พระสมเด็จพิมพ์สามเหลี่ยม พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ปี ๒๔๙๕ เป็นสุดยอดพระสมเด็จ ที่ปลุกเสกพิธีใหญ่ -ศิลป์เจริญพร - webpra
VIP
"ร้านนี้พระเครื่องยุคเก่า น้อมบูชาคุณ พระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พุทธคุณ ล้ำค่ายิ่งทางใจ"

หมวด พระสมเด็จทั่วไป

พระสมเด็จพิมพ์สามเหลี่ยม พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ปี ๒๔๙๕ เป็นสุดยอดพระสมเด็จ ที่ปลุกเสกพิธีใหญ่

พระสมเด็จพิมพ์สามเหลี่ยม พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ปี ๒๔๙๕  เป็นสุดยอดพระสมเด็จ ที่ปลุกเสกพิธีใหญ่   - 1พระสมเด็จพิมพ์สามเหลี่ยม พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ปี ๒๔๙๕  เป็นสุดยอดพระสมเด็จ ที่ปลุกเสกพิธีใหญ่   - 2พระสมเด็จพิมพ์สามเหลี่ยม พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ปี ๒๔๙๕  เป็นสุดยอดพระสมเด็จ ที่ปลุกเสกพิธีใหญ่   - 3พระสมเด็จพิมพ์สามเหลี่ยม พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ปี ๒๔๙๕  เป็นสุดยอดพระสมเด็จ ที่ปลุกเสกพิธีใหญ่   - 4พระสมเด็จพิมพ์สามเหลี่ยม พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ปี ๒๔๙๕  เป็นสุดยอดพระสมเด็จ ที่ปลุกเสกพิธีใหญ่   - 5
ชื่อร้านค้า ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จพิมพ์สามเหลี่ยม พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ปี ๒๔๙๕ เป็นสุดยอดพระสมเด็จ ที่ปลุกเสกพิธีใหญ่
อายุพระเครื่อง 73 ปี
หมวดพระ พระสมเด็จทั่วไป
ราคาเช่า 15,000 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.)
อีเมล์ติดต่อ เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อเช่าพระจำนวนมาก ดังนั้นเช่าผ่านLINE ID : @870rqvth จะติดต่อง่ายสะดวกสุดครับ
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 06 ม.ค. 2568 - 20:39.06
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 08 ม.ค. 2568 - 22:55.57
รายละเอียด
**รหัส ศ.ร.๒๓๙๘๓
พระสมเด็จพิมพ์สามเหลี่ยม พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ปี ๒๔๙๕ เป็นสุดยอดพระสมเด็จ ที่ปลุกเสกพิธีใหญ่ เป็นสุดยอดพิธีที่ครบถ้วน อีกหนึ่งพิธีของเมืองไทย

**** องค์นี้คือ องค์ดารา ในตำนานของคุณณรงค์ ลิ้มประยูร ในหนังสือ ซึ่งองค์นี้เคยผ่านการประกวดได้ ที่ 1 มาแล้วครับ (ตามรูปหนังสือเลยครับ รูปนี้มีการใช้อ้างอิงตามหน้าwebต่างๆมานานแล้ว แต่องค์จริงๆอาจยังไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน) ปัจุบันพระเลี่ยมทองสวยมากครับ ของรักของหวังอีกชิ้นหนึ่ง



สร้างโดยพระครูสังฆ์เงิน (ต่อมาดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอินทรสมาจาร) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร รูปที่ ๓ ต่อจากพระครูธรรมานุกูล (หลวงปู่ภู จนฺทเกสโร) ศิษย์คู่บุญบารมีของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) ผู้มีอายุยืนถึง ๑๐๔ ปี
