พระผง หลวงปู่ก้าน วัดเขาต้นเกด มีเกศา (5)- คลังพระเครื่องออนไลน์ - webpra

พระผง หลวงปู่ก้าน วัดเขาต้นเกด มีเกศา (5)

คลังพระเครื่องออนไลน์

พระผง หลวงปู่ก้าน วัดเขาต้นเกด มีเกศา (5) - 1พระผง หลวงปู่ก้าน วัดเขาต้นเกด มีเกศา (5) - 2พระผง หลวงปู่ก้าน วัดเขาต้นเกด มีเกศา (5) - 3พระผง หลวงปู่ก้าน วัดเขาต้นเกด มีเกศา (5) - 4
ชื่อพระเครื่อง พระผง หลวงปู่ก้าน วัดเขาต้นเกด มีเกศา (5)
อายุพระเครื่อง ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า -
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 08 มิ.ย. 2566 - 07:50.44
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 30 พ.ค. 2566 - 23:12.40
รายละเอียด
พระผง หลวงปู่ก้าน ฐิตธมฺโม วัดราชายตนบรรพต (วัดเขาต้นเกด)


พระเนกขัมมมุนี (หลวงปู่ก้าน ฐิตธมฺโม)

วัดราชายตนบรรพต (วัดเขาต้นเกด)
ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์



หลวงปู่ก้าน ฐิตธมฺโม ท่านเดินทางไปมอบกายถวายตัวเป็นศิษย์
ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ จ.สกลนคร
พร้อมกับหลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม แห่งวัดป่าวิทยาลัย สหธรรมิกคู่บารมี

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=29551


พระเนกขัมมมุนี (หลวงปู่ก้าน ฐิตธมฺโม) มีนามเดิมว่า ก้าน ด้วงเด่น เกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ปีวอก ณ บ้านโผงเผง ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง โยมบิดาชื่อ เจียม ด้วงเด่น โยมมารดาชื่อ กุล ด้วงเด่น ท่านจบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนประชาบาล จ.อ่างทอง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๓ คน หลวงปู่เป็นคนกลาง ซึ่งต่อมาทั้งพี่ชายและน้องชายของหลวงปู่ต่างก็พากันออกบวช

เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ โยมบิดา-มารดาได้ทำการอุปสมบทให้หลวงปู่ตามประเพณี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ณ พัทธสีมาวัดถนนสุทธาราม ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก

ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นายบักเซ้ง แซ่อื้อ ถวายที่ดินที่ครอบครองที่มีอยู่แต่เดิมให้หลวงปู่ก้าน

วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๕ หลวงปู่จึงได้ขออนุญาตสร้างวัดให้ถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยเรียกขานอย่างเป็นทางการว่า “วัดราชายตนบรรพต” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดต้นเกด” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธยของทั้งสองพระองค์ประดิษฐานไว้ที่หน้าบันอุโบสถ และทรงปลูกต้นศรีตรังไว้ที่หน้าอุโบสถ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๗ อีกด้วย หลังจากที่สร้างวัดเพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมของหลวงปู่และเป็นของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปแล้ว หลวงปู่ก้านก็ไม่เคยย้ายไปอยู่ที่วัดอื่นใดอีกเลย

หลวงปู่ก้าน เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีเมตตา เป็นที่เคารพศรัทธาของลูกศิษย์ที่เป็นสงฆ์และฆราวาส จะเห็นได้จากในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะมีพุทธศาสนิกชนพากันหลั่งไหลเข้าวัด เวียนเทียน ฟังเทศน์ ฟังธรรมจากหลวงปู่ ไม่เว้นแม้กระทั่งวันตรุษ วันประเพณีต่างๆ รวมไปถึงวันคล้ายวันเกิดและวันสำคัญต่างๆ ของหลวงปู่ก้านก็จะมีพระเถรานุเถระผู้ใหญ่ร่วมกันสวดมนต์ถวายพรแด่หลวงปู่เป็นประจำทุกปี

