หลวงปู่วรพรตวิธาน รูปถ่ายรุ่นแรก-11 ธันวา - webpra
"พระที่ท่านเช่าบูชาไปจากร้าน รับประกันพระแท้ตลอดชีพ''

หมวด พระเกจิภาคอีสานเหนือ

หลวงปู่วรพรตวิธาน รูปถ่ายรุ่นแรก

หลวงปู่วรพรตวิธาน รูปถ่ายรุ่นแรก - 1หลวงปู่วรพรตวิธาน รูปถ่ายรุ่นแรก - 2หลวงปู่วรพรตวิธาน รูปถ่ายรุ่นแรก - 3
ชื่อร้านค้า 11 ธันวา - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง หลวงปู่วรพรตวิธาน รูปถ่ายรุ่นแรก
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเกจิภาคอีสานเหนือ
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ vvvrapong99@hotmail.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 10 ต.ค. 2554 - 12:36.46
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 27 ต.ค. 2557 - 18:12.22
รายละเอียด
ในที่สุดข้าพเจ้า ก็ได้ครอบครองเป็นเจ้าของ โดยสมบูรณ์
หลังจากจีบอยู่นาน จนพี่มหาวี ศิษย์เอกหลวงปู่ใจอ่อน
จำนวนสร้างประมาณ 20 ชิ้น ประมาณปี 25 กว่าๆ
แต่เท่าที่ปรากฏเห็นในขณะนี้มีเพียง 2 ใบ เท่านั้น

สุดยอดปรารถนาของผู้ศรัทธา
ต่อให้มีเงินก็ใช่ว่าจะได้ครอบครอง

หลวงปู่วรพรตวิธาน วัดจุมพล จังหวัดขอนแก่น
พระเถราจารย์ผู้สร้างคุณูปการฝากไว้ในแผ่นดิน
พระผู้มากด้วยเมตตา และปาฏิหารย์


Link ไปยังเว็บบอร์ด หลวงปู่วรพรตวิธาน
http://www.web-pra.com/Forum/Topic/Show/32331/Page/1