พลตำรวจเอก เผ่าศรียานนท์ อธิบดีตำรวจในสมัยนั้น เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๕ มวลสารที่นำมาสร้างเป็นมวลสารที่เหลือจากการสร้างพระในปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ ส่วนใหญ่ รู้จักกันในนามสมเด็จพระครูสังฆ์ วัดอินทร์
ตัวท่านเองประวัติของท่านแปลกมากตรงที่ เป็นพระที่มาที่วัดแล้วมาหาหลวงปู่ภูและ บอกหลวงปู่ภูว่า สมเด็จโตให้ฉันมาสร้างพระ ซึ่งหลวงปู่ภูท่านก็เห็นชอบด้วย จึงให้ดำเนินการสร้างพระชุดแรกขึ้นมาโดยเอาแม่พิมพ์เก่าของหลวงปู่ภูมาสร้าง ส่วนรุ่นนี้ใช้เชื้อพระเก่ามวลสารดีๆมากมาย พิธีใหญ่ระดับประเทศ
ชนวนมวลสารที่นำมาผสม มีดังนี้
- ผงวิเศษดั้งเดิมของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่ท่านนำมาจากเศษพระพิมพ์สมเด็จที่ชำรุด
- ผงตะไบพระกริ่งวัดสุทัศน์ ครั้งหล่อพระกริ่ง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๕
- ผงสมเด็จที่มอบให้แก่หลวงปู่ภูวัดอินทรวิหารรักษาไว้
- ผงของหลวงพ่อเดิม จังหวัดนครสวรรค์
- ผงวิเศษจากสำนักของพระอาจารย์ต่างๆ ที่ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพุทธาภิเษก เป็นต้น
มีสรรพวัตถุวิเศษ ที่จะประมวลเข้าในพิธีกรรมสร้างพระพิมพ์หลายหลาก มีดังนี้
- ผงเกษรดอกไม้
- ผงเกษรบุนนาค
- ผงเกษรบัวหลวง
- ผงเกษรสาภี
- ผงเกษตรพิกุล
- ผลซิงอ๊อกไซด์
- ปูนขาว
- กระดาษฟาง
- น้ำมันมะพร้าว
- ดินสอพอง
- น้ำมันก๊าซ
- น้ำอ้อย
เครื่องตำมี ครก สากหิน แผ่นกระเบื้อเคลือบสำหรับกดแม่พิมพ์ มีดทองเหลือสำหรับตัดพระพิมพ์ ๘๔,๐๐๐ องค์ และถาดสำหรับรองพระพิมพ์เพื่อผึ่งในร่ม (ไม่ใช่ผึ่งแดด )ให้แห้ง
รายนามพระเกจิอาจารย์ ที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษก ชนวนมวลสาร ใน วันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ดังนี้
พระเทพเวที / วัดสามพระยา
พระภาวนาโกศล / วัดปากน้ำ
พระราชโมฬี / วัดระฆัง
พระภาวนาวิกรม / วัดระฆัง
พระศรีสมโภช / วัดสุทัศน์ฯ
พระอาจารย์ แฉ่ง / วัดบางพัง
พระครูวินัยธร / วัดสัมพันธวงศ์
พระครูสรภัญญประกาศ / วัดโปรดเกศ
หลวงพ่อแทน / วัดธรรมเสน ราชบุรี
พระอาจารย์พลี / วัดสวนพลู
พระครูอาคมสุนทร / วัดสุทัศน์ฯ
พระปลัดเปล่ง / วัดกัลยานิมิตร
พระอาจารยืใบฎีกาบัญญัติ / วัดสุทัศน์ฯ
พระครูอินทรสมจารย์ / วัดอินทรวิหาร
พระครูมงคลวิจิตร วัดอนงคาราม (มาแทน สมเด็จพระพุฒาจารย์ นวม)
รายนามพระเกจิอ่จารย์ที่ร่วมพิธี พุทธาภิเษก
หลังจาก พิมพ์ผงมวลสารให้เป็นองค์พระสมเด็จแล้ว
ในวันที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๕ มีดังนี้
พลวงพ่อสด / วัดปากน้ำ
หลวงปู่เผือก / วัดกิ่งแก้ว
หลวงปู่เหรียญ / วัดหนองบัว กาณจนบุรี
หลวงพ่อช่วง / วัดบางแพรกใต้ นนทบุรี
หลวงพ่อรุ่ง / วัดท่ากระบือ
หลวงพ่อฮะ / วัดดอนไก่ดี สมุทรสาคร
พระปลัดตังกวย / วัดประดู่ฉิมพลี กทม
หลวงพ่อจง / วัดหน้าต่างนอก
หลวงพ่อนอ / วัดกลางท่าเรือ
หลวงพ่อสำเนียง / วัดเวฬุวนาราม นครปฐม
หลวงพ่อแฉ่ง / วัดบางพัง
หลวงปู่นาค / วัดระฆัง
..............................................................
