พระบัณฑูรย์เศียรโล้นมารวิชัย (นิยม) กรุวังหน้า กรุงเทพฯ หน้าตาคมชัด ฟอร์มเต็มสวยแชมป์-สมนึก - webpra
Tel / ID Line : 0895008566

หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระบัณฑูรย์เศียรโล้นมารวิชัย (นิยม) กรุวังหน้า กรุงเทพฯ หน้าตาคมชัด ฟอร์มเต็มสวยแชมป์

พระบัณฑูรย์เศียรโล้นมารวิชัย (นิยม) กรุวังหน้า กรุงเทพฯ หน้าตาคมชัด ฟอร์มเต็มสวยแชมป์ - 1พระบัณฑูรย์เศียรโล้นมารวิชัย (นิยม) กรุวังหน้า กรุงเทพฯ หน้าตาคมชัด ฟอร์มเต็มสวยแชมป์ - 2พระบัณฑูรย์เศียรโล้นมารวิชัย (นิยม) กรุวังหน้า กรุงเทพฯ หน้าตาคมชัด ฟอร์มเต็มสวยแชมป์ - 3
ชื่อร้านค้า สมนึก - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระบัณฑูรย์เศียรโล้นมารวิชัย (นิยม) กรุวังหน้า กรุงเทพฯ หน้าตาคมชัด ฟอร์มเต็มสวยแชมป์
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ โทร.089-500-8566 / ID Line : 0895008566
อีเมล์ติดต่อ jinn.jinn@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 05 ก.ย. 2562 - 12:52.10
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 15 ส.ค. 2563 - 23:55.37
รายละเอียด
พระบัณฑูรณ์ หรือที่นักเลงพระรุ่นปู่เรียกขานกันว่า"สมเด็จพระบัณฑูรย์" ซึ่งเชื่อกันว่าเด่นดังทางคงกระพัน มหาอุตม์ ว่ากันว่า
แม้แต่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ก็เคยประจักษ์ในพุทธคุณด้วยพระองค์เองมาแล้ว ก่อนที่พระองค์จะหันมาสนพระทัยในวิชาไสยเวทย์
จนเชี่ยวชาญเป็นที่ทราบกันทั่วไปนั้น พระกรุวังหน้านี้เอง ที่พระองค์เคยประทับพระแสงปืน ยิงทดสอบด้วยพระองต์เอง ปรากฏว่าพระแสงปืนพก
ยิงไม่ออก แม้จะเปลี่ยนเป็นปืนพระรามหก อันถือว่าเป็นปืนหลวงที่ตัดอาถรรพณ์ได้ ก็ยิงไม่ออก หากถ้าเบนปากกระบอกปืน ออกจากพระขึ้นบนฟ้า
กระสุนที่ไม่ลั่น กลับส่งเสียงคำรามลั่นทันใด

หากดูจากพุทธศิลป์และเนื้อหา ก็พอจะสันนิษฐานได้ว่าพระบัณฑูรย์ กรุวังหน้า มีศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ ยุคต้น และ ไม่เกินยุคอยุธยาตอนปลาย
งานลงรักแดง ปิดทอง ไว้ทำให้ดูงดงามเข้มขลังมีเสน่ห์ ด้วยคงจะเป็นฝีมือช่างหลวง จัดเป็นพระบูชาขนาดเล็ก สร้างในยุคใกล้เคียงกับ "พระโคนสมอ"
ซึ่งแคกกรุออกมาก่อนหน้า ที่มีพระจำนวนมากมายหลายสิบพิมพ์ โดยพระโคนสมอนั้นเรียกขานเรียกตามสถานที่ ๆ พบ คือ โคนต้นสมอพิเภก
ที่ในบริเวณเขตวังหน้า หรือ "พระราชวังบวรสถานมงคล"เมื่อประมาณ พ.ศ. 2475 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทั้งนี้ต่อมาภายหลังสงครามมหาเอเซียบูรพา สิ้นสุดลง (พ.ศ.2488) เมื่องสงครามโลกสงบใหม่ ๆ เศรษฐกิจฝืดเคืองข้าวยากหมากแพง มักมีขโมยลักลอบ
เข้าไปขุดสมบัติ ที่ในบริเวณอาณาเขตของวังหน้า ที่ค้นพบกรุในครั้งแรก ลักลอบนำออกมาขาย ในตลาดมืดจำนวนไม่น้อย ก่อนที่กรมศิลปากร จะได้ขึ้นบัญชี
ณ สถานที่นี้ ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เพื่อจัดเตรียมสถานที่ทำเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติต่อไป

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2507 เมื่อได้รับอนุมัติงบบูรณะวังหน้าโดยเฉพาะ จึงได้เริ่มทำการบูรณะซ่อมแซมวัดพระแก้ววังหน้า ซึ่งในครั้งนี้ ทางกรมศิลปากร
ได้มุ่งทำการบูรณะครั้งใหญ่ ในบริเวณที่เป็นอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้า ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต และพระพุทธสิหิงค์มาก่อน จากการสำรวจพบว่า
ฐานชุกชีเดิม ที่เป็นปูน และโครงด้านในหมดอายุการใช้งาน บูรณะไม่ได้ จึงทำเรื่องขอทุบทิ้งทั้งหมด เพื่อก่อสร้างใหม่ตามแบบเดิม

