เหรียญสามเกจิ วัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ย)-saintamulet - webpra
  • Saint Amulet
    สอบถามราคาได้ที่
    095 694 4136
    Line id: amata.amulet
ยินดีต้อนรับลูกค้าทุกท่าน พระทางร้านรับประกันแท้ทุกองค์ หากเก๊คืนเต็มราคา 0956944136

หมวด พระเกจิภาคกลางตอนล่าง

เหรียญสามเกจิ วัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ย)

เหรียญสามเกจิ วัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ย) - 1เหรียญสามเกจิ วัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ย) - 2
ชื่อร้านค้า saintamulet - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญสามเกจิ วัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ย)
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเกจิภาคกลางตอนล่าง
ราคาเช่า 1,000 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0956944136
อีเมล์ติดต่อ yuniqony@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 15 พ.ค. 2563 - 16:34.47
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 18 พ.ค. 2563 - 12:48.00
รายละเอียด
200251-10 เหรียญสามเกจิ งานผูกพัทธสีมา วัดมงคลโคธาวาส
ประกอบด้วย หลวงพ่อปาน หลวงพ่อเรือน หลวงพ่อทอง 3เกจิ อดีตเจ้าอาวาส

วัดมงคลโคธาวาส ‘วัดบางเหี้ย’
อันเลื่องชื่อในเรื่อง ‘เสือ’
(ตอนที่ ๑)

วัดบางเหี้ย หรือในนามอันไพเราะว่า ‘วัดมงคลโคธาวาส’ มีกล่าวถึงประวัติความเป็นมาในหนังสือ ‘ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๒’ ที่กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ที่ปัจจุบันเป็นสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ความว่า
“วัดมงคลโคธาวาส ตั้งอยู่ที่บ้านคลองด่าน หมู่ที่ ๑๑ ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๔๕ ไร่ ๓ งาน ๒๕ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับเขตชลประทาน ทิศใต้ติดต่อกับเขตวัดเจริญวราราม ทิศตะวันออกติดต่อกับลำรางสาธารณะ ทิศตะวันตกติดต่อกับคลองด่าน ที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๔ แปลง เนื้อที่ ๗๔ ไร่ ๑ งาน ๕๕ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๒๐๐๘, ๓๐๑
พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่ม อยู่ริมคลองด่านหรือคลองบางเหี้ยเดิม ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่างๆดังนี้ อุโบสถกว้าง ๘.๗๕ เมตร ยาว ๒๗.๕๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ กุฎีสงฆ์จำนวน ๑๙ หลัง เป็นอาคารไม้แบบทรงไทย หอสวดมนต์สร้าง พ.ศ. ๒๕๐๙ ศาลาการเปรียญจตุรมุข เริ่มสร้าง พ.ศ. ๒๕๒๒ ขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ วิหารและมณฑปพระพุทธบาท สำหรับปูชนียวัตถุมี พระประธานในอุโบสถปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว สูง ๙๗ นิ้ว หลวงพ่อโตในวิหาร รอยพระพุทธบาทจำลอง นอกจากนี้มีพระพุทธรูปปางต่างๆ หลายองค์อยู่ที่อุโบสถ
