พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ซุ้มเถาว์วัล (พิมพ์หายาก)หลวงพ่อปลัดทวี วัดบ้านกร่าง พ.ศ.2492 หลวงพ่อมุ่ย อ.นำ หลว-ศิลป์เจริญพร - webpra
VIP
"ร้านนี้พระเครื่องยุคเก่า สร้างโดยพระสุปฏิปันโน เจตนาการสร้างบริสุทธิ์ ที่นับถือบูชาได้อย่างสนิทใจ"

หมวด พระเกจิสายสุพรรณ

พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ซุ้มเถาว์วัล (พิมพ์หายาก)หลวงพ่อปลัดทวี วัดบ้านกร่าง พ.ศ.2492 หลวงพ่อมุ่ย อ.นำ หลว

พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ซุ้มเถาว์วัล (พิมพ์หายาก)หลวงพ่อปลัดทวี วัดบ้านกร่าง พ.ศ.2492 หลวงพ่อมุ่ย อ.นำ หลว - 1พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ซุ้มเถาว์วัล (พิมพ์หายาก)หลวงพ่อปลัดทวี วัดบ้านกร่าง พ.ศ.2492 หลวงพ่อมุ่ย อ.นำ หลว - 2พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ซุ้มเถาว์วัล (พิมพ์หายาก)หลวงพ่อปลัดทวี วัดบ้านกร่าง พ.ศ.2492 หลวงพ่อมุ่ย อ.นำ หลว - 3พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ซุ้มเถาว์วัล (พิมพ์หายาก)หลวงพ่อปลัดทวี วัดบ้านกร่าง พ.ศ.2492 หลวงพ่อมุ่ย อ.นำ หลว - 4พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ซุ้มเถาว์วัล (พิมพ์หายาก)หลวงพ่อปลัดทวี วัดบ้านกร่าง พ.ศ.2492 หลวงพ่อมุ่ย อ.นำ หลว - 5
ชื่อร้านค้า ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ซุ้มเถาว์วัล (พิมพ์หายาก)หลวงพ่อปลัดทวี วัดบ้านกร่าง พ.ศ.2492 หลวงพ่อมุ่ย อ.นำ หลว
อายุพระเครื่อง 72 ปี
หมวดพระ พระเกจิสายสุพรรณ
ราคาเช่า 2,500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0811178991 (สะดวกรับสายเวลา 18.00 - 20.00 น.)
อีเมล์ติดต่อ เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อขอเช่าพระมาจำนวนมากต่อวัน ดังนั้นเช่าผ่านLINE จะติดต่อง่ายและสะดวกสุดครับ
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ จองแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 11 มี.ค. 2562 - 21:18.01
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 13 มิ.ย. 2563 - 13:22.36
รายละเอียด
**รหัส ศ.ร.๑๑๗๖๙
พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ซุ้มเถาว์วัล (พิมพ์หายาก)หลวงพ่อปลัดทวี วัดบ้านกร่าง พ.ศ.2492 หลวงพ่อมุ่ย อ.นำ หลวงพ่อถิร ปลุกเสก ฝั่งแร่ สวยและหายากแล้วครับ

พระขุนแผน รุ่นปลัดทวี พิมพ์สมาธิ วัดบ้านกร่าง จังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อผงมหาพุทธคุณ หลังปั้มตราหมึกเดิมๆจากวัด ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2490 โดย พระ ครูอาภัสศีลคุณ หรือ พระปลัดทวี(มีศักดิ์เป็นหลานหลวงพ่อมุ่ย) รองเจ้าอาวาสวัดบ้านกร่าง(ในสมัยนั้น) ท่านเป็นศิษย์ที่ได้รับการครอบครูจากท่านหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ อีกท่านหนึ่ง ซึ่งท่านได้รวบรวมมวลสารอันสุดวิเศษไว้มากมายเพื่อการนี้ โดยเฉพาะมวลสารหลักที่สำคัญคือ พระเครื่องก้นกรุวัดบ้านกร่าง ที่แตกหัก จำนวน 1 โอ่งมังกร
พระเครื่องรุ่นมีเนื้อและพิมพ์ทรงที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่ใช่พระถอดพิมพ์เหมือนพระเก๊ ที่ทำเลียนแบบพระขุนแผน กรุบ้านกร่างนะครับ เนื้อของพระเครื่องรุ่นนี้จะละเอียด แต่มวลสารอัดแน่นเพียบไม่ว่าจะดูตาเปล่าหรือใช้กล้อง ส่วนพิมพ์ทรงจัดทำขึ้นใหม่ ลักษณะจะออกแบบไม่เหมือนของพระกรุ คือพิมพ์เหมือนแต่รายละเอียดโดยรวมไม่ใช่ครับ