ประวัติ สมเด็จนายพลเผ่า( สมเด็จวัดอินทร์ ปี ๒๔๙๕ )
โดย ท่านอาจารย์ ฉันทิชัย กระแสร์สินธุ์
วันนั้นเป็น วันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ นาฬิกา
ข้าพเจ้าได้รับโทรศัพท์ จากนายพันตำรวจตรี สังข์ เผ่าพิมพา ว่าให้เตรียมกระดาษดินสอ ไปที่พระอุโบสถวัดอินทรวิหาร เวลา ๑๖.๐๐ น. ครั้นข้าพเจ้าย้อนถามไปว่า เกี่ยวด้วยเรื่องอะไร พันตำรวจตรี สังข์ เผ่าพิมพา ก็บอกปัดว่าไปทราบเอาที่โบสถ์วัดอินทร ก็แล้วกัน และโดยมิทันที่ข้าพเจ้าซักไซ้อย่างไรต่อไปอีก พันตำรวจตรี สังข์ เผ่าพิมพา ได้วางโทรศัพท์เสียเป็นการตัดบท
ข้าพเจ้าเคยรับทราบจากนายพลตำรวจจัตวา เนื่อง อาขุบุตร ว่าจะมีการสร้างพระพิมพ์สมเด็จพระพุทฒาจารย์ (โต ) ขึ้น แต่ยังไม่กำหนดวันแน่นอน จึงเดาเอาว่าเห็นจะไม่ผิดไปจากเรื่องที่เคยทราบนั้น
พอถึงเวลา ๑๖.๐๐ น. ข้าพเจ้าก็ถึงวัดอินทร์ ตามที่ พันตำรวจตรี สังข์ เผ่าพิมพา โทรศัพท์แจ้งไปโดยอาศัยรถยนต์ของหม่อมเจ้าปรีชา กัลยาณวงศ์ เป็นยานพาหนะ
ที่หน้าโบสถ์ ข้าพเจ้าได้พบนายพันตำรวจตรีเลื่อน บุณยจิตติ สหายรักผู้ร่วมงานกันมาอย่างใกล้ชิด พร้อมกับคุณชิต วิภาษธวัช ผู้สะพายกล้องอย่างดีสำหรับเก็บภาพในงานมงคลพิธี
ครั้งเข้าไปในพระอุโบสถ ข้าพเจ้าถึงกับตลึงงันด้วยความปิติ เพราะเบื้องหน้าพระประธาน เต็มไปด้วยสรรพวัตถุวิเศษ ที่นำมาเข้าในพิธีมณฑล
และภายในพระอุโบสถนั้น ท่านายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ นั่งเป็นประธานอยู่เบื้องขวา ท่านนายพลจัตวา เนื่อง อาขุบุตร ก็อยู่ในพระอุโบสถด้วย…
เมื่อได้กราบพระประธานแล้ว ข้าพเจ้าได้เข้าไปทำความเคารพ ท่านนายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ซึ่งท่านได้กรุณาบัญชาว่า “ จดเหตุการณ์ในเรื่องนี้อย่างละเอียด สำหรับลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตำรวจ”
ขณะนั้นเป็นเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ท่านนายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ กับบรรดาผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานมหามงคลพิธี มาพร้อมกันในพระอุโบสถ อาทิ ข้าราชการตำรวจที่เป็นกรรมการร่วมงาน และคหบดีผู้ที่ได้รับเชิญมาเป็นกรรมการด้วย
