
เหรียญพระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร
คลังพระเครื่องออนไลน์





ชื่อพระเครื่อง | เหรียญพระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร |
---|---|
อายุพระเครื่อง | 21 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน |
ราคาเช่า | - |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 17 ส.ค. 2566 - 09:29.04 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อ. - 25 ก.ค. 2566 - 23:55.55 |
รายละเอียด | |
---|---|
เหรียญพระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร เป็นเหรียญพระราชทาน พบเจอน้อย ครับ เหรียญพระสัมพุทธพรรณี รุ่น ภ.ป.ร. ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ม.ป.ร., จ.ป.ร., และ ภ.ป.ร. ประดิษฐานด้านหลังเหรียญ ที่ระลึกสร้างพิพิธภัณฑ์ วัดราชาธิวาสวิหาร ปี 2547 วัดราชาธิวาสวิหารได้รับพระบรมราชานุญาตสร้างพระสัมพุทธพรรณี (จำลอง) และเหรียญพระสัมพุทธพรรณี โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดิษฐานที่ผ้าทิพย์พระสัมพุทธพรรณี และอัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ม.ป.ร. จ.ป.ร. และ ภ.ป.ร. ประดิษฐานที่ด้านหลังเหรียญพระสัมพุทธพรรณี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสวันพระบรมราชสมภพครบ 200 ปี เหรียญนี้สร้างจำนวนไม่มากนัก แต่พิธีดีมาก ๆ ในการจัดสร้าง รีบเก็บก่อนจะไม่มีให้เก็บอีก เนื่องจากใครพบจะเก็บ จะเห็นได้ว่า ไม่มีใครลงประมวลเลย แม้กระทั่งตลาดพระตามเวปต่าง ๆ...... ประวัติ พระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ " พระสัมพุทธพรรณี" เป็นพระประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ วัดราชาธิวาสวิหาร ถ.สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ประวัติ พระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ เป็นพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 20 นิ้ว วัสดุโลหะกะไหล่ทอง จำลองจากพระสัมพุทธพรรณี องค์ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในการหล่อพระสัมพุทธพรรณี ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารภจะทรงสถาปนาวัดราชาธิวาสวิหารที่รกร้างชำรุดทรุดโทรม ให้เป็นพระอารามที่งามยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน มีพระราชประสงค์ที่จะหาพระพุทธรูปมาประดิษฐานในพระอุโบสถ พระราชดำริว่า พระอารามแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาประทับเมื่อครั้งทรงพระผนวชและได้สถาปนาธรรมยุติกนิกายขึ้น เมื่อประทับจำพรรษาอยู่ในพระอารามแห่งนี้ ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง โปรดให้ช่างหล่อพระพุทธรูปในพุทธลักษณะที่ทรงเห็นควรจะเป็น คือ ไม่มีพระเกตุมาลา แล้วทรงบรรจุดวงพระชะตาพระสุพรรณบัฏเดิมและพระบรมสารีริกธาตุไว้ในองค์พระ พระราชทานนามว่า "พระสัมพุทธพรรณี" ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ที่พระตำหนัก ภายหลังเมื่อทรงย้ายไปประทับวัดบวรนิเวศฯ ก็โปรดให้เชิญไปด้วย ครั้นเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญไปประดิษฐานไว้บนฐานชุกชีด้านหน้า ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดา ราม ดังนั้นเพื่อทรงนมัสการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้ช่างปั้นหุ่นถ่ายแบบอย่างพระสัมพุทธพรรณีองค์นี้ขึ้นใหม่ พระสัมพุทธพรรณีหล่อใหม่สำหรับวัดราชาธิวาส มีแบบอย่างพุทธลักษณะเช่นเดียวกับพระสัมพุทธพรรณีองค์เดิม ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสอบสวนได้ คือ ไม่มีพระเกตุมาลา พระจีวรเป็นริ้วเช่นเดียวกับครองผ้าของพระภิกษุ พระเกตุมาลาซึ่ง ไม่ปรากฏนี้ ในรัชกาลที่ 5 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประ ดิษฐวรการ ได้ทรงแก้ไขแบบให้มีพระรัศมีเป็นเปลว เปลี่ยนพระรัศมีได้ตามฤดูกาล พระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสจึงมีพุทธลักษณะตามแบบอย่างที่ได้แก้ไขแบบพระพุทธรูปแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อหล่อสำเร็จ ทรงประกอบพิธีกะไหล่ทอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและสมโภชแล้ว แต่ยังไม่ทันได้เชิญประดิษฐานยังวัด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเสียก่อน สิบปีให้หลังพระบาทสม เด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงโปรดให้เชิญไปประดิษฐานตามพระราชจำนง นับแต่พุทธศักราช 2462 สืบมาจนทุกวันนี้ ภายใต้พุทธบัลลังก์พระสัมพุทธพรรณี เป็นที่บรรจุพระราชสรีรางคารใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า วัดราชาธิวาสวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท และเป็นพระอารามหลวงฝ่ายธรรมยุต สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1820 และผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2310 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระนคร มีเนื้อที่ตั้งวัด 34 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา วัดราชาธิวาส เป็นวัดที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงสถาปนาจากวัดสมอราย ได้รับการปฏิสังขรณ์ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดราชาธิวาสวิหาร" มีความหมายว่า "วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา" เป็นวัดแรกที่ถือกำเนิดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย กาลล่วงมายังแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสืบสานพระราชประเพณีการทำนุบำรุงวัดต่อจากพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ดังนั้น พระองค์จึงโปรดให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชาธิวาสครั้งใหญ่ การบูรณะวัดในครานี้ปรับโฉมหน้าวัดไปโดยสิ้นเชิง เนื่องจากวัดราชาธิวาสหลังปรับปรุงนี้ ไม่มีโบสถ์ วิหาร หรือสิ่งก่อสร้างเดิมใดๆ เหลืออยู่เลย ดังนั้น วัดหลวงแห่งนี้ จึงดูเหมือนวัดใหม่ที่สร้างขึ้นเพียงร้อยปีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ทุกปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ และทรงถวายปัจจัยอยู่เสมอ วัดราชาธิวาส มีลักษณะพื้นที่ดินตั้งวัดเป็นพื้นที่ราบตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำ เจ้าพระยาตรงกับท่าวาสุกรี ภายในบริเวณวัดได้แบ่งเป็นเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตจัดประโยชน์ และเขตสาธารณสงเคราะห์ |
กำหลังโหลด Comments