มวลสารที่ใช้ในการสร้าง
1.พระเครื่องก้นกรุวัดบ้านกร่าง ที่แตกหัก จำนวน 1 โอ่งมังกรเป็นมวลสารหลัก และดินก้นกรุ
2.ดิน7โป่ง ดินขุยปู 7 ทุ่ง
3.ดินสังเวชนียสถาน 4
4.ดินกรุพระซุ้มกอกำแพงเพชร
5.พระรอดมหาวันที่แตกหัก และดินก้นกรุพระรอดมหาวัน ลำพูน
6.ดิน ผงธูป เกษรดอกไม้ จากวัดพระธาตุดอยสุเทพ และวัดอื่น ๆ ทางภาคเหนือ
7.ผงวิเศษ และผง 108 จากหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
8.ผงวิเศษจากพระเมธีธรรมสาร (หลวงพ่อไสว) วัดบ้านกร่าง
9.ผงวิเศษจากหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
10.ดิน ผงธูป เกษรดอกไม้ จากทางภาคอีสาน วัดใน จ. ขอนแก่น พระธาตุช่อแฮ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
11.พระเนื้อดินจากกรุวัดพระรูป สุพรรณ
12.ผงธูป พระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ วัดพระนอนจักรสีห์ สิงห์บุรี พระนอน วัดพระเชตุพนฯ สมเด็จพระศาสดา วัดสุทัศน์ พระอัฏฐารส พิษณุโลก พระเเก้วมรกตในพระบรมมหาราชวัง เจดีย์ภูเขาทองวัดสะเกศ
13. ดิน ผงธูป เกษรดอกไม้ จากพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์
14.ดิน 7 วัง วังบางขุนพรม วังบูรพา วังสราญรมย์ วังเทเวศร์ วังสุโขทัย วังจันทร์เกษม และพระบรมมหาราชวัง
15.ดิน 5 ทัพ ทัพขุนช้าง ทัพขุนแผน ทัพผึ้ง ทัพหมัน ทัพหลวง
16. ดิน 5 ถ้ำ ถ้ำมหาสนุก สระบุรี ถ้ำกินนร สระบุรี ถ้ำเขาวัง เพชรบุรี ถ้ำจอมพล ราชบุรี ถ้ำเขานกจอด กาญจนบุรี
17.ดิน 7 สระ สระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ สระหนองหลวง สระลาดสิงห์ สุพรรณบุรี สระโกษิณารายณ์ กาญจนบุรี
18 ดิน7 ท่า ท่าช้างวังหน้า ท่าราชวรดิษฐ์ ท่าเสด็จ ท่ามะกา ท่าม่วง ท่านางเริง ท่าวาสุกรี
19ทราย 7หาด บางแสน พัทยา หัวหิน หาดประจวบ ภูเก็ต เจ้าสำราญ แหลมสิงห์
จึงได้เริ่มนำวัตถุมงคลทุกอย่างมาบดให้ละเีอียด ร่อน แช่น้ำ และกรองจนละเอียด

