
พระสมุห์ขิง

ประวัติวัด วัดกลาง จังหวัดสมุทรปราการ
วัดกลาง ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท เป็นวัดสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ วัดตะโกทอง มีพระอุโบสถได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 หน้าบันมีลายปูนปั้นประดับเครื่องลายคราม ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังปฐมสมโพธิกถา ต่อมามีการสร้างพระมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาท 4 รอย นอกจากนี้ยังมีศาลาการเปรียญเป็นเรือนไทยหมู่ไม้สักทั้งหลัง หน้าบันมีลวดลายไม้สลักละเอียดอ่อนสวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง วัดกลาง เป็นวัดของชาวมอญหมู่บ้านสะพานช้าง หมู่บ้านฮะเริ่น และหมู่บ้านตา ภาษามอญเรียกว่า “เพ่ห์ฮะเริ่น” เป็นอีก วัดหนึ่งที่มีเสาหงส์ อยู่หน้าวัด ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็น วัดมอญได้อย่างเด่นชัด วัดนี้ยังมีเจดีย์ทรงมอญสององค์อยู่ด้านหน้าโบสถ์ จุดเด่น พระพุทธบาท 4 รอย นอกจากนี้ยังมีศาลาการเปรียญเป็นเรือนไทยหมู่ไม้สักทั้งหลัง หน้าบันมีลวดลายไม้สลักละเอียดอ่อนสวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง สถานที่ตั้ง ข้อมูลอ้างอิงจาก : p.moohin.com
วัดกลางอยู่ใกล้ชุมชนมีเนื้อที่กว้าง มีการจัดทำพิธีกรรมทางศาสนา อยู่เนืองๆ ซึ่งมิใช่แต่ชาวมอญเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวไทยในถิ่นใกล้เคียง อีกด้วย ซึ่งวัดกลางถือเป็นวัดที่แสดงออกถึงการอยู่ร่วมกันของชาวไทย และชาวมอญ ด้วยรูปแบบทางศิลปกรรมภายในวัดที่สามารถสังเกตได้
บางพึ่ง พระประแดง สมุทรปราการ