วัดมงคลโคธาวาส ได้สร้างเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๐๐ ไม่ทราบนามผู้สร้างเดิมมีนามว่า ‘วัดบางเหี้ยนอก’ หรือที่ประชาชนเรียกว่า ‘วัดหลวงพ่อปาน’ ต่อมาทางราชการได้เปลี่ยนนามตำบลบางเหี้ยเป็นตำบลคลองด่าน นามวัดจึงต้องเปลี่ยนให้มีความไพเราะและเหมาะสมขึ้นเป็น ‘วัดมงคลโคธาวาส’ มาจนเท่าทุกวันนี้ วัดมงคลโคธาวาสได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ในด้านการศึกษา ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๗ จนถึงขณะนี้มีนักธรรมที่เป็นพระภิกษุ ๒,๕๓๐ รูป สามเณร ๓๔๑ รูป นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการศึกษาของชาติ โดยให้ทางราชการสร้างโรงเรียนประชาบาลสอนระดับประถมศึกษาขึ้นในที่วัดด้วย
เจ้าอาวาสจำนวน ๗ รูป รูปที่ ๑ หลวงพ่อกัน รูปที่ ๒ พระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน) รูปที่ ๓ หลวงพ่อเรือน รูปที่ ๔ พระครูสุทธิรัตน์ (หลวงพ่อทอง) พ.ศ. ๒๔๕๔-๒๔๗๒ รูปที่ ๕ พระปลัดแวว พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๗๗ รูปที่ ๖ พระครูมงคลสาธุวัฒน์ (ชื่น ธมฺมโชติ) พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๕๒๐ รูปที่ ๗ พระอธิการบรรจง เสตวณฺโณ อายุ ๔๖ ปี พรรษา ๒๖ ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ จนถึงปัจจุบัน”
อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ ๒ ตามประวัติวัดในหนังสือ ‘ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๒’ ดังกล่าว คือพระครูพิพัฒนิโรธกิจ (ปาน) สอดรับกับ ‘บาญชีพระราชาคณะ พระครู บาเรียน ทรงตั้งในงานพระราชพิธีฉัตรมงคลรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๐’ ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ระบุว่า
“เจ้าอธิการปาน อาจารย์วิปัสสนาวัดบางเหี้ย เปนพระครูพิพัฒนิโรธกิจ”
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าหลวงพ่อปานได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ เมื่อคราวงานพระราชพิธีฉัตรมงคล ทั้งยังบอกได้ว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ วัดมงคลโคธาวาส ยังมีชื่อเดิมว่า วัดบางเหี้ย
คำว่า ‘เจ้าอธิการ’ อันหมายความว่า ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ยแล้วในขณะนั้น และนั้นยังหมายถึงว่า ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ หลวงพ่อกัน (ชื่อตามประวัติในหนังสือ ‘ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ ๒’) มรณภาพไปแล้ว
พจนานุกรม ฉบับมติชน ให้ความหมายของคำ ‘เจ้าอธิการ’ ว่า
“น.สมภารหรือเจ้าอาวาส”
ขณะที่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้นิยามคำ ‘เจ้าอธิการ’ ว่า
“น. พระที่ดำรงตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์หรือเจ้าคณะตำบล ซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่น”
หนังสือ ‘วัดมงคลโคธาวาส’ ที่พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์คราวงานฌาปนกิจนายแจ่ม สวัสดื เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ นั้น ให้รายละเอียดไว้อย่างน่าสนใจ โดยกล่าวว่าเป็นประวัติที่พระครูสาธิตธรรมนาท (โพธิ์ ฐานุตฺตโม) ได้เรียบเรียงขึ้นตามคำบอกเล่าของหลวงพ่อสาย พุทฺธเสฏฺโฐ ซึ่งเป็นสัทธิหาริกของหลวงพ่อปาน ได้กล่าวถึงการสร้างวัดบางเหี้ยว่า
“วัดมงคลโคธาวาสนี้ ได้ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ในสมัยแรกสร้างบ้านเมืองยังไม่เจริญ ผู้คนน้อย จัดว่าอยู่ไม่สู่ไกลจากหมู่บ้านนี้มากนัก มาบัดนี้จะว่าตั้งอยู่กลางตำบลก็ว่าได้แล้ว เพราะว่ามีบ้านคนตั้งอยู่ล้อมรอบ การคมนาคมไปมาสะดวกสบายดี วัดนี้ได้ตั้งอยู่ระหว่างกลางประตูน้ำชลหารพิจิตร์กับถนนสุขุมวิท (สายกรุงเทพฯ-ตราด) ติดต่อกันเป็นวัดที่น่าสนใจอยู่มากเหมือนกัน เพราะว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งก็ว่าได้
