หลวงพ่อปาน พิมพ์หนุมานหาวเป็นดาวเป็นเดือน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา- คลังพระเครื่องออนไลน์ - webpra

หลวงพ่อปาน พิมพ์หนุมานหาวเป็นดาวเป็นเดือน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา

คลังพระเครื่องออนไลน์

หลวงพ่อปาน พิมพ์หนุมานหาวเป็นดาวเป็นเดือน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา - 1หลวงพ่อปาน พิมพ์หนุมานหาวเป็นดาวเป็นเดือน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา - 2หลวงพ่อปาน พิมพ์หนุมานหาวเป็นดาวเป็นเดือน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา - 3หลวงพ่อปาน พิมพ์หนุมานหาวเป็นดาวเป็นเดือน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา - 4หลวงพ่อปาน พิมพ์หนุมานหาวเป็นดาวเป็นเดือน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา - 5
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อปาน พิมพ์หนุมานหาวเป็นดาวเป็นเดือน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา
อายุพระเครื่อง ปี
หมวดพระ หลวงพ่อกลั่น - หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม - หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
ราคาเช่า -
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 25 ต.ค. 2566 - 08:11.20
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 18 มิ.ย. 2566 - 10:11.22
รายละเอียด
หลวงพ่อปาน พิมพ์หนุมานหาวเป็นดาวเป็นเดือน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา สนใจไลน์มาคุยกันได้ครับ
(ขอบคุณ Post today)......... จุดพิจารณาของพิมพ์หาวเป็นดาวเป็นเดือน มีดังนี้
- พระเกศมาลาอยู่ห่างจากเกล้าพระเมาลี
- มุมขยักที่ตัว ‘อุ’ ด้านซ้ายขององค์พระเป็นเส้นขีดยาว
- ลำพระองค์ทั้งสองด้านจะผายออกและเว้าโค้งด้านล่างปรากฏชัดเจน
- มีติ่งแหลมคมชัดที่ด้านหลังศรีษะของหนุมาน
- หัวตัว ‘อุ’ ด้านขวาขององค์พระมีเส้นแตกเป็นขีด
- ด้านข้างของตัว ‘มะ’ ทางด้านขวาขององค์พระจะมีเส้นแตกเฉียงลางๆ
- มีเส้นใต้คางตัวหนุมาน
- หางหนุมานยาวจรดส้นเท้าขวา
- ระหว่างขาทั้งสองของหนุมาน จะมีตุ่มนูนอยู่ที่พื้น

คุณวิเศษของพระเครื่องหลวงพ่อปานนั้น สามารถนำไปใช้แก้คุณไสย รักษาโรคต่างๆ แม้กระทั่งโดนพิษจากสัตว์ และทำน้ำมนต์ประพรมสินค้าที่มีผู้อธิษฐานนำไปใช้มากมาย

ด้านคุณวิเศษของพระเครื่องหลวงพ่อปานนั้น สามารถนำไปใช้แก้คุณไสย รักษาโรคต่างๆ แม้กระทั่งโดนพิษจากสัตว์ และทำน้ำมนต์ประพรมสินค้าที่มีผู้อธิษฐานนำไปใช้มากมาย โดยมีขั้นตอนการทำน้ำมนต์ดังนี้

เตรียมดอกไม้ ธูปเทียนและขันน้ำสะอาดเพื่อทำน้ำมนต์ วางพระหลวงพ่อปาน พิมพ์ไหนก็ได้ จากนั้นท่องคาถาดังนี้ "เอหิสรรพ พุทธานุภาเวนะ เอหิสรรพ ธัมมานุภาเวนะ เอหิสรรพ สังฆานุภาเวนะ พุทธัง อาราธนานัง ประสิทธิ ธัมมัง อาราธนานัง ประสิทธิ สังฆัง อาราธนานัง ประสิทธิ อิทธิฤทธิ์ พุทธนิมิตตัง"

เมื่ออธิษฐานเสร็จก็นำพระไปแช่ในขันน้ำมนต์ ว่าคาถาข้างต้น 3 จบพร้อมกับถือเทียนที่จุดบูชาพระให้น้ำตาเทียนหยดลงไปในขันน้ำ กลั้นใจเป่าน้ำในขัน 3 ครั้ง ก็สามารถนำไปใช้ได้

