ประวัติ วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร - ๒๒๕ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร - webpra

วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร

ประวัติ ๒๒๕ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร


วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร

ที่ตั้งของวัด
          วัดจักรวรรดิราชาวาส ตามสภาพปัจจุบันตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๒๒๕ ถนนจักรวรรดิ ท้องที่สถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๐๐


ชื่อของวัด
วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร (พระอารามหลวงชั้นโท) มีชื่อเรียกทั่วไป ๒ ชื่อ คือ
          ๑.วัดนางปลื้ม หรือ วัดสามปลื้ม แต่ชื่อที่คุ้นหูสำหรับคนทั่วไปคือ "วัดสามปลื้ม" เป็นชื่อที่ใช้เรียกกันมาแต่โบราณ ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
          ๒.วัดจักรวรรดิราชาวาส เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๘


เขตอุปจารคาม
วัดจักรวรรดิราชาวาส ตั้งอยู่บนเนื้อที่ ๒๑ ไร่ ๑ งาน ๕๘ ตาราง มีอาณาเขตดังนี้
          ก.ด้านทิศเหนือ ติดต่อกับตึกแถวให้เช่าของวัดและถนนสำเพ็ง (ถนนวานิช ๑)
          ข.ด้านทิศใต้ ติดต่อกับตึกแถวให้เช่าของพระคลังข้างที่และถนนจักรวรรดิ์ กับถนนอนุวงศ์
          ค.ด้านทิศตะวันออก ติดต่อกับถนนมหาจักร
          ง.ด้านทิศตะวันตก ติดต่อกับตึกแถวให้เช่าของพระคลังข้างที่และตึกแถวของวัด


ความเป็นมาของวัด
          วัดจักรวรรดิราชาวาส เป็นวัดเก่า มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เรียกกันว่า "วัดนางปลื้ม" บ้าง หรือ "วัดสามปลื้ม" บ้าง แต่ชื่อที่คุ้นหูสำหรับคนทั่วไปก็คือ "วัดสามปลื้ม" หลักฐานรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังหาไม่พบในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ มีพระราชพงศาวดารกล่าวไว้ว่า "พ.ศ.๒๓๔๓ วันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น ๘ ค่ำ เวลา ๕ โมงเย็น เกิดเพลิงไหม้ ที่วัดสามปลื้ม ตลอดลงไปถึงตลาดน้อยวัดสำเพ็ง" ตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ต่อมาจนถึงต้นรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ท่านเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น บรรพบุรุษสกุลสิงหเสนี) ได้เป็นผู้เริ่มปฏิสังขรณ์วัดสามปลื้ม แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็ถึงแก่อสัญกรรม


          ต่อมา ราวปี พ.ศ. ๒๓๖๒ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ ต้นสกุลสิงหเสนี) ผู้เป็นบุตรจึงได้ทำการปฏิสังขรณ์ต่อ โดยมอบให้บุตรชายคนโต ชื่อ นายเกต (เจ้าพระยามุขมนตรี ในรัชกาลที่ ๔) เป็นผู้อำนวยการสร้างจากด้านเหนือ เข้ามาทางด้านใต้ และให้บุตรชายคนรอง ชื่อนายแก้ว (เจ้าพระยายมราช ในรัชกาลที่ ๔ ) เป็นผู้อำนวยการสร้าง จากด้านใต้เข้าไปหาด้านเหนือ บรรจบกันตรงกลาง ได้สร้างพระอุโบสถ เสนาสนะสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ตลอดจนขุดคูแม่น้ำเจ้าพระยา เข้ามาจนถึงสระน้ำซึ่งขุดไว้ใช้ภายในวัด


          เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จลง ก็ได้จัดการอาราธนาพระภิกษุจากวัดราชบุรณะบ้าง วัดพระเชตุพนฯ บ้าง มาอยู่จำพรรษา แล้วน้อมเกล้าถวายเป็นพระอารามหลวง ในสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า รัชกาลที่ ๓ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๓๖๘ และได้ พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร"

วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร

วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร

วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร


ลำดับเ้จ้าอาวาส

1. พระพุทธิวงศ์(ใจ) ยุครัชกาลที่ 1
2. พระวิเชียรกวี ยุครัชกาลที่ 2-3
3. พระธรรมเจดีย์ (เกิด หรือ รอด) ยุครัชกาลที่ 3-4
4. พระวรญาณมุนี (น้อย) เปรียญ 9 ประโยค ยุครัชกาลที่ 4
5. พระอมรเมธาจารย์ (ตุ้ม) เปรียบ ยุครัชกาลที่ 4
6. พระวรญาณมุนี (ดิศ) เปรียบ ยุครัชกาลที่ 4
7. พระธรรมานุกุลเถร (ด้วง) สมถุ ยุครัชกาลที่ 4-5
8. พระโพธิวงศาจารย์ (เส็ง) เปรียญ 6 ประโยค ยุครัชกาลที่ 5
9. พระพุฒาจารย์ (มา อินทสโร) สมถะ ยุครัชกาลที่ 5-6
10. พระมงคลทิพยมุนี (มุ้ย ปณฑิโต) สมถะ ยุครัชกาลที่ 6-7
11. พระอริยกวี (สำราญ โกสโล) เปรียบธรรม 4 ประโยค ยุครัชกาลที่ 7-8
12. พระคุณาจารวัตร (ใช้ สุวณโณ) พระราชาคณะยก ยุครัชกาลที่ 8-9
13. สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณณโก) เปรียบธรรม 9 ประโยค ยุครัชกาลที่ 9
14. พระพุทธิวงศมุนี (บุญมา ทีปธมโม) เปรียบธรรม 6 ประโยค ยุครัชกาลที่ 9
15. พระราชโมลี (พรหมา สปปญโญ) เปรียบธรรม 9 ประโยค ปัจจุบัน

เป็นวัดโบราณ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีเจ้าอาวาสตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ถึงปัจจุบัน เท่าที่พบหลักฐานมีเจ้าอาวาส ๑๕ รูป


ข้อมูลอ้างอิง : http://www.watchakkawat.com/history.php

Top