สำหรับประวัติของหลวงปู่ก้านโดยละเอียดนั้น ค่อนข้างหาอ่านได้ยากเพราะท่านยังไม่อนุญาตให้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ แต่เราสามารถศึกษาประวัติของหลวงปู่ก้านได้ โดยผ่านประวัติของหลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม เนื่องจากท่านทั้งสองเป็นสหธรรมิกคู่บารมีกันค่ะ หลวงปู่ก้านท่านเดินทางไปมอบกายถวายตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) จ.สกลนคร พร้อมกับหลวงปู่ฉลวย ก่อนที่ท่านทั้งสองจะได้ทำญัตติกรรมใหม่เป็นพระภิกษุธรรมยุติกนิกาย ณ พัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เวลา ๒๐.๔๒ น. โดยมี ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ร่วมกัน และพระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยได้รับนามฉายาว่า “สุธมฺโม” และ “ฐิตธมฺโม” ตามลำดับ ในขณะนั้นหลวงปู่ฉลวยมีอายุ ๔๒ ปีแล้ว




นอกจากนี้หลวงปู่ก้านยังเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมกับหลวงปู่ฉลวยช่วยกันสร้างวัดป่ากลางโนนภู่ (เดิมชื่อ วัดป่าบ้านภู่ หรือวัดกลางบ้านภู่) บ้านกุดก้อม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร สถานที่อันเป็นที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พ.ศ. ๒๔๙๒”

หลังจากหลวงปู่ฉลวย-หลวงปู่ก้านได้ญัตติกรรมใหม่ในคณะธรรมยุติกนิกายแล้ว ท่านทั้งสองก็ได้พำนักจำพรรษาที่วัดป่ากลางโนนภู่ อีก ๑ พรรษา ได้สร้างเสนาสนะและเทศนาธรรมสั่งสอนชาวบ้านให้เกิดศรัทธาความเลื่อมใส ส่วนในการปฏิบัติภาวนานั้น หลวงปู่ฉลวยจะมีนิมิตภาพเจดีย์ของวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา ปรากฏอยู่เสมอ ท่านจึงเกิดความสงสัยว่าวัดใหญ่ชัยมงคลกับท่านนั้นมีความสัมพันธ์อะไรกันหนอ เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่ฉลวยจึงชักชวนหลวงปู่ก้านออกเดินธุดงค์กลับมายัง จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีสามเณรติดตามมาด้วยองค์หนึ่ง สำหรับวัดป่ากลางโนนภู่หลวงปู่ฉลวยได้นิมนต์ พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินโน มาเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา

สำหรับ “พิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พ.ศ. ๒๔๙๒” วัดป่ากลางโนนภู่ บ้านกุดก้อมนั้น เป็นอาคารไม้ซึ่งเป็นกุฏิที่ท่านพระอาจารย์มั่นใช้พักในคราวอาพาธระยะสุดท้าย เป็นเวลา ๑๐ วัน ก่อนจะไปมรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร ในคืนเดียวกับที่ได้อาราธนาองค์ท่านมายังวัดป่าสุทธาวาส ภายในพิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่นฯ มีการจัดแสดงบริขารของท่านพระอาจารย์มั่นที่องค์ท่านเคยใช้ในคราวมาพักอาพาธอยู่ที่วัดแห่งนี้ อันได้แก่ แคร่คานหามที่ได้ใช้อาราธนาองค์ท่านจากวัดป่าบ้านหนองผือ มาที่วัดป่ากลางโนนภู่แห่งนี้, เตียง, มุ้ง, กลด, ที่นอน, ประทุน ฯลฯ รวมทั้ง ยังได้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับชีวประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ตลอดจนเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป, รูปหล่อเหมือนท่านพระอาจารย์มั่น, ภาพถ่ายประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าที่หาชมได้ยาก, พระบรมสารีริกธาตุ, อัฐิธาตุของท่านพระอาจารย์มั่น, อัฐิธาตุของพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายพระป่ากรรมฐาน, อัฐิธาตุของอดีตเจ้าอาวาส คือ พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และพระอาจารย์กว่า สุมโน เป็นต้น

เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ได้เมตตามาเป็นองค์ประธานเปิดพิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่นฯ และบรรจุอัฐิธาตุของท่าน พร้อมทั้งมารับผ้าป่าช่วยชาติในคราวเดียวกัน นับแต่นั้นมาพิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่นฯ แห่งนี้จึงกลายเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาสืบต่อมา
กำหลังโหลด Comments
Top