ประวัติ หลวงปู่ดิษฐ์ ติสโร (พระครูเนกขัมภิมณท์) - วัดปากสระ จังหวัดพัทลุง - webpra

หลวงปู่ดิษฐ์ ติสโร (พระครูเนกขัมภิมณท์)

ประวัติ วัดปากสระ จังหวัดพัทลุง

พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ หลวงปู่ดิษฐ์ ติสโร

พระครูเนกขัมภิมณท์(หลวงปู่ดิษฐ์ ติสโร)
องค์อริยเจ้าแห่ง....วัดปากสระ พัทลุง.......๚ะ๛
.....................................................................................
พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ (ลพ.ดิษฐ์ ติสฺสโร) วัดปากสระ พัทลุง
เป็นพระเกจิด้านไสยศาสตร์....รูปหนึ่งของจังหวัดพัทลุง
เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พศ.๒๔๒๑ บ้างก็ว่า พศ.๒๔๒๐
ตรงกับวัน พฤหัสบดี แรม ๔ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู
เป็นบุตร นายแก้ว นางนุ้ย หนูแทน
เกิดที่บ้านดอนตาสังข์ ต.ปรางหมู่ อ.เมือง พัทลุง
ชีวิตในปฐมวัยไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนัก แต่สืบทราบว่า
ท่านเป็นศิษย์ของอาจารย์รอด วัดควนกรวด
ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้าน และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่ออายุได้ ๒๐ ปีที่วัดปราง

หมู่ใน มีฉายาว่า ดิสฺสโร
มีพระครูอินทโมฬีฯ เป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านได้จำพรรษาที่วัดควนกรวดประมาณ ๕ พรรษา จนถึงปี พศ.๒๔๔๖ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด

ปากสระว่างลง
ชาวบ้านได้นิมนต์ท่านมารับตำแหน่งสมภาร และจำพรรษาที่วัดนี้ตลอดมา
ปี พศ.๒๔๘๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น
((( พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ )))
เจ้าคณะตำบลไชยบุรี อ.เมือง พัทลุง
จนกระทั่งถึงแก่มรณภาพที่วัดปากสระ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พศ. ๒๕๐๗ อายุ ๘๖ ปี พรรษา ๖๖


พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ หลวงปู่ดิษฐ์ ติสโร

หลวงปู่ดิษฐ์ เป็น พระที่มีอัธยาศัยดี มีเมตตากรุณา ใจคอเยือกเย็น ถือสันโดษไม่ชอบการ

สะสมทรัพย์สินสมบัติใดๆ
ชอบการอุปการะผู้อื่นโดยเฉพาะบุคคลยากไร้ ท่านจึงเป็นผู้ที่มีลูกศิษย์มากมาย ทั้งที่ประกอบ

อาชีพส่วนตัวและเล่าเรียนสำเร็จออกไปรับราชการในหน้าที่การงาน สูงจำนวนไม่น้อย
ลักษณะพิเศษของท่านคือมีนัยน์ตาคม บางคนเปรียบว่าตาของท่านเหมือนตางูก็มี
หลวงพ่อดิษฐ์ชอบการต่อเรือ ถือว่าเป็นงานช่างที่ต้องอาศัยความสามารถสูงอย่างหนึ่ง เรือที่

ท่านสร้างนั้นมีหลายลำสามารถออกทะเลแรมคืนไปต่างถิ่นได้
ส่วนเสนาสนะสงฆ์ท่านได้สร้างไว้หลายหลัง ที่ปรากฏอยู่ปัจจุบันเช่น
พระอุโบสถ
ศาลาการเปรียญ
สระน้ำ
และสร้างอาคารเรียนโรงเรียนวัดปากสระ
ได้ใช้เป็นสถานศึกษาของเยาวชนสืบมาจากโรงเรียนขนาดเล็กนักเรียนไม่ถึง ๑๐๐ คน เป็น

โรงเรียนขนาดใหญ่มีนักเรียนประมาณ๔๐๐ กว่าคน
งานด้านพัฒนาที่ปรากฏชัดคือ
การชักชวนชาวบ้านตัดตัดถนนจากวัดปากสระเชื่อมกับถนนสายพัทลุง-ควนขนุน ช่วยให้การ