ตลอดจนพระมหาราชครูพราหมณ์มุนีศรีวิสุทธิคุณ กับพระครูพราหมณ์ศิวาจารย์ พราหมณ์พิธีผู้อ่านโองการเชิญชุมนุมเทพยดา และร่ายวิษณุเวศย์ ศิวะเวศย์ ตลอดจนเทพมนต์ ร่วมในพิธีสร้างพระพิมพ์เพื่อความสมบรุณ์ โดยศิวศาสตร์ ตามแบบอย่างมหายัญพิธีแต่เบื้องบรรพ์ร่วมอยู่ด้วย
ข้าพเจ้านั่งอยู่ข้างนายพลจัตวาเนื่องอาขุบุตร และนายพันตำรวจตรี เลื่อน บุณยจิตติ ได้กระซิบถาม นายพลจัตวาเนื่องอาขุบุตร ถึงเร่องต่างๆที่ประสงค์ทราบให้ชัดเจน จึงได้ทราบว่า บรรดาข้าวของวิเศษต่างๆที่นำมาเป็นพิธีกรรมทั้งหมดนี้
นายพลจัตวาเนื่องอาขุบุตร กับนายพันตำรวจตรี สังข์ เผ่าพิมพาเป็นผู้จัดมาโดยบัญชาของท่านนายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ครบต้องตามตำราแห่งปุราณคัมภีร์ ทุกประการ
ด้านขวาพระอุโบสถ พระสงฆ์ราชาคณะและพระครูตลอดจนพระอาจารย์สำนักต่างๆ ที่ได้รับนิมนต์ให้มาเข้าร่วมในการสร้างพระพิมพ์ ดังนี้
พระเทพเวที วัดสามพระยา
พระศรีสมโพธิ์ วัดสุทัศน์เทพวราราม
พระภาวนาวิกรม วัดระฆัง
พระภาวนาโกศลเถระ วัดปากน้ำ
พระอาจารย์ แฉ่ง วัดบางพัง
พระครูสรภัญญประกาศ วัดโปรดเกษ
ฯลฯ รวม ๑๔ รูป
และโดยที่ในงานนี้ได้นิมนต์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดอนงคาราม มาเป็นประธานด้วย แต่บังเอิญท่านอาพาธโดยกระทันหันมาไม่ได้ จึงให้พระภิกษุผู้ทรงวิทยาคุณมาแทน
พระภิกษุทุกองค์บรรดาที่ได้รับนิมนต์มาในมหามงคลพิธี ล้วนแต่ทรงไว้ซึ่ง ศีลาจารวัตรอันงดงาม นุ่งห่มเป็นปริมณฑลได้สมณสารูป สมเป็นสมณะผู้ศิษย์พระตถาคต นั่งรอกาลเวลาอันงามอยู่อย่างสงบ
เบื้องหน้าพระประธาน แบบพระมารวิชัยภายใต้เศวตรฉัตร ๙ ชั้นนั้น ภายในวงสายสิญจน์ มีสรรพวัตถุวิเศษ ที่จะประมวลเข้าในพิธีกรรมสร้างพระพิมพ์หลายหลาก มี
ผงเกษรดอกไม้ ผงเกษรบุนนาค
ผงเกษรบัวหลวง ผงเกษรสาภี
ผงเกษตรพิกุล ผลซิงอ๊อกไซด์
ปูนขาว กระดาษฟาง
น้ำมันมะพร้าว ดินสอพอง
น้ำมันก๊าส น้ำอ้อย
เครื่องตำมี ครก สากหิน แผ่นกระเบื้อเคลือบสำหรับกดแม่พิมพ์ มีดทองเหลือสำหรับตัดพระพิมพ์ ๘๔,๐๐๐ องค์ และถาดสำหรับรองพระพิมพ์เพื่อผึ่งในร่ม (ไม่ใช่ผึ่งแดด )ให้แห้ง
บนพานแว่นฟ้า มีผงวิเศษดั้งเดิมของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่ท่านนำมาจากเศษพระพิมพ์สมเด็จที่ชำรุดบดให้เป็นผงผสมให้เข้ากันแล้วใส่ ผอบ รออยู่ และมีผลตะไบพระกริ่งวัดสุทัศน์ ครั้งหล่อพระกริ่ง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๕ ผงสมเด็จที่มอบให้แก่หลวงปุ่ภูวัดอินทรวิหารรักษาไว้ ก็ได้นำมาใส่ ผอบ เป็นพิเศษเพื่อคุลีการเข้าด้วยกัน และยังมีผงของหลวงพ่อเดิม จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งนายพลจัตวาเนื่อง อาขุบุตร นำมารวมเข้าไว้อีกด้วย