ประวัติ หลวงปู่วรพรตวิธาน “หลวงปู่วรพรตเหยียบรถเดี่ยง” .. นามเดิมท่านชื่อ “พันธ์ ทับงาม” เกิดวันพุธที่ 1 ธันวาคม 2444 ที่บ้านน้ำอ้อม อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด (ที่จริงแล้วท่านเกิดในปี พ.ศ 2437 แต่แจ้งวันเกิดช้ากว่ากำหนดโดยวันเดือนเกิดไม่ทราบแน่ชัด) บิดาชื่อ พ่อศิลา มารดาชื่อ แม่ทอง ทับงาม ชีวิตเยาว์วัยท่านเป็นคนเรียนหนังสือเก่งมาก จนขุนเกษตรวิสัยเจ้าเมืองร้อยเอ็ดเอาไปรับราชการเป็นเสมียนประจำตัวท่าน รับราชการจนอายุได้ 16 ปี จึงลาบวชเป็นสามเณร ณ.วัดบ้านน้ำอ้อม จนอายุได้ 21 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระต่อโดยมีพระครูธรรมสังฆบาลเป็นพระอุปัชณาย์มีฉายาว่า “ติสโส” ท่านเป็นพระหนุ่มที่เรียนหนังสือเก่งมากท่องปฏิโมกข์ได้ตั้งแต่พรรษาแรก และปี พ.ศ 2472 หลวงปู่ ท่านสอบนักธรรมชั้นเอกได้ ในปีนั้นหลวงปู่สอบนักธรรมเอกได้เพียงองรูปเดียวเท่านั้นทั่วมณฑลร้อยเอ็ด (รวมกาฬสินและมหาสารคามด้วย) จนได้รับรูปท่านเจ้าคุณพระโพธิวาศจารย์แม่กองธรรมอุบลเป็นรางวัล หลวงปู่ได้มาเรียนเทศนากับท่านเจ้าคุณกัณหา ณ วัด หนองทุ่ม อ.พล จ.ขอนแก่น (เจ้าคุณกัณหาเจ้าคณะ จังหวัดขอนแก่น ในสมัยนั้น พ.ศ 2473) ปี พ.ศ 2475 บ้านเมืองได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเจ้าคุณกัณหาจึงได้ส่งหลวงปู่วรพรตมาเป็นเจ้าอาวาสวัดจุมพล บ้านก้านเหลือง อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น อายุการสร้างวัดจุมพล ประมาณ 150 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ 2480 หลวงปู่ได้สร้าง อุโบสถขึ้นมาใหม่ เสร็จเอาปี พ.ศ 2483 ค่าก่อสร้างเป็นเงิน 2,500 บาท ปูนชีเมนต์สมัยนั้นถุงละ 1.50 บาท ปี พ.ศ. 2482 หลวงปู่ได้ขอพระราชทาน พระปรมาภิไธย์ย่อ ของรัชการที่ 8 แต่พระองค์ท่านได้พระราชทานเหรียญพระฉายาลักษณ์ของท่านให้หลวงปู่วรพรต หลวงปู่ท่านเอาเหรียญนั้นติดไว้หน้าพระอุโบสถต่อจากนั้นมาหลวงปู่ก็ได้พัฒนาวัดจุมพลมาเรื่อยๆ ตลอดจนวัดต่างๆ ในอำเภอแวงน้อย และอำเภอพล (แต่ก่อนอำเภอแวงน้อยเป็นตำบล ขึ้นอยู่กับอำเภอพล) ในการสร้างพระอุโบสถและกุฎิ รวมทั้งศาลาการเปรียญ รวมทั้งสิ้น ประมาณ 30 หลัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการขยายการปกครองออกไปอีก ทางการจึงตั้งตำบลแวงน้อยขึ้นเป็นอำเภอแวงน้อย หลวงปู่วรพรตวิธานจึงได้เป็นเจ้าคณะอำเภอแวงน้อยรูปแรก หลวงปู่ท่านเป็นผู้มีวิชาอาคมขลังมาก ได้เรียนวิชาอาคมมาจาก 5 อาจารย์ด้วยกัน เช่น หลวงศรีธรรมศาสตร์ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม หลวงปู่ศึกษาวิชาไสยศาสตร์ จากอาจารย์ครีธรรมศาสตร์ จนเรียนจบเรียบร้อยแล้วก็ได้เดินทางไปศึกษาวิชาอาคมจาก พระอาจารย์ขันวัดท่าสะแบง ต.มะบ้า อ.ธวัชบุรี จ. ร้อยเอ็ด พระอาจารย์ขันวัดท่าสะแบงนี้ท่านเป็นผู้มีวิชาอาคมรูปหนึ่งในภาคอีสานในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นวิชาอาคมทางด้านเมตตามหานิยม, คงกระพันชาตรี, แคล้วคลาด, มหาอุต ป้องกันขับไล่ คุณไสย คุณผี คุณคน หลวงปู่วรพรตท่าน ก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมจากพระอาจารย์ขันจนหมดสิ้น แล้วหลวงปู่ก็ได้ไปศึกษากับอาจารย์บ้านฟ้าเหลี่ยม อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด เกจิอาจารย์ดังองค์หนึ่งในสมัยนั้น ขนาดท่านปัสสาวะรดต้นไม้ เอาปืนยิงต้นไม้ ยังยิงไม่ออกแต่ก็ยังไม่พอความต้องการของหลวงปู่ หลังจากนั้นท่านก็ได้มุ่งหน้าไปศึกษากับ หลวงปู่ชม ฐานธัมโม แห่งวัดกู่ พระโกนา อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่าน หลวงปู่ชมรูปนี้ท่านมีวิชาอาคมแก่กล้าสามารถมาก มีอิทธิปาฏิหาริย์นานัปการ ท่านสามารถล่องหนหายตัวได้ หลวงปู่ชมท่านได้สร้าง วัดขึ้นบริเวณใกล้กับกู่โกนาอยู่ทางจะไป อ. ท่าตูม จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นเส้นทางที่จะมุ้งไปเขมรต่ำ (ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน) หลวงปู่ท่านได้ศึกษาวิชาอาคมและวิปัสนากัมมัฏฐาน อยู่ 2 ปี เมื่อ พ.ศ. 2479 ท่านได้กราบลาหลวงปู่ชม ออกมุ่งหน้ามายัง จ. ขอนแก่น เพื่อกับวัดจุมพลของท่าน หลังจากที่ท่านได้เล่าเรียนวิชาอาคมจากพระอาจารย์ ต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้ออกเดินธุดงค์ไปกับหลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต และได้แยกทางกันที่ อ. มัญจาคีรี จากนั้นหลวงปู่วรพรตท่านก็ได้เดินผ่านดงพญาเย็น-พญาไฟ ผ่านไปประเทศลาว พม่า เขมร เรื่องราวตอนที่ท่านเดินธุดงค์ ไปนั้นมีมากมาย ผจญทั้งสัตว์ร้ายและภูตผีปีศาจ แต่ท่านก็ผ่านอุปสรรคนั้นมาได้ หลวงปู่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ในสมัยรัชการที่ 8 มีพระราชทินนามว่า “พระครูวรพรตวิธาน” เราจึงเรียกติดปากว่า “หลวงปู่วรพรต” ตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่ได้แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏแก่สายตาของผู้คนเป็นครั้งแรก ก็คือ เรื่องหลวงปู่เหยีบรถกระดก (ลอยขึ้น) เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2503 หลวงปู่จะออกเดินทางจาก อ. พล จ. ขอนแก่น ด้วยรถโดยสารเพื่อจะไป จ.ร้อยเอ็ด รถคันที่หลวงปู่จะขึ้นเป็นรถสองแถวขนาดใหญ่ ตามธรรมดาโดยทั่วไปแล้วพระเณรจะต้องนั่งด้านหน้าติดกับคนขับ เพื่อจะได้ไม่ปะปนกับผู้โดยสารคนอื่น แต่รถคันนี้มีผู้หญิงนั่งเต็มอยู่ด้านหน้าแล้ว ด้านหลังรถยังพอมีที่นั่งได้ คนขับรถจึงบอกให้หลวงปู่ขึ้นทางท้ายรถ หลวงปู่ก็ได้ปฏิบัติตามโดยดี แต่ก่อนจะขึ้นรถหลวงปู่ได้พูดกับคนขับรถว่า “รถจะไม่เดี่ยงหรือ”(เดี่ยงเป็นภาษาไทยอีสานแปลว่า “ กระดก”) คนขับก็บอกว่า “ไม่เดี่ยงแน่เพราะรถรับน้ำหนักได้หลายตัน” พอคนขับพูดจบ หลวงปู่ก็ก้าวเท้าขึ้นรถ ปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้นทันที ด้านหน้ารถลอยขึ้น เหมือนมีมือยักษ์มาจับยกขึ้น คนขับรถเห็นเช่นนั้นถึงกับตกตะลึงจึงกราบนิมนต์หลวงปู่มานั่งด้านหน้า โดยให้พวกผู้หญิงไปนั่งด้านหลัง ตั้งแต่นั้นมาสมญานาม “หลวงปู่วรพรตเหยียบรถเดี่ยง” จึงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นในเขตขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา ต่างก็รู้เรื่องกันดี เคยมีญาติโยมที่อยู่ไกลถึง จ. กระบี่ เดินทาง มากราบขอคาถาเหยียบรถกระดกจากท่าน ท่านก็มอบคาถานะโมพุทธายะให้ไป แต่จะทำได้เหมือนหลวงปู่หรือเปล่าไม่ทราบ


ขอบพระคุณที่ท่านได้ให้ความไว้วางใจ ครับผม

อย่าลืมคลิก พระเครื่องทั้งหมดของทางร้าน 11 ธันวา นะครับ อาจมีพระที่คุณสนใจอยากได้ครับ ขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาดูครับ

http://www.web-pra.com/Shop/V-Amulet

11 ธันวา
โทร.087-0257282

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top