
หลวงปู่จัน

ประวัติวัด วัดโมลี ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
ประวัติ วัดโมลี นนทบุรี วัดโมลี ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือยาว 80 วา ติดต่อกับที่นายประสงค์ ทรัพย์สุทธิภาสน์ ทิศใต้ยาว 75 วา ติดต่อกับที่ธรณีสงฆ์วัดโมลี ทิศตะวันออก ยาย 65 วา ติดต่อกับคลองอ้อมนนท์ ทิศตะวันตกยาว 80 วา ติดต่ากับที่นายไพศาล เทียมทอง ที่ธรณีสงฆ์จำนวน 6 แปลง รวมเนื้อที่ 118 ไร่ 2 งาน 35 ตารางวา โฉนดเลขที่ 6779 , 1788 , 6681 , 4852 พื้นที่วัดเป็นที่ราบต่ำ มีอาคารเสนาสนะ ดังนี้ เจ้าอาวาสวัดโมลีองค์ปัจจุบัน (ประธานอุปถัมภ์การจัดสร้าง) สถานที่ใกล้เคียง วัดบรมราชากาญจนาภิเษก วัดสไตล์จีนแห่งนี้เดิมทีเป็นโรงเจเก่า อยู่ที่บางบัวทอง นนทบุรี ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ สักเท่าไรเลย แต่หลังจากที่คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ มีปณิธานที่จะพัฒนาให้เป็นวัดที่สมบูรณ์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ใช้ในการปฏิบัติธรรมอย่างพร้อมเพรียง อีกทั้งเพื่อเป็นการจรรโลงพุทธศาสนาให้ยั่งยืน จึงได้ขยายเนื้อที่ของวัด จาก 2 ไร่ เป็น 12 ไร่ เพื่อสร้างเป็นวัดเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี หรือเมื่อ 11 ปีก่อน โดยมีเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส หรือวัดเล่งเน่ยยี่ รองเจ้าคณะใหญ่คณะสงฆ์จีนนิกาย และเจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณาราม เจ้าคณะใหญ่ คณะสงฆ์จีนนิกาย เป็นคณะผู้ดำเนินการก่อสร้าง เวลา 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา จากนั้นโรงเจเก่าก็ได้แปรสภาพกลายเป็นวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ ภายใต้แรงศรัทธาของชาวไทย และชาวไทยเชื้อสายจีน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ในงานพิธีสมโภชเปิดวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ ในวันที่ 20 มีนาคมนี้ และจะมีงานสมโภชไปตลอด 7 วัน 7 คืน และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยังพระราชทานนามวัดนี้ให้ด้วย ข้อมูลอ้างอิงจาก : p.moohin.com
- อุโบสถ กว้าง 8 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2542 ลักษณะทรงไทย หลังคาสามชั้นมุงกระเบื้องเคลือบ บานประตูหน้าต่างสลักลายไทย ทาทองล่องชาด
- ศาลาการเปรียญ กว้าง 13.60 เมตร ยาว 32 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น ทรงไทย มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันปิดทอง ประดับกระจกสี
- หอสวดมนต์ เป็นอาคารไม้ทรงไทย
- กุฏิสงฆ์ จำนวน 12 หลัง เป็นเรือนทรงไทยโบราณ ฝาไม้สัก 6 หลัง อาคารไม้ทรงปั้นหยา 2 ชั้น 1 หลัง
- พุทธวิหาร
- ฌาปนสถาน
- หอเรียนพระปริยัติธรรม
ปูชนียวัตถุ มีพระประธานนามว่า 'หลวงพ่อพุทธวิหาร' บุทองทั้งองค์
วัดโมลี สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ. 2375 เดิมชื่อว่าวัดใหม่สุวรรณโมลี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโราส เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ มาในถิ่นนี้ทรงเห็นว่าชื่อยาวเกินไป จึงทรงประทานเปลี่ยนให้ใหม่ว่า "วัดโมลี"
วัดนี้มีผู้ศรัทธาท่านหนึ่ง ได้สลักปิ่นปักมวยผมออกขาย นำเงินมาสร้างวัดและใช้ปิ่นปักมวยผมเป็นสัญลักษณ์ ของวัดมาตลอดจนทุกวันนี้ วัดโมลีได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งก่อนเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2461เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 30 เมตร ยาว 60 เมตร และได้ผูกพัทธสีมาประมาณ พ.ศ.2467 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาข ใหม่ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2544 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 23.50 เมตร ยาว 41.50 เมตร
การศึกษา ทางวัดได้เปิดสนอพระปริยัติธรรม ตั้งแต่พ.ศ.2470 แผนกบาลีเปิดสอนตั้งแต่พ.ศ.2472 จนถึง
ปัจจุบัน ทางวัดยังได้อนุญาตให้ตั้งโรงเรียนประชาบาลขี้น ปัจจุบันเป็นโรงเรียนประถมศึกษา เปิดสอนตั้งแต่อนุบาล-ป.6
และที่อ่านหนังสือพิมพ์ของประชาชนขึ้นที่วัดอีกด้วย
พระปรีชานนทโมลี (เปลื้อง บัวปรีช์) เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2461 และอุปสมบทเมื่อปีพุทธศักราช 2481 โดยมีพระราชปรีชามุนี (เผือก ติสฺสถิโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมาตั้งแต่พ.ศ. 2508 สืบต่อจากพระราชปรีชามุนี (เผือก ติสฺสถิโร) จนถึงปัจจุบันโดยมีตำแหน่งทางสงฆ์ถึงรองเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี และปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างเรียบร้อยงดงาม จนกระทั่งเกษียณตามวาะ และยังได้ต่ออายุดำรงตำแหน่งปีต่อปีเป็นกรณีพิเศษอีกหลายปีด้วยกัน
ปัจจุบัน : มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรีตลอดเวลากว่า 37 ปีที่พระเดชพระคุณท่านครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโมลีนั้น ท่านได้ทำนุบำรุงศาสนวัตถุต่างๆ มาโดยลำดับ สร้างความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุดให้แก่วัดโมลี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 'พระอุโบสถหลังใหม่' ที่ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 20 ล้านบาท และใช้เวลาในการก่อสร้างเพียง 1 ปีเศษเท่านั้น ที่สำคัญมีความสวย งาม และอนุรักษ์คงความเป็นศิลปไทยได้เป็นอย่างดียิ่ง