นอกนั้นบรรดาพระอาจารย์ต่างๆ ที่ได้รับนิมนต์เข้าร่วมบริกรรมปลุกเศกด้วยพระกฤตยาคม ยังได้ให้ผงวิเศษจากสำนักของท่าน เพื่อรวมเข้ากับการสร้างพระพิมพ์ครั้งนี้อีกเล่า
จึงนับว่าการสร้างพระพิมพ์สมเด็จครั้งนี้ พรั่งพร้อม ด้วยผงวิเศษและสมบรูณ์ตามศาสตร์ครบถ้วนตามหลักการสร้างเช่นปางบรรพ์ทุกประการ
เครื่องบุชาพระพุทธรูปและเครื่องบวงสรวงสังเวยนั้นทางคณะกรรมการจัดงานได้จัดเครื่องทองน้อย ตั้งเทียนชัยแปดทิศ ใส่กะบะมุกมาตั้งดูอร่ามและศักดิ์สิทธ์หนักหนา เบื้องซ้ายตั้งบายศรีเจ็ดชั้นข้างละคู่ มีรูปถ่ายสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ขนาดใหญ่ตั้งไว้ด้วย และมีธรรมาสน์มุกตั้งเป็นสำคัญในการอัญเชิญให้พระวิญญานสมเด็จฯมาเป็นประธาน
พอได้ศุภฤกษ์มงคล ๑๖ นาฬิกา ๒๐ นาที พระมหาราชครูพราหมณ์มุนีศรีวิสุทธิคุณ แต่งกายด้วยเครื่องขาวสวมครุยทอง เข้ากราบพระพุทะรูป และกราบพระภิกษุผู้เป็นประธานแล้ว กล่าวคำบวงสรวงสังเวยปรารภเหตุในการจัดสร้างพระพิมพ์ครั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ ในการสืบต่อเกียรติคุณ แห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี ) และเพื่อเฉลิมศรัทธาปสาทะของประชาชนที่เป็นพทธมามกะ จะได้น้อมนำเอาไปเคารพบูชา ตลอดเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ครั้งภายหลัง เมื่อพิมพ์พระสมเด็จเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นำเข้าพิธีปลุกเศกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ มีพระอาจารย์ร่วมปลุกเศก ณ พระอุโบสถวัดอินทร์ ดังนี้
หลวงพ่อ สด วัดปากน้ำ
หลวงปู่ เผือก วัดกิ่งแก้ว
หลวงปู่ เหรียญ วัดหนองบัว กาณจนบุรี
หลวงพ่อ ช่วง วัดบางแพรกใต้ นนทบุรี
หลวงพ่อ รุ่ง วัดท่ากระบือ
หลวงพ่อฮะ วัดดอนไก่ดี สมุทรสาคร
พระปลัด ตังกวย วัดประดู่ฉิมพลี กทม
หลวงพ่อ จง วัดหน้าต่างนอก
หลวงพ่อ นอ วัดกลางท่าเรือ
หลวงพ่อ สำเนียง วัดเวฬุวนาราม นครปฐม
หลวงพ่อ แฉ่ง วัดบางพัง
หลวงปู่ นาค วัดระฆัง

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top