หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
เหรียญพระครูพิชัย ณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม(คอกหมู) หลัง หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ปี 2513 (G18)
ชื่อร้านค้า | ส.พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญพระครูพิชัย ณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม(คอกหมู) หลัง หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ปี 2513 (G18) |
อายุพระเครื่อง | 54 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | suphachaiyo@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 20 มี.ค. 2566 - 12:10.13 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อา. - 16 มิ.ย. 2567 - 21:01.53 |
รายละเอียด | |
---|---|
ทองนพเก้า สายหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา, อีกหนึ่งสายวิชาที่แทบจะสูญหายไป กระทู้โดย : potigo เห็นคุงเขาได้เล่าเรื่องสายหลวงปู่ทอง วัดราชโยธาในสวนขลังผมเห็นว่าเป็นสายของหลวงปู่ทองที่ควรจะเพยแพร่เลยขออนุญาตคุงและwebmasterนะครับ หลวงปู่ทอง อายะนะ วัดราชโยธา (หรือวัดลาดบัวขาวในปัจจุบัน) ท่านที่เป็นนักเล่นพระ หรือ ถวิลหาความขลัง ย่อมเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ทั้งการสร้างพระเครื่อง วิชาอาคม สักยันต์ และอื่นๆอีกมากมาย ท่านเป็นศิษย์ร่วมสำนักวัดมณีชลขัณธ์ร่วมกับ "มหาโต" หรือสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังโฆษิตาราม และยังเป็นพระเกจิที่เป็นครูบาอาจารย์ของบรรพชิตและฆราวาส อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ทางฆราวาสก็มี อาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ ท่านพ่อเที่ยง น่วมมานา อาจารย์สักชื่อดังแห่งบางกอกน้อย อาจารย์เจ๊ก สามแยกไฟฉาย เป็นต้น แต่ลูกศิษย์หลวงปู่ท่านที่ผมจะกล่าวถึงอีกรูปหนึ่งคือ หลวงพ่อพระครูพิชัยณรงฤทธิ์ วัดสิตาราม หรือ วัดคอกหมู กรุงเทพ ผู้รับการถ่ายทอดวิชาการลงทองนพเก้า จากหลวงปู่เพียงรูปเดียว (เนื่องจากได้สืบเสาะดูแล้ว ไม่พบศิษย์หลวงปู่รูปใดหรือท่านใด ได้สืบต่อวิชานี้เลย) หากท่านอายุ 60 ปีขึ้นไป น่าจะเคยได้ยินชื่อหลวงพ่อพิชัยฯ เพราะท่านลงข่าวหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกไทมส์ ในการลงทองแล้วใช้มีด( ด้ามใหญ่) ฟันหลังทันทีหลังจากลงทองเสร็จ หลวงพ่อพระครูพิชัยณรงฤทธิ์ ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ทองตั้งแต่ยังเยาว์วัย เนื่องจากสมัยเด็กท่านเป็นศิษย์วัด วัดสามปลื้ม ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่ทองได้เดินทางไปมาหาสู่เป็นประจำ หลวงพ่อท่านจึงรู้จักมักคุ้นจนได้ครอบครองตะกรุดใต้น้ำที่หลวงปู่ท่านจาร และไปศึกษาเล่าเรียนกับหลวงปู่เป็นเวลาถึง 3 ปี วิชาการที่หลวงปู่ถ่ายทอดให้หลวงพ่อมีมากมาย ทั้งทำตะกรุด รดน้ำมนต์ ถอดถอนคุณไสย แต่ที่สำคัญคือการลงทองนพเก้านั่นเอง การลงทองนพเก้านั้น จะเป็นการลงทอง 9 แผ่น ไว้บริเวณต่างๆของร่างกาย คือ หน้า หน้าอก และหลัง ซึ่งหากจะลงให้สมบูรณ์ต้องลง 3 ครั้ง จะคุ้มครองตลอดชีวิต หากลง 1 ครั้ง คุ้มครอง 3 เดือน 2 ครั้ง คุ้มครอง 3 ปี ถ้าจะให้ติดตัวตลอดไปต้อง 3 ครั้ง การลงทองนพเก้านี้มิใช่เพื่อทางเมตตามหานิยมดั่งลงนะหน้าทองเพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมไปถึง คงกระพัน แคล้วคลาด เมตตา มหานิยม อำนาจ อีกทั้งยังป้องกันคุณและของที่เขากระทำมาอีกด้วย ดังคำที่อาจารย์ท่านให้ลูกศิษย์พูดกำกับเวลาลงทองทุกครั้งว่า "อยู่ คง เหนียว สวย งาม มีอำนาจ" สมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่นั้นเมื่อลงเสร็จก็จะฟันหลังทันที มีดที่ฟันนั้นผมเห็นมาแล้ว ไม่ใช่มีดแบบปัจจุบัน แต่เป็นดาบแบบโบราณที่มีความหนักและคมอยู่ในตัวเอง ซึ่งการลงดาบที่หลังนั้นนักวิทยาศาสตร์หลายคนออกมาพูดว่า เป็นเพราะหนังตึงจึงมีความยืดหยุ่นให้ไม่เข้า แต่เมื่อผมคุยกับวงสนทนารุ่นน้องที่เป็นเด็กช่าง ผ่านชีวิตนักบู๊โชกโชน มันก็ได้แต่บอกว่า "พี่ลองให้พวกที่ออกมาพูดว่าฟันแล้วหนังตึงเลยไม่เข้ามาหาผมสิ เดี๋ยวผมฟันให้ดูว่ามันเข้าไม่เข้า" หลักการทางวิทยาศาสตร์บางอย่างที่หาเหตุผลมาหักล้างเรื่องขลัง เราก็ควรฟังไว้แบบ ฟังหูไว้หูเหมือนกัน เพราะไสยศาสตร์เป็นสิ่งที่นอกเหนือธรรมชาติอันวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ การลงทองนพเก้านั้นเหนียวหรือไม่ ผมไม่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อตามความเห็นของผมได้ แต่เพราะความห่ามของผม เมื่อลงครบสามครั้งไม่รู้เกิดร้อนวิชาอะไรขึ้นมา ผมหยิบที่เปิดกระป๋องซึ่งข้างบนเป็นปลายแหลม (สำหรับเจาะกระป๋องนม) มาดู นึกถึงครูบาอาจารย์ที่ลงให้อันมีหลวงปู่ทองเป็นที่สุด แล้วเอาคมแหลมนั้นกรีดเข้าไปที่หนังตึงๆของผม แบบไม่คณามือ ผลออกมามีแค่รอยแดงปรากฎ ไม่มีแม้กระทั่งยางบอน ทั้งที่กรีดลงไปไม่ยั้งเหมือนกัน นี่เป็นแค่ประสบการณ์ที่ผมเจอะเจอมา แต่สำหรับลูกศิษย์หลวงพ่อพระครูพิชัยแล้ว หากจะให้เล่าประสบการณ์ก็คงไม่หมดแน่นอน นี่เป็นเพียงบางส่วนที่ผมได้สัมผัสกับสายวิชาของหลวงพ่อพระครูพิชัยฯ แม้จะไม่ทันท่านแต่ก็ยังโชคดีที่ได้รับรู้และรับสิ่งที่ดีจากศาสตร์วิชาสายนี้ จึงได้เขียนลงในสวนขลังที่นี้นี่เอง |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments