พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์ใหญ่ ไหล่จุด ปี 2526 สภาพสวย -ศิลป์เจริญพร - webpra
VIP
"ร้านนี้พระเครื่องยุคเก่า สร้างโดยพระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ที่นับถือบูชาได้อย่างสนิทใจ"

หมวด พระเกจิสายสุพรรณ

พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์ใหญ่ ไหล่จุด ปี 2526 สภาพสวย

พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์ใหญ่ ไหล่จุด  ปี 2526 สภาพสวย  - 1พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์ใหญ่ ไหล่จุด  ปี 2526 สภาพสวย  - 2พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์ใหญ่ ไหล่จุด  ปี 2526 สภาพสวย  - 3พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์ใหญ่ ไหล่จุด  ปี 2526 สภาพสวย  - 4พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์ใหญ่ ไหล่จุด  ปี 2526 สภาพสวย  - 5
ชื่อร้านค้า ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์ใหญ่ ไหล่จุด ปี 2526 สภาพสวย
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเกจิสายสุพรรณ
ราคาเช่า 2,500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.)
อีเมล์ติดต่อ เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อเช่าพระจำนวนมาก ดังนั้นเช่าผ่านLINE ID : @870rqvth จะติดต่อง่ายสะดวกสุดครับ
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ จองแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 01 ก.ค. 2568 - 20:20.52
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 02 ก.ค. 2568 - 15:15.48
รายละเอียด
**รหัส ศ.ร.๒๕๒๕๙
พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์ใหญ่ ไหล่จุด ปี 2526 สภาพสวย

พระพุทโธ รุ่นแรก หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม ย้อนหลังไปประมาณปี 2526 ในขณะนั้นพระอุโบสถวัดทุ่งสามัคคีธรรม จังหวัดสุพรรณบุรี กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก ได้ ปรึกษาหารือกับสหธรรมมิก ของท่านคือหลวงพ่อสุวรรณ ปภัสโร (( สุวรรณ ทองนาค ) วัดอาวุธ โดยท่านเป็นศิษย์ใกล้ชิดคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติมมาตั้งแต่ก่อนที่ท่านจะบวชเป็นพระ ) ถึงการหาจตุปัจจัยที่จะมาดำเนินการให้แล้วเสร็จ.

มวลสารการจัดสร้างพระพุทโธ

- ดินนิมิต จากวัดเขาสารพัดดี หลวงพ่อสังวาลย์ท่านนั่งเห็นดินที่มีคุณวิเศษในตัวอยู่ในสระน้ำของวัดเขาสารพัดดี โดยท่านได้นำหลวงพ่อบุญลือและคณะศิษย์ ไปชี้ตำแหน่งและขุดขึ้นมาโดยปั้นเป็นก้อนกลมๆขนาดกำปั้นผู้ใหญ่ โดยเอาผ้าห่อเอาไว้แล้วขนกลับมาที่วัด เมื่อมาถึงที่วัดแล้วท่านก็นำบาตรของหลวงพ่อป้องที่ได้ได้รับการถวายมาจากกำนันวงษ์ (พี่ชายหลวงพ่อสุวรรณ ) มาใส่น้ำแล้วอธิษฐานขอบารมีหลวงพ่อป้อง
ให้ท่านช่วยปลุกเสกดินให้เป็นรอบแรก แล้วจึงนำดินที่เป็นปั้นนั้นลงไปละลายในบาตรเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการสร้าง

หมายเหตุ : หลวงพ่อป้องเป็นพระที่หลวงพ่อสังวาลย์ให้ความเคารพนับถือมากอีกรูปหนึ่ง


โดยในปัจจุบันกะโหลกส่วนศรีษะท่านที่เผาไม่ไหม้ หลวงพ่อสังวาลย์ท่านได้นำมาใส่ไว้ในโกศ
แล้วเอาสายสิจญ์พันรอบหลายๆชั้นด้วยตัวท่านเอง เพื่อป้องกันการเปิดออก โดยในปัจจุบันโกศนั้นตั้งวางให้บูชาอยู่บนเรือนไทย ที่วัดสังฆทาน กทม
- พระพุทโธน้อยคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม แตกหัก ซึ่งเก็บรักษาอยู่ที่กุฏิ พระเทพเมธากร เจ้าอาวาสวัดอาวุธในสมัยนั้น

