หลวงพ่อน้ำเคือง วัดดงตะขบ จ.พิจิตร ปี 2524-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540

หลวงพ่อน้ำเคือง วัดดงตะขบ จ.พิจิตร ปี 2524

หลวงพ่อน้ำเคือง วัดดงตะขบ จ.พิจิตร ปี 2524 - 1หลวงพ่อน้ำเคือง วัดดงตะขบ จ.พิจิตร ปี 2524 - 2หลวงพ่อน้ำเคือง วัดดงตะขบ จ.พิจิตร ปี 2524 - 3หลวงพ่อน้ำเคือง วัดดงตะขบ จ.พิจิตร ปี 2524 - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อน้ำเคือง วัดดงตะขบ จ.พิจิตร ปี 2524
อายุพระเครื่อง 43 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 16 มิ.ย. 2562 - 20:44.54
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 29 พ.ค. 2563 - 13:55.20
รายละเอียด
หลวงพ่อน้ำเคือง วัดดงตะขบ จ.พิจิตร ปี 2524


....สวยเดิมครับ

ประวัติการสร้างหลวงพ่อน้ำเคืองนั้นไม่มีหลักฐานการสร้างที่ชัดเจน และก่อนที่จะประดิษฐานที่วัดดงตะขบ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2499 มีข่าวว่ามีผู้พบพระในวัดร้างที่บ้านน้ำเคือง (ปัจจุบันตั้งอยู่ใน ต.ท้ายทุ่ง อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร) ซึ่งเป็นวัดอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดดงตะขบ ห่างประมาณ 6 กิโลเมตร และมีเรื่องเล่าว่ามีชาวบ้านจากที่อื่นจะมาอัญเชิญไป แต่ไม่สามารถนำไปได้ ความได้ทราบถึงชาวบ้านดงตะขบ ซึ่งในขณะนั้นมีคุณตาทวดคอน ปานอ่อง (ทายกวัดในสมัยนั้น) เป็นผู้นำชาวบ้านดงตะขบเดินทางไปที่วัดน้ำเคือง และได้พบพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรสร้างในสมัยสุโขทัยตอนต้น ประทับยืนอยู่ในกลางวัดปกคลุมด้วยป่าไม้ จึงได้นำแตรวงแห่อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคือง (มาตั้งชื่อภายหลัง) ขึ้นแป้งจี่ (เป็นล้อเลื่อนมีสองล้อ ทำด้วยไม้ทั้งคัน) จากวัดน้ำเคืองมาประดิษฐานไว้ในอุโบสถหลังเก่าและได้ขนานนามว่า "หลวงพ่อน้ำเคือง" ตามชื่อวัดเดิมซึ่งมีอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย เมื่อผู้ใดต้องการอะไรก็จะมาบนบานและก็จะได้สิ่งที่ขอตามปรารถนาจึงมีผู้คนนับถือกันมาก
เมื่อเวลาผ่านไปอุโบสถชำรุด ยากแก่การบูรณะ ประมาณปี พ.ศ. 2465 คณะกรรมการวัดนำโดยคุณตาถนอม คุณตาไก่ ร่วมกับชาวตำบลดงตะขบ ได้จัดสร้างมณฑปบริเวณกลางวัด และได้อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐาน พร้อมอัญเชิญหลวงพ่อขาวมาประดิษฐานไว้ด้านหลัง และนำรอยพระพุทธบาทจำลองมาประดิษฐานไว้ด้านขวาหลวงพ่อน้ำเคือง ต่อมาเมื่อประมาณ ปีพ.ศ. 2502 มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่อน้ำเคืองมากขึ้น ชื่อเสียงโด่งดังไปไกล ทางคณะกรรมการวัดทราบข่าวจากผู้หวังดีว่ามีพวกมิจฉาชีพต้องการนำหลวงพ่อน้ำเคืองไปขาย ประกอบกับมณฑปชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐานบนหอสวดมนต์ มีพระคอยทำหน้าที่เป็นเวรยามดูแลความปลอดภัย ต่อมาผู้ที่ศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อน้ำเคืองเพิ่มมากขึ้น ในแต่ละวันจะมีประชาชนมานมัสการ และมีการจุดธูปเทียนเป็นจำนวนมาก ทางวัดเกรงว่าจะเกิดอัคคีภัย ประกอบกับพระในวัดน้อยลงหลังออกพรรษา คณะกรรมการวัดจึงได้สร้างกุฏิหลังใหม่ให้พระโหม อาวุโธ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น
ประมาณปี พ.ศ. 2504 ได้อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐานที่กุฏิเจ้าอาวาสที่จัดทำเป็นห้อง 2 ห้อง มีประตูเหล็ก 2 ชั้น ซึ่งขณะนั้นชื่อเสียงของหลวงพ่อน้ำเคืองก็ขจรกระจายไปไกลด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ มากมาย เมื่อผู้ใดต้องการอะไรก็จะมาบนบานและก็จะได้สิ่งที่ขอตามปรารถนา จึงมีผู้คนนับถือกันมาก การอธิษฐานจิตคนส่วนใหญ่สัญญาว่าจะให้การแสดงลิเกแก้บน จึงทำให้สถานที่คับแคบเกินไปสำหรับการประกอบพิธีและการเดินทางเข้ากราบไหว้ของประชาชนทั่วไป
