ล.ป.ไข่ วัดแหลมใต้ ปี247กว่า เนื้อชันโรง พิมพ์เล็บมือเข่าตุ่ม-ยั่งยืนพระเครื่อง2 - webpra
- ยั่งยืนพระเครื่อง2
- ล.ป.ไข่ วัดแหลมใต้ ปี247กว่า เนื้อชันโรง พิมพ์เล็บมือเข่าตุ่ม
ล.ป.ไข่ วัดแหลมใต้ ปี247กว่า เนื้อชันโรง พิมพ์เล็บมือเข่าตุ่ม
ชื่อร้านค้า |
ยั่งยืนพระเครื่อง2 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
ชื่อเจ้าของร้านค้า |
|
ชื่อพระเครื่อง |
ล.ป.ไข่ วัดแหลมใต้ ปี247กว่า เนื้อชันโรง พิมพ์เล็บมือเข่าตุ่ม
|
อายุพระเครื่อง |
- |
หมวดพระ |
พระเกจิภาคตะวันออก |
ราคาเช่า |
-
|
เบอร์โทรติดต่อ |
(ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ |
surasit9373@gmail.com |
สถานะ |
|
Facebook |
|
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ |
อา. - 27 ม.ค. 2556 - 16:48.04 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ |
อา. - 19 เม.ย. 2558 - 08:35.40 |
รายละเอียด |
ลุ่มน้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา' ก่อกำเนิดสุดยอดพระคณาจารย์ชื่อดังของเมืองไทยมากมายหลายรูปสืบทอดกันมาไม่ขาดสาย แต่ละรูปเปี่ยมไปด้วยบารมีธรรม มีฌานสมาบัติสูงส่ง วิทยาคมแก่กล้า อีกทั้งเชี่ยวชาญในวิปัสสนากัมมัฏฐาน จังหวัดฉะเชิงเทรานี้ มีพระเกจิชื่อดัง นามว่า "ไข่" 2 รูป ท่านทั้งสองเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขชาวแปดริ้วโดยกำเนิด เกิดปีเดียวกัน เคยบวชเป็นสามเณรอยู่ร่วมสำนักเดียวกัน รูปแรก 'หลวงปู่ไข่ อินทสโร' วัดบพิตร พิมุข (วัดเชิงเลน) กรุงเทพฯ ส่วนรูปที่สอง คือ 'พระครูสุตาลงกฎ' หรือ 'หลวงปู่ไข่' อดีตเจ้าอาวาสวัดแหลมใต้ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา อัตโนประวัติ หลวงปู่ไข่ ประวัติชีวิตค่อนข้างเลือนราง ด้วยขาดการบันทึกไว้อย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับชาวแปดริ้วยุคเก่าที่อยู่ทัน ล้วนศรัทธาเลื่อมใสอย่างมาก ท่านเกิดปี พ.ศ.2400 ที่บ้านคลองบางไผ่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 บิดาชื่อ นายจีนติม มารดาชื่อ นางอำแดงนาก เมื่ออายุได้ 12 ปี มารดาเสียชีวิต ท่านจึงบวชเณรอุทิศให้ โดยมีหลวงปู่ปั้น เจ้าอาวาสวัดแหลมใต้สมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งหลวงปู่ปั้นท่านก็เป็นผู้บวชให้หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน เช่นกัน จนอายุครบบวช ท่านได้อุปสมบทที่วัดแหลมใต้ กับหลวงปู่ปั้น แล้วศึกษาพระธรรมวินัยต่างๆ แต่ที่มีความสนใจเป็นพิเศษ คือฝักใฝ่ในการศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานเหมือนอาจารย์ของท่าน จนมีความเชี่ยวชาญสูงองค์หนึ่ง ทั้งนี้ ท่านได้ติดตามหลวงปู่ปั้นออกธุดงค์ไปในหลายสถานที่ และถูกนำไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคม และออกธุดงค์กับหลวงปู่จีน ไปถึงประเทศลาวและกัมพูชา ถึงปี 2443 ตำแหน่งสมภารวัดแหลมใต้ว่างลง