ในครั้งนี้ถือได้ว่า เป็นการเปิดกรุของ "พระกรุวังหน้า" อย่างเป็นทางการทั้ง ๆ ที่ก่อนน้านี้มีผู้ลักลอยเข้าไปขุดหาสมบัติมาหลายสิบปี จากบันทึกของกรมศิลปากร
ที่เข้าไปสำรวจระบุหลักฐานไว้ดังนี้

"การขุดฐานชุกชี หลังจากได้ทุบฐานไปแล้วพบ กรุสมบัติอยู่ใต้ฐานชุกชี พบกรุพระซ้อนกันอยู่โดยเริ่มแต่ชั้นบนสุดลงไปจนถึงล่างสุด ลักษณะของกรุ
มีฝาผนึกทุกกรุ และอยู่สลับกันไม่ทับซ้อนกัน ต้องใช้การทดสอบและประมาณการ จากหลักโบราณคดีไทย จึงสามารถเปิดกรุได้ทั้งหมด"

ซึ่งพระพิมพ์ในกรุที่พบมีทั้งพระบูชา, พระพิมพ์เนื้อชินแบบโคนสมอ พระพิมพ์เนื้อดินเผาของสมัยต่าง ๆ และ พระพิมพ์เนื้อดินเผาอีกแบบที่มีจำนวน
น้อยกว่ากันมาก ได้แก่พระพิมพ์เนื้อดินเผาแบบที่มีลงรักปิดทองล่องชาดทุกองค์ ซึ่งก็คือ"พระกรุวังหน้า" นั่นเอง

พระที่พบในกรุ ที่เป็นพระบูชาที่ไม่ชำรุด ได้รับการนำเข้าไปไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ส่วนพระโคนสมอ เนื้อดิน และเนื้อชิน ที่ส่วนใหญ่ ชำรุด
ผุระเบิดไปตามกาล เวลานำออกให้ประชาชนเช่าบูชา ส่วนพระวังหน้าสามพิมพ์นี้บันทึกของกรมศิลปากรระบุชัดว่า

"เนื่องจากเห็นว่าพระมีจำนวนน้อยจึงมิได้นำออกให้บูชาเหมือนกับพระอื่นๆ ที่พบในกรุเดียวกัน"

ซึ่งต่อมาหลังการก่อสร้าง พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ แล้วเสร็จสมบูรณ์ กรมศิลปากรจึงได้นำสิ่งของทั้งหมดมาจัดตั้งแสดงโบราณวัตถุไว้จนปัจจุบัน

จากการบันทึกของกรมศิลปากร ในครั้งนั้นพระกรุนี้มีอยู่ด้วยกันสามพิมพ์คือ

1. พิมพ์เศียรแหลม เป็นพระเนื้อดินเผาลงรักปิดทองล่องชาด ขนาดเขื่องใหญ่โต ไล่เลี่ยงกับพระโคนสมอ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิ
อยู่บนฐานผ้าทิพย์ ฐานขาสิงห์ลดหลั่นกันมาอย่างงดงาม

หากดูกันตามศิลปะ และสกุลช่างแล้วน่าจะเป็นรัตนโกสินทร์ยุคต้น เหตุว่าพระกรุที่เป็นของอยุธยา แล้ฐานผ้าทิพย์จะยาวลงมาถึงฐานชั้นล่าง
และจากการพบพระวัดสามปลื้ม ก็พบว่ามีพิมพ์เศียรแหลม และเศียรโล้นคล้ายกับพระกรุวังหน้า เสมือนว่าล้อพิมพ์หรือสร้างด้วยคติความนิยมที่คล้ายกัน

2. พิมพ์เศียรโล้น เป็นพระเนื้อดินเผาเช่นเดียวกัน ลักษณะเป็นพิมพ์สมาธิ และพิมพ์มารวิชัย (พบน้อยมาก) และฐานเป็นศิลปะเดียวกับพิมพ์เศียรแหลม
เพียงแต่ว่าไม่มีพระเกศเมาลีด้านบน คล้ายกับว่าเป็นพระพุทธสาวก แต่มีจำนวนน้อยกว่าพระพิมพ์แรกมาก ทำให้ในภายหลังค่านิยมในการสะสมสูงกว่า

3. พิมพ์สี่เหลี่ยมไม่มีฐานผ้าทิพย์ เป็นพระเนื้อดินเผาทรงกรอบสี่เหลี่ยม ปลายพระเศียรโผล่พ้นเส้นกรอบด้านบนขึ้นไปพระพักตร์ (หน้า) ใหญ่
ประทับนั่งสมาธิไม่มีบัว และฐานผ้าทิพย์รองรับ สำหรับพิมพ์นี้มีจำนวนน้อยมากนาน ๆ จะได้พบสักองค์จะเรียกว่า "พระคะแนน" ก็เห็นจะไม่ผิดนัก

นอกจากนี้ยังมีผู้พบพระปิดตาเนื้อครั่งจำนวนหนึ่ง ที่เรียกกันว่า " พระปิดตากรุวังหน้า" อีกด้วย


ขอขอบคุณเครดิตข้อมูล
https://www.web-pra.com/shop/jorawis/show/996017

*******************************************************
ยินดีรับบัตรเครดิต-เดบิต-พรีเมี่ยม..ทุกธนาคาร. ฟรี..ไม่มีชาร์จ

บริการจ่ายรายเดือนกับ KBank Smart Pay 0% นาน 3-10 เดือน

รวดเร็ว ปลอดภัย แบ่งจ่ายสบาย ๆ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top