ประมาณปี พ.ศ. 2506 ทางคณะกรรมการวัดได้ประชุมตกลงกันอัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐานที่อุโบสถ ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อน้ำเคือง และในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 เป็นวันที่หัวใจของชาวตำบลดงตะขบ ซึ่งมีจิตใจผูกพันกับหลวงพ่อน้ำเคืองแทบจะแตกสลาย เมื่อได้ทราบข่าวว่าหลวงพ่อน้ำเคืองถูกตัดเศียร เหตุการณ์วันนั้นทำให้น้ำตาของชาวดงตะขบและผู้เลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงพ่อน้ำเคืองไหลหลั่งจนปริ่มจะขาดใจและได้ร่วมกันสาปแช่งโจรใจบาปที่กล้าทำร้ายจิตใจของพุทธศาสนิกชนได้ลงคอ ต่างวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ และได้ช่วยกันสืบหาวัตถุพยาน เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการติดตามตัวคนร้ายให้ได้ ต่อมานายสำเนียง เลือดทหาร ได้พบคนร้ายที่สถานีรถไฟตะพานหิน ขณะที่จะขึ้นรถไฟ จึงได้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและได้ติดต่อคณะกรรมการวัดมาดูเพื่อยืนยัน เมื่อยืนยันแน่นอนว่าเป็นเศียรของหลวงพ่อน้ำเคืองจึงได้จัดงาน พุทธาภิเษกจัดงานสมโภช 9 วัน 9 คืน หลังจากเสร็จจากงานได้อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองประดิษฐานที่กุฏิเจ้าอาวาสหลังเดิม
ต่อมาในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2524 กำนันดี จันทร์อ้น (ไวยาวัจกรขณะนั้น) พร้อมด้วยนายถนอม เกตุงาม (นายอำเภอตะพานหินขณะนั้น) พร้อมด้วยชาวตำบลดงตะขบได้วางศิลาฤกษ์มณฑป เพื่ออัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐาน โดยมีการจัดงานสมโภช 7 วัน 7 คืน
ต่อมาในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2530 หลวงพ่อน้ำเคืองได้ถูกคนร้ายลอบตัดเศียรอีกครั้ง ทำให้ชาวบ้านดงตะขบเศร้าโศกเสียใจอีกครั้ง และได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ได้เศียรของหลวงพ่อกลับมา ต่างเฝ้าคอยฟังข่าวอยู่ตลอดเวลา และเป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ให้สามารถจับตัวคนร้ายให้ได้ ในที่สุดก็สามารถติดตามนำเศียรของหลวงพ่อน้ำเคืองกลับมาได้ จึงได้จัดงานสมโภช 9 วัน 9 คืน
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 พระครูปริยัติวโรภาส ได้มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดงตะขบ และได้ทำการพัฒนาปรับปรุงบริเวณวัด พร้อมได้ปรารภถึงมณฑปหลวงพ่อน้ำเคืองว่าคับแคบมาก จึงได้ปรึกษาหารือคณะกรรมการวัดและประชาชนว่าน่าจะสร้างวิหารให้กับหลวงพ่อน้ำเคืองใหม่ ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2550 ได้มีพิธีการวางศิลาฤกษ์วิหารหลวงพ่อน้ำเคืองขึ้น ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่
การจัดงานนมัสการปิดทองหลวงพ่อน้ำเคือง ซึ่งเป็นงานประจำปีของวัดดงตะขบ โดยกำหนดการจัดงานไว้ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันเจริญพระพุทธมนต์เย็น มีกำหนด 3 วัน 3 คืน

**พุทธลักษณะของหลวงพ่อน้ำเคือง**
จากการตรวจสอบของนักวิชาการลงความเห็นว่าจากพุทธลักษณะของหลวงพ่อน้ำเคืองน่าจะเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางห้ามสมุทร หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ประทับยืนสูง 5 ฟุตเศษ จากพุทธลักษณะของหลวงพ่อน้ำเคืองที่กล่าวมาข้างต้น สามารถนำมาอธิบายรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจถึงพุทธลักษณะของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย และพุทธลักษณะของพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร

ข้อมูล ฉบับเต็ม ๆ เวอร์ชั่น

https://www.gotoknow.org/posts/303592

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top