วัดนี้ได้เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ตระกูลของหลวงพ่อปาน (พระครูพิพัฒนิโรธกิจ) สร้างเอาไว้ (ตามคำบอลเล่าของหลวงพ่อสาย พุทฺธเสฏฺโฐ ซึ่งเป็นสิทธิวิหาริกของหลวงพ่อปาน) เป็นผู้จัดการสร้างครั้งแรก พร้อมด้วยประชาชนผู้ที่มีจิตศรัทธาในตำบลนี้ ได้ช่วยกันจัดสร้างขึ้นเพื่อเอาไว้บำเพ็ญกุศล เพราะว่าจะไปวัดสร่างโศกก็ไกลจากหมู่บ้าน หรือว่าจะไปวัดโคธาวาสก็ไม่ใกล้นัก เลยจำเป็นต้องสร้างขึ้นในหมู่บ้านของตน เพราะการบำเพ็ญกุศลสะดวกสบายดีจึงทำให้วัดนี้ตั้งอยู่ได้แล้วเจริญด้วย เพราะว่าในสมัยที่สร้างวัดนั้นประตูน้ำยังไม่สร้าง และถนนก็ยังไม่ได้ตัดมา บ้านคนอยู่เป็นกลุ่มๆ วัดนี้ได้ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำคลองด่าน จัดว่าเป็นที่ข้างลุ่มลึกสักหน่อย เพราะว่าในเมื่อน้ำทะเลขึ้นมากๆ ท่วมเต็มลานวัดไปหมด ในบางตอนต้องทำสะพานยาวๆ เพื่อเดินไปวัดสะดวกสบาย
วัดเริ่มสร้างทีแรก ถามใครไม่กล้ายืนยันลงไปแน่ว่าใครเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก แล้วปกครองอยู่กี่ปี ยังไม่มีใครทราบ อาตมภาพได้สอบถามคนอายุ ๙๐ เศษดู แกก็จำไม่ได้เหมือนกัน ได้รู้ว่าสร้างมานานเท่านั้น แต่ทราบกันดีว่าในสมัยหลวงพ่อถันเป็นเจ้าอาวาส”
กล่าวถึงการปกครองวัดในสมัยหลวงพ่อถัน เป็นเจ้าอาวาส (หนังสือดังกล่าวระบุว่าเจ้าอาวาสวัดรูปแรกคือ หลวงพ่อถัน ขณะที่หนังสือ ‘ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ ๒’ ระบุชื่อว่า หลวงพ่อกัน) และมีการแบ่งการปกครองออกเป็นคณะ คณะหนึ่งมีหัวหน้าปกครองและรองคณะอีกรูปหนึ่ง ทำหน้าที่ตัดสินใจในเหตุการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้น แล้วรายงานให้เจ้าอาวาสวัดทราบ
โดยในสมัยหลวงพ่อถัน เป็นเจ้าอาวาส มีพระภิกษุที่ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย หลวงพ่อปาน หลวงพ่อเรือน หลวงพ่อล่า พระอาจารย์อิ่ม หลวงพ่อทอง หลวงพ่อลาว พระอาจารย์บัว
หลวงพ่อปานและพระอาจารย์อิ่ม เป็นหัวหน้าคณะปกครองสอนเรื่องกรรมฐาน เมื่อออกพรรษาแล้วออกธุดงค์เป็นคณะใหญ่ หลวงพ่อเรือน เป็นหัวหน้าคณะสอนแม่ชีและอุบาสก อุบาสิกาทั่วไป หลวงพ่อลา เป็นหัวหน้าคณะว่าด้วยหมอน้ำมนต์ และหลวงพ่อถัน เป็นเจ้าอาวาสวัดและหัวหน้าคณะปกครองทั่วไป
ทั้งยังกล่าวไว้ว่า หลวงพ่อถันปกครองวัดมานาน จนหลวงพ่อปานสร้างมณฑปเพื่อจะเอาไว้รอยพระพุทธบาท พอสร้างใกล้เสร็จ ยกยอดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ล้มป่วยและมรณภาพ บรรดาพระภิกษุ สามเณร ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกาได้ประชุมกันด้วยการสนับสนุนจากหลวงพ่อปานให้หลวงพ่อทองเป็นเจ้าอาวาส
จากหนังสือ ‘วัดมงคลโคธาวาส’ อันเป็นประวัติจากคำบอกเล่าของหลวงพ่อสาย ได้กล่าวถึงช่วงท้ายชีวิตของหลวงพ่อถัน อย่างน่าสนใจทีเดียวว่า
