เหรียญหล่อพิมพ์ 5 เหลี่ยม พระสังวราฯ (ชุ่ม) วัดพลับ.-วาสนา-พระเครื่อง - webpra
VIP
พระแท้...ราคาสมเหตุสมผล...โทร.089-4611699

หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520

เหรียญหล่อพิมพ์ 5 เหลี่ยม พระสังวราฯ (ชุ่ม) วัดพลับ.

เหรียญหล่อพิมพ์ 5 เหลี่ยม พระสังวราฯ (ชุ่ม) วัดพลับ. - 1เหรียญหล่อพิมพ์ 5 เหลี่ยม พระสังวราฯ (ชุ่ม) วัดพลับ. - 2เหรียญหล่อพิมพ์ 5 เหลี่ยม พระสังวราฯ (ชุ่ม) วัดพลับ. - 3
ชื่อร้านค้า วาสนา-พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหล่อพิมพ์ 5 เหลี่ยม พระสังวราฯ (ชุ่ม) วัดพลับ.
อายุพระเครื่อง 107 ปี
หมวดพระ พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
ราคาเช่า 2,450 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 089-4611699 เวลาที่สะดวก 17.00 น. ถึง 22.00 น.
อีเมล์ติดต่อ Line : 0894611699
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 06 ส.ค. 2563 - 10:30.46
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 15 เม.ย. 2567 - 18:04.42
รายละเอียด
เหรียญหล่อพิมพ์ห้าเหลี่ยม พระสังวรานุวงษ์ (ชุ่ม ติสฺสโร) วัดราชสิทธาราม (พลับ) บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร องค์ที่ 2

ขนาดโดยประมาณ ฐานกว้าง 1.8 ซ.ม. สูง 2.6 ซ.ม.

