เหรียญ สมเด็จพระสังฆราชจวน 3- คลังพระเครื่องออนไลน์ - webpra

เหรียญ สมเด็จพระสังฆราชจวน 3

คลังพระเครื่องออนไลน์

เหรียญ สมเด็จพระสังฆราชจวน 3 - 1เหรียญ สมเด็จพระสังฆราชจวน 3 - 2เหรียญ สมเด็จพระสังฆราชจวน 3 - 3เหรียญ สมเด็จพระสังฆราชจวน 3 - 5
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ สมเด็จพระสังฆราชจวน 3
อายุพระเครื่อง 55 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
ราคาเช่า
250 บาท
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 20 ก.พ. 2561 - 10:43.35
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 17 ก.พ. 2561 - 21:17.24
รายละเอียด
เหรียญ สมเด็จพระสังฆราชจวน 3


เหรียญที่เป็นยิ่ง กว่าเหรียญ ดีนอก ดีใน

กว่าจะได้เป็นเหรียญ...ไม่ใช่ แค่ ทองแดงเปล่า ๆ ครับ....


ข้อมูลครับ


3 กุมภาพันธ์ ·


ไม่น่าเชื่อไม่ต้องผ่านโฆษณา-เช้ามาบ่ายหมด
“นายแพทย์ดนัย โอวัฒนาพานิช”แจ้งด่วน!!
“สมเด็จพระสังฆราชจวน ปี11”เกลี้ยงวัดแล้ว
นักสะสมใครช้าพกคำว่า“ผิดหวัง”ตามระเบียบ
ผู้สื่อข่าวคัมภีร์นิวส์ รายงานว่า ไม่น่าเชื่อไม่ต้องผ่านโฆษณา เช้ามาบ่ายหมด “หมอฟอร์ด-นายแพทย์ดนัย โอวัฒนาพานิช” ได้แจ้งมายังสำนักงานหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ ว่า นักสะสมแห่บูชาตั้งแต่เช้าจนหมด “เหรียญสมเด็จพระสังฆราชจวน ปี2511” ตกค้างอยู่ที่วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพฯ ขณะนี้ได้หมดลงจากวัดเรียบร้อยแล้ว สรุปว่า “เกลี้ยง” นักสะสมใครช้าพกคำว่า “ผิดหวัง”ไปตามระเบียบ ในจำนวนวัตถุมงคลตามทำเนียบของวัดมกุฎฯ แล้วนั้น สายของสมเด็จพระสังฆราช (จวน) อดีตสมเด็จพระสังฆราช จะได้รับความนิยมค่อนข้างจะกว้างขวาง แต่ก็ไม่ค่อยมีของให้หมุนเวียนมาก เหตุเพราะพระองค์จะอนุญาตให้จัดสร้างได้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น (สายธรรมยุตนิกาย)
แม้ว่าเหรียญในทำเนียบของท่านเองก็มีอยู่หลายรุ่น แต่เหรียญบูรณะเจดีย์ ปี 2511 ก็เป็นหนึ่งในเหรียญนิยม เพราะคณาจารย์ทั่วประเทศจารแผ่นทองถวายเป็นโลหะชนวนและมีผู้นำชนวนพระกริ่งมากมายมาถวายเพื่อร่วมสร้างเหรียญรุ่นนี้ พร้อมผ่านพิธีปลุกเสกอันยิ่งใหญ่ของวัด โดยได้นิมนต์พระคุณเจ้าร่วมสมัยหลายรูปมาร่วมพิธีเช่น ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม ลพ.เต๋ วัดสามง่าม โดยพระองค์ทรงเป็นประธานและได้มอบให้กับผู้ร่วมสมทบทุนบริจาคทรัพย์ในกาลนั้น
เหรียญสมเด็จสังฆราชจวน วัดมกุฏ สร้างปี 2511 พิธีปลุกเสกพร้อมกับพระกริ่งวชิรมกุฏ เป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ใหญ่มากเพราะปลุกเสกกันถึง 9 วัน 9 คืน สำหรับพิธีเททองหล่อพระกริ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมาดำเนินการเททองเอง ส่วนการปลุกเสกมียอดพระคณาจารย์ที่เก่งๆมากมาย มาร่วมงานนี้กันอย่างคับคั่ง เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ หลวงพ่อเทียม หลวงพ่อกี๋ หลวงพ่อนอ หลวงปู่นาค วัดระฆัง หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว หลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่า หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อน้อย เป็นต้น ตอนนี้คนรู้ประวัติของพระชุดนี้กันมาก ทำให้ปัจจุบันพระชุดนี้มีคนเก็บเข้ารังกันหมดโดยเฉพาะพระกริ่งวชิรมกุฏ ที่ถูกจัดอยู่ในทำเนียบพระที่เกี่ยวข้องกับในหลวง
การสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ เมื่อ พ.ศ. 2511 เป็นปีที่วัดมกุฎกษัตริยารามฯ มีอายุครบ 100 ปี และเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (อุฏฐายีมหาเถระ) มีพระชนมายุครบ 70 พรรษา ทางคณะกรรมการวัดได้จัดงานฉลองวัดและฉลองพระชนมายุถวาย และได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อพระพุทธรูป , พระกริ่ง ,พระชัยวัฒน์ และเหรียญพระรูปสมเด็จพระสังฆราช "จวน" (อุฏฐายีมหาเถระ) พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับอาราถนาทำพิธีปลุกเสกและนั่งปรก จานวน 100 รูป อาทิเช่น -พ่อท่านคล้าย วัดจันดี นครศรีธรรมราช -พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร -พระอาจารย์มหาบัว วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี -หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมาภรณ์) วัดดอนยายหอม นครปฐม -หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี -หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพ ฯ และพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ปัตตานี เป็นต้น
เนื่องจากวัดมกุฎกษัตริยาราม เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ (พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ทรงสร้างเป็นพระอารามหลวง มีอายุยั่งยืนมาหลายปี ยังไม่เคยสร้างของที่ระลึกเป็นส่วนพระอารามหรือส่วนพระองค์เลย การสร้างในครั้งนี้จึงเป็นครั้งหนึ่งครั้งเดียวเท่านั้น จึงได้เสาะแสวงหาเนื้อชนวนโลหะที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ ซึ่งบรรดาเจ้าคณะและเจ้าอาวาส พร้อมทั้งพระเกจิอาจารย์ทั่วราชอาณาจักรกว่า 500 องค์ จึงยินดีถวายโลหะที่ปลุกเสกไว้แล้วและเป็นส่วนที่ยังเหลืออยู่ หรือที่ลงอักขระยันต์ในแผ่นโลหะถวายให้เพื่อเป็นส่วนผสมใหม่ โดยประสงค์จะให้พระที่สร้างขึ้นในครานี้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกประการ และการสัตยาธิษฐาน แผ่นโลหะที่ลงคาถาอาคมเลขยันต์ ซึ่งนำมาเป็นส่วนผสมในการหล่อหลอมเป็น "พระวชิรมงกุฏ" และเหรียญรูปพระสังฆราชในครั้งนี้ พระเถระและพระเกจิอาจารย์ได้ตั้งสัตยาธิษฐานให้เกิดคุณานุภาพต่างๆ ดังนี้ 1. เพื่อให้เป็นมหาอุต 2. เพื่อให้แคล้วคลาด 3. เพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน 4. เพื่อให้คุ้มกันอันตราย 5. เพื่อให้มีเมตตามหานิยม 6. เพื่อให้มีโชคลาภ 7. เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล 8. เพื่อให้เกิดชนะศัตรู 9. เพื่อให้แล้วแต่อธิษฐาน
ตั้งแต่อดีตจวบปัจจุบัน วัดมกุฎกษัตริยาราม มีศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนที่เคารพนับถืออยู่ทั่วราชอาณาจักร จึงเป็นเรื่องสมควรอย่างดียิ่งที่ได้มีการสร้างพระพุทธรูปบูชา ,พระกริ่ง ,พระชัยวัฒน์ และเหรียญรูปสมเด็จพระสังฆราช เพื่อเป็นอนุสรณ์ และเป็นที่เคารพสักการะสำหรับปวงชนชาวไทย ตราบชั่วลูกชั่วหลานสืบไป
ปัจจุบันผู้ที่ทราบประวัติการสร้างได้ตามเก็บพระรุ่นนี้อยู่อย่างเงียบๆ พระดี-พิธีใหญ่-น่าสะสมยิ่ง
สำหรับ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฎฺฐายี) สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 7 พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514 สิริพระชันษา 74 ปี
พระองค์มีพระนามเดิมว่า จวน ประสูติเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2440 ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เมื่อพระชนมายุได้ 10 พรรษา ได้เข้ามาศึกษาชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดคฤหบดี จังหวัดธนบุรี เมื่อพระชันษา 14 ปี ได้ไปศึกษาอยู่ กับพระมหาสมณวงศ์ (แท่น โสมทดฺโต) เจ้าอาวาสวัดมหาสมณารามราชวรวิหาร (วัดเขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี จนพระชันษา 16 ปี จึงได้มาศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระอริยมุนี (แจ่ม จตฺตสลฺโล) ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม โดยมีพระธรรมปาโมกข์ (ถม วราสโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอริยมุนี (แจ่ม จตฺตสลฺโล) เป็นพระสรณคมนาจารย์ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2460 โดยมีพระธรรมปาโมกข์ (ถม วราสโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระราชกวี (แจ่ม จตฺตสลฺโล) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ระหว่างดำรงสมณเพศได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในทางวิชาการ โดยเป็นบรรณาธิการหนังสือวารสารรายปักษ์สยามวัด ทำให้พระองค์มีความสามารถในการประพันธ์ต่าง ๆ มีโคลง ฉันท์ เป็นต้น