“หลวงพ่อถันได้ปกครองวัดนี้อยู่เป็นเวลานาน พอดีหลวงพ่อปาน (พระครูพิพัฒนิโรธกิจ) ได้จัดสร้างมณฑปขึ้น เพื่อจะเอาไว้ลอยพระพุทธบาทจำลอง พอการสร้างได้ดำเนินไปถึงขั้นใกล้จะเสร็จเรียบร้อย ก็มีพิธีทำการยกยอดมณฑปขึ้น แต่การทำงานใหญ่ๆ โตๆ ในสมัยนั้นถือกันว่ามักจะแรงสมภาร ถ้ายกคำลาการเปรียญ หรือพระอุโบสถตลอดยอดมณฑป สมภารต้องไปให้สุดเสียงกลอง แต่หลวงพ่อถันหาถือเช่นนั้นไม่ ท่านถือกรรมเป็นของสำคัญมากกว่าฤกษ์ยาม นับว่าพอยกยอดขึ้นเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ป่วยทันที แต่ชาวบ้านก็เริ่มวิจารณ์ไปต่างๆ ว่า ยกยอดแรงสมภาร พอดีโรคกายคือความชราของสังขารได้เข้ายึดร่างกายของท่านทันที แม้แต่หมอจะมียาดีๆ ก็ไม่สามารถรักษาชีวิตของท่านได้ อาการป่วยของท่านเป็นลงรวดเร็วมาก ไม่ยอมให้หมอรักษาทั้งนั้น หมอจะวิเศษสักเพียงใดก็ต้องมรณะแน่ๆ ท่านได้ภาวนาตลอดเวลา แล้วท่านได้สั่งพระเถระทั้งหมดว่า จงรักษาวัดนี้ไว้ให้ดี แล้วท่านได้มามรณภาพลงในท่ามกลางความอาลัยของภิกษุสามเณรตลอดจนอุบาสกอุบาสิกา ในสมัยหลวงพ่อถันเป็นเจ้าอาวาสอยู่นั้น นายกลัด บ้านคลองนางโหง เป็นมรรคนายก
ต่อมาบรรดาพระเถระพร้อมไปด้วยอุบาสกอุบาสิกา และท่านที่มีเกียรติได้ประชุมปรึกษาหารือกันขึ้นว่า จะเห็นสมควรให้พระรูปใดปกครองวัดนี้ต่อไปแทนหลวงพ่อถัน แต่แล้วในที่ประชุมมีพระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน) หลวงพ่อเรือน ตลอดจนพระอาจารย์อิ่ม พร้อมด้วยประชาชนได้อุปโลกน์ให้พระอาจารย์ทอง ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของหลวงพ่อปานให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสในพระอารามนี้ต่อไป และพระอาจารย์ได้รับความสนับสนุนจากพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อปาน และพระกรรมวาจาจารย์ คือ หลวงพ่อเรือน เพราะว่าหลวงพ่อปานท่านไม่รับเป็นเจ้าอาวาส”
ทว่าหนังสือ ‘ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ ๒’ กลับระบุว่า เจ้าอาวาสวัดรูปต่อจากหลวงพ่อถัน คือ หลวงพ่อปาน ต่อจากหลวงพ่อปานคือ หลวงพ่อเรือน จากนั้นจึงเป็นหลวงพ่อทอง ซึ่งในหนังสือดังกล่าวระบุว่าเป็นเจ้าอาวาสวัดระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๔-๒๔๗๒
อนึ่งในการจัดพิมพ์หนังสือ ‘ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร‘ นั้น กรมการศาสนาซึ่งทำหน้าที่จัดพิมพ์ขึ้นได้ระบุไว้ในคำนำหนังสือว่า
“ได้เรียบเรียงประวัติจากข้อมูลที่เจ้าอาวาสวัดต่างๆ จัดส่งมาให้เป็นส่วนมาก”
ดังนั้นในเรื่องที่มีผู้คนมากหลายเชื่อว่า หลวงพ่อปานไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดนั้น อันน่ามาจากข้อมูลจากหนังสือ ‘วัดมงคลโคธาวาส’ ที่พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์คราวงานฌาปนกิจนายแจ่ม สวัสดื เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ที่ว่า
“ในที่ประชุมมีพระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน) หลวงพ่อเรือน ตลอดจนพระอาจารย์อิ่ม พร้อมด้วยประชาชนได้อุปโลกน์ให้พระอาจารย์ทอง ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของหลวงพ่อปานให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสในพระอารามนี้ต่อไป และพระอาจารย์ได้รับความสนับสนุนจากพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อปาน และพระกรรมวาจาจารย์ คือ หลวงพ่อเรือน เพราะว่าหลวงพ่อปานท่านไม่รับเป็นเจ้าอาวาส”
แต่จากหลักฐานเก่าๆ ที่สามารถอ้างอิงได้ดังที่ได้นำมาเป็นหลักฐานให้ได้เห็นกันแล้วนั้น เชื่อได้ว่า หลวงพ่อปานท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ยอย่างแน่นอน
แต่ด้วยเหตุที่ท่านนิยมชมชอบในการธุดงค์ จึงไม่มีเวลาในการบริหารจัดการดูแลวัดได้ จึงต้องจัดให้มีผู้ดูแลหรือทำหน้าที่เจ้าอาวาสวัดแทนท่านนั่นเอง

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top