พิธีพุทธาภิเษก วาระที่ : 1
ประกอบพิธี ณ วิหารวัดบ้านกร่าง เมื่อเดือนห้า พ.ศ.2490 ทำพิธีบวงสรวงเทพเจ้าเครื่องกระยาสังเวยหมูเห็ดเป็ดไก่ บายศรีปากชาม กล้วยหวีงามครบถ้วนตามพิธีไสย เพื่อเป็นศิริมงคลให้เกิดความขลังและศักดิ์สิทธิ์
รายนามพระเกจิอาจารย์ 7 รูป ที่มาเจริญพระพุทธมนต์ พระปริต บริกรรมนวหรคุณ ดังนี้
1.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
2.หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย
3.หลวงพ่อโต๊ะ วัดลาดตาล
4.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
5.หลวงพ่อไสว วัดบ้านกร่าง
6.หลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร
7.หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ
เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วก็เริ่มกดพิมพ์ มีพระเณรและฆราวาสที่รับศีลห้าช่วยกันกดพิมพ์ในวิหาร ขณะกดพิมพ์ให้ภาวนา "นะมะพะทะ" หรือ"นโมพุทธายะ" และการเผาได้ก่อเตาพิเศษล้อมด้วยสายสิญจน์โยงไปจากวิหาร และเผาเฉพาะวันเสาร์ให้ถูกต้องตามตำหรับการสร้างพระ จำนวนที่กดพิมพ์ 300,00กว่าองค์เศษ

พิธีพุทธาภิเษก วาระที่ : 2
เมื่อเดืิอนห้าปี พ.ศ.2492 ได้ทำพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งก่อนจะนำไปบรรจุกรุ ณ ภายในอุโบสถวัดบ้านกร่าง โดยนิมนต์เกจิอาจารย์มานั่งปรกบริกรรมปลุกเสกดังนี้
1.หลวงพ่อนำ วัดดอนศาลา พัทลุง
2.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
3.หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ
4.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
5.หลวงพ่อแขก วัดหัวเขา
6.หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย
7.หลวงพ่อโต๊ะ วัดลาดตาล
8.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
9.หลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร
10.หลวงพ่อไสว วัดบ้านกร่าง

ต่อมาในปี พ.ศ.2511 จึงได้มีเปิดกรุ
ครั้งที่ 1 : สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ได้มีจดหมายมาขอพระไปแจกทหารสงครามเวียดนาม ได้เปิดกรุครั้งแรก 4,000 องค์
ครั้งที่ 2 : เมื่อปี พ.ศ.2512 สมัยจอมพลประพาส จารุเสถียร ได้ขอไปแจกทหารรุ่นกองพลเสือดำ จำนวน 5,000 องค์ ได้ขุทำการดกรุขึ้นมาเพื่อแจกทหารไปรบเวียดนาม จึงจัดพิธีปลุกำเสกขึ้นอีกครั้งก่อนที่จะมอบให้ทางกองทัพ โดย หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อแขก วัดหัวเขา, ท่านอาจารย์นำ วัดดอนศาลา ร่วมปลุกเสกเป็นต้น
ครั้งที่ 3 : ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 10,060 องค์
ครั้งที่ 4 : เมื่อปี พ.ศ.2513 พ.อ.อำนวย สุรเชษฐ์ ค่ายจิรประวัติ นครสวรรค์ นำไปแจกทหาร 4,500 องค์
ครั้งที่ 5 : มอบให้ ผบ. พันกองบินยุทธการกำแพงแสน นครปฐม 1,500 องค์
ครั้งที่ 6 : เมื่อปี พ.ศ.2523 แจกทหารชายแดนอรัญประเทศ 8,900 องค์
ครั้งที่ 7 : เมื่อปี พ.ศ.2524 งานผูกพัทธสีมาวัดบ้านกร่าง 10,000 องค์
หลังจากนั้นก็ได้มีการทยอยเปิดกรุออกมาเพื่อให้ประชาชนร่วมทำบุญ จนถึงปัจจุบัน

