พระบูชา พระพุทธพนมรุ้ง -พบสุขพระเครื่อง - webpra
( ใ ห้ ทั่ ว ป ร ะ เ ท ศ รู้ ว่ า บ้ า น เ ร า มี ดี ) 0 8 9 0 9 9 9 9 7 9 น น ท์ ม ห า โ ช ค

หมวด พระเกจิภาคอีสานใต้

พระบูชา พระพุทธพนมรุ้ง

พระบูชา พระพุทธพนมรุ้ง  - 1พระบูชา พระพุทธพนมรุ้ง  - 2พระบูชา พระพุทธพนมรุ้ง  - 3พระบูชา พระพุทธพนมรุ้ง  - 4พระบูชา พระพุทธพนมรุ้ง  - 5
ชื่อร้านค้า พบสุขพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระบูชา พระพุทธพนมรุ้ง
อายุพระเครื่อง 32 ปี
หมวดพระ พระเกจิภาคอีสานใต้
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ ngamkamol2009@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 25 ก.ย. 2554 - 13:32.09
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พฤ. - 26 ม.ค. 2560 - 19:45.35
รายละเอียด
(พระพุทธพนมรุ้ง) พระรัตนตรัยมหายาน (Buddhistic Triad) (วัชระยานไตรลักษณ์) (พระนารายณ์ทรงปืน)
*โดยสมเด็จพระสังฆราช ประธานฝ่ายสงฆ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อ*
...ขนาดบูชา 7 นิ้ว สร้างน้อย หายากมาก ที่ฐานด้านหลังฝังเหรียญหล่อเนื้อนวะโลหะ 1องค์ (หนึ่งในพระบูชาประจำบ้านที่ภาคภูมิใจ และคุณพ่อมีส่วนร่วมในการจัดสร้าง)***
ลงหนังสือ "พระบูชาพระพุทธ พระคณาจารย์ ยอดนิยมภาคอิสาน" หมวดจังหวัดบุรีรัมย์
...สุดยอดพิธิมหาพุทธาภิเษก ครั้งประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ บนปราสาทหินเขาพนมรุ้ง วันที่ 19 เมษายน 2532...โดยนิมนต์พระเกจิอาจารย์ทั้งหมดของจ.บุรีรัมย์ และพระเกจิอาจารย์ และคณาจารย์สายอีสานใต้ร่วมพิธีมากมายนับไม่ถ้วน ร่วมพิธีอย่างเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์...จัดเป็นพระบูชา พระเครื่องประจำจังหวัดอีกองค์ ที่หายากและทรงคุณค่า สุดยอดพุทธศิลป์ โดยกรมศิลปากร...เพื่อเป็นที่ระลึกในการฉลองเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และได้ทับหลังนารายณ์กลับคืนม

...พระรัตนตรัยมหายาน หรือที่นักเลงพระเรียกชื่อกันว่า พระนารายณ์ทรงปืน มีมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อบูชาพกพาอาราธนาติดตัวแล้วหยุดอาวุธต่างๆ เช่น หยุดลูกปืน เป็นต้น พุทธลักษณะ พระปางนาคปรกประทับนั่งสมาธิ เบี่ยงซ้ายพระ พุทธองค์มีปัญญาบารมี ยื่นพระกรขวาถือพระคัมภีร์ ซ้ายถือดอกบัว เบี่ยงขวามีอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ยืนสี่กร 2 มือบนถือลูกประคำและพระคัมภีร์ 2 พระกรล่างถือดอกบัวและคนโทน้ำอมฤต รูปแบบทั้งสามอยู่ในฐานทรงกลีบบัว มีลายกระหนกปั้นแบบลายนูนต่ำเป็นศิลปะของขอม (พุทธศตวรรษที่ 15-18)

...พระนารายณ์ทรงปืน เป็นพระพิมพ์ที่มีรูปลักษณ์เป็น "พระแผง" องค์ค่อนข้างเขื่อง ปรากฏทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน และมีขึ้นมากมายหลายกรุ ลักษณะองค์พระจะมี "พระปางนาคปรก" เป็นประธาน ประกอบด้วย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นองค์พระโพธิสัตว์ในคติพุทธศาสนาแบบมหายาน ซึ่งเผยแพร่เข้ามาพร้อมกับศิลปะเขมรแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอังกอร์ธม ซึ่งทรงนับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน และด้วยเหตุที่ประ กอบด้วยรูปเคารพถึงสามองค์ในพิมพ์เดียว บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่า "พระตรีกาย" พร้อมกับข้อถกเถียงกันอย่างมากมายทั้งในแวดวงนักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์โบราณ คดี และในวงการพระเครื่องพระบูชาถึงชื่อ "นารายณ์ทรงปืน" ที่ได้รับการเรียกขานว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร

...คนส่วนใหญ่มีความเชื่อหลากหลายเกี่ยวกับพระพุทธนาคปรก บ้างก็เชื่อว่าคือ พระศรีศากยมุนี, พระชัยพุทธมหานาถ, พระอมิตาภะ, พระไภษัชยคุรุ หรือแม้แต่เป็นพระอาทิพุทธเจ้าก็ตาม ต่างก็มีส่วนสำคัญในการบูชากันอย่างกว้างขวาง ในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั่นก็คือ พระรัตนตรัยมหายาน ซึ่งไประกอบไปด้วย พระพุทธเจ้า พระโลเกศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนามหายานในขณะนั้น และได้มีการเปลี่ยนแปลงสลับหมุนเวียนรูปแบบไปตามคตินิยม บ้างก็นำรูปเคารพพระเมตไตรยะ หรือพระวัชรปาณี มาแทนที่พระนางปรัชญาปารมิตา เป็นต้น

“อะไรที่อยู่เบื้องหลังพระรัตนตรัยมหายาน?”
เบื้องหลังปริศนารูปเคารพพระรัตนตรัยมหายานนี้ ได้มีการเชื่อมโยงไปยังบุคคลสำคัญๆ เพื่ออุทิศให้กับบรรพบุรุษ และบรรพสตรีอย่างเด่นชัด พระองค์ทรงสรรเสริญพระราชบิดา (พระเจ้าธรนินทรวรมันที่ 2) เปรียบเหมือนพระโลเกศวร ทรงสรรเสริญ

พระราชมารดา (พระนางชัยราชจุฑามณี) เปรียบเหมือนพระนางปรัชญาปารมิตา และทรงสรรเสริญตัวพระองค์เองเป็นพุทธราชาหรือพระราชาที่ทรงธรรม ที่ทรงเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณเยี่ยงพระโพธิสัตว์ และทรงเป็นผู้บำรุงพระพุทธศาสนา จึงเป็นที่มาของคติพุทธราชาแทนที่เทวราชาในสมัยนั้น

“พุทธศิลป์พระรัตนตรัยมหายานเป็นไฉน?”
ในงานพุทธศิลป์ รูปเคารพพระรัตนตรัยมหายานหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ศิลปแบบบายน ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กัมพูชา พระรัตนตรัยมหายานบนแท่นบูชา ซึ่งประกอบด้วย พระพุทธนาคปรก (ตรงกลาง) พระโลเกศวร (ขวามือ) และพระนางปรัชญาปารมิตา (ซ้ายมือ) ดังภาพถัดไป

รูปเคารพพระพุทธนาคปรก (องค์กลาง) องค์นี้ คือ พระไภษัชยคุรุ ดูได้จากฝ่า พระหัตถ์ของพระองค์ทรงถือกล่องยาขนาดเล็กไว้ ทรงประทับในท่านั่งสมาธิราบอยู่บนดอกบัวเหนือบังลังก์นาคเจ็ดเศียร พระพักตร์มีลักษณะรูปเหลี่ยม ทรงอมยิ้มเล็กน้อย และพระเนตรปิด ซึ่งแสดงความรู้สึกที่เร้นลับ พระองค์ทรงนุ่งภูษาแบบเดียวกับรูปเคารพพระโลเกศวร (องค์ซ้ายมือ) ทรงสวมชฎามงกุฎทรงกรวยแหลม ลายกลีบบัวซ้อนกันสามชั้นอยู่บนมวยผม นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเครื่องประดับต่างๆ เช่น กำไลต้นแขน กำไลมือ กำไลข้อเท้า ตุ้มหูยาวจรดไหล่ และกรองศอประดับด้วยอุบะห้อยโดยรอบ โดยปกติพระไภษัชยคุรุจะมีพระโพธิสัตว์ประจำพระองค์ คือ พระสูรยประภาโพธิสัตว์ (พระอาทิตย์) และพระจันทรประภาโพธิสัตว์ (พระจันทร์) แต่ได้ถูกแทนที่โดยพระโลเกศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา ตามลำดับ

รูปเคารพพระโลเกศวร (องค์ซ้ายมือ) ทรงประทับยืนด้านขวาของพระพุทธนาคปรก มีสี่พระกร พระหัตถ์ล่างขวาทรงถือดอกบัวตูม พระหัตถ์บนขวาทรงถือสร้อยประคำ พระหัตถ์ล่างซ้ายทรงถือหม้อน้ำมนต์ และพระหัตถ์ซ้ายบนทรงถือพระคัมภีร์ใบลาน พระองค์ทรงนุ่งผ้าลายดอก มีขอบลวดลายชายผ้า และพับซ้อนปลายแยกออกจากกันเหมือนหางปลา ทรงสวมสายรัดองค์ที่ประดับด้วยอัญมณีขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง และมีอุบะสลักอย่างอ่อนช้อยห้อยโดยรอบ ทรงสวมชฎามงกุฎทรงกระบอกลาย กลีบบัวแบบตั้งตรงอยู่บนมวยผม โดยมีองค์พระพุทธรูปขนาดเล็กประดับอยู่บน มวยผม นอกจากนี้ยังทรงเครื่องประดับต่างๆ เช่น กำไลต้นแขน กำไลมือ กำไลข้อเท้า ตุ้มหูยาวจรดไหล่ และกรองศอประดับด้วยอุบะห้อยโดยรอบ

ส่วนพระนางปรัชญาปารมิตา (องค์ขวามือ) ทรงประทับยืนด้านซ้ายของพระพุทธ นาคปรก มีสองพระกร พระหัตถ์ขวาทรงถือพระคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตรขนาดเล็ก และพระหัตถ์ซ้ายทรงถือดอกบัวตูม พระนางทรงนุ่งผ้าลายดอก มีขอบลวดลายชายผ้า และพับซ้อนกันยาวเหยียดลงมาเหมือนหางปลา ทรงสวมสายรัดองค์ ที่ประดับด้วยอัญมณีชนาดใหญ่ตรงกลาง และอุบะสลักอย่างอ่อนช้อยห้อยโดยรอบ ทรงสวมชฎามงกุฎทรงกรวยแหลมลายกลีบบัวซ้อนเป็นชั้นๆ อยู่บนมวยผม โดยมีองค์พระพุทธรูปขนาดเล็กประดับอยู่บนมวยด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังทรงเครื่องประดับต่างๆ เช่น กำไลต้นแขน กำไลมือ กำไลข้อเท้า ตุ้มหูยาวจรดไหล่ และกรองศอประดับด้วยอุบะห้อยโดยรอบ

อีกนัยนึงเรียกว่า...

"พระนาคปรก สุริยัน-จันทรา"
...ประกอบด้วย องค์พระนาคปรก ซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่ง ของพระไภษัชคุรุพุทธเจ้าซึ่งดาวนพเคราะห์ พระเสาร์ มีความหมาย คือ เจ้าแผ่นดิน ผู้ทรงอำนาจเป็นประธานแห่งดาวนพเคราะห์ในภาคของพุทธมหายาน ควบคุมดูแลเหนือดาวนพเคราะห์ทั้งปวง องค์พระด้านขวา คือองค์พระสุริยประภาโพธิสัตว์ ซึ่งได้แทนด้วยองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ 4 กร ที่คนทั่วไปเข้าใจว่า คือพระนารายณ์ ผู้เป็นสัญลักษณ์แทน ความเมตตาช่วยเหลือสรรพสัตว์ของแหล่งพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ประดุจหนึ่งเป็นพระสุริยัน องค์พระด้านซ้าย คือองค์พระจันทรประภาโพธิสัตว์ ซึ่งได้แทนด้วยนางปัญญาบารมี หรือ พระมหาปรัชญาปารมิตา ผู้ซึ่งเลิศด้วยสติปัญญาเป็นสัญลักษณ์ที่แทนสติปัญญาและพุทธธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งปวง โดยได้แสดงออก ในรูปของผู้หญิง ประดุจองค์ "จันทรา"

อานุภาพแห่งองค์พระ "พระนาคปรก สุริยัน-จันทรา"
...โดยรวมแล้วรูปแบบของพระบูชานี้ จึงเป็นสุดยอดของพุทธศิลป์แห่งยุค สมัยมาตั้งแต่อดีตประกอบด้วย องค์พระไภสัชฯ ประธานแห่งดาวนพเคราะห์ และควบคุมมหาเทพ 12 นักษัตร ซึ่งเป็นผู้ที่ปวารณาตัวเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ รับภาระมหาปณิธาน 12 ประการ ขององค์ พระไภสัชยคุรุพุทธเจ้า ปกป้องคุ้มครองดูแลมนุษย์ทุกคนให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากกรรม ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน แก้ไขเคราะห์ร้ายภัยเวรจากดวงดาวที่ให้ “โทษ” ในดวงชะตาชีวิต คุ้มครอง บุคคลที่ถูกคิดร้ายด้วยอกุศลเจตนา แก้อาถรรพ์อัปมงคลทุกชนิดโดยเฉพาะเรื่องการปกป้องคุ้มครอง ดวงชะตาชีวิตนั้นถือว่าเป็นเลิศ

*** พระพุทธพนมรุ้ง เนื้อผงเกษร สวยสมบูรณ์ สร้างน้อย หายาก เช่นเดียวกับเหรียญหล่อเนื้อโลหะ ***

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top