อุปเท่ห์ของพระพิมพ์ทรงสัตว์ต่างๆ ของหลวงพ่อปานนั้น ได้จำแนกไว้ดังนี้
พระพิมพ์ทรงไก่ เด่นทางทำมาค้าขาย เมตตามหานิยม ในพิมพ์ทรงไก่นั้นยังจำแนกแตกออกไปอีกคือ ไก่หางพวง นิยมสูงสุด รองลงมาคือ พิมพ์ไก่หางรวม,พิมพ์ไก่หางสามเส้น,พิมพ์ไก่หางสี่เส้นบัวสองชั้น,พิมพ์ไก่หางสี่เส้นบัวชั้นเดียว,พิมพ์ไก่หางห้าเส้น และพิมพ์ไก่ยันต์แถวเดียว เป็นต้น

พระพิมพ์ทรงหนุมาน เด่นทางด้านการเป็นผู้นำด้านการปกครอง แคล้วคลาด มักเป็นที่นิยมของกลุ่มข้าราชการ ตำรวจ ทหาร มีพิมพ์หนุมานทรงเครื่อง,พิมพ์หนุมานใหญ่ไม่ทรงเครื่อง,พิมพ์หนุมานเล็กยันต์แถวเดียว,พิมพ์หนุมานหาวเป็นดาวเป็นเดือน เป็นต้น

พระพิมพ์ทรงครุฑ เด่นทางด้านอำนาจเป็นที่นิยมของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ระดับสูง มีพิมพ์ครุฑใหญ่,พิมพ์ครุฑกลาง,พิมพ์ครุฑเล็ก,พิมพ์ครุฑผีเสื้อ เป็นต้น

พระพิมพ์ทรงเม่น เด่นทางด้านเกษตรกรรม และค้าที่ดิน มีพิมพ์เม่นบัวสองชั้น 8 จุด,พิมพ์เม่นบัวสองชั้น 7 จุด,พิมพ์เม่นบัวชั้นเดียว,พิมพ์เม่นมังกร,พิมพ์เม่นบัวโค้งพิมพ์เม่นเล็ก,พิมพ์เม่นหัวกลับ,พิมพ์เม่นโบราณ เป็นต้น

พระพิมพ์ทรงปลา เด่นทางด้านค้าขายทางน้ำ ธุรกิจทางเรือ มีพิมพ์ทรงปลาจีน,พิมพ์ทรงปลาหมอ,พิมพ์ทรงปลากัด เป็นต้น

พระพิมพ์ทรงนก เด่นทางด้านอาชีพการสื่อสาร นักพูด นักแสดง นักกฎหมาย นักการทูต นักต่อรอง มีพิมพ์นกปางสมาธิ,พิมพ์นกปางมารวิชัย,พิมพ์นกฐานสามชั้น,พิมพ์นกฐานสายบัว,พิมพ์นกบัวฟันปลา เป็นต้น

นอกจากพิมพ์ทรงที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ยังมีพิมพ์ทรงโบราณที่ท่านสร้างไว้ก่อนหน้าจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม พระเครื่องทุกพิมพ์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ล้วนเป็นที่เสาะแสวงหาของนักสะสม เพราะทุกพิมพ์ทรงล้วนปรากฏประสบการณ์จากการนำไปบูชาทั้งสิ้น



พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค) จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธามากรูปหนึ่งของเมืองกรุงเก่า

◉ ชาติภูมิ
หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค นามเดิมชื่อ “ปาน สุทธาวงศ์” เกิดเมื่อวันศุกร์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ตรงกับวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๑๘ ที่ ต.บางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ “อาจ” และมารดาชื่อ “อิ่ม สุทธาวงศ์” ครอบครัวมีอาชีพทำนา

เหตุที่ได้ชื่อว่า “ปาน” เพราะมีตำหนิ คือ ปานแดงที่นิ้วก้อยมือซ้าย ลักษณะเหมือนสวมปลอกนิ้วตั้งแต่โคนถึงปลายนิ้วมาแต่กำเนิด เมื่อยังเล็กเริ่มศึกษาอักขระจากพระใน วัดบางนมโค

◉ อุปสมบท
จนเมื่ออายุ ๒๑ ปี โดยเข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดบางปลาหมอ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๘ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะแม โดยมี หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุทธาโภชน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “โสนันโท”