หลวงพ่อสุวรรณท่านได้ถวายปัจจัยทำบุญ 20,000 บาทแล้วนำมาทั้งหมด โดยได้พระพุทโธแตกหักและผงมวลสารเก่าๆสมัยคุณแม่บุญเรือนประมาณ 2 ถังใหญ่ สาเหตุหลักที่หลวงพ่อสุวรรณท่านเจาะจงมวลสารนี้เพราะท่านได้รับคำสั่งสอนมาจากคุณแม่บุญเรือนว่า ?ฉันอธิษฐานพระให้เพียงหนเดียวเท่านั้น และพระฉันถึงแตกหักอย่างไร เมื่อนำมาบดแล้วสร้างใหม่ ก็ยังคงศักดิ์สิทธิ์เหมือนเดิมเช่นที่ฉันอธิษฐานให้?
- ศิลาน้ำ คุณแม่บุญเรือน หลวงพ่อสุวรรณท่านได้รับมาจากคุณแม่บุญเรือนเป็นจำนวนมาก ได้นำมาตำจนละเอียด
- ข้าวตอกพระร่วง คุณแม่บุญเรือน หลวงพ่อสุวรรณท่านได้รับมาจากคุณแม่บุญเรือนเป็นจำนวนมาก ได้นำมาตำจนละเอียดในส่วนผสมนี้หากใช้กล้องส่องจะพบว่าเป็นเม็ดดำๆคล้ายๆนิลอยู่ในเนื้อพระ
- ปูนแดงเสก คุณแม่บุญเรือน

- และส่วนผสมที่สำคัญที่สุดในพระชุดนี้คือ อัฐิธาตุ และ ผงอังคารธาตุ ของคุณแม่บุญเรือน จำนวนมาก ที่หลวงพ่อสุวรรณท่านได้เก็บรักษาไว้ โดยหลวงพ่อสุวรรณท่านได้บอกกล่าวขออนุญาตคุณแม่แล้วนำมาบดใส่ทั้งหมดที่ท่านมีอยู่ซึ่งท่านที่อยู่ในเหตุการณ์ตอนใส่บอกว่า ท่านกำอัฐิธาตุและผงอังคารธาตุที่บดแล้วใส่ในการผสมเนื้อในแต่ละครั้งละเป็นกำๆเลยที่เดียว

ลักษณะเนื้อหา

แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

1.เนื้อแก่ผง เป็นพระชุดแรกๆที่ลองผิดลองถูกทำเนื้อหายังไม่คงที่ ใส่ดินลงไปน้อย โดยเฉพาะพิมพ์เล็กหลังสัมมาสติที่ได้ทดลองสร้างเป็นครั้งแรก มีการผสมสีลงไป ถึง 5 สี คือแดง น้ำเงิน ขาว เหลือง น้ำตาล แต่ก็มีบางครั้งที่ผสมออกมาแล้วได้สีเพี้ยนไปบ้าง เช่น เขียว ชมพู และได้ลองนำพิมพ์อื่นมาลองกดดูด้วยเนื้อปรกติ ที่ไม่ใส่สีด้วยโดยเนื้อจะออกเป็นสีขาวตุ่นๆ และมีเมื่อทำออกมาแล้วพระไม่ค่อยแกร่งเท่าที่ควร เผาไม่ได้ จึงหยุดใช้ส่วนผสมนี้ จึงเป็นพระที่มีจำนวนน้อยที่สุดของการสร้างครั้งนี้
2. เนื้อดินเผา เป็นเนื้อที่ส่วนผสมลงตัวที่สุด เมื่อเผาแล้วเนื้อแกร่ง โดยส่วนใหญ่จะเผาออกมาได้เนื้อเป็นสีแดงสวย มีคราบแป้งหุ้ม ส่วนสีดำเป็นพระที่แก่ไฟมีจำนวนน้อยมากๆ แต่เป็นสีที่นิยมทีสุด (ไม่ใช่พระเนื้อใบลานอย่างที่เข้าใจกัน ) ขนาดพระจะเล็กกว่าเนื้ออื่นๆในพิมพ์เดียวกันนิดหน่อยเนื่องจากการหดตัวของดินเมื่อถูกเผา พระพิมพ์นี้เป็นพระที่มีจำนวนการสร้างมากที่สุด
3. เนื้อดินดิบ เป็นพระชุดเดียวกับข้อ 2 .ที่ไม่ได้นำไปเผาเนื่องจากหลวงพ่อสุวรรณและกลุ่มผู้ร่วมจัดสร้างต้องการเก็บไว้เป็นที่ระลึก และเพื่อเก็บไว้เป็นแนวทางในการศึกษาเนื้อพระต่อไป เป็นพระที่มีจำนวนมากกว่าเนื้อแก่ผงไม่มาก

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top