เหรียญพระอาจารย์มหาปิ่น วัดป่าศรัทธารวม ปีพศ.๒๕๑๘ รุ่นแรก รุ่นเดียว พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร อธิฐานจิต-เว็บพระแท้1 - webpra
VIP
***เกียรติยศย่อมเกิดจากการกระทำที่สุจริต***

หมวด พระเกจิภาคอีสานใต้

เหรียญพระอาจารย์มหาปิ่น วัดป่าศรัทธารวม ปีพศ.๒๕๑๘ รุ่นแรก รุ่นเดียว พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร อธิฐานจิต

เหรียญพระอาจารย์มหาปิ่น วัดป่าศรัทธารวม ปีพศ.๒๕๑๘ รุ่นแรก รุ่นเดียว พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร อธิฐานจิต - 1เหรียญพระอาจารย์มหาปิ่น วัดป่าศรัทธารวม ปีพศ.๒๕๑๘ รุ่นแรก รุ่นเดียว พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร อธิฐานจิต - 2
ชื่อร้านค้า เว็บพระแท้1 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญพระอาจารย์มหาปิ่น วัดป่าศรัทธารวม ปีพศ.๒๕๑๘ รุ่นแรก รุ่นเดียว พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร อธิฐานจิต
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเกจิภาคอีสานใต้
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ gt540@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 29 ส.ค. 2557 - 03:56.11
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 30 ส.ค. 2557 - 14:46.44
รายละเอียด
เหรียญพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล แห่งวัดป่าศรัทธารวม จัดสร้างเมื่อปีพศ.๒๕๑๘ เนื่องในเฉลิมฉลองพระพุทธทีปังกร นับเป็นเหรียญรุ่นแรก รุ่นเดียวของพระอาจารย์มหาปิ่น โดยพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แผ่เมตตาอธิฐานจิต เป็นเหรียญหายากอีกหนึ่งรุ่นในสายพระกรรมฐาน(สายพระอาจารย์มั่น) ควรค่าแห่งการสะสมอย่างยิ่ง ของดีที่ถูกซ่อนเร้น

ประวัติวัดป่าศรัทธารวม

-เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาและเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมาได้ดำริที่จะสร้างวัดอรัญญวาสีขึ้นในจังหวัดนครราชสีมาสำหรับพระฝ่ายวิปัสสนาธุระ และได้อาราธนาพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล และคณะประมาณ ๖-๗ รูป มาจากจังหวัดขอนแก่น เมื่อมาถึงจังหวัดนครราชสีมาแล้ว สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ได้นำไปปักกลดที่ป่าช้าแห่งที่ ๓ (ปัจจุบัน เขตพื้นที่การศึกษาที่ ๑๑) มีคนเลื่อมใสศรัทธาไปทำบุญจำนวนมาก

-หลวงชาญนิคม (ทอง จันทศร) ทราบความประสงค์ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์จึงได้ถวายที่ดินสร้างวัด ชื่อว่า “วัดป่าสาลวัน” เพราะบริเวณวัดโดยมากเป็นป่าไม้เต็งรัง คณะสงฆ์ได้ตรวจดูความเหมาะสมแล้ว หลวงชาญนิคมพร้อมบุตรภรรยาจึงรับจัดทำเสนาสนะเพื่อให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษา

-พ.ศ. ๒๔๗๕ ในระหว่างที่สร้างเสนาสนะวัดป่าสาลวันยังไม่แล้วเสร็จ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล และพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้เดินทางเข้ากรุงเทพมหานครเพื่อเยี่ยมอาการอาพาธของเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร และได้พักอยู่ที่นั้นตั้งแต่เดือนสามถึงเดือนหก ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๕ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล และพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดนครราชสีมาได้เข้าพักที่วัดป่าสาลวัน

-สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมาได้บัญชาให้พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นผู้นำคณะซื่งประกอบด้วยพระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์ภูมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์จันทร์ เขมปฺปตฺโต ฯลฯ รวมพระภิกษุ ๑๐ รูป สามเณร ๔ รูป ไปสร้างเสนาสนะที่ข้างกรมทหาร ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นป่าช้าที่ ๒ สำหรับเผาศพผู้ที่ตายด้วยโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค และ กาฬโรค ฯลฯ เป็นต้น ให้ชื่อว่า “วัดป่าศรัทธารวม”

- ปัจจุบัน วัดป่าศรัทธารวม ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๓๘๗ หมู่ที่ ๑ ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ถนนมาศิริแยกจากทางหลวงสายราชสีมา-โชคชัย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๑๘ ครั้งที่สอง พ.ศ. ๒๕๓๒ เนื้อที่วัดทั้งหมด ๑๓๔ ไร่

ลำดับเจ้าอาวาส

๑. หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๐ (๕ ปี)
๒. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๖ (๖ ปี)
๓. พระครูสมุห์ฉัตร ธมฺมปาโล พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๘๗ (๒ ปี)
๔-๖. หลวงพ่อบุญ, พระอาจารย์สอน, พระอาจารย์ปัญญา พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๕๐๒ (๑๕ ปี)
๗. พระรัชมงคลนายก (หลวงตาคำดี ปญฺโญภาโส) พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๑๔ (๑๒ ปี)
๘. พระครูคุณสารสัมบัน (หลวงพ่อสมาน ชิตมาโร) พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๔๙ (๓๕ ปี)
๙. พระครูสุทธิวรญาณ (คำปอน สุทฺธิญาโณ) รักษาการ พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๓ (๔ ปี)
๑๐. พระศรีธรรมาวงศาจารย์ (ไพโรจน์ ฐิตโชโต ป.ธ.๙, กศ.ม.) ปัจจุบัน

ข้อมูลการอยู่จำพรรษา ณ วัดป่าศรัทธารวม ของบูรพาจารย์

๑. หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล ๒๔๗๕-๒๔๘๐ (อายุ ๔๑-๔๖ พรรษาที่ ๑๙-๒๔) ๖ พรรษา
๒. หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี ๒๔๗๕ (อายุ ๓๐ พรรษาที่ ๑๐) ๑ พรรษา
๓. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ๒๔๗๕-๒๔๘๖ (อายุ ๓๓-๔๔ พรรษาที่ ๘-๑๙) ๑๒ พรรษา
๔. หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ๒๔๗๕ (อายุ ๓๑ พรรษาที่ ๘) ๑ พรรษา
๕. หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ๒๔๗๕ (อายุ ๓๒ พรรษาที่ ๕) ๑ พรรษา
๖. หลวงปู่ภูมี ฐิตธมฺโม ๒๔๗๕ (อายุ พรรษาที่ ) ๑ พรรษา
๗. หลวงปู่จันทร์ เขมปฺปตฺโต ๒๔๗๕ (อายุ ๒๘ พรรษา ๕) ๑ พรรษา
๘. หลวงปู่ฝั่น ปาเรสโก ๒๔๘๐ (อายุ ๓๐ พรรษาที่ ๒) ๑ พรรษา
๙. หลวงปู่สุวัจน์ สุวจฺโจ ๒๔๘๔-๒๔๘๕ (อายุ ๒๒-๒๓ พรรษาที่ ๑-๒) ๒ พรรษา
๑๐. หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม ๒๔๙๐-๒๔๙๑ (อายุ ๒๐-๒๑ พรรษาที่ ๑-๒) ๒ พรรษา
๑๑. หลวงตาคำดี ปญฺโญภาโส ๒๕๐๒-๒๕๑๔ (อายุ ๓๑-๔๓ พรรษาที่ ๑๑-๒๓) ๑๓ พรรษา

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top