สัญจรไปมาสะดวกสบายไม่ต้องเดือดร้อน ช่วยให้การทำมาหากินของชาวบ้านสะดวกเพิ่มขึ้น
สมัยก่อนหมู่บ้านใกล้เคียงวัดปากสระเป็นแหล่งของบุคคลประพฤติมิชอบ มีการลักทรัพย์สิน วัว

ควายของชาวบ้านอยู่เป็นประจำ หลวงพ่อดิษฐ์ได้ใช้ความรู้ความสามารถของท่านช่วยขจัดปัด

เป่าให้ผ่อนคลายลง กล่าวกันว่าท่านได้อาศัยวิทยาคมแก้ปัญหาของชาวบ้านสำเร็จลุล่วงมาด้วยดี
(((( คาถาอาคมของหลวงพ่อดิษฐ์)))

 

ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวันฉลองอายุของท่านเองในปี พศ. ๒๕๐๖ เรียกว่า
((( คัมภีร์พระเวทย์ หรือพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ พระคาถา )))
มีความตอนหนึ่งท่านเขียนไว้ว่า ขอ ท่านจงใช้พระคาถาที่เห็นว่าดี มีประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ไม่

เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนตนและผู้อื่น คนชั่วอยู่กับผีคนดีอยู่กับพระ มีธรรมคุ้มครองและนำคาถา

ที่ท่านปรารถนาไปใช้ในทางที่จะเกิดผลแก่ตนและผู้ อื่น พระคาถานี้จะได้ผลสมประสงค์และ

ศักดิ์สิทธ์จริง

 

พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ หลวงปู่ดิษฐ์ ติสโร

หลวงพ่อดิษฐ์ ได้ สร้างวัตถุมงคลไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่
พระสังกัจจายน์ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก
องค์พิมพ์ใหญ่มีพุทธลักษณะแบบขัดสมาธิเพชร ท้องพลุ้ย ปลายนิ้วชนกัน
ส่วน...พระสังกัจจายน์พิมพ์เล็กมีอักขระที่อกเป็นตัว นะ เส้นนูน หัวกลับ ด้านหลังมีอักขระเป็นตัว

เฑาะว์สมาธิ
และนอกจากนั้นยังมี....
พระปิดตา พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก,พระกลีบบัวเนื้อโลหะ.แหวนพิรอด,ลูกอม,ปลอกแขน,ผ้ายันต์และ

เสื้อ ยันต์ ฯลฯ
วัตถุมงคลของหลวงพ่อดิษฐ์ล้วนแต่ เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ว่าเป็นยอดทางด้านมหาอุด

อยู่ยงคงกระพัน และมีเมตตามหานิยมแก่ผู้เป็นเจ้าของทั้งสิ้น
เคยปรากฏเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับความขลังของวัตถุมงคลของท่าน หลายครั้ง
และที่สำคัญที่สุดคือวันที่ ๑๐ กันยายน พศ.๒๕๒๐พระภิกษุช่วง เขมธมฺโม ผู้เป็นศิษย์ได้นำวัตถุ

มงคลจำนวนหนึ่งทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสทรง

เสด็จพระราชดำเนินยกช่อฟ้าอุโบสถ วัดคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง พัทลุง

 

หลวงพ่อดิษฐ์ นับ ได้ว่าท่านเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาจิตใจชาวบ้าน โดยเฉพาะชุมชนใกล้

วัดปากสระ ให้ฝักใฝ่ด้านประพฤติปฏิบัติธรรม และขยายไปในท้องที่หลายตำบล นับเป็นส่วน

หนึ่งในการแก้ปัญหาสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข ท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพรหมวิหาร ๔ จึงเป็นที่

เคารพศรัทธาของชาวบ้านอย่างแท้จริง ปรากฏหลักฐานพยานคือ รูปปั้นเท่าองค์จริง ประดิษฐาน

อยู่ในศาลาด้านทิศเหนือพระอุโบสถ ทุกๆวันสำคัญจะมีชาวบ้านมาแก้บนที่รูปปั้นของท่าน ขอ

ให้พ้นจากความเจ็บไข้ได้ป่วย ขอความปลอดภัยและโชคลาภต่างๆ ปัจจุบันนี้มิใช่มีแต่เพียง

เฉพาะในท้องถิ่นบ้านปากสระเท่านั้น แต่มีชาวบ้านต่างถิ่นที่รู้เรื่องและศรัทธาต่างได้มาเคารพ

บูชาที่วัดนี้เป็น ประจำเช่นกัน

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก : thaimisc.pukpik.com

Top