อิทธิปาฏิหารย์ในพิธีปลุกเสก (คัดลอกบางส่วนจากหนังสือ "พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หลวงพ่อมุย วัดดอนไร่" ฉบับมาตราฐาน) ดังนี้
"พอได้เวลาปลุกเสกตามหมายกำหนด พระเถระทั้งหลายก็นั่งประจำอาสนะ ซึ่งหันหน้ารายล้อมพระขุนแผนเนื้อดินเผาที่กองสุมไว้เบื้องหน้า หลวงพ่อทั้งหลายต่างเข้าสมาธิ หลับตาบริกรรมคาถาเพ่งกระแสจิตถ่ายทอดวิชาอาคมออกมาตามกรรมวิธีของแต่ละรูป ครั้น เมื่อเวลาผ่านไปนานนับชั่วโมง พระคุณเจ้าทั้งหลายต่างก็ถอนจิตออกจากสมาธิกันตามลำดับจนครบ คงเหลือแต่หลวงพ่อมุ่ย เพียงรูปเดียวที่ยังไม่ยอมถอนจากสมาธิ คงสำรวมกายอยู่ในฌานอันแน่นิ่งต่อไปอีกเป็นเวลานานโข ท่ามกลางเสียงพูดคุยระงมของญาติโยมและพระคุณเจ้าผู้ร่วมพิธีที่ต่างสนทนากัน ไปพลางๆ เพื่อรอหลวงพ่อเพียงรูปเดียว อีกราวครึ่งชั่วโมงต่อมา หลวงพ่อก็ขยับกายลืมตาส่งสัญญาณว่ากำลังถอนจากสมาธิ สองมือที่ประสานกันบนหน้าตักทั้งซ้ายและขวาก็คลายออกจากกัน ............... ในทันทีที่มือคลายออกมา หลวงพ่อก็ตบฝ่ามือทั้งสองลงบนเข่าแบบเน้นน้ำหนัก ฉับพลันทันใด พระเนื้อดินและสรรพส่งวัตถุมงคลต่างๆในท่ามกลางพระอุโบสถวัดบ้านกร่าง ก็สะท้อนรับแรงพลังขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว กระโดดกระเด็นขึ้นมากระทบกันกราว แผ่ขยายกระจายออกมาตามแรงแห่งกฤตยาคมอันแก่กล้า จากจุดศูนญกลางแผ่เป็นรัศมีกระจายขยายออกมา ณ เบื้องหน้าอาสนะของหลวงพ่อ ครอบคลุมบริเวณกินเนื้อที่เท่าผืนเสื่อ ที่ใกล้ๆ ก็กระโดดกระเด็นสูงสักศอกเศษ ที่ไกลออกมาก็ผ่อนกำลังโดดเตี้ยลงตามลำดับ ไม่เว้นแม้แต่ส่วนล่างที่ถูกทับสุมกันไว้ต่างก็ขยับตาม ส่งเสียงกระทบกันเกรียวกราวอย่างน่าอัศจรรย์ และในทันทีที่พระลอยขึ้นมา นั้น หแลวงพ่อก็ยื่นมือออกมากลางอากาศโดยเร็วพลัน คว้าพระได้จำนวนหนึ่ง ยัดลงใส่ย่าม ลุกออกมาในทันที ทิ้งไว้แต่ความอัศจรรย์แก่ผู้ที่อยู่ในพิธี ไม่เว้นแม้แต่พระเถระผู้เป็นสหธรรมิกร่วมในพิธีทั้ง10รูป โดยก่อนที่จะออกจากพระอุโบสถ พระคุณเจ้าเหล่านั้นต่างเดินอ้อมกองพระ มายังหน้าอาสนะของหลวงพ่อมุ่ย นำพระขุนแผนตรงบริเวณดังกล่าวใส่ย่ามไปรูปละ1กำมือ จนครบทุกรูป ส่วนบรรดาญาติโยมผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ในครั้งนั้น ต่างก็หยิบพระขุนแผนเอาจำเพาะเจาะจงตรงหน้าอาสนะของหลวงพ่อกันตามอย่าง

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top