ทุกครั้งที่มีการสร้างพระสมเด็จ การตำผงกดพิมพ์พระสมเด็จ ลูกศิษย์ของหลวงปู่ลำภูท่านได้ช่วยกันทำทุกครั้งที่มีการจัดทำพระสมเด็จ หลวงปู่ลำภูท่านจะถามว่าวันนี้จะสร้างพระจำนวนเท่าไหร่ จากนั้นท่านก็จะนำเศษพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่าที่หักให้โดยประมาณจำนวนในการสร้างของวันนั้ เพื่อนำมาบด แล้วนำมาผสมผงอิทธิเจปถมัง ว่านเกสร108 ดอกไม่ผงขี้ธูปจากรูปเหมือนบูชาสมเด็จโต มวลสารผงวิเศษต่างๆที่ท่านมีและจัดเตรียมไว้
ลักษณะเนื้อพระ: มีหลักอยู่3แบบ คือเนื้อผงสีขาวเนือใบลานเผาสีดำ และเนื้อผงโซนสีเขียว(เข้มหรือเขียวขี้ม้า)
ลักษณะด้านหลังพระสมเด็จ:จะมีอยู่3แบบ คือ แบบแรกหลังเรียบแบบสองหลังเป็นแอ่งร่องหลุมและแบบสามหลังเป็นรูปยันต์ลึกลงไป
ด้วยพระสมเด็จเนื้อผงที่ท่านสร้างนี้ ในช่วงแรกๆ เป็นการสร้างไปเรื่อยๆ มีเวลาว่างก็เกณฑ์ลูกศิษย์ มาบดและกดพระกันจึงทำให้พระมีความหลากหลายในเนื้อพระ ตรงนี้จะไปขยายใน ตอนที่3:บทวิเคาระห์ นะครับ

ลักษณะการบรรจุเก็บพระสมเด็จ:การบรรจุพระของท่าน ที่สร้างในวัดใหม่อมตรส มี3แบบคือ
1.ฝังกรุใต้ต้นโพธิ์: ในยุคแรกๆท่านจะนำพระสมเด็จใส่ตุ่มใบใหญ่ ปิดผนึกฝาตุ่มและนำไปขุดดินฝังที่ใต้ต้นโพธิ์ ตรงบริเวณหน้ากุฏิท่าน
2.ตุ่มลายมังกร(ใส่น้ำมนต์): ตุ่มมังกรน้ำมนต์นี้จะอยู่บนหน้ากุฏิท่าน ในคราที่ พระลูกวัดและลูกศิษย์มาช่วยที่กดสร้างพระเสร็จ พอพระตากแห้งแล้วบางส่วนพระสมเด็จที่จัดทำ ท่านจะนำไปหย่อนลงในตุ่มน้ำมนต์หน้ากุฏินี้ พร้อมทั้งนำเศษผงพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่าที่ตำละเอียดแล้วไปโรยทับอีกที
3.พระแจกกับมือท่านเอง ไม่มีการลงกรุหรือลงตุ่ม ท่านจะนำมาหยิบแจกให้กับลูกศิษย์ที่มากราบไหว้ท่านและผู้ที่เคารพนับถือ
ช่วงเวลาการสร้างพระสมเด็จ หลวงปู่ลำภู
ในช่วงปี พ.ศ. 2502 หลวงปู่ลำภูท่านได้มีการสร้างพระสมเด็จเรื่อยมา
ในช่วงปี พ.ศ.2514-16 หลวงปู่ลำภูท่านได้มีการสร้างพระสมเด็จ พระที่สร้างในยุคนี้ จะมีพิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์จันลอย พิมพ์คะแนน แต่บล็อคแม่พิมพ์จะมีการผสมผสานทั้งสองแบบคือ เป็นบล็อคกดมือแบบเดิมที่มีอยู่แล้ว และแบบบล็อคทองเหลือง(ด้านหลังจะมียันต์ใบพัด ใต้ยันต์มีคำว่า"หลวงพ่อลำภู" กดจมลึกลงไปในเนื้อพระ) ในวงการเรียกว่า พระสมเด็จพิมพ์เกศจรดซุ้มหลังยันต์จม แล้วก็ยังมีเหรียญรูปไข่รุ่นแรกพิมพ์นั่งสมาธิเต็มองค์และเม็ดแตงอีก แล้วหลวงปู่ลำภูยังได้เชิญพระสหายธรรมและพระที่นับถือมาร่วมพุทธาภิเษกที่กุฏิของท่านอีกด้วย ส่วนเหรียญรุ่นที่ 2 นั้น หลวงปู่ลำภูออกเมื่อปี พ.ศ.2515 เป็นเหรียญรูปไข่ ต่อมาก็สร้างพระสมเด็จ ปี 2516, ปี 2517 นั้นได้ไปออกที่วัดไก่จ้น

ในช่วงปี พ.ศ.2519 หลวงปู่ลำภู ท่านได้เปิดกรุพระ(พระยุคปี2502)ในกุฏิของท่าน นำพระออกมาแจกให้ลูกศิษย์ แต่ท่านดูแล้วว่าคงจะไม่พอ จึงได้สร้างพระเพิ่มขึ้นมาอีก และได้ทำตรายางปั๊มที่ด้านหลังเพื่อบอก ปีพ.ศ.มาปั๊มประทับตราไว้ที่พระ ตรายางที่ประทับไวจะเป็นสีแดง เป็นการประทับตราไว้เพื่อจะนำไปลงกรุที่วัดไก่จ้น โดยหมึกสีแดง(เลือดนก)ที่ใช้นี้เป็นหมึกพิมพ์ผ้าที่ลูกศิษย์ท่านนำมาถวาย ***เพราะฉะนั้นพระรุ่นนี้จึงมีทั้งพระสมเด็จปี2502 ฝังกรุไม่ปั๊มตรา และพระสมเด็จปี2502 ฝังกรุปั๊มตรา และพระสมเด็จใหม่ปั๊มตราปี 2519 เอาไว้ ส่วนพระพิมพ์คะแนนนั้นไม่ได้ปั๊มตราเลย *** พระชุดหลังตรายางแดงนี้มีจำนวนน้อยมาก ปัจจุบันพบหาได้ยาก

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top