หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
พระเนื้อดินเผาพิมพ์ใบเสมา หลวงพ่อขำ วัดแก้ว เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ท่านสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ.





ชื่อร้านค้า | ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระเนื้อดินเผาพิมพ์ใบเสมา หลวงพ่อขำ วัดแก้ว เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ท่านสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525 |
ราคาเช่า | 1,000 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.) |
อีเมล์ติดต่อ | เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อเช่าพระจำนวนมาก ดังนั้นเช่าผ่านLINE ID : @870rqvth จะติดต่อง่ายสะดวกสุดครับ |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 26 พ.ค. 2568 - 20:09.52 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อ. - 27 พ.ค. 2568 - 09:21.03 |
รายละเอียด | |
---|---|
**รหัส ศ.ร.๒๕๐๒๒ พระเนื้อดินเผาพิมพ์ใบเสมา หลวงพ่อขำ วัดแก้ว เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ท่านสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยได้ทยอยสร้างขึ้น และได้รับการปลุกเสกโดยตลอด แม้มีคนมาขอท่านก็ไม่เคยแจกจ่ายให้แก่ผู้ใดทั้งสิ้น จะแจกจ่ายในตอนเกิดสงครามเท่านั้น พระเนื้อดินเผาพิมพ์ใบเสมา หลวงพ่อขำ วัดแก้ว เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร นักสะสมพระเครื่องโดยทั่วไปมักชมชอบสะสมพระเครื่องที่ได้รับความนิยมในวงการเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงมักมองข้ามพระเครื่องสำนักอื่นๆ แม้กระทั่งพระกรุเก่าที่มีอายุนับร้อยปี แต่กระนั้นก็ยังคงมีนักสะสมพระเครื่องจำนวนไม่น้อยทีเดียวที่มุ่งเก็บพระเครื่องเหล่านี้ ด้วยเหตุผลที่เป็น ‘พระดี’ อีกทั้งยังมีราคาในการสะสมที่ไม่สูงค่ามากนัก พระเครื่องของ ‘หลวงพ่อขำ’ แห่งวัดแก้ว ย่านฝั่งธนบุรี ก็เป็นหนึ่งในพระเครื่องที่ถูกละเลยมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย มีแต่เพียงนักสะสมพระเครื่องเก่าที่รู้คุณค่าขนานแท้เท่านั้น ที่ซุ่มเก็บกัน พระเครื่องหลากหลายพิมพ์ทรงของหลวงพ่อขำนั้น กล่าวกันมาว่า ท่านสร้างขึ้นมาเพื่อเกบสะสมไว้แจกจ่ายตอนเกิดสงคราม คาดคะเนกันว่า ท่านสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยได้ทยอยสร้างขึ้น และได้รับการปลุกเสกโดยตลอด แม้มีคนมาขอท่านก็ไม่เคยแจกจ่ายให้แก่ผู้ใดทั้งสิ้น จะแจกจ่ายในตอนเกิดสงครามเท่านั้น แต่ไม่ได้แจกจ่ายในครั้งสงครามแต่อย่างใด เนื่องเพราะหลวงพ่อขำได้มรณภาพลงก่อนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ก่อนเกิดสงครามพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในดินแดนฝั่งอินโดจีน ที่รู้จักกันใน ‘สงครามอินโดจีน’ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๔ แล้วตามด้วยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (สงครามหาเอเชียบูรพาทิศ) ในปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๔ อย่างไรก็ตาม พระเครื่องที่หลวงพ่อขำได้สร้างไว้หลากหลายพิมพ์ทรงนั้น ได้ได้ถูกนำออกแจกจ่ายเป็นที่ระลึกในงานศพของท่าน