การเรียนพระปริยัติธรรมตลอดพุทธาคมต่างๆ ของ หลวงพ่อปาน นั้นท่านเล่าเรียนจากพระอุปัชฌาย์คือ หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ ก่อนที่จะฝากตัวในสำนักหลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี และเป็นสหมิกธรรม ร่วมสำนักกับหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดใหม่อัมพวา) จ.สุพรรณบุรี

ตั้งใจศึกษาวัตรปฏิบัติด้วยความขยันหมั่นเพียร สามารถท่องพระปาติโมกข์จนจบด้วยความคล่องแคล่ว ศึกษาวิทยาคมจากหลวงพ่อสุ่นเป็นเวลา ๒ ปี แล้วไปขอเรียนบาลีไวยากรณ์ที่ วัดเจ้าเจ็ดในกับท่านอาจารย์จีน ก่อนจะเข้ามาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ

พักอยู่กับพระอาจารย์เจิ่น วัดสระเกศ ร่ำเรียนทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ รวมทั้งความรู้ทางแพทย์แผนโบราณ จากนั้นกลับมาจำพรรษาที่ วัดบางนมโค ในปี พ.ศ.๒๔๔๒

หลวงพ่อคล้าย เจ้าอาวาสวัดบางนมโคขณะนั้น มอบหน้าที่ให้เป็นครูสอนหนังสือ โดยริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนสอนพระภิกษุ-สามเณรและเด็กวัด ตลอดจนลูกชาวบ้าน และรับหน้าที่ปกครองดูแลทั้งหมด

ใฝ่ใจศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน พร้อมทั้งยังไปขอศึกษาด้านกัมมัฏฐานเพิ่มเติมจากหลวงพ่อเนียม วัดน้อย พระเกจิชื่อดังเมืองสุพรรณบุรี

นอกจากนี้ ยังเป็นพระนักเทศน์ฝีปากเอก ที่ผู้ฟังจะเกิดศรัทธาเลื่อมใส ด้วยน้ำเสียงที่ไพเราะ การเทศน์ของท่านจะมีเหตุมีผล มีตัวอย่างยกมาเทียบเคียงให้เห็นผลดีผลเสีย ให้เห็นถึงบาปบุญคุณโทษ และชี้ทางสว่างได้อย่างเข้าใจได้ง่าย

กิจนิมนต์มีแทบไม่ว่างเว้น และทุกครั้งที่ได้อดิเรกลาภเป็นสิ่งของหรือปัจจัย จะนำมาถวายพระลูกวัด โดยไม่เก็บไว้

นอกจากความมีมานะ พูดจริงทำจริง อดทนต่อความยากลำบาก และมีจิตใจเข้มแข็ง กล้าหาญเด็ดขาด ทั้งเปี่ยมด้วยเมตตากรุณา ท่านยังชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอแล้ว เป็นนักก่อสร้าง นักพัฒนา หมอแผนโบราณ ฯลฯ

◉ มรณภาพ
ขณะท่านมีอายุได้ ๖๑ ปี หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านเริ่มอาพาธและแจ้งให้บรรดาศิษย์ ทราบว่าอีก ๓ ปี ท่านจะมรณภาพในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ เวลา ๖ โมงเย็น กระทั่งครบปีที่ ๓ ย่างเข้าเดือน ๘ ท่านเกิดอุบัติเหตุหกล้มแล้วเริ่มอาพาธ ครั้นพอเวลา ๖ โมงเย็น วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ถึงกาลมรณภาพโดยสงบในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๑ สิริอายุ ๖๓ ปี พรรษา ๔๓

เสียงกำชับเตือนใจที่ให้แก่ศิษย์เป็นครั้งสุดท้าย ท่านขอ ๒ อย่าง คือ “อย่าดื่มสุรา และอย่าลักขโมย ประพฤติเป็นโจร”

◉ วัดบางนมโค
ถือเป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากของ จ.พระนครศรีอยุธยา และยังเป็นวัดเก่าแก่มากเช่นกัน ซึ่งเดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดนมโค มาจากวิถีชีวิตของชาวบ้านในสมัยก่อน และแผลงมาเป็นวัดบางนมโค ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับตำบลที่ตั้งของวัดแห่งนี้จนถึงปัจจุบัน
กำหลังโหลด Comments
Top