คณะสงฆ์ฉะเชิงเทราภายใต้การปกครองของพระครูญาณรังษีมุนีวงศ์ (ทำ) วัดสัมปทวน ได้แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัด จากนั้นท่านได้เริ่มงานบูรณปฏิสังขรณ์วัดให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย โดยการสร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ เสนาสนะต่างๆ และได้รับการแต่งตั้งเลื่อนเป็นเจ้าคณะรองแขวงเมืองฉะเชิงเทรา จนต่อมาปี 2448 ได้รับพระราชทานผ้าไตรหนึ่งชุดจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงคุณความดีและความชอบของท่าน เมื่อปี 2458 ท่านได้จัดตั้งโรงเรียนนักธรรมขึ้นเป็นแห่งแรกในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยได้ไปขอพระสุนทร ซึ่งพื้นเพเป็นชาวกัมพูชาอพยพมาอยู่เมืองไทย และได้บวชจำพรรษาอยู่ที่วัดราษฎร์บุรณะ (วัดเลียบ) มาเป็นครูสอนปริยัติธรรม ปรากฏว่าการศึกษาด้านปริยัติธรรมของวัดแหลมใต้เจริญรุ่งเรือง มีชื่อเสียงไปทั่วทั้งเมืองแปดริ้วและใกล้เคียง พร้อมกันนี้ ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวง และผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมกับตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ และรับสมณศักดิ์เป็น "พระครูสุตาลงกฎ" ในราวปี 2459 หลวงปู่ไข่ เป็นเจ้าอาวาสลำดับที่ 6 ของวัดแหลมใต้ ทั้งนี้ วัดแหลมใต้ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ใครเป็นผู้สร้าง และสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากการคาดคะเนน่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 150 ปี วัดตั้งอยู่บริเวณหัวแหลมริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา เดิมมีชื่อเรียกว่า 'วัดภิกขุสังขรณ์' ต่อมาคนรุ่นหลังเรียกไม่สะดวกปาก จึงหันมาเรียกชื่อใหม่ว่า วัดแหลมล่าง เนื่องจากที่ตั้งของวัดอยู่บริเวณหัวแหลมของลำน้ำบางปะกง และยังมีอีกวัดหนึ่งซึ่งอยู่ห่างกันตั้งอยู่บนหัวแหลมตอนบนเรียกว่า วัดแหลมบน เพื่อเป็นความหมายให้รู้ต่างกันของประชาชนทั่วไป ต่อมาทางการได้เปลี่ยนชื่อวัดแหลมบน เป็นวัดสายชล ณ รังษี ซึ่งวัดที่กำเนิดพระปิดตาภควัมบดี เนื้อผงคลุกรักที่มีชื่อเสียงโด่งดังวัดหนึ่งของเมืองฉะเชิงเทรา ส่วนวัดแหลมล่างเปลี่ยนเป็นวัดแหลมใต้ ใช้เรียกขานมาจนปัจจุบัน หลังจากนั้นปี 2470 ท่านก็จัดสร้างโรงเรียน 'สุตาคาร' เพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่ลูกหลานของชาวบ้าน โดยสร้างพระเครื่องวัตถุมงคลขึ้นมาให้เช่าบูชาองค์ละ 50 สตางค์นำรายได้มาเป็นทุนดำเนินการ ซึ่งนับเป็นผลงานเกียรติยศชิ้นสุดท้ายในชีวิต บั้นปลายชีวิตจากการตรากตรำทำงานในหน้าที่มาอย่างหนัก ทำให้สังขารอ่อนแอเจ็บป่วย หลวงปู่ไข่ มรณภาพด้วยโรคชราปี 2473 สิริอายุ 73 ปี หลังจากพระราชทานเพลิงศพ วัดแหลมใต้ ได้นำอัฐิไปบรรจุไว้ที่เจดีย์ใหญ่รวมกับหลวงปู่ปั้น ผู้เป็นอาจารย์...#17 |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
Top