เล่าขานกันว่า ในงานพิธีเผาศพของหลวงพ่อขำนั้น ได้จัดพระเครื่องของหลวงพ่อขวางบนพานตะลุ่มขนาดใหญ่ ให้เลือกหยิบกันตามความชอบใจ ประมาณกันว่ามีเพียงไม่กี่พิมพ์เท่านั้นที่นักสะสมพระเครื่องรู้จักกัน เท่าที่เป็นที่รู้จักกันของนักสะสมพระเครื่องก็ไม่น้อยกว่า ๑๒ พิมพ์ทรง ทั้งในเนื้อดินเผา เนื้อผงขาว และเนื้อผงดำ ๑๒ พิมพ์ทรง ประกอบด้วย ๑. พิมพ์แปดเหลี่ยมข้างเว้า ๒. พิมพ์ใบเสมา ๓. พิมพ์นั่งกรอบสี่เหลี่ยม ๔. พิมพ์ยืนเปิดโลก ๕. พิมพ์ไสยาสน์ ทั้ง ๕ พิมพ์ทรงนี้ล้วนต่างสร้างขึ้นด้วยเนื้อดิน ๖. พิมพ์นั่งกรอบสี่เหลี่ยม ๗. พิมพ์ยืนเปิดโลก ๘. พิมพ์ยืนกดรอยพระบาท ๙. พิมพ์ยืนปลงพระเกศา ทั้ง ๔ พิมพ์นี้ สร้างด้วยเนื้อผงขาว และเนื้อผงดำ ๑๐. พิมพ์ใบพุทธา ๑๑. พิมพ์ปิดตา-ทวาร ๑๒. พิมพ์แปดเหลี่ยมข้างเว้า พระปางไสยาสน์ ทั้ง ๓ พิมพ์นี้ สร้างด้วยเนื้อผงดำคลุกรักผสมปรอท กล่าวสำหรับหลวงพ่อขำนั้น ประวัติของท่านไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แม้กระทั่งรูปถ่ายก็ไม่มีปรากฏ ด้วยว่าท่านไม่ยินยอมให้ใครถ่ายรูปท่านทั้งสิ้น แม้เมื่อตอนมรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ บรรดาลูกศิษย์ช่วยกันอุ้มร่างท่านไปนั่งบนเก้าอี้ เพื่อจะถ่ายภาพไว้ตั้งหน้าหีบบรรจุศพ ครั้นนำไปล้างอัดเป็นรูปกลับมีเพียงเก้าอี้ว่างเปล่า ไม่ปรากฏร่างท่านแต่ประการใด มีเพียงคำบอกเล่าถึงหลวงพ่อขำเพียงช่วงระยะสั้นๆ จากปากคำของผู้ที่เคยใกล้ชิดกับท่านมาว่า ท่านเป็นคนรูปร่างสันทัด ผิวขาว เป็นคนพื้นเพอยู่ทางบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม แต่จะบวชมาแต่วัดไหนนั้นไม่ทราบ มารู้แต่ช่วงที่ท่านธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดแก้วระยะหนึ่ง ก่อนย้ายไปจำพรรษาที่วัดรวกสุธาราม และเมื่อพระอาจารย์สิน เจ้าอาวาสวัดแก้วลาสิกขา ได้มีการไปนิมนต์หลวงพ่อขำมาเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อ ส่วนความเป็นมาของวัดแก้ว จากประวัติวัดกล่าวว่า วัดแก้วสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๓๖๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ สำหรับพระเครื่องหลวงพ่อขำที่นำมาให้ได้ชมกัน เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาพิมพ์ใบเสมา พุทธลักษณะขององค์พระเครื่องเป็นรูปใบเสมา ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปองค์พระนั่งสมาธิเพชร มือทั้งสองข้างจับพระชานุ (เข่า) เรียกกันในปางนี้ว่า ปางทรงพิจารณาชราธรรม เหนือองค์พระมีอักขระขอม ๓ ตัว และใต้องค์พระมีอักขระขอมอีก ๑ ตัว ในด้านขนาดขององค์พระนั้น ที่ฐานด้านล่างกว้างโดยประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร สูงประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร องค์พระตลอดจนเส้นสายของอักขระทุกตัวจะมีความคมชัด นอกจากตัว ‘นะ’ อักขระขอมด้านขวามือของเราอาจจะเลือนลางบ้าง หากพิจารณาถึงพิมพ์ทรงองค์พระแล้วนั้น เป็นปางที่แปลกตาไปจากพระเครื่องอื่นๆ บ้างพอสมควร ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนักสำหรับพิมพ์ปางพิจารณาชราธรรมในพระเครื่องทั้งหลาย |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...