ในพิธีพุทธาภิเษกวชิรมงกฎและพระชัยวัฒน์ พร้อมทั้ง พระพุทธรูปบูชา หน้าตัก 5นิ้ว เหรียญพระรูปเหมือนสมเด็จพระสังฆราช วันอังคารที่ 9 มกราคม 2511 พระสงฆ์ที่สวดพุทธาภิเษกและนั่งปรก

1 พระธรรมไตรโลกาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส จังหวัดพระนคร
2 พระธรรมกิตติโสภณ วัดเบญจมบพิตร จังหวัดพระนคร
3 พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาถสุนทริการาม จังหวัดพระนคร
4 พระธรรมจินดาภรณ์ วัดราชบพิธฯ จังหวัดพระนคร
5 พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์ฯ จังหวัดพระนคร
6 พระธรรมโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร จังหวัดพระนคร
7 พระราชเมธี วัดเศวตฉัตร จังหวัดธนบุรี
8 พระราชสุเมธาจารย์ วัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี
9 พระครูพัฒนกิจโกศล วัดชัยสิทธาวาส จังหวัดปทุมธานี
วันอังคารที่ 9 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ 4 รูป และวัดอรัญญิกาวาส 4 รูป พระอาจารย์นั่งปรก
1 พระราชมุนี วัดปทุมานาราม จังหวัดพระนคร
2 พระวรพรตปัญญาจารย์ วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดชลบุรี
3 พระครูพิพิธวิหารการ วัดกษัตราธิวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
4 พระครูโกวิทสมานคุณ วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม
5 พระครูสุตาธิการี วัดใหม่หนองพระอง จังหวัดสมุทรสงคราม
6 พระครูสันทัดธรรมคุณ วัดบ้านช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
7 พระอาจารย์ขอม วัดไผ่โรงวัด จังหวัดสุพรรณบุรี
8 พระอาจารย์กี่ วัดหุช้าง จังหวัดนนทบุรี
9 พระครูสมห์ อำพล วัดประสาทบุญญาวาส จัดหวัดพระนคร
วันพุธ ที่ 10 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดชนะสงคราม 4 รูป และวัดอโศกราม 4 รูป พระอาจารย์นั่งปรก
1 พระรักขิตวันมุนี วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี
2 พระพุทธมนต์วราจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม จังหวัดพระนคร
3 พระครูโศภนกัลยาณวัตร วัดกัลยาณมิตร จังหวัดธนบุรี
4 พระอาจารย์คล้าย วัดจันดี จังหวัดนครศรีธรรมราช
5 พระครูประภัศรธรรมาภรณ์ วัดพระลอย จังหวัดสุพรรณบุรี
6 พระครูวิจิตรวิริยานุโยค วัดทองพุ่มพวง จังหวัดสระบุรี
7 พระครูพินิตสมาจาร วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี
8 พระครูพิทักษ์วิหารกิจ วัดราชนัดดาราม จังหวัดพระนคร
วันพฤหัสบดี ที่ 11 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดอโศกราม 3 ชุด ๆ ละ 4 รูป สวดพุทธาภิเษก พระอาจารย์นั่งปรก
1 พระราชวรคุณ วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
2 พระครูพรหมวิหาร วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
3 พระครูสันตวรญาณ วัดสันติวัน จังหวัดเชียงใหม่
4 พระอาจาย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
5 พระอาจารย์อ่อน วัดป่าหนองบัวงาม จังหวัดอุดรธานี
6 พระสุนทรธรรมภาณ์ วัดป่าชัยวัน จังหวัดขอนแก่น
7 พระสุธรรมคณาจารย์ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
8 พระอาจารย์มหาบัว วัดป่าบ้านตาล จังหวัดอุดรธานี
9 พระอาจารย์บุญมา วัดสิริสารวัน จังหวัดอุดรธานี
กำหลังโหลด Comments
Top