พระสังวรานุวงษ์เถระ (ชุ่ม) มีนามเดิมว่า ชุ่ม เป็นบุตรนายอ่อน โพอ่อน และนางขลิบ โพอ่อน เกิดที่บ้านตำบลเกาะท่าพระ อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี เมื่อวันพุธ แรม 1 ค่ำ เดือน 12 ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. 1215 ตรงกับวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2396 ในต้นรัชกาลที่ 4 เมื่ออายุได้ 21 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดราชสิทธาราม มีพระสังวรานุวงษ์เถระ (เมฆ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์กลั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับกับพระสังวรานุวงษ์เถระ (เมฆ) และศึกษาพระกรรมฐานต่อกับพระสังวรานุวงษ์เถระ (เอี่ยม) ครั้งยังเป็นพระครูสังวรสมาธิวัตร และได้ออกสัญจรจาริกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นประจำทุกปี
ในเรื่องการออกธุดงค์ของพระสังวรานุวงษ์เถระ (ชุ่ม) มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการธุดงค์ไปกราบนมัสการหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอาจารย์มนัส โอภากุล ได้เขียนถึงไว้ในหนังสือ ‘ประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณ’ ว่า
“ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบกันต่อมาว่า ท่านเจ้าคุณสังวราฯ วัดพลับ ธนบุรี ธุดงค์มานมัสการหลวงพ่อวัดป่าเลไลย์ มาถึงวัดป่าเป็นเวลาเย็น ท่านเจ้าคุณมีความปรารถนาจะเข้าไปนมัสการหลวงพ่อวัดป่า แต่เข้าประตูวิหารไม่ได้ เพราะเด็กเฝ้าประตูพระวิหารกลับเสียก่อน ท่านจึงลองเอามือผลักประตูบานใหญ่ก็หาได้ขยับเขยื้อนไม่ เพราะใส่ดาลข้างในเข้าไม่ได้ ท่านจึงกลับมานั่งพักเหนื่อยอยู่ข้างนอก สักพักได้ยินประตูใหญ่เปิดดังเอี๊ยด แล้วบานประตูก็เผยออก ท่านเจ้าคุณจึงเข้าไปนมัสการ คิดว่าคงจะมีคนมาเปิดให้ เมื่อนมัสการแล้วท่านเจ้าคุณจึงเที่ยวสำรวจดู เพื่อให้คนที่เปิดบานประตูใส่ดาลเสียตามเดิม ค้นหาอยู่เป็นนานก็ไม่พบ นึกประหลาดใจจึงกลับไปนั่งพักอยู่ที่เดิม ชั่วครู่ได้ยินเสียงประตูลั่นดังเอี๊ยดอีก บานประตูใหญ่ปิดสนิทแล้ว ท่านจึงเข้าไปดูไม่เห็นมีใครอยู่ในที่นั้นเลย ท่านเจ้าคุณพักอยู่ที่นั่นหนึ่งคืน รุ่งเช้าได้เล่าให้คนทำบุญฟังว่า ‘หลวงพ่อวัดป่าองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์นัก บอกลูกหลานอย่าได้ไปทำอุจาดลามกสกปรกในสถานที่นี้ จะเสื่อมเสียแก่ตัวเองและเป็นอันตราย’”
ในเวปไซค์ ‘สมเด็จสุก’ ของวัดราชสิทธาราม ได้กล่าวถึงประวัติพระสังวรานุวงษ์เถระ (ชุ่ม) ตอนหนึ่งว่า
“ต่อมาได้รับสืบทอดไม้เท้าไผ่ยอดตาลจากพระสังวรานุวงษ์เถระ (เมฆ) องค์พระอุปัชฌาย์”
จึงได้ลองค้นหาพบว่าในเวปไซค์ ‘สมเด็จสุก’ ในประวัติ ‘พระญาณโพธิ์เถระ (ขาว)’ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของไม้เท้าไผ่ยอดตาล ว่า
“พระอาจารย์ขาวเมื่อท่านมาสถิตย์วัดท่าหอยแล้ว พระอาจารย์สุก พระอาจารย์ของท่านได้มอบไม้เท้าเบิกไพรให้ท่าน 1 อัน เรียกว่าไม้เท้าไผ่ยอดตาล พระอาจารย์สุกท่านได้ไม้เท้าไผ่ยอดตาลมาจากถ้ำในป่าลึกแห่งหนึ่ง เป็นของบูรพาจารย์ท่านทิ้งสังขารไว้ในถ้ำแห่งนั้นพร้อมไม้เท้าเบิกไพรไผ่ยอดตาล” พระอาจารย์สุกนั่นคือ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
ในปี พ.ศ. 2421 ขณะยังเป็นพระชุ่มบวชได้เพียง 4 พรรษา ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวด จากนั้นในปี พ.ศ. 2424 ได้เป็นพระใบฎีกา ว่าที่ฐานานุกรมชั้นที่ 3 ของพระสังวรานุวงษ์เถระ (เมฆ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดที่ ‘พระครูสังวรสมาธิวัตร’ ได้รับพระราชทานนิตยภัตเดือนละ 7 บาท และในปีเดียวกันนี้พระครูสังวรสมาธิวัตร (ชุ่ม) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคณาจารย์เอกฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ ‘พระสังวรานุวงษ์เถระ’ รับพระราชทานพัดงาสานเป็นองค์สุดท้ายของวัดราชสิทธาราม ได้รับพระราชทานนิตยภัตเดือนละ 12 บาท
ปี พ.ศ. 2458 พระสุธรรมสังวร (ม่วง) ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามกลับไปยังวัดเดิม คือ วัดประยูรวงศาวาส ซึ่งได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2457 หลังจากพระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเนื่องจากชราภาพ แต่อยู่ในตำแหน่งเพียง 3 เดือน ก็ขอลาออกจากตำแหน่งด้วยอาพาธกระเสาะกระแสะเรื่อยมาจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสวัดได้ จึงลาออกกลับไปอยู่วัดเดิมเพื่อรักษาตัว
พระสังวรานุวงษ์เถร (ชุ่ม) จึงได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด และในปี พ.ศ. 2459 ได้รับนิตยภัตเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 2 บาท รวมเป็น 24 บาท เทียบเท่าพระราชาคณะชั้นราช
มีพระเกจิอาจารย์ดังในยุคนั้นมาร่ำเรียนกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับกับพระสังวรานุวงษ์เถระหลายรูปด้วยกัน เช่น พระครูประศาสนสิกขกิจ (พริ้ง อินฺทโชติ) วัดบางปะกอก พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) วัดประดู่ฉิมพลี พระครูพรหมญาณวินิจ (กล้าย สุวณฺหังโส) วัดหงส์รัตนาราม พระครูกสิณสังวร (ขัน) วัดสระเกศ พระพุทธวิถีนายก (เพิ่ม ปุญฺญวสโน) วัดกลางบางแก้ว
ส่วนหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค นั้นไม่ทันพระสังวรานุวงษ์เถระ (ชุ่ม) จึงไปเรียนกับหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
วัตถุมงคลของพระสังวรานุวงษ์เถระ (ชุ่ม) ได้สร้างไว้มากมายหลายแบบ เช่น
1. ตะกรุดสามกษัตริย์
2. ลูกน้ำเต้ากันไฟ
3. พระพิมพ์เล็บมือ หรือพิมพ์ซุ้มกอ เนื้อชินตะกั่วถ้ำชา
4. พระพิมพ์ห้าเหลี่ยม เนื้อชินตะกั่วถ้ำชา เนื้อสำริด และเนื้อเงิน
5. พระพิมพ์สองหน้า เนื้อตะกั่ว
6. พระพิมพ์เนื้อเงิน และเนื้อตะกั่ว
7. พระปิดตา เนื้อตะกั่วอาบปรอท
ท่านครองวัดราชสิทธารามอยู่นาน 12 ปี มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม 2470 สิริอายุ 75